ผู้เขียน หัวข้อ: ปลัด สธ.แนะ 3 แนวทางแก้ปัญหารอคิวนาน ขอบุคลากรทุกคนอดทน โซเชียลรุมต่อว่า  (อ่าน 453 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
ปลัด สธ. ให้กำลังใจบุคลากรทางการแพทย์ทุกคนขอให้อดทน ถูกโซเชียลต่อว่าให้รอคิวนาน เผย มีทั้งเรื่องจริงและไม่จริง แนะวิเคราะห์หาสาเหตุและปรับปรุง มอบ 3 แนวทางผู้บริหารแก้ปัญหา เน้นเทคโนโลยี ระบบสื่อสารชี้แจงขั้นตอนการบริการ เปิดคลินิกหมอครอบครัว ลดแออัด

จากกรณีกระแสความไม่พอใจบุคลากรทางการแพทย์ โดยเฉพาะประเด็นรอคิวนาน และมีการร้องเรียนหรือแสดงความไม่พอใจผ่านทางโซเชียลมีเดียในช่วงที่ผ่านมานั้น

วันนี้ (31 ก.ค.) นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ประชุมทางไกลผ่านระบบวิดีโอกับนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง พร้อมกล่าวว่า ต้องการให้กำลังใจและขอบคุณบุคลากรสาธารณสุขที่ทำงานหนัก อาจเสียกำลังใจที่ถูกต่อว่าร้องเรียน โดยเฉพาะทางโซเชียลมีเดีย ซึ่งจากการวิเคราะห์พบว่า มีเรื่องที่เป็นความจริงกับไม่เป็นความจริง จำนวนเท่าๆ กัน จึงขอให้บุคลากรอดทน วิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริงและหาแนวทางแก้ไขปรับปรุง แต่หากเป็นเรื่องไม่จริงก็จะต้องมีระบบการชี้แจงเพื่อแก้ไขความเข้าใจผิด

นพ.โสภณ กล่าวว่า เมื่อวิเคราะห์ปัญหาเชิงลึก พบว่า ขณะนี้ผู้รับบริการมีจำนวนมาก โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง รวมทั้งการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ประชาชนเข้าถึงบริการได้ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี แต่เจ้าหน้าที่มีไม่เพียงพอ จำเป็นต้องแก้ไขในเชิงระบบซึ่งรัฐบาล นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ให้กรอบอัตรากำลังเพิ่ม เพราะเห็นความสำคัญและรู้ดีว่าบุคลากรสาธารณสุขทำงานหนักจริงๆ

นพ.โสภณ กล่าวว่า ได้มอบให้ผู้บริหารดำเนินการดังนี้ 1. การจัดระบบบริการ เน้นการนำเทคโนโลยีมาใช้ เช่น นัดคิวรักษาออนไลน์ ระบบการสื่อสารกับประชาชนให้ทราบขั้นตอนการรักษา บอกเวลาที่ต้องรอคอยในขั้นตอนต่างๆ สื่อสารทุกช่องทาง ด้วยบุคคล ป้าย ตัววิ่ง โซเชียลมีเดีย แอปพลิเคชัน เพื่อลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยและญาติ เช่น ที่โรงพยาบาลชลบุรีดำเนินการแล้ว เป็นต้น 2. การพัฒนาระบบบริการ โดยเปิดคลินิกหมอครอบครัว กระจายบุคลากรไปดูแลรักษาผู้ป่วย ลดความแออัด ไม่ต้องรอนาน การจัดระบบดูแลผู้ป่วยห้องฉุกเฉิน ที่แพทย์เชี่ยวชาญได้ให้การดูแลผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะฉุกเฉินจริงๆ และจัดคลินิกนอกเวลาให้บริการตรวจรักษาการเจ็บป่วยทั่วไป ซึ่งอาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเล็กน้อย 3. การจัดการกำลังคน จัดสรรตามภาระงาน โรงพยาบาลที่มีปริมาณงานมากต้องได้อัตรากำลังมาก

“ขณะนี้บุคลากรสาธารณสุขงานหนักจริงๆ อยากให้ประชาชนเข้าใจ ให้ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน และช่วยกันดูแลตนเองในการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค หากมีข้อสงสัย หรือปัญหาในการรับบริการ ขอให้สอบถามเจ้าหน้าที่ หัวหน้าแผนก หรือผู้อำนวยการ หรือที่กระทรวงสาธารณสุข เรายินดีรับฟังและแก้ไข อย่าโจมตีต่อว่ากัน เพื่อไม่ให้คนดีๆ เสียกำลังใจ พยายามรักษาคนดีให้อยู่ในระบบราชการ ในโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อพัฒนาระบบการแพทย์และสาธารณสุขต่อไป” นพ.โสภณ กล่าว

31 ก.ค. 2560
MGR Online