ผู้เขียน หัวข้อ: ความรุนแรงในสถานที่ทำงาน กรณีประสบการณ์ในโรงพยาบาล  (อ่าน 2831 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
นำเสนอเมื่อ 19 ธันวาคม 2560 ณ สถาบันบำราศนราดูร

ความรุนแรงในที่ทำงาน มีการแบ่งได้ 4 ลักษณะ 4 แบบ
Type I คือ Criminal Intent คนร้ายตั้งใจก่อเหตุในโรงพยาบาล โดยที่ไม่ได้เป็นผู้ป่วยหรือญาติเลย
Type II คือ Customer/Client แบบนี้ผู้ป่วยหรือญาติซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนการรักษา เป็นคนกระทำความรุนแรง
Type III คือ Worker-on-Worker  คือ บุคลากรในโรงพยาบาลทำร้ายกันเอง
Type IV คือ Personal Relationship คือ ผู้ก่อเหตุมีความเกี่ยวข้องความสัมพันธ์ส่วนตัวกับบุคลากรและมาทำร้ายบุคลากรในโรงพยาบาลโดยที่ไม่เกี่ยวกับกระบวนการรักษาเลย
สำหรับประเทศไทย ผมยังไม่สามารถหาตัวเลขสถิติเกี่ยวกับแบบต่างๆของความรุนแรงในที่ทำงานได้ ในอเมริกามีรายงานโดยNational Institute for occupational safety and health ในปี 2014 พบว่า Type I มี 58% Type II  มี 20%  Type III มี15% และ Type IV มี 7% ที่มากที่สุดของเค้า คือ การก่ออาชญากรรมในที่ทำงาน


เหตุการณ์ความรุนแรงในโรงพยาบาลที่เป็นข่าวทางสื่อต่างๆตั้งแต่ข่าวใหญ่ที่ โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี (เมษายน 2559) จนถึงปัจจุบัน (19 ธันวาคม 2560) นับได้ 31 กรณี โดยผู้ถูกกระทำซึ่งเป็นเหยื่อของความรุนแรงเป็นบุคลากรของโรงพยาบาล (17 ราย)มากกว่าบุคคลอื่นที่ไม่ใช่บุคลากรของโรงพยาบาล (14 ราย) เล็กน้อย คิดเป็น 55% กับ 45%
นั่นพอจะตีความได้ว่า พอๆกัน ใครที่อยู่ในโรงพยาบาลก็มีความเสี่ยงที่จะถูกทำร้าย ไม่ว่าบุคลากรหรือคนอื่นที่มาอยู่ในโรงพยาบาล
บุคลากรของโรงพยาบาลที่ถูกกระทำนั้น ส่วนใหญ่ไม่ใช่แพทย์ (แค่ 3 ราย จาก 17 ราย) ดังนั้นบุคลากรอื่นๆ(ที่ไม่ใช่แพทย์)ต้องระมัดระวังตัวให้มากเข้าไว้


ส่วนผู้กระทำความรุนแรง กระทำความผิด เป็นญาติและบุคคลอื่น ถึง 85% (26 จาก 31 เหตุการณ์) และส่วนใหญ่เป็นบุคคลอื่นซะด้วย คือมากถึง 21 ครั้ง ส่วนญาติก่อเหตุแค่ 5 ครั้ง
ส่วนคนไข้เป็นคนลงมือก่อความรุนแรง แค่ 5 ใน 31 เหตุการณ์ (15%)
สรุปได้ว่า ถ้าลดจำนวนบุคคลอื่นๆที่ไม่ใช่ญาติ เข้ามาในเขตโรงพยาบาล ก็จะลดเหตุการณ์ความรุนแรงได้มากทีเดียว (เกือบ 70%--21 ใน 31)


สถานที่ที่เกิดเหตุ 70% เกิดที่ห้องฉุกเฉิน ( 22 ใน 31 เหตุการณ์) การวางมาตรการป้องทั้งเชิงรุก และเขิงรับ ตั้งแต่ประตูเข้าโรงพยาบาล จนถึงห้องฉุกเฉิน สามารถลดเหตุการณ์ความรุนแรงได้เยอะทีเดียวครับ


การก่ออาชญากรรมในโรงพยาบาล (Type I - Criminal Intent) เท่าที่ติดตามข่าวดู มี 3 เหตุการณ์ ครับ
เริ่มที่โรงพยาบาลราชบุรี เมื่อเกือบ 20 ปีที่แล้ว (24 มกราคม 2543) กระเหรี่ยงก๊อดอาร์มี่ บุกยึดโรงพยาบาล



เหตุการณ์ที่สอง คือ โจรใต้ 50 คน บุกปิดโรงพยาบาลเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส เมื่อ 13 มีนาคม 2559


