ผู้เขียน หัวข้อ: 3 องค์กรแพทย์ หนุนแก้ 'กฎหมายบัตรทอง'  (อ่าน 600 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด


โฆษกคณะกรรมการพิจารณา (ร่าง) พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติฯ รับมอบหนังสือสนับสนุนการแก้ไข พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติฯ จาก 3 องค์กรทางการแพทย์

วันนี้ (4 กรกฎาคม 2560) ที่สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ) นพ.มรุต จิรเศรษฐสิริ ในฐานะโฆษกคณะกรรมการพิจารณา (ร่าง) พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กล่าวภายหลังรับมอบหนังสือสนับสนุนการแก้ไข พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติฯ จาก ศ.นพ.สารเนตร์ ไวคกุล นายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ พร้อมด้วย นพ.ประดิษฐ์ ไชยบุตร ประธานสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไปฯ (สพศท.) และอุปนายกสมาคมกายภาพบำบัดแห่งประเทศว่า จะได้ยื่นข้อเสนอจาก3 องค์กรเพื่อนำไปมอบให้ประธานและคณะกรรมการ (ร่าง) พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติฯ ที่จะประชุมในวันที่ 6 กรกฎาคม 2560 นี้ เป็นเสียงส่วนหนึ่งที่รับฟังทั้งประเด็นที่เห็นด้วย เห็นต่าง หรือข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

ในการจัดรับฟังความคิดเห็น ได้ปฏิบัติตามกฎหมายมาตรา 77 ฟังเสียงรอบด้านอย่างกว้างขวาง โดยจัดทำใน 3 รูปแบบ เพื่อให้เข้าถึงประชาชนได้มากที่สุด ได้แก่ ช่องทางออนไลน์ ช่องทางเวทีประชาพิจารณ์เปิดให้แสดงความเห็นในบรรยากาศของการสมานฉันท์ โดยให้ตัวแทนทั้ง 3 ภาค สลับกันขึ้นกล่าวบนเวที ทั้งภาคประชาชนหรือภาคสังคม ภาควิชาการ และภาคราชการหรือหน่วยงานท้องถิ่น คนละ 3 นาที และช่องทางสำหรับบุคคลที่ลงทะเบียนหน้างาน ซึ่งอาจไม่มีโอกาสขึ้นกล่าวบนเวที แต่อย่างไรก็ตามมีการบันทึกวิดีโอสามารถเปิดดูย้อนหลัง ถือเป็นการเปิดกว้างและเป็นธรรมในการรับฟังเสียงของทุกภาคส่วน ดำเนินด้วยการสุจริต โปร่งใส และสามารตรวจสอบได้

กระบวนการในการเสนอแก้ไข ร่าง พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพฯ ขณะนี้ ดำเนินการมาใกล้จะหมดหน้าที่ของคณะกรรมการร่างฯแล้ว ก่อนที่จะมอบให้ประธานกรรมการพิจารณา ผลการประชาพิจารณ์สรุปความเห็นว่าจะปรับเนื้อหาหรือไม่อย่างไรและนำเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข หลังจากพิจารณาข้อมูลการประเมินผลกระทบจากสถาบันพระปกเกล้า ซึ่งเป็นสถาบันที่เป็นกลาง โดยคำนึงถึงพี่น้องประชาชนที่ต้องได้ประโยชน์อย่างสูงสุด ซึ่งท่าน รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ ประธานกรรมการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ. แก้ไขฯ ก็พยายามทำตามกรอบเวลาที่กำหนดไว้

นพ.มรุต กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับข้อกังวลที่เกิดขึ้นในช่วงนี้

1.เรื่องสัดส่วนคณะกรรมการที่มีการเพิ่มสัดส่วนผู้ให้บริการนั้น เนื่องจากกรรมการร่างฯต้องการให้ผู้ให้บริการเข้ามามีส่วนร่วม นำเสนอข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงาน ที่มาจากหน่วยงานต่างๆ อาทิ รพ.เอกชน รพ.สังกัดมหาวิทยาลัย รพ.สังกัดกระทรวงกลาโหม รพ.สังกัด กทม. เป็นต้น

2. ประเด็นการเป็นรองประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ของปลัดกระทรวงสาธารณสุขนั้นเนื่องจากอยากให้มีรองประธานเพื่อช่วยคิด ช่วยทำให้การประชุมผ่านไปได้ด้วยดี คงไม่เป็นประเด็นยึดติด อาจมีการปรับเปลี่ยนได้ 3.ประเด็นคณะกรรมร่างมีความเห็นว่า บอร์ด สปสช.ควรมาจากผู้เกี่ยวข้องอย่างหลากหลายและครบถ้วน ไม่ได้มีเจตนาที่จะให้หน่วยงานใดยึดครองโครงการฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้โครงการฯมั่นคงและยั่งยืนต่อไป


by บุญญิสา เพ็งบุญมา 4 กรกฎาคม 2560
http://news.voicetv.co.th/thailand/504577.html

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
กลุ่มแพทย์ 6 องค์กร  แก้บัตรทอง 30 บาท ชี้ที่ผ่านเป็นระบบการรักษาแบบเหมาโหล  การรักษาไม่เต็มประสิทธิภาพ

