ผู้เขียน หัวข้อ: กรมแพทย์แผนไทยแจง “หมอแสง” ยังไม่เป็น “หมอพื้นบ้าน” ชี้ยังขาดหลักฐาน 2 อย่าง  (อ่าน 643 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
กรมแพทย์แผนไทย แจงยังไม่ได้รับรอง “หมอแสง” เป็นหมอพื้นบ้าน ชี้หนังสือตอบกลับแค่ระบุว่าเห็นควร แต่ยังต้องส่งหลักฐานเพิ่มเติมก่อนออกใบรับรอง ระบุเกณฑ์พิจารณาหมอพื้นบ้านดูจากพฤติกรรม ไม่ได้เป็นการรับรอง “ยา” ที่ใช้ ยังต้องวิจัยร่วมต่อ ขออย่าจับมาโยงกัน ย้ำหมอพื้นบ้านห้ามทำเชิงพาณิชย์ จ่อถูกถอนใบรับรอง

จากกรณีมีการรายงานข่าวว่า นายแสงชัย แหเลิศตระกูล ผู้จัดการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จ.ปราจีนบุรี หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “หมอแสง” ที่มีการแจกสมุนไพรช่วยผู้ป่วยมะเร็ง ได้รับการรับรองขึ้นเป็น “หมอพื้นบ้าน” นั้น

วันนี้ (5 ก.พ.) นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก แถลงข่าวกรณีดังกล่าวว่า นายแสงชัยได้ทำหนังสือถึงตนเมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2560 เพื่อยื่นขอขึ้นทะเบียนเป็นหมอพื้นบ้าน โดยส่งเอกสารการประเมินต่างๆ ของตนเองเข้ามา ซึ่งตัวนายแสงชัยคิดว่าตนเองเข้าเกณฑ์การเป็นหมอพื้นบ้าน จากการตรวจสอบของกรมฯ ก็พบว่านายแสงชัยเข้าข่ายเป็นหมอพื้นบ้าน แต่ยังขาดเอกสารหลักฐานบางอย่างอยู่ จึงทำหนังสือตอบกลับว่าเห็นควรเป็นหมอพื้นบ้าน แต่ขอให้ส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมเข้ามาเพื่อพิจารณาเพิ่มเติมก่อน แต่อาจมีการสื่อสารและเข้าใจผิดคิดว่าขึ้นทะเบียนแล้ว จริงๆ ยังไม่ได้มีการรับรอง เหมือนกับการสอบสัมภาษณ์ที่เห็นว่าเห็นควรผ่าน แต่ยังขาดหลักฐานขอให้ส่งเอกสารเพิ่มก่อนจึงค่อยประกาศว่าสอบผ่าน เป็นต้น โดยนายแสงชัยยังต้องส่งเอกสารที่เหลือเข้ามาให้พิจารณาก่อนจึงจะออกใบรับรองให้ว่าเป็นหมอพื้นบ้านต่อไป

“การรับรองการเป็นหมอพื้นบ้านนั้น เป็นการรับรองพฤติกรรมว่าเป็นแบบหมอพื้นบ้านจริง แต่ไม่ได้เป็นการรับรองตัวยาที่นายแสงชัยใช้ จึงไม่เกี่ยวข้องกัน หรือนำมาพิจารณาว่าจะต้องรักษาหาย จึงมีผลในการขึ้นทะเบียนเป็นหมอพื้นบ้าน เรื่องการวิจัยยาสมุนไพรที่นายแสงชัยใช้ขอให้เป็นอีกเรื่อง เบื้องต้นจะเก็บข้อมูลผู้ป่วยที่มารับยา 1,200 คน ขณะนี้ก็เก็บได้ครบแล้ว เหลือรอประมวลผล และรอผลการทดลองของสถาบันมะเร็งแห่งชาติว่ามีฤทธิ์ต่อเซลล์มะเร็งตัวใด แต่เบื้องต้นจากข้อมูลผู้รับยา 600 คน พบว่า 80% รู้สึกดีขึ้น คือกินข้าวได้ นอนหลับได้ มีแรงปฏิบัติงานได้” นพ.เกียรติภูมิกล่าว และว่า ใบรับรองหมอพื้นบ้านมีอายุ 4 ปี อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการรับรองเป็นหมอพื้นบ้านแล้ว หากกระทำผิด เช่น ทำในเชิงพาณิชย์ เป็นต้น ก็อาจเพิกถอนการรับรองได้