และล่าสุด ระเบิดโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เมือ 22 พฤษภาคม 2560
ทั้ง 3 เหตุการณ์ โชคดีที่ไม่มีบุคลากรหรือประชาชนเสียชีวิตหรือบาดเจ็บรุนแรงแต่อย่างใด



อยากจะเน้นให้เห็นความสำคัญของ รากเหง้าของปัญหา แน่นอนครับ เราต้องหาทางแก้ไขในทุกๆด้านที่เป็นเหตุ หรือปัจจัยกระตุ้นให้เกิดความรุนแรง แต่ถ้ารากเหง้าของปัญหาไม่ได้รับการแก้ไข เราคงต้องตามแก้ไขเรื่องนี้เรื่อยไปไม่มีที่สิ้นสุด
2 ปัญหารากเหง้า คือ วัฒนธรรมการใช้ความรุนแรงในสังคมไทย  และความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยที่เปลี่ยนไป



อิทัปปัจจยตา เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงเกิด
ถ้าจะแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อบุคลากรสาธารณสุข สำคัญต้องแก้ที่รากด้วยครับ ต้องไม่แก้แบบฉาบฉวย เหมือนการแพทย์แบบฉาบฉวย ความดันสูงก็ให้ยาลดความดัน น้ำตาลในเลือดสูง
ก็ให้ยาลดน้ำตาล ไขมันในเลือดสูงก็ให้ยาลดไขมัน แล้วก็จะให้กินกันไปตลอดชีวิตด้วย มันฉาบฉวยเกินไปครับ 



สังคมไทยสมัยนี้ ความรุนแรงอยู่รอบตัวพวกเราแล้วครับ เราไม่ควรให้ลูกหลานเราอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่เต็มไปด้วยความรุนแรง มันไม่น่าอยู่ มันเป็นเรื่องใหญ่ที่ทุกภาคส่วนต้องตระหนัก และช่วยกัน ถือเป็นวาระแห่งชาติเลยล่ะครับ

ตัวอย่างข่าวคราวเรื่องการใช้ความรุนแรงในสังคมไทย แม้แต่เรื่องเล็กน้อย ไม่เป็นเรื่อง เราก็ทำร้ายกันได้


ขอยกตัวอย่างประเทศที่มีการลงทุนสร้างมาตรการป้องกันการก่อเหตุความรุนแรงในโรงพยาบาลอย่างเต็มที่ เช่น สหรัฐอเมริกา โรงพยาบาล รวมทั้งห้องฉุกเฉิน ถูกออกแบบอย่างยอดเยี่ยมให้ป้องกันเหตุร้ายต่างๆ ความรุนแรงก็ไม่ได้น้อยลงเลยครับ แต่รูปแบบของการก่อความรุนแรงเปลี่ยนไป
มีการรายงานว่า ในสหรัฐอเมริกา ช่วงปี 2000 ถึง 2011มีการใช้อาวุธปืนยิงกันในโรงพยาบาลถึง 154 ครั้ง มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บถึง 235 คน



เหตุการณ์ล่าสุด เช้าวันเสาร์ที่ 1 กรกฎาคม 2560 มือปืนบุกยิง หมอ-คนไข้ ในโรงพยาบาลย่านบรองซ์ มหานครนิวยอร์ค หมอเสียชีวิตไปหนึ่งคน มีผู้บาดเจ็บอีก 6 คน มือปืนเป็นหมอที่เคยทำงานที่โรงพยาบาลนี้ด้วย
รากเหง้าไม่ได้แก้ ก็ต้องเผชิญกับความรุนแรงเรื่อยไป เหมือนต้องกินยาไปตลอดชีวิตนั่นแหละครับ



พื้นฐานระบบสาธารณสุขของไทยเรา มีระบบความเชื่อและความคิดที่ปลูกฝังมา ให้ช่วยเหลือกัน เกื้อกูลกัน มีการเสียสละ การให้ความเคารพและให้เกียรติกัน แต่ระบบดั่งเดิมกำลังถูกสั่นคลอนด้วย มิติความสัมพันธ์แบบใหม่ กลายเป็นการซื้อขาย เป็นเรื่องของการบริการ เป็นเรื่องของสิทธิและหน้าที่
ก็เป็นเรื่องที่สังคมไทย จะเลือกเอาว่าเราจะเลือกเดินไปทางไหนกัน ผมว่าเรา U-turn กลับไปดีกว่าครับ



สุดท้าย เป็นเรื่องของบุคลากรสาธารณสุขผู้ปฏิบัติงานทุกวิชาชีพเลยครับ วาระของพวกเราก็คือ ไม่ยอมรับความรุนแรงในทุกกรณี ต้องยึดหลักการ ที่ว่า ความรุนแรงไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของงาน นี้เป็นวาระของชาวสาธารณสุขครับ

https://www.facebook.com/praditc/media_set?set=a.1808203995897567.1073741878.100001239514505&type=3&uploaded=14
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06 พฤษภาคม 2018, 23:31:33 โดย story »