ผู้เขียน หัวข้อ: สธ.ถอดบทเรียนมหาอุทกภัย 54 น้ำท่วมนาน 4 เดือน ป่วย 2 ล้าน  (อ่าน 1277 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
 สธ.ถอดบทเรียนมหาอุทกภัย 54 พัฒนารูปแบบการรับมือเหตุสาธารณภัยในอนาคต หลังเผชิญภัยน้ำท่วมนาน 4 เดือน พบผู้เจ็บป่วย 2 ล้านราย

       วันนี้ (22 ธ.ค.) นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาระบบปฏิบัติการ ป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณภัยด้านการแพทย์และการสาธารณสุข กรณีอุทกภัย (วอร์รูม น้ำท่วม) กล่าวว่า หลังจากสถานการณ์อุทกภัยที่ผ่านมา ทำให้หลายหน่วยงานต้องปฏิบัติหน้าที่กันอย่างหนัก ในส่วนของกระทรวงสาธารณสุขด้านการบริการทางการแพทย์ ผลการทำงานพบว่าประชาชนเกิดความพึงพอใจ ไม่เกิดดรคระบาดทั้งในขณะน้ำท่วมและหลังน้ำท่วมและไม่มีคนฆ่าตัวตาย ต้องขอบคุณบุคลากรด้านสาธารณสุขที่ปฏิบัติหน้าที่กันอย่างเต็มที่ นอกจากนี้ การที่ไม่มีโรคระบาดทำให้ไม่กระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวที่ทำให้นักท่องเที่ยว เชื่อมั่นว่า สามารถมาเที่ยวประเทศไทยได้อย่างปลอดภัย
       
       นพ.ไพจิตร์ กล่าวต่อว่า องค์การสหประชาชาติ ระบุว่า ทุกๆ ปี ประชากรกว่า 200 ล้านคนทั่วโลก ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติเช่น น้าท่วม พายุไซโคลน แผ่นดินไหว คลื่นยักษ์ ไฟป่า และภัยธรรมชาติอื่นๆ ซึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม และสภาวะอากาศที่ร้อนขึ้น ทำให้ภัยธรรมชาติมีผลกระทบรุนแรงขึ้น และซ้ำเติมความยากจนที่มีอยู่ รัฐต้องใช้ทรัพยากรจำนวนมาก เพื่อช่วยเหลือและบูรณะฟื้นฟูพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายดังกล่าว สำหรับประเทศไทยภัยธรรมชาติที่พบทุกปี คือ พายุหมุนเขตร้อนและอุทกภัย โดยอุทกภัยพบได้ 2ลักษณะ ใหญ่ๆคือน้ำท่วมขัง มักเกิดขึ้นในที่ราบลุ่มแม่น้ำและบริเวณชุมชนเมืองใหญ่ และน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าจากฝนตกหนักในบริเวณพื้นที่ซึ่งมีความชันมากและกักเก็บน้ำได้น้อยมัก เกิดหลังจากฝนตกหนักไม่เกิน6ชั่วโมง และเกิดในบริเวณที่ราบระหว่างหุบเขามีความรุนแรงและรวดเร็วโอกาสป้องกันมีน้อย เกิดความเสียหายมีมากทั้งชีวิตและทรัพย์สิน
       
       โดยเหตุการณ์น้ำท่วมปี 2554 นี้ ซึ่งท่วมนาน 3-4 เดือน กระทรวงฯ ได้ตั้งศูนย์ปฎิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณภัยด้านการแพทย์และสาธารณสุข ตั้งแต่ 25 กรกฏาคม 2554 มีคณะกรรมการและคณะทำงานต่างๆ ทางด้านวิชาการ บริหารจัดการ 10 คณะ ดำเนินงานตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข 9 ข้อ ได้แก่ 1.การป้องกันสถานที่ 2.การสำรองทรัพยากร เวชภัณฑ์ที่จำเป็น 3.การจัดบริการในสถานที่ 4.การจัดบริการนอกสถานที่ 5.การส่งต่อ/เคลื่อนที่ผู้ป่วย 6.การเตรียมเส้นทางหลัก/สำรองในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย 7.เตรียมยานพาหนะ รถยนต์/รถยกสูง เรือ เฮลิคอปเตอร์ และสถานที่รองรับ 8.จัดตั้งศูนย์อพยพ/ศูนย์ช่วยเหลือ 9.การจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม โดยเสริมทีมแพทย์จากต่างจังหวัดที่น้ำไม่ท่วม
       
       ผลสรุปในด้านการจัดบริการทางการแพทย์ในพื้นที่น้ำท่วมทั้งหมด 65จังหวัด ในภาพรวมได้ผลเป็นที่น่าพึงพอใจ หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ได้ออกบริการกว่า 10,000 ครั้ง พบผู้เจ็บป่วย2 ล้านกว่าราย มีผู้ประสบภัยที่มีอาการเครียดเสี่ยงฆ่าตัวตายเกือบ 2 หมื่นราย ไม่พบการระบาดของโรคติดต่อที่สำคัญ เช่น โรคไข้ฉี่หนู โรคไข้เลือดออกโรคอุจจาระร่วง ตาแดง ส่วนด้านการฟื้นฟูพื้นที่และการเยียวยา ได้ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่ประสบภัยน้ำท่วมดำเนินการฟื้นฟูพื้นที่และเยียวยาผู้ประสบอุทกภัยตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ให้มีความปลอดภัย กลับคืนสู่สภาวะปกติโดยเร็วที่สุด ระดมกำลังเจ้าหน้าที่ และ อสม.ประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการทั้งในโรงพยาบาล พื้นที่สาธารณะ ตลาดสด ดูแลระบบการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ความสะอาดอาหารและน้ำ รวมทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตผู้ประสบภัยโดยจะนำผลสรุปการประชุมครั้งนี้

ASTVผู้จัดการออนไลน์    22 ธันวาคม 2554