ผู้เขียน หัวข้อ: การแก้ไขพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545  (อ่าน 792 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
การแก้ไขพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 (ตอนที่ 1)

10 มิถุนายน 2560

คำถามใครสั่งให้แก้ไขพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

คำตอบก็คือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้ออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาร่างพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2560 เพื่อแก้ปัญหาการบริหารงานของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)(1)

เหตุผลที่ต้องแก้ไขพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545
คำตอบ เพื่อทำตามคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 37/2559

ตามคำสั่งที่ 37/ 2559 ลงวันที่ 5 ก.ค. 2559 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา(2) ได้เผยแพร่คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 37/2559 เรื่อง ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องและจําเป็นต่อการสนับสนุนและส่งเสริม การจัดบริการสาธารณสุขและค่าใช้จ่ายอื่นตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
โดยที่ได้ปรากฏว่าการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายของหน่วยบริการและเครือข่ายหน่หน่วยบริการ ตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีเหตุขัดข้องบางประการ ทําให้เป็นอุปสรรคต่อความคล่องตัว ในการบริหารจัดการและประสิทธิภาพของการให้บบริการของหน่วยบริการ
ทั้งนี้ได้ส่งผลกระทบถึงการให้บริการด้านการแพทย์และการสาธารณสุขแก่ประชาชนโดยรวม สมควรแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องในขณะนี้โดยเร็ว เพื่อประโยชน์ต่องานบริการสาธารสาธารณสุขของประเทศ และประชาชนผู้รับบริการในระหว่างที่จะได้มีการดําเนินการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติต่อไป
จึงอาศัยอํานาจตามความในมาตมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคําสั่งตามรายละเอียด ดังต่อไปนี้(2)

การที่หัวหน้าคสช.ออกคำสั่งนี้ เนื่องจากคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัญหาในการบริหารงานและการใช้จ่ายงบประมาผณของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.)ตามคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 11/2558 ลงวันที่ 26 สิงหาคม 2558 ได้รายงานผลการตรวจสอบว่า การบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(กองทุน 30 บาท)นั้น ได้ดำเนินการโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายหลายประเด็นและคณะกรรมการชุดนี้ได้เสนอแนะว่า ถ้ามีความจำเป็นที่จะต้องจ่ายเงินกองทุนที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายนี้ ก็สมควรที่จะต้องแก้ไขกฎหมาย เพื่อให้ไม่เป็นอุปสรรคต่อการจัดบริการสาธารณสุขให้แก่ประชาชน ซึ่งอาจจะส่งผลเสียหายแก่ประชาชนผู้มีสิทธิไปใช้บริการในระบบ 30 บาท
หัวหน้าคสช.จึงได้ออกคำสั่งที่ 37/2559 ดังกล่าวนี้ เพื่อให้สปสช.จ่ายเงินกองทุนที่ผิดกฎหมายตามเดิมได้

โดยในคำสั่งนั้นข้อ (5)เขียนไว้ว่า ค่าใช้จ่ายที่ได้จ่ายไปแล้วก่อนวันที่ 1 ต.ค. 2558 หากผลการตรวจสอบของกระทรวงสาธารณสุขพบว่าเป็นการดำเนินการโดยสุจริตให้ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องและจำเป็นต่อการสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขและค่าใช้จ่ายอื่นตามคำสั่งนี้” และคำสั่งข้อ (6) ให้ใช้คำสั่งนี้จนกว่าจะมีการแก้ไขกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติต่อไปซึ่งเป็นต้นเหตุที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้สั่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2559(1)

คำอธิบายขยายความตามคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 37/2559

หัวหน้าคสช.พบว่าการใช้จ่ายเงินกองทุน 30 บาทที่ผ่านมานั้น มีการใช้จ่ายเงินผิดกฎหมาย แต่ถ้าให้หยุดการจ่ายเงินเช่นนี้ จะทำให้สถานพยาบาลไม่มีเงินไปให้บริการประชาชน หัวหน้าคสช.จึงออกคำสั่งยกเว้นให้สปสช.ทำผิดกฎหมายเหมือนเดิมได้
แต่ให้กระทรวงสาธารณสุขตรวจสอบว่า การทำผิดกฎหมายก่อนหน้าการออกคำสั่งนี้ เป็นการกระทำที่สุจริตหรือไม่?
ถ้าเป็นการกระทำที่สุจริตและสอดคล้องกับคำสั่งนี้ ก็ให้ถือว่าทำถูกกฎหมายแล้ว
และในขณะเดียวกัน หัวหน้าคสช.ก็ต้องการให้มีการแก้ไขกฎหมาย เพื่อให้การจ่ายเงินกองทุน 30 บาท ในอนาคต ไม่เป็นการทำผิดกฎหมายอีกต่อไป
ผู้เขียนในฐานะผู้เสียภาษีร่วมกับประชาชนอื่นๆให้รัฐบาลเอามาจัดสรรเป็นกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จึงมีคำถามดังนี้

คำถามถึงนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

1) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการตรวจสอบการใช้จ่ายเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่แล้วมา ก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2558 นั้น เป็นการใช้จ่ายเงินที่สุจริต เพื่อประโยชน์ของประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือไม่? ถ้าตั้งกรรมการตรวจสอบแล้ว ได้ผลการตรวจสอบอย่างไร ? โปรดแจ้งให้ประชาชนทราบด้วย

แต่ถ้ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ไม่ได้ดำเนินการสอบสวนเรื่องนี้ จะถือได้ว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวสาธารณสุขละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่?

2) นายกรัฐมนตรี ได้ติดตามสอบถามผลการตรวจสอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขหรือไม่?
ถ้ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขไม่ได้ดำเนินการตั้งกรรมการสอบสวนในเรื่องการใช้จ่ายเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือไม่ได้รายงานผลการตรวจสอบนี้ ในเวลาเนิ่นนานกว่า 1 ปีแล้ว โดยที่นายกรัฐมนตรีไม่ได้ติดตามเร่งรัดผลการตรวจสอบ จะถือว่านายกรัฐมนตรีละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่?
สรุปเนื้อหาบทความนี้คือเหตุที่ต้องมีการแก้ไขพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ.2545เนื่องจากมีการบริหารกองทุนที่ผิดกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แต่มีการอ้างว่าถ้าไม่ทำผิดกฎหมายแล้ว จะไม่สามารถจ่ายเงินให้บริการประชาชนได้

หัวหน้าคสช.จีงออกคำสั่งที่ 37/2545ให้สปสช.ทำผิดกฎหมายเหมือนเดิมที่ทำมาแล้วได้ต่อไปแต่สั่งให้รมต.สาธารณสุขตรวจสอบว่า ที่ทำผิดกฎหมายไปแล้วนั้น มันมีการทุจริตด้วยหรือไม่?
ถ้าทำ(ผิดกฎหมาย)โดยสุจริตแล้วไม่เป็นไร แต่ถ้าพบทุจริตแล้ว คนที่เป็นรัฐมนตรีที่กำกับดูแลการทำงานของสปสช.จะต้องจัดการอย่างไร ? ซึ่งวิญญูชนพึงรู้อยู่แก่ใจอยู่แล้วว่าจะต้องทำอย่างไร
และถ้าไม่รีบดำเนินการจัดการแก้ไขปัญหาความไม่สุจริต ก็เป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือไม่?

(ตอนที่ 2 จะพูดถึงกฎหมายที่ยกร่างใหม่ ว่าแก้ปัญหาการบริหารงานของสปสช.หรือไม่)

พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
กรรมการแพทยสภา
ที่ปรึกษาสำนักกฎหมายการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
ที่ปรึกษากิติมศักดิ์ กรรมาธิการสาธารณสุข สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
https://www.facebook.com/churdchoo.ariyasriwatana/posts/10154745295660208

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
10 มิถุนายน 2560

ก่อนที่จะกล่าวถึงการพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....(1) ที่คณะกรรมการยกร่างขึ้นใหม่นั้น จะขอกล่าวถึง การจ่ายเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ คือการ จ่ายเงินค่าบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขซึ่งไม่ได้ให้ “โดยตรง” แก่บุคคล(ตามาตรา 3) โยจ่ายให้แก่ “หน่วยบริการ”(สถานพยาบาลตามกฎหมาย) แต่เอาไปจ่ายให้แก่องค์กรและหน่วยงานอื่นที่ไม่มีสิทธิ์ได้รับตามกฎหมาย(ไม่ใช่สถานบริการ) เช่นกรณี(2) เอาเงินกองทุนไปจ่ายให้แก่มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ มูลนิธิประเมินเทคโนโลยีและนโยบายสุขภาพ (HITAP)