นพ.ปราโมทย์ เสถียรรัตน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยฯ กล่าวว่า หลักเกณฑ์ในการคัดกรองหมอพื้นบ้านมี 8 เกณฑ์ ประกอบด้วย
1. มีผู้มารับบริการสม่ำเสมอและต่อเนื่องเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 10 ปี ดูแลสุขภาพในชุมชน ไม่เร่ขายยา ไม่ดำเนินการในรูปแบบสถานพยาบาล
2. สืบทอดความรู้จากบรรพบุรุษหรือองค์ความรู้จากท้องถิ่น
3. มีความสามารถในการบำบัดโรค รู้จักโรค รู้จักยา รู้วิธีรักษา
4. ไม่หวงวิชา ถ่ายทอดวิชาด้วยความเมตตา
5. มีการถ่ายทอดความรู้
6. ไม่เรียกร้องค่ารักษาเกินควร ไม่ดำเนินการเชิงธุรกิจหรือพาณิชย์
7. เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับจากคนในชุมชน และ
8. มีคุณธรรม มีความเมตตา ช่วยเหลือชุมชน
ซึ่งกรณีนายแสงชัยก็มีดูแลสุขภาพประชาชนในพื้นที่ มีคนมาใช้บริการเป็นหมื่นคน ทำต่อเนื่องมากว่า 10 ปี จากเอกสารต่างๆที่ส่งมาก็ถือว่าเข้าเกณฑ์ แต่ยังขาดเอกสารบางอย่าง

เมื่อถามว่านายแสงชัยยังขาดหลักฐานอะไรบ้าง ดร.ภญ.มณฑกา ธีรชัยสกุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยการแพทย์แผนไทย กล่าวว่า หลักฐานที่นายแสงชัยต้องส่งเภิ่มมีอีก 2 อย่าง คือ การรับรองของคนในชุมชนจำนวน 10 คนขึ้นไป และหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ในการรับรอง สำหรับประเด็นการวิจัยยาสมุนไพรของนายแสงชัยนั้น เป็นการสำรวจความรู้สึกของผู้ป่วย โดยเบื้องต้นที่สำรวจจำนวน 600 รายเมื่อช่วง ธ.ค. 2560 - ม.ค. 2561 นั้น เป็นผู้ป่วยเก่าที่เคยรับยา 30% มีการสอบถามผลข้างเคียง ผลการรักษาตามความรู้สึกของผู้ป่วย ซึ่ง 80% ของผู้ป่วยที่รู้สึกดีขึ้นนั้น เป็นความรู้สึกของผู้ป่วยเอง แต่ไม่ได้มีเอกสารใดรองรับ

เมื่อถามถึงการวิจัยยาสมุนไพรจำเป็นต้องมีการเปิดสูตรเพิ่มเติมหรือไม่ และการยื่นเป็นหมอพื้นบ้านที่ต้องมีการเปิดเผยสูตรในการดูแลรักษา เป็นสูตรเดียวกับที่วิจัยหรือไม่ นพ.ปราโมทย์กล่าวว่า การวิจัยระยะแรกจะดูเรื่องความปลอดภัยเป็นหลัก โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ตรวจหาการปนเปื้อนหรือความเป็นพิษ คนไปรับยารู้สึกอย่างไร และออกฤทธิ์ต่อเซลล์มะเร็งใด คาดว่าเดือนหน้าน่าจะทราบผลทั้งหมด และจึงมาพิจารณาต่อว่าควรจะพัฒนาอย่างไร เช่น หากมีผลต่อเซลล์มะเร็งปอด ก็อาจพัฒนาเป้นยารักษามะเร็งปอด ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นคงต้องเปิดเผยสูตรยาทั้งหมด หรือหากไม่มีผลต่อเซลล์มะเร็งก็อาจพัฒนาเป็นยาบำรุง หรือเป็นอาหารเสริม