 
          7 มิ.ย. 60 - กลุ่มพลังแพทย์ 6 องค์กร ยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อสนับสนุนให้มีการแก้ไขกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และปฏิรูปกระทรวงสาธารณสุข

          โดยพญ.อรพรรณ เมธาดิลกกุล อดีตผู้อำนวยการสำนักกฎหมายการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข  กล่าวว่า สาเหตุที่ต้องการให้มีการปฏิรูปหลักประกันสุขภาพ เนื่องจากปัญหาหลายอย่าง เช่น การรักษาที่แย่ลงและส่งผลกระทบต่อชีวิตประชาชนทำให้คุณภาพการบริการและการรักษาตกต่ำลง คือผู้ที่ถือบัตรทองที่เป็นโรค เช่น ความดันโรหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือดโดยมีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าปกติร้อยละ 70 เพราะสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) บังคับให้ได้รับการรักษาแบบเหมาโหล และปัญหาสำคัญที่ถูกละเลยคือสิทธิในการเลือกวิธีการรักษา นอกจากนี้การใช้งบประมาณแผ่นดินสำหรับสุขภาพที่สูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ประชาชนแทบไม่มีส่วนร่วมรับผิดชอบในการดูแลรักษาพยาบาลตนเอง โดยเฉพาะโครงการประชานิยม 30 บาทรักษาทุกโรค ที่ห้ามไม่ให้มีการร่วมจ่ายโดย สปสช. แต่กลับใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นหมื่นกว่าล้านทุกปี หากปล่อยไว้จะเป็นภัยความมั่นคงทางการคลังของชาติ

          “เมื่อรัฐบาลให้มีการแก้กฎหมาย มีกลุ่มเอ็นจีโอได้ออกมาชุมนุมเคลื่อนไหว ทั้งนี้อาจจะเป็นกลุ่มที่มีผลประโยชน์ได้รับเงินจากกองทุน ซึ่งเป็นกลุ่มที่แย่งเงินจากรัฐบาลในการจ่ายเป็นเงินค่ารักษาประชาชน เพื่อนำไปทำกิจกรรมรณรงค์ต่างๆ โดยรัฐบาลตรวจพบว่ามีการใช้เงินไปกับมูลนิธิต่างๆ เป็นการใช้ไม่ตรงวัตถุประสงค์ จนนายกฯต้องใช้มาตรา 44 เพื่อมาตรวจสอบ และจนถึงปัจจุบัน รมว.สาธารณสุขก็ยังไม่มีการตรวจสอบ ทำให้เกิดข้อสงสัยว่ารมว.สาธารณสุขอาจจะมีส่วนได้เสียหรือรู้เห็นกับการไม่แก้ปัญหานี้หรือไม่”พญ.อรพรรณ กล่าว

          ด้านพญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา กรรมการแพทยสภา กล่าวว่า เราสนับสนุนให้มีการแก้กฎหมายหลักประกันสุขภาพ ตลอดจนปฏิรูประบบสาธารณสุข โดยมีข้อเสนอ 5 ประเด็น
1.เพิ่มอำนาจกระทรวงสาธารณสุข และควรมีฐานะรองรับ การกระจายอำนาจลงไปที่สุขภาพเขต ทำให้เกิดการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานในพื้นที่ทั้งการป้องกัน และรักษาโรคได้ดีขึ้น  2.ปรับความสมดุลอำนาจระหว่างโรงพยาบาลรัฐ กับ สปสช. โดย สปสช. ต้องไม่ทำสัญญาผลงานกับโรงพยาบาลรัฐ แต่ให้ทำสัญญาผลงานกับเขตสุขภาพเท่านั้น เพื่อให้การกำหนดเป้าหมายผลงานมีความสอดคล้องกับปัญหาในแต่ละพื้นที่ และสปสช. ต้องไม่มีบทบาทในการรักษา รวมถึงให้ยกเลิกกองทุนที่มีผลประโยชน์ทับซ้อน รวมถึงสปสช. ต้องไม่เข้าไปก้าวก่ายการจัดตั้งกองทุน อีกทั้งยังต้องเปลี่ยนที่มาของบอร์ดหลักประกันสุขภาพ ให้มีตัวแทนจากผู้ให้บริการด้านสุขภาพ ให้มากขึ้น หรือเทียบเท่ากับจำนวน NGO
3.สนับสนุนให้ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เข้ามามีส่วนร่วมและรับผิดชอบในการบริการทางการแพทย์ และสาธารณสุขตามหลักประชารัฐ เพราะจะทำให้เกิดการกระจายอำนาจและการตรวจสอบตลอดจนเข้าถึงปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่
4.พัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล ให้คนชนชั้นกลางกลับไปใช้บริการ และร่วมจ่ายบริการสุขภาพ โดยที่ สปสช. ต้องไม่ห้ามหรือขัดขวาง
5.ส่งเสริมให้มีรายการสุขภาพเสริม เช่น บัตรประกันสุขภาพล่วงหน้า โดยให้มีสิทธิพิเศษ เช่น ได้ห้องพิเศษก่อน เข้าถึงบริการเร็วขึ้น หรือนำยอดเงินที่ประชาชนร่วมรับผิดชอบไปลดหย่อนภาษีได้ เพื่อกระตุ้นให้ โรงพยาบาลเกิดการแข่งขันแย่งกันให้บริการประชาชน

   7 มิ.ย. 2560
http://www.komchadluek.net/news/regional/281369