ซึ่งการใช้จ่ายเงินให้แก่หน่วยงานอื่นนอกเหนือหน่วยบริการนี้ อาจจะมีอีกมากมาย แต่ยังไม่มีการตรวจสอบและเปิดเผย เช่นกรณีเอาไปจ่ายให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(3) ที่อ้างว่าเพื่อเป็นการ “สนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุข” ( ที่ยังไม่มีอปท.ไหนกล้าเอาไปใช้ เนื่องจากกลัวว่าจะผิดกฎหมาย) อยู่ถึง 7.000 ล้านบาท
ซึ่งจะเห็นได้ว่า ในร่างกฎหมายหลักประกันฉบับแก้ไขนี้ ได้เพิ่มคำจำกัดความของ “การบริการสาธารณสุข” ให้เพิ่มเติมว่า “บริการสาธารณสุขให้หมายความรวมถึงสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขด้วย”

จึงทำให้เกิดคำถามว่า วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติคืออะไร? กองทุนนี้ตามหลักการประกันสุขภาพควรมีหน้าที่ “จ่ายค่าบริการสาธารณสุข” แทนประชาชน(เพื่อจะได้ไม่ล้มละลายจากการเจ็บป่วย” ดังที่กล่าวอ้างไว้
หรือกองทุนมีวัตถุประสงค์ที่จะทำงานทับซ้อนกับกระทรวงสาธารณสุข และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น โดยการไปสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขด้วย
ฉะนั้น ต้องแยกแยะว่า การจัดบริการสาธารณสุขนั้น เป็นหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุข และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเท่านั้น ไม่ใช่หน้าที่ของผู้บริหารกองทุนปะกันสุขภาพ เช่นสปสช.หรือกองทุนประกันสังคม หรือระบบสวัสดิการข้าราชการ ใช่หรือไม่?

และตลอดเวลา 16 ปีที่ผ่านมาสปสช.ได้ก้าวก่าย(ล้ำเส้น) การทำงานกระทรวงสาธารณสุขในการ “สั่งการเกี่ยวกับการจัดบริการสาธารณสุข” อยู่เสมอมา ใช่หรือไม่?
และสปสช.เอาเงินไปจ่ายนอกเหนือหน่วยบริการ ในขณะที่ “หน่วยบริการ” (ซึ่งมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์เป็นหน่วยบริการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข) จนทำให้หน่วยบริการสาธารณศุขขาดเงินงบประมาณที่พัชียงพอต่อการใช้บริการของผู้ป่วยตลอดมา
ฉะนั้น การแก้ไขคำนิยามของ “บริการสาธารณสุข” ในมาตรา 3 ของพ.ร.บ.ที่ยกร่างใหม่นี้ กลับจะเป็นการขยายขอบอำนาจของสปสช.ให้ทำการก้าวก่ายหรือสั่งการกระทรวงสาธารณสุขได้ตามกฎหมาย และจะเป็นการทำงานซ้ำซ้อนกันระหว่างสองหน่วยงานนี้
ผู้เขียนจึงไม่เห็นด้วยกับร่างแก้ไขในมาตรา 3 ดังกล่าว

ยังมีการแก้ไขในมาตรา 3 อีกว่า “สถานบริการ” ให้หมายความรวมถงน่วยงานอื่นของรัฐที่สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภพและป้องกันโรคตามที่คณะกรรมการกำหนด
ซึ่งผู้เขียนไม่เห็นด้วย เนื่องจากหน้าที่ในการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นหน้าที่ที่กระทรวงสาธารณศุขและสสส.ทำอยู่แล้ว ส่วนการป้องกันโรคนั้น ถ้าสถานบริการอื่นได้ลงทะเบียนเป็นหน่วยบริการของสปสช.จึงควรจะมีสิทธิ์ได้รับเงินค่าใช้จ่ายในการป้องกันโรคแก่ประชาชน

