ผู้เขียน หัวข้อ: นโยบายการผลิตพยาบาลเพิ่ม อาจจะไม่มีความจำเป็น ถ้าพยาบาลทำ OT ควรจะเพียงพอ  (อ่าน 2880 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
สรุปสาระสำคัญจากการประชุมคณะกรรมการกำลังคนด้านสุขภาพ

รองศาสตราจารย์ สุปาณี เสนาดิสัย ที่ปรึกษาประจำสภาการพยาบาลด้านมาตรฐานการศึกษาวิชาการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้แทนสภาการพยาบาลเขาร่วมประชุมคณะกรรมการกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 1 /2560 วันพฤหัสบดี ที่ 12 มกราคม 2560 ได้สรุปสาระสำคัญดังนี้

ข้อเสนอเชิงนโยบาย

ด้านอุปทาน (suppy side)

1. ข้อให้ คณะกรรมการอุดมศึกษาแห่งชาติ พิจารณาแผนการผลิตกำลังคนในอีก 10 ปีข้างหน้า ดังนี้
   1.1 ในวิชาชีพสาธารณสุขมีการผลิตที่มากเกินความต้องการของประเทศดังนั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะทบทวนจำนวนการผลิตและเร่งปรับสมรรถนะบัณฑิตให้สอดคล้องกับความต้องการของระบบสุขภาพมากขึ้น
   1.2ในวิชาชีพแพทย์ ทันตแพทย์ กายภาพบำบัด และแพทย์แผนไทย/แผนไทยประยุกต์ ในอีก 10 ปี จะมีความเพียงพอจนเกินความต้องการของประเทศ ดังนั้นการเพิ่มการผลิตจำเป็นต้องใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง (คงอัตราการผลิตแบบในขณะนี้เอาไว้)
   1.3 ในวิชาชีพวิชาชีพพยาบาล  เภสัชกร เทคนิคการแพทย์ และสัตวแพทย์ แม้ว่าจำนวนบุคลากรในอีก 10 ปีข้างหน้าจะยังต่ำกว่าจำนวนบุคลากรที่ประเทศต้องการเล็กน้อย นโยบายการผลิตบุคลากรเหล่านี้เพิ่ม (จากการผลิตปัจจุบัน) อาจจะไม่มีความจำเป็น
   1.4 คาดว่าถ้าพยาบาลทำ OT ควรจะเพียงพอ

2. การผลิตกำลังคนด้านสุขภาพของประเทศในอนาคตจำเป็นต้องเน้นการผลิตเพื่อแก้ปัญหาการกระจายเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมในการเข้าถึงบริการของประชาชนโดยขอให้ คณะกรรมการอุดมศึกษาแห่งชาติ สถาบันการผลิตทั้งภาครัฐและเอกชนและกระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการดังนี้
   2.1 ปรับระบบการรับนักเรียนทุกวิชาชีพ เข้าเรียนให้เน้นการรับนักเรียนจากพื้นที่ที่ขาดแคลนให้มากขึ้น โดยเฉพาะในสาขาอาชีพที่มีการกระจายตัวยังไม่เหมาะสมทางภูมิศาสตร์ (Geographical mal-distribution)
   2.2 ส่งเสริมระบบการรับบุคลากรสายสุขภาพที่ปฏิบัติงานอยู่แล้วเข้ามาศึกษาต่อยอดในสาขาอาชีพที่ขาดแคลนและ/หรือมีการกระจายตัวไม่เหมาะสม
   2.3 ภาครัฐยังจำเป็นต้องสนับสนุนงบประมาณในการผลิตกำลังคนด้านสุขภาพโดยเฉพาะในกลุ่มที่รับตรงจากพื้นที่ขาดแคลน และมีพิจารณาปรับระบบสนับสนุนงบประมาณให้ผ่านทางกระทรวงสาธารณสุขในฐานะผู้ใช้ (Demand-side financing)
3. คุณภาพขอให้ คณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาสำหรับบุคลากรใน ศตวรรษที่ 21 ร่วมกับสถาบันการผลิตทั้งภาครัฐและเอกชน ให้มีการปฏิรูประบบการผลิตทั้งในเรื่องการบริหารจัดการการศึกษาโดยขบวนการ Transformative learning และให้มีการทบทวนหรือปรับปรุงหลักสูตรและขบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความต้องการสุขภาพของประชาชนและบริบทของสังคมไทย

