ผู้เขียน หัวข้อ: แพทยสภากำหนดเวลาเข้าเวร "หมอ" นอกเวลาราชการไม่ควรเกิน 40 ชม./สัปดาห์  (อ่าน 569 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
แพทยสภาออกประกาศกำหนดกรอบเวลาทำงาน "หมอ" ชี้แพทย์เพิ่มพูนทักษะ นอกเวลาราชการไม่ควรเกิน 40 ชม./สัปดาห์ แพทย์อายุเกิน 55 ปี ควรรับสิทธิ์งดอยู่เวรนอกเวลาราชการ ป้องกันทำงานหนัก

วันนี้ (12 ต.ค.) ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา นายกแพทยสภา ได้ลงนามในประกาศแพทยสภา ที่ 104/2560 เรื่องการกำหนดกรอบเวลาในการทำงานของแพทย์ภาครัฐ ลงวันที่ 12 ต.ค. 2560 โดยระบุว่า เนื่องจากปรากฎว่าแพทย์ที่ปฏิบัติงานภายใต้การปฏิบัติงานของสถานพยาบาลภาครัฐมีภารงานหนัก พักผ่อนน้อย มีผลกระทบต่อสุขภาพและการดำเนินชีวิต จึงอาศัย อำนาจตามมาตรา 21 (1) แห่งพ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 คณะกรรมการแพทยสภาในการประชุมครั้งที่ 9/2560 วันที่ 14 ก.ย 2560 ให้ออกประกาศแพทยสภาเรื่องกำหนดกรอบเวลาการทำงานของแพทย์ภาครัฐ เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้บริหารสถานพยาบาลภาครัฐจัดอัตรากำลังและระบบการทำงานของแพทย์ให้สอดคล้อง เหมาะสม

ดังนั้น
1. แพทย์เพิ่มพูนทักษะ มีเวลาการทำงานนอกเวลาราชการไม่ควรเกิน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ส่วนระยะเวลาการทำงานเวรอุบัติเหตุฉุกเฉินไม่ควรเกิน 16 ชั่วโมงติดต่อกัน
2. แพทย์ที่มีอายุตั้งแต่ 55 ปี เป็นต้นไป ควรได้รับสิทธิ์งดอยู่เวรนอกเวลาราชการ

12 ต.ค. 2560
https://mgronline.com/qol/detail/9600000104474

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
แพทยสภาเผยออกประกาศกำหนดชั่วโมงทำงานแพทย์ เหตุหมอทำงานหนัก พบหลับในเกิดอุบัติเหตุปีละ 2 - 3 ราย ทำร่างกายอ่อนแอติดเชื้อใน รพ. ง่าย หวังคุ้มครองให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น แต่นำไปใช้อ้างอิงกับ รพ. ไม่ได้ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ความจำเป็นของแต่ละ รพ. เชื่อ สธ. รับงบเพิ่มให้พอต่อการรักษา สถานการณ์อาจดีขึ้น

นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ โฆษกแพทยสภา กล่าวถึงกรณีแพทยสภาออกประกาศกำหนดชั่วโมงการทำงานของแพทย์ โดยแพทย์เพิ่มพูนทักษะควรทำงานนอกเวลาไม่เกิน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เข้าเวรฉุกเฉินไม่เกิน 16 ชั่วโมงติดต่อกัน และแพทย์อายุ 55 ปีขึ้นไป ควรได้รับสิทธิ์งดอยู่เวรนอกเวลาราชการ ว่า การที่ออกประกาศดังกล่าวมาจากการศึกษาข้อมูลที่ผ่านมา ซึ่งพบว่าแพทย์ต้องทำงานหนัก บางแห่งต้องเข้าเวรติดต่อกันนานมากกว่า 100 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ทำให้ร่างกายอ่อนแอ และพบว่า มีแพทย์หนุ่มสาวขับรถเกิดอุบัติเหตุ เพราะหลับในปีละ 2 - 3 ราย บางครั้งงานหนักเจ็บป่วยไม่แลกเวร เพราะเกรงใจ หรือแลกเวรไม่ได้ เมื่อร่างกายอ่อนแอภูมิคุ้มกันของร่างกายก็อ่อนแอ ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคใน รพ. บางรายเครียดฆ่าตัวตายก็มี และหลายรายที่ทนภาระงานหนักไม่ไหวก็ลาออก

นพ.สัมพันธ์ กล่าวว่า การทำงานหนักเป็นไปภายใต้ระเบียบข้าราชการพลเรือน ความจำเป็น และข้อจำกัดของ รพ. โดยเฉพาะเรื่องกำลังคนไม่เพียงพอ อย่างไรก็ตาม การทำงานดังกล่าวเป็นไปเพื่อประโยชน์ของประชาชน ดังนั้น คณะกรรมการแพทยสภาจึงได้ออกประกาศดังกล่าวมาเพื่อมุ่งคุ้มครองคุณภาพชีวิตของแพทย์ อย่างไรก็ตาม ระเบียบดังกล่าวออกมาใช้กับ รพ.ของรัฐเท่านั้น และไม่มีผลในการลงโทษ ฉะนั้น แพทย์ไม่สามารถนำประกาศนี้ไปอ้างอิงกับหน่วยงานที่ทำงานว่าจะไม่อยู่เวรเกินกว่าที่ประกาศนี้กำหนดไม่ได้ ต้องขึ้นอยู่กับความจำเป็นของสถานพยาบาลแต่ละแห่ง หากมีแพทย์ไม่เพียงพอก็ยังจำเป็นต้องอยู่เวรทำงานมากกว่าที่ประกาศกำหนด ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน

“ประกาศนี้จะเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงเวลาที่เหมาะสมในการทำงานของแพทย์ และแสดงให้เห็นว่าปัจจุบันแพทย์ไทยมีการทำงานที่มากกว่าเวลาที่ควรจะเป็นมากน้อยแค่ไหน เพื่อที่จะสามารถนำไปอ้างอิงในการเพิ่มการจัดสรรกำลังคนในระบบสาธารณสุขต่อไป ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขต้องดูแลคนทั้งประเทศ อย่างน้อยก็ผู้ป่วยระบบบัตรทองกว่า 70% แต่ได้งบแค่แสนกว่าล้านบาท ขณะที่กระทรวงศึกษาธิการได้รับ 5 แสนล้านบาท กระทรวงกลาโหม 2 แสนล้านบาท หากเพิ่มเงินเพื่อให้มีแพทย์เพียงพอต่อการรักษาประชาชน มีค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมในการรักษาตามต้นทุนของ รพ. คิดว่าน่าจะดีขึ้น” นพ.สัมพันธ์ กล่าว

17 ต.ค. 2560
https://mgronline.com/qol/detail/9600000105900