นอกจากนั้น ร่างกฎหมายใหม่ยังกำหนดว่า “ค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนบริการสาธารณสุข” ให้หมายความรวมถึง เงินเดือน ค่าจ้าง ค่าจ้างเอกชนดำเนินงาน ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราขการ ค่าสาธารณูปโภค ค่าดำเนินการและค่าพัฒนาศักยภาพบุคคลในการจัดบริการสาธารณสุข” รวมทั้งค่าเสื่อมของสิ่งก่อสร้างและครุภัณฑ์ที่ใช้ในการบริการผู้ป่วยนอก บริการผู้ป่วยใน และบริการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค และค่าใช้จ่ายอื่นในการจัดบริการ
การแก้ไขกฎหมายเช่นนี้ผู้เขียนก็ไม่เห็นด้วย ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายดังกล่าว ถ้าเป็นโรงพยาบาลหรือสถานบริการเอกชน รัฐบาลไม่ควรจ่ายเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายดังกล่าว เนื่องจากโรงพยาบาลหรือสถานบริการเอกชนนั้น เขาคิดค่า “บริการสาธารณสุขผู้ป่วย” โยบวกค่าใช้จ่ายเหล่านี้เข้าไปในค่าบริการแล้วทั้งสิ้น และถ้าเป็นโรงพยาบาลหรือสถานบริการของกระทรวงสาธารณสุข ก็ควรที่จะได้รับงบประมาณโดยตรงสำหรับค่าใช้จ่ายเหล่านี้จากรัฐบาล เหมิอนกระทรวงอื่นๆที่ได้รับงบประมาณโยตรงจากรัฐบาลสำหรับการดำเนินการเพื่อให้บริการประชาชนอยู่แล้ว

ถ้าเปรียบเทียบกับการจัดสรรงบประมาณรายหัวสำหรับโรงเรียนในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ก็จะได้รับงบประมาณโดยตรงจากรัฐบาล และงบในการซ่อมสร้างหรือพัฒนาโรงเรียบนต่างหากจากงบเหมาจ่ายรายหัวที่จัดสรรให้แก่โรงเรียนโดยตรง ตามภารกิจหน้าที่ของโรงเรียน
ฉะนั้น กระทรวงสาธารณสุขก็ควรจะได้รับงบประมาณโดดยตงจากรัฐบาล ไม่ควรเอาไปผ่านองค์กรกลางเช่นสปสช.แต่อย่างใด
การจะยกเลิกวิธีการงบประมาณแบบผิดๆเช่นนี้ นั่นคือ ไม่แก้ไขในเรื่อง “ค่าใช้จ่ายเพื่อการสนับสนุนบริการสาธารณสุข” ของกฎหมายหลักประกันสุขภาพตามที่ยกร่างใหม่ดังกล่าวแล้ว และให้คงมาตรา 3 ไว้เช่นเดิม
หมายเหตุ สามารถเข้าไปค้นหาร่างพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ได้ที่ www.lawamendment.go.th

สรุปบทความตอนนี้
เป็นข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการแก้ไขพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติมาตรา 3 เกี่ยวกับคำจำกัดความของ “บริการสาธารณสุข” และ “สถานบริการสาธารณสุข” และ”การสนับสนุนบริการสาธารณสุข” ตามที่คณะกรรมการยกร่างเพิ่มเติมใหม่นั้น ไม่ควรมี เพราะมันจะไปทับซ้อนกับภารกิจหน้าที่และความรับผิดชอบของกระทรวงสาธารณสุข แต่ควรจะแก้ไขให้กระทรวงสาธารณสุขได้รับงบประมาณในการทำงานตามภาระหน้าที่ เช่นเดียวกับกระทรวงอื่นๆในราชอาณาจักรไทย

พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
กรรมการแพทยสภา
ที่ปรึกษาสำนักกฎหมายการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
ที่ปรึกษากิติมศักดิ์ กรรมาธิการสาธารณสุข สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
https://www.facebook.com/churdchoo.ariyasriwatana/posts/10154745308545208

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
11 มิถุนายน 2560

มาตรา 13 นี้กำหนดที่มา การคัดเลือก และวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการจากตำแหน่งประจำ รวมทั้งกรรมการจากการคัดเลือกหรือสรรหา โดยมีการลดจำนวนกรรมการจากตำแหน่งออก 3 ตำแหน่ง และลดกรรมการจากผู้ทรงคุณวุฒิลง 2 ตำแหน่ง(ปรับให้ไปอยู่ในตำแหน่งผู้แทนสภาวิชาชีพ) เพิ่มกรรมการจากสภาวิชาชีพอีก 1 ตำแหน่ง และย้ายผู้แทนโรงพยาบาลเอกชนจากกลุ่มสภาวิชาชีพ ไปอยู่ในกลุ่มผู้ให้บริการแทน
รวมจำนวนกรรมการจากเดิมมี 30 คน กรรมการตามร่างที่แก้ไขใหม่มี 32 คน