ดร.ภญ.มณฑกากล่าวว่า ในเอกสารที่ต้องกรอกเพื่อขึ้นทะเบียนหมอพื้นบ้าน จะมีให้ระบุว่ามีความรู้เรื่องอะไร สูตรยาที่ใช้คืออะไร ซึ่งนายแสงชัยก็มีหลายสูตร สูตรที่บอกมาก็เพียงแต่ยกมาบางส่วนที่มีในตำรับ แต่ไม่ได้ระบุทั้งหมด ทั้งนี้ นายแสงชัยยื่นเอกสารแจ้งความเชี่ยวชาญมา 5 ด้าน เช่น ยาสั่ง ฝีในตับ เป็นต้น

เมื่อถามถึงสมุนไพรข้าวเย็นเหนือ ข้าวเย็นใต้ ในการรักษามะเร็ง นางเสาวณีย์ กุลสมบูรณ์ ผู้อำนวยการกองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กล่าวว่า ตำรับรักษามะเร็งแต่ละชนิดจะมีตำรับต่างกัน ซึ่งเท่าที่รวบรวมสมุนไพรของหมอพื้นบ้านที่ใช้รักษามะเร็งจากคลังข้อมูลพบว่า ข้าวเย็นเหนือและข้าวเย็นใต้ ส่วนใหญ่อยู่ในสูตรตำรับ แต่ไม่ได้อยู่ในทุกสูตร

5 ก.พ. 2561  โดย: MGR Online

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
คราวนี้ของจริง! กรมแพทย์แผนไทยฯ รับรอง “หมอแสง” เป็น “หมอพื้นบ้าน” แล้ว หลังส่งเอกสารครบ ยันไม่เกี่ยวขนม็อบมากดดัน หรือประกาศไม่แจกแคปซูลสมุนไพร พิจารณาตามกระบวนการ ย้ำหมอพื้นบ้านทำเชิงพาณิชย์ไม่ได้ หากผิดกฎถูกถอดถอน

วันนี้ (7 ก.พ.) นพ.ปราโมทย์ เสถียรรัตน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวถึงความคืบหน้าการออกใบรับรองให้นายแสงชัย แหเลิศตระกูล หรือหมอแสง ที่แจกแคปซูลสมุนไพรช่วยผู้ป่วยมะเร็ง จ.ปราจีนบุรี เป็น “หมอพื้นบ้าน” ว่าเมื่อช่วงเช้าของวันที่ 7 ก.พ. นายแสงชัยได้ส่งเอกสารที่ยังขาดอยู่ 2 ชิ้น คือ เอกสารการยอมรับของคนในชุมชนที่ไม่น้อยกว่า 10 คนขึ้นไป และเอกสารการยอมรับของหน่วยบริการสาธารณสุขในพื้นที่ คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) มาให้ทางกรมฯ แล้ว ทั้งนี้ เมื่อเอกสารครบ ทาง นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยฯ จึงได้ลงนามออกใบรับรองให้แก่นายแสงชัยเป็นหมอพื้นบ้านแล้ว

ผู้สื่อข่าวถามว่า การออกใบรับรองอย่างรวดเร็วเช่นนี้อาจทำให้สังคมคิดว่าเกรงกลัวต่อการประกาศของนายแสงชัยว่าจะไม่แจกแคปซูลสมุนไพร นพ.ปราโมทย์กล่าวว่า ไม่ได้กังวล เพราะคือขั้นตอนการพิจารณาอยู่แล้ว ก่อนหน้านี้ได้พิจารณาเอกสารอื่นๆ มาแล้ว แต่ขาดเอกสารอีก 2 ชิ้นในการประกอบการพิจารณา ดังนั้น เมื่อเอกสารครบถ้วนจึงทำให้ทุกอย่างรวดเร็ว และท่านอธิบดีก็ลงนามได้เลย อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าได้ใบรับรองเป็นหมอพื้นบ้านแล้วจะจบ เพราะการออกใบรับรองหมอพื้นบ้านก็เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติและยกระดับหมอพื้นบ้านที่มีความรู้ความสามารถในการส่งเสริมและดูแลสุขภาพของประชาชนในท้องถิ่น แต่ต้องดำเนินการมาไม่น้อยกว่า 10 ปี ด้วยภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยหรือการแพทย์พื้นบ้าน และอย่าลืมว่า หมอพื้นบ้านแตกต่างจากแพทย์พื้นบ้าน เพราะหมอพื้นบ้านไม่สามารถทำเพื่อการค้า โดยต้องไปติดตามต่อว่า ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขหลักคือ ต้องช่วยเหลือหรือเยียวยาผู้ป่วยตามธรรมจรรยา และต้องไม่ทำเชิงพาณิชย์ ซึ่งหากผิดหลักเกณฑ์เงื่อนไขก็ถอดถอนใบรับรองได้

