ผู้เขียน หัวข้อ: หมอปิยะสกล” ตอบคำถามโซเชียล สธ.ทำอะไรถึงปล่อย “ตูน บอดี้สแลม” ออกมาวิ่ง  (อ่าน 486 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
“หมอปิยะสกล” ตอบคำถามโซเชียล เจ้าหน้าที่ สธ. ทำอะไรปล่อยให้ตูน บอดี้สแลมออกมาวิ่ง ยัน สธ. ทำงานเต็มที่ แต่ไม่มีประเทศไหนที่มีงบสุขภาพเพียงพอ ชม “ตูน” คนดีตัวอย่างการช่วยเหลือที่ไม่ใช้เงิน ช่วยคนไทยหันมาช่วยดูระบบสุขภาพ ขออย่าเพ่งโทษจับผิด ควรให้กำลังใจคนทำดี จ่อชง ครม. บริจาคเงิน รพ. ได้หักภาษี 2 เท่า

จากกรณี “ตูน บอดี้สแลม” หรือ นายอาทิวราห์ คงมาลัย นักร้องชื่อดัง จัดโครงการก้าวคนละก้าว โดยวิ่งจาก อ.เบตง จ.ยะลา จนถึง อ.แม่สาย จ.เชียงราย เพื่อรับบริจาคเงินสมทบช่วยโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) 11 แห่ง จนเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์บนสื่อสังคมออนไลน์ ว่า เจ้าหน้าที่ สธ. ทำอะไรอยู่ ถึงต้องให้ ตูน บอดี้สแลม ออกมาวิ่ง

วันนี้ (30 ต.ค.) นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ถึงเรื่องนี้ ว่า ขอตอบว่า สธ. ทำงานเต็มที่อยู่ ซึ่งไม่ว่าประเทศไหนในโลกก็จะมีคนดีแบบคุณตูนอยู่ที่ออกมาช่วยเหลือ รพ. เพราะฉะนั้นการบริจาคให้ระบบสุขภาพของประเทศ จึงเป็นสิ่งที่คนดีพึงกระทำกัน ซึ่งคุณตูนเป็นตัวอย่างหนึ่งของการช่วยเหลือที่ไม่ได้ใช้เงิน แต่ใช้ศักยภาพที่ตัวเองมีในการดึงดูดให้คนไทยหันมาช่วยดูแลระบบสุขภาพและช่วยเหลือคนไทยด้วยกัน ทั้งนี้ ไม่มีงบประมาณด้านสุขภาพประเทศไหนในโลกที่เพียงพอ เพราะมีโรคต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย แม้มีเทคโนโลยีในการรักษาที่ดีขึ้น แต่ก็มีราคาแพงขึ้น บวกกับมีจำนวนผู้สูงอายุมากขึ้น มีการเจ็บป่วยตามวัยมากขึ้น จึงไม่มีงบประมาณในเรื่องนี้ของประเทศไหนเพียงพอ โดยอาศัยเพียงงบประมาณจากภาครัฐเพียงอย่างเดียว

“อย่างประเทศอังกฤษใช้งบประมาณด้านสุขภาพมากกว่างบประมาณไทยทั้งประเทศ แต่ก็ยังไม่พอ เพราะฉะนั้นไม่อยากให้มาเพ่งโทษจับผิดกัน แต่คนทำดีต้องให้กำลังใจ” นพ.ปิยะสกล กล่าวและว่า ส่วนของการแก้ปัญหา รพ. ขาดแคลน นอกจากมีการของบประมาณรัฐเพิ่มเติมตามที่มีอยู่จำกัดแล้ว คนไทยเป็นผู้ที่มีเมตตา สธ. จึงเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในเร็วๆ นี้ เพื่อขอให้กระทรวงการคลังอนุมัติให้การบริจาคเงินให้ รพ. สามารถหักภาษีได้ 2 เท่า โดยเงินบริจาค รพ. แต่ละแห่งจะนำเงินมาจัดตั้งเป็นกองทุนของ รพ. เพื่อใช้ในการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพสูงสุด อย่าง รพ. เก่าได้ แต่ห้ามสกปรกและต้องดูแลประชาชนในท้องถิ่นของตนเองให้เต็มที่ที่สุด ซึ่ง รพ. ไหนจะได้เงินบริจาคเข้ากองทุนมากน้อยก็ขึ้นอยู่กับศรัทธาของ รพ. แต่ละแห่ง เป็นรูปแบบประชารัฐที่แท้จริง

นพ.ปิยะสกล กล่าวว่า การประเมินสภาพคล่องของ รพ. สังกัด สธ. ดำเนินการทุกๆ 3 เดือน ซึ่งในปีงบประมาณ 2560 รพ. ที่มีวิกฤตทางการเงินมีการพัฒนาโดยภาพรวมดีขึ้น ถามว่า ยังมี รพ. ที่วิกฤตทางการเงินระดับ 7 อยู่หรือไม่ ตอบว่า มี เนื่องจาก รพ. สังกัด สธ. มีกว่า 1 หมื่นแห่ง เป็น รพ. ประจำอำเภอกว่า 800 แห่ง รพ. ประจำจังหวัด และ รพ. ศูนย์กว่า 100 แห่ง และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (รพ.สต.) กว่า 9,000 แห่ง เป็นไปไม่ได้ที่จะไม่มีวิกฤตระดับ 7 เลย แต่มีน้อยลง


30 ต.ค. 2560
 โดย: MGR Online