คณะกรรมการยกร่างกฎหมายได้แก้มาตรา 13

(1) โดยได้เพิ่มตำแหน่งรองประธานกรรมการ โดยกำหนดให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นรองประธาน

(2) ปรับผู้แทนโดยตำแหน่งออกคือปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ความเห็นต่อการแก้ไขมาตรา 13 การปรับกรรมการจากตำแหน่งออกก็น่าจะมีผลดี เพราะเท่าที่ผ่านมาจากบันทึกรายงานการประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปลัดกระทรวงทั้งหลายมักจะไม่มาประชุมเอง แต่จะมอบหมายผู้แทนมาประชุมแทน และส่วนมากไม่ค่อยจะได้ออกความเห็นในที่ประชุม

(3) ลดจำนวนผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เหลือ 3 คน

(4) ให้คงจำนวนผู้แทนองค์กรเอกชนไว้ 5 คนตามเดิม แต่ได้เพิ่มองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคขึ้นมาอีก 1 องค์กร ทำให้มีจำนวนองค์กรที่จะมาเลือกกันเองเป็น 10 องค์กร

ความเห็นของผู้เขียน ไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการคัดเลือกผู้แทนองค์กรเอกชนตามเดิม เพราะถ้าเลือกเพียง 5 เช่นเลือกองค์กรเอกชนด้านเกษตรกร ก็อาจไม่ได้ผู้แทนด้านผู้ใช้แรงงาน และเท่าที่ผ่านมา ก็จะเห็นได้ว่า กรรมการที่มาจากองค์กรเอกชนเหล่านี้ มักมีอาชีพดั้งเดิม ไม่ตรงกับกภารกิจขององค์กรนั้นๆ เช่น เป็นเภสัชกร แต่เข้ามาเป็นกรรมการในนามองค์กรด้านเกษตรกร หรือคนๆเดิมนั้นเอง แต่เปลี่ยนองค์กรไปมา เช่น บางปีเป็นผู้แทนคุ้มครองผู้บริโภค พอเลือกวาระใหม่ก็แปลงร่างมาเป็นผู้แทนเกษตรกร
และบางคนเป็นผู้ทรงคุณวุฒิทางการแพทย์อยู่วาระหนึ่ง แต่วาระต่อมากลายเป็นผู้แทนองค์กรเอกชนไปก็มี
จากกรณีดังกล่าว จะเห็นได้ว่า การคัดเลือกผู้แทนองค์กรเอกชน มักจะมีการ “ฮั้ว”กันในการเลือก หรือการมี “Conflict of Interest” และไม่ใช่ผู้แทนประชาชนที่แท้จริง ซึ่งคนเหล่านี้อาจไม่ทราบความจำเป็นในด้านสุขภาพอย่างแท้จริง

สิ่งที่ไม่เห็นด้วย ผู้เขียนมีความเห็นว่า ใน (4) นี้ควรจะเลือกจากผู้แทนอสม.ที่เป็นผู้ใกล้ชิดประชาชน เนื่องจากเป็นผู้ประสานงานระหว่างหน่วยงานสาธารณสุขกับประชาชน จึงมีความรู้ทางวิชาการมากกว่าประชาชนทั่วไป และรับรู้ปัญหาด้านสุขภาพของประชาชน ขอเสนอให้เลือกผู้แทนอสม.มาจากทุกภาคการปกครอง ภาคละ 1 คน ได้แก่ภาคเหนือ อีสาน ภาคกลาง ภาคใต้ และกทม. รวมป็น 5 คน
การคัดเลือกผู้แทนอสม.แต่ละภาคให้ดำเนินการตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

(5) สำหรับกรรมการจากผู้แทนสภาวิชาชีพ เห็นด้วย ว่าควรต้องมีจากทุกสภาวิชาชีพ

(6) เพิ่มจากเดิม ผู้แทนหน่วยบริการจำนวน 7 คน
ผู้เขียนมีความเห็นว่า ปรระชาชนที่มารับบริการนั้น ตามสถิติเป็นผู้มารับบริการที่โรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขถึง 90 เปอร์เซ็นต์ จีงสมควรที่ผู้ให้บริการจากกระทรวงสาธารณสุขจะมีสัดส่วนการเป็นกรรมการมากกว่าผู้แทนสถานพยาบาลอื่น