เมื่อถามว่านายแสงชัยได้รับรองเป็นหมอพื้นบ้านที่เชี่ยวชาญด้านใด นพ.ปราโมทย์กล่าวว่า การออกใบรับรองหมอพื้นบ้าน ไม่ได้บอกว่ามีความเชี่ยวชาญสาขาไหน ไม่เหมือนแพทย์แผนปัจจุบันที่มีใบประกอบโรคศิลปะ ที่จะมีการศึกษาได้ใบประกอบโรคศิลปะ และมีการศึกษาต่อเฉพาะด้าน หากหมอพื้นบ้านต้องการความเฉพาะด้าน หรือต้องการใบอนุญาตเป็นแพทย์แผนไทยก็ต้องเป็นไปตามหลักสูตร มีการศึกษาตามสถาบันการศึกษา มีใบรับรองออกมา หรือในกรณีหมอพื้นบ้านที่อายุมากแล้ว อาจไม่สามารถไปสอบใบอนุญาตได้ ก็จะมีอีกวิธีในการประเมินตามประสบการณ์ ซึ่งจะมีหลักเกณฑ์ต่างๆ อีก โดยที่ผ่านมาก็มีผู้ที่ผ่านการประเมินไปประมาณ 100 กว่าคน แต่ทั้งหมดก็จะต้องมีระบบในการยอมรับ ซึ่งมีหลักเกณฑ์อยู่ดี

7 ก.พ. 2561 โดย: MGR Online

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
คนรัก “หมอแสง” ทำแคมเปญออนไลน์ กดดัน สธ.รับเป็นหมอพื้นบ้าน ด้าน รมว.สธ.ยันทำตามขั้นตอนตามกฎหมาย หากส่งเอกสารเร็วก็พิจารณาได้เร็ว เพราะเข้าข่ายเป็นหมอพื้นบ้านอยู่แล้ว ย้ำหมอพื้นบ้านห้ามคิดค่าใช้จ่ายผู้ป่วย ชี้หากทำเพื่อประชาชนจริงจะไม่มีข้ออ้างเรื่องหยุดผลิตแจกแคปซูล

จากกรณีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ออกมาระบุว่ายังไม่มีการรับรองนายแสงชัย แหเลิศตระกูลชัย หรือหมอแสง ที่แจกแคปซูลสมุนไพรช่วยผู้ป่วยมะเร็งให้เป็น “หมอพื้นบ้าน” แต่ระบุว่าเข้าข่ายที่จะเป็น แต่ยังต้องส่งหลักฐานอีก 2 อย่าง ทำให้หมอแสงไม่พอใจและประกาศว่าหลังวันที่ 20 ก.พ.นี้ จะไม่มีการทำแคปซูลแจกอีก

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้มีผู้จขัดทำแคมเปญออนไลน์ผ่าน www.change.org ร้องเรียนอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ให้หมอแสงแจกยามะเร็งปราจีนบุรีได้รับใบอนุญาตเป็นหมอพื้นบ้าน สามารถแจกจ่ายยาได้โดยถูกกฎหมาย ซึ่งมีผู้ร่วมลงชื่อจำนวนหนึ่ง นอกจากนี้ยังพบว่า ในสื่อสังคมออนไลน์มีการปลุกระดมคนที่รักหมอแสงให้บุกไปยังกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เพื่อกดดันให้มีการรับหมอแสงเป็นหมอพื้นบ้าน โดยมีคนเข้ามาแสดงความเห็นในเชิงพร้อมร่วมเดินทางจำนวนมาก ขอเพียงนัดหมายวันที่ชัดเจนมา

