ผู้เขียน หัวข้อ: รีวิวเลเซอร์ “ปิกาจูขาว” ผิด กม.เครื่องมือแพทย์-สถานพยาบาล เตรียมเอาผิด รพ.แล้ว  (อ่าน 566 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
สบส.ฟันชัด รีวิว “เลเซอร์ปิกาจู” ผิดกฎหมาย ผิดทั้งโฆษณาเครื่องมือแพทย์และสถานพยาบาล เตรียมเอาผิด รพ.ศัลยกรรมชื่อดังย่านนนทบุรี ชี้เจ้าหน้าที่ รพ.ทำรีวิวศัลยกรรมหลายครั้ง เชื่อ รพ.มีส่วนรู้เห็น เตือนทำเลเซอร์ปิกาจูอันตราย เสี่ยงกระทบเซลล์สืบพันธุ์ อักเสบหรือแพ้ง่าย ด้านคนไลก์-แชร์ต่อ อาจผิด พ.ร.บ.คอมพ์

จากกรณีเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลศัลยกรรมชื่อดังแห่งหนึ่งใน จ.นนทบุรี เผยแพร่คลิปวิดีโอและรูปภาพขณะทำเลเซอร์ที่อวัยวะเพศชาย หรือเลเซอร์ปิกาจู เพื่อเปลี่ยนอวัยวะเพศชายที่ดำให้ขาวขึ้น โดยมีการยืมมือผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ให้แท็กชวนผู้มาทำ

วันนี้ (4 ม.ค.) นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า การเผยแพร่ดังกล่าวถือว่าเป็นการโฆษณาที่ผิดกฎหมาย ประกอบด้วย 1. การโฆษณาเครื่องมือแพทย์ โดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่ง สบส.ได้ประสานสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ในการดำเนินการเอาผิดประเด็นนี้แล้ว และ 2. การโฆษณาสถานพยาบาล ตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2559 เพราะมีการระบุชื่อโรงพยาบาลชัดเจน แม้ผู้ทำการโฆษณาจะไม่ใช่สถานพยาบาลเองก็ตาม แต่มีการยิมนยอมให้ผู้หนึ่งผู้ใดโฆษณาแทนตนเอง โดยมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท และปรับอีกวันละ 10,000 บาท จนกว่าจะยุติการโฆษณาดังกล่าว ตรงนี้ได้ประสานให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี ดำเนินการแล้วเนื่องจากเป็นสถานพยาบาลในพื้นที่ จ.นนทบุรี

นพ.ธงชัยกล่าวว่า การทำเลเซอร์บริเวณดังกล่าวถือว่าอันตรายอย่างมาก เนื่องจากใกล้อวัยวะเพศและอัณฑะ อาจจะมีผลต่อเซลล์สืบพันธุ์ และบริเวณนั้นเป็นส่วนที่บอบบางอยู่แล้ว การทำเลเซอร์ให้ขาวจงทำให้ผิวบริเวณอักเสบได้ง่าย มีการแพ้ได้ง่าย เกิดเป็นขุย แห้ง เป็นอันตรายมากกว่า ซึ่งมองว่าไม่มีประโยชน์อะไรในการทำให้อวัยวะเพศตรงนั้นมีความขาว ที่สำคัญอาจทำให้เกิดจุดด่างดำที่น่าเกลียดมากยิ่งขึ้นอีก

ผู้สื่อข่าวถามว่า เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลคนดังกล่าวมีการทำรีวิวศัลยกรรมต่างๆ ของโรงพยาบาลหลายครั้งแล้ว นพ.ธงชัยกล่าวว่า หากเป็นเช่นนี้เท่ากับว่าสถานพยาบาลมีส่วนรู้เห็นหรือไม่ อย่างที่บอกว่าแม้สถานพยาบาลไม่ได้โฆษณาเอง แต่ยินยอมให้ผู้อื่นโฆษณาแทนตน

เมื่อถามว่า คนที่กดไลก์ แชร์ และคอมเมนต์ จะยิ่งทำให้การโฆษณาเผยแพร่มากขึ้น จะมีความผิดด้วยหรือไม่ นพ.ธงชัยกล่าวว่า พ.ร.บ.สถานพยาบาลฯ ไม่ได้ครอบคลุมในเรื่องนี้ แต่เมื่อเป็นการโฆษณาที่ผิดกฎหมาย การแชร์โฆษณาที่ผิดกฎหมายต่อไป อาจจะมีความผิดในส่วนของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 แทน ซึ่งอยากจะให้ประชาชนระมัดระวังในเรื่องนี้ เพราะอาจทำผิดโดยไม่รู้ตัวได้ ซึ่งการแจ้งข้อมูลเข้ามาเพื่อตรวจสอบว่าดำเนินการผิดกฎหมายหรือไม่ ก้จะเป้นการช่วยแจ้งเตือนไปยังประชาชนคนอื่นด้วยว่าการโฆษณาแบบนี้ผิดกฎหมายหรือไม่ ประชาชนจะได้รู้เท่าทันการโฆษณาและผลเสียจากการทำศัลยกรรมต่างๆ ด้วย

4 ม.ค. 2561  โดย: MGR Online