(7) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ลดจำนวนเหลือ 5 คน
สิ่งที่ไม่เห็นด้วย กรรมการผู้ทรงคุณวุฒินั้นควรจะประกาศรับสมัครจากประชาชนทั่วไป โดยกำหนดคุณสมบัติและคุณวุฒิไว้ ว่ามีคุณสมบัติและคุณวุฒิตามสาขานั้นจริง ไม่ใช่เป็นพรรคพวกของกรรมการหรือรัฐมนตรีตามวิธีการสรรหาแบบเดิม
สรุปการแก้ไขมาตรา 13 เพื่อ กำหนดที่มา การคัดเลือก และวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการจากตำแหน่งประจำ รวมทั้งกรรมการจากการคัดเลือกหรือสรรหา โดยมีการลดจำนวนกรรมการจากตำแหน่งออก 3 ตำแหน่ง และลดกรรมการจากผู้ทรงคุณวุฒิลง 2 ตำแหน่ง(ปรับให้ไปอยู่ในตำแหน่งผู้แทนสภาวิชาชีพ) เพิ่มกรรมการจากสภาวิชาชีพอีก 1 ตำแหน่ง และย้ายผู้แทนโรงพยาบาลเอกชนจากกลุ่มสภาวิชาชีพ ไปอยู่ในกลุ่มผู้ให้บริการแทน
รวมจำนวนกรรมการจากเดิมมี 30 คน กรรมการตามร่างที่แก้ไขใหม่มี 32 คน

มาตรา 14 กำหนดห้ามการดำรงตำแหน่งซ้ำซ้อนกันในการเป็นกรรมการตามมาตรา 13 และ48
ความเห็นของผู้เขียน เห็นด้วยว่ากรรมการตามมาตรา 13 และมาตรา 48ไม่ควรเป็นกรรมการซ้ำซ้อนกัน แต่มีความเห็นเพิ่มเติมว่า ควรกำหนดให้บุคคลคนหนึ่งเป็นกรรมการได้ตามมาตราเดียวเท่านั้นตลอดชีวิต ห้ามเป็นกรรมการต่างวาระกันในแต่ละมาตรา เพื่อป้องกันการผูกขาดการเป็นกรรมการเฉพาะกลุ่มพวกเหมือนที่เคยเป็นมา
มาตรา 15 วาระการดำรงตำแหน่ง ห้ามดำรงตำแหน่งเกิน 2 วาระ
ข้อคิดเห็นจากผู้เขียนในส่วนของวาระกรรมการต่างๆนั้น ยกเว้นกรรมการตามตำแหน่งแล้ว ขอเสนอให้บุคคลคนหนึ่งดำรงตำแหน่งกรรมการแค่ 1 วาระ และห้ามเป็นซ้ำอีก ไม่ว่าจะเป็นกรรมการในกลุ่มเดิมหรือเปลี่ยนกลุ่มก็ตามเนื่องจากในอดีตที่ผ่านมา มีการสืบทอดตำแหน่งในบางคน เป็นกรรมการจากกลุ่มวิชาการแล้วย้ายไปเป็นกรรมการในกลุ่มองค์กรเอกชน
บทความนี้เป็นการสรุปข้อคิดเห็นต่อการแก้ไขกม.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติมาตรา 13,14,15

พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
กรรมการแพทยสภา
ที่ปรึกษาสำนักกฎหมายการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
ที่ปรึกษากิติมศักดิ์ กรรมาธิการสาธารณสุข สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
https://www.facebook.com/churdchoo.ariyasriwatana/posts/10154745310015208

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
11 มิถุนายน 2560

การแก้ไขมาตรา 18 อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ มีการเพิ่มการคำนึงถึงต้นทุนการให้บริการ ใน(3) และเพิ่มการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้ผู้รับบริการใน(7) และเพิ่มให้มีการเสนอแนะความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีใน(12)