วันนี้ (7 ก.พ.) นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ถึงเรื่องนี้ ว่า กรมการแพทย์แผนไทยฯ ก็มีการพิจารณาแล้วว่าเข้าข่ายควรเป็นหมอพื้นบ้าน เพียงแต่ยังขาดหลักฐานบางอย่างอยู่ซึ่งหากส่งเอกสารเข้ามาก็เชื่อว่าไม่น่ามีปัญหา สามารถขึ้นเป็นหมอพื้นบ้านได้ และไม่น่าใช้เวลานาน อยู่ที่ว่าจะส่งเอกสารเข้ามาเมื่อไร ทั้งนี้ ยืนยันว่า สธ.ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายในการขึ้นทะเบียนเป็นหมอพื้นบ้าน ส่วนการจะมากดดันให้ขึ้นทะเบียนเป็นหมอพื้นบ้านเร็วขึ้น ถามว่าประชาชนได้ประโยชน์อะไร ทุกอย่างต้องเป็นไปตามขั้นตอน ซึ่งตอนนี้ก็มีความร่วมมือกันอย่างดี ส่วนเรื่องสมุนไพรที่แจกนั้นก็ต้องมาแยกดูว่าเป็นยาอะไร ต้องมาวิจัยต่อ ขอให้ทุกคนมีวิจารณญาณ ซึ่งมะเร็งก็รักษายาก แต่ควรรักษาด้วยการแพทย์แผนปัจจุบันก่อนซึ่งทั่วโลกยอมรับว่าเป็นการรักษาอันดับต้น ส่วนการแพทย์ทางเลือกก็เป็นทางเลือกที่มารักษาร่วมได้

“จากการติดตามผู้ที่มารับสมุนไพรของหมอแสงพบว่า ส่วนใหญ่ก็รับการดูแลโดยแพทย์แผนปัจจุบันแล้ว บางคนฉายแสงไม่ได้ผล หรือเลยการให้ยาคีโมไปแล้ว สมุนไพรของหมอแสงก็เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวสุดท้าย ช่วยให้จิตใจดีขึ้น ส่วนผลเป็นอย่างไรก็อีกเรื่องหนึ่ง การมารับยาแล้วกำลังใจดีขึ้นก็ถือเป็นสิ่งที่ดี ส่วนจะหายหรือไม่ ต้องมาดูกันที่ผลวิจัย” นพ.ปิยะสกลกล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่า หมอพื้นบ้านแตกต่างจากแพทย์ทั่วไปอย่างไร นพ.ปิยะสกลกล่าวว่า หมอพื้นบ้านคือไม่ใช่แพทย์แผนปัจจุบัน และไม่ได้จบการแพทย์แผนไทยที่มีการสอน แต่เป็นการใช้ประสบการณ์หรือภูมิปัญญาพื้นบ้านที่เรียนรู้มาทำยาในการดูแลประชาชนที่เป็นโรคต่างๆ และยาต้องไม่มีอันตราย โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย

เมื่อถามว่าเมื่อหมอแสงขึ้นเป็นหมอพื้นบ้านแล้ว อาจให้มีการจ่ายเงินเพื่อรับบริการก่อน ตรงนี้ถือว่าผิดหรือไม่ นพ.ปิยะสกลกล่าวว่า ตรงนี้ก้ต้องให้ทางกรมการแพทย์แผนไทยฯ ติดตามว่าเป็นการกระทำตามกฎหมายหรือไม่

เมื่อถามว่ามีการเชื่อมโยงว่าหากหมอแสงไม่ได้เป็นหมอพื้นบ้านแล้วจะหยุดผลิตและไม่แจกสมุนไพร นพ.ปิยะสกลกล่าวว่า ถ้าทำเพื่อประชาชนจริง ก็ไม่น่าจะมีข้ออ้าง

7 ก.พ. 2561  โดย: MGR Online