ด้านอุปสงค์ (Demand side)

1. เพื่อให้การบริหารจัดการกำลังคนด้านสุขภาพให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดขอให้กระทรวงสาธารณสุขซึ่งเป็นผู้ใช้บุคลากรสาธารณสุขหลักดำเนินการดังนี้
   1.1 เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด การจัดบริการสุขภาพต้องตั้งอยู่บนฐานของการมีสัดส่วนวิชาชีพ(Skill mix) ที่เหมาะสมและมีระบบสนับสนุนการถ่ายโอนภารกิจบางอย่างที่ไม่จำเป็นต้องทำโดยบุคลากรวิชาชีพสุขภาพ(Task shifting) ไปยังกลุ่มบุคลากรอื่นๆ เช่น อาสาสมัคร ผู้ดูแลสุขภาพ รวมทั้งบุคลากรนอกสายสุขภาพ
   1.2 ส่งเสริมความเข้มแข็งในการจัดระบบบริการในระบบปฐมภูมิ ภายใต้การมีส่วนร่วมของประชาชนผู้ให้บริการสุขภาพทุกภาคส่วนและองค์กรที่เกี่ยวข้องทุกระดับ โดยมุ่งเน้นการสร้างเสริมสุขภาพ และถ่ายโอนผู้รับบริการจากระดับทุติยภูมิ และตติยภูมิ มารับบริการที่ใกล้บ้านมากขึ้นเพื่อเป็นการลดรายจ่ายของประชาชนและสร้างความยั่งยืนด้านการคลังสุขภาพในระยะยาว
   1.3 เพิ่มผลิตภาพ(Productivity) โดยสนับสนุนใช้เทคโนโลยีทดแทนหรือกำลังคนทดแทนเพื่อให้มีการใช้ประโยชน์จากกำลังคนวิชาชีพด้านสุขภาพอย่างเหมาะสมและสนับสนุนการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการทำงานเพื่อลดการสูญเสีย รวมทั้งให้มีระบบประเมินผลิตภาพและจัดให้มีระบบการพัฒนากำลังคนอย่างต่อเนื่องตลอดจนการการสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
   1.4 จัดให้มีมาตรการในการธำรงรักษา(Retain) กำลังคนด้านสุขภาพในพื้นที่ให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพโดยประกอบด้วยมาตรการที่หลากหลายได้แก่ ระบบการจ้างงาน ระบบค่าตอบแทน ระบบความก้าวหน้า

2. ขอให้ สถานบริการภาคเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีส่วนร่วมในการทำแผนจัดบริการแก่ประชาชนของแต่ละเขตบริการเพื่อเป็นการใช้ทรัพยากรด้านสุขภาพร่วมกันและเป็นการแก้ไขปัญหาการกระจายกำลังคนด้านสุขภาพที่ไม่เหมาะสม
ด้านการควบคุมกำกับ(Regulator)

   เพื่อให้กลไกควบคุมกำกับมาตรฐานการทำงานของกำลังคนด้านสุขภาพสอดคล้องกับบริบทความต้องการด้านสุขภาพของประชาชนและเอื้อให้เกิดการทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพของกำลังคนด้านสุขภาพขอให้สภาวิชาชีพดำเนินการทบทวนการกำหนดสมรรถนะ(competency) ของบัณฑิตทบทวนข้อกำจัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพให้เอื้อต่อการทำงานร่วมกันของวิชาชีพ(inter professional collaboration)
ควรมีการวิจัยเพื่อศึกษาเรื่องการสูญเสียกำลังคนว่าสูญเสียปีละเท่าไหร่และให้ศึกษาโครงการเช่นนี้ในอีก 2-3 ปีข้างหน้าและคำนึงถึงบางสาขาที่มีความจำเป็นแต่ยังไม่ได้ศึกษาเช่น Audiologist

   
สาระน่ารู้ (หน้า8-9)
จดหมายข่าว สภาการพยาบาล
ปีที่19 ฉบับที่1 ประจำเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2560

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 กันยายน 2017, 00:38:00 โดย story »