ข้อคิดเห็นของผู้เขียน ผู้เขียนเห็นว่าการกำหนดบทบัญญัติในพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพฉบับที่ ..พ.ศ. .... นี้ จะต้องไม่ขัดกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 47 บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐ บุคคลผู้ยากไร้ย่อมมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายบัญญัติ
มาตรา 258 ให้ดำเนินการปฏิรูปประเทศอย่างน้อยในด้านต่างๆให้เกิดผล ดังต่อไปนี้
ช. (4) ปรับระบบประกันสุขภาพให้ประชาชนได้รับสิทธิและประโยชน์จากการบริหารจัดการและการเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพและสะดวกทัดเทียมกัน
และคำนึงถึงเหตุผลในการออกกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ว่า มีวัตถุประสงค์จะช่วยเป็น “หลัก”หรือความมั่นคงให้แก่ประชาชนว่าจะไม่ล้มละลาย(ทางการเงิน)จากการเจ็บป่วย รวมทั้งแนวทางการปฏิรูปประเทศตามมาตรา 258 ช. (4)
คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจึงไม่ควรมีอำนาจหน้าที่ตามมาตรา

18 (1)คือไม่ควรมีอำนาจกำหนดมาตรฐานการให้บริการสาธารณสุข

18 (3) กำหนดประเภทและขอบเขตการให้บริการสาธารณสุข
คณะกรรมการไม่ควรกำหนดการจำกัดขอบเขตการให้บริการสาธารณสุข แต่คณะกรรมการต้องขยายขอบเขตการให้บริการสาธารณสุขให้ครอบคลุมทุกมิติ ตั้งแต่การสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ตรวจคัดกรองก่อนเกิดโรค รักษาและฟื้นฟู ไม่ควรโฆษณา “รักษาทุกโรค” เท่านั้น แต่ต้องให้ความสำคัญกับการสนับสนุนให้ประชาชนสร้างสุขภาพ ป้องกันโรค และตรวจคัดกรองก่อนเกิดอาการเจ็บป่วย เพราะการคัดกรองโรค เช่นการตรวจสุขภาพ จะทำให้สามารถตรวจพบโรคในระยะแรกเริ่ม และให้การรักษาได้ผลดีและต้นทุนในการรักษาต่ำกว่าเมื่อเจ็บป่วยมากแล้ว การรักษาโรคหรือการเจ็บป่วยแต่เนิ่นๆ ยังเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดความพิการหรือสูญเสียสมรรถภาพทางกายอีกด้วย

18 (6) ไม่ควรมีหน้าที่จัดหาผลประโยชน์จากกองทุน

18 (8) ไม่ควรมีหน้าที่ไปสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดบริการสาธารณสุข แต่มีหน้าที่ “จ่ายค่าบริการสาธารณศุขแก่ประชาชนที่ไปรับบริการจากสถานพยาบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเท่านั้น

18 (9) ไม่ต้องมีหน้าที่ไปสนับสนุนองค์กรเอกชน หน้าที่นี้ควรเป็นของกระทรวงสาธารณสุขหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการ

ฉะนั้น ในการกำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาตินั้น ต้องยึดหลักการที่ว่า คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ทำหน้าที่เหมือนบริษัทประกันสุขภาพเท่านั้น ไม่ต้องไปก้าวก่ายเรื่องขอบเขตและมาตรฐานของการบริการสาธารณสุข คณะกรรมการ จะต้องกำหนดเพียงว่า ประชาชนกลุ่มใด ที่ควรได้รับบริการสาธารณสุขโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย และประชาชนกลุ่มใดที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายบางส่วนในการไปรับบริกาสาธารณสุข และควรให้ความครอบคลุมในการรับบริการสาธารณสุข ทุกขั้นตอน เริ่มตั้งแต่การสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันการเจ็บป่วย(อุบัติเหตุและเป็นโรค)โรค ตรวจคัดกรองก่อนเกิดโรค (ตรวจสุขภาพ) ตรวจรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ
และคณะกรรมการมีหน้าที่กำหนดอัตราค่าใช้จ่ายที่ประชาชนจะต้องมีหน้าที่ร่วมรับผิดชอบในการดูแลรักษาสุขภาพตนเอง
แต่การกำหนดคุณภาพมาตรฐานการบริการนั้น เป็นหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุข (ผ่านมติครม.)สถานพยาบาล และสภาวิชาชีพกำหนดเท่านั้น
มาตรา 26 เพิ่ม ใน (5) จ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุข
ความเห็น ไม่ต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายนี้ เนื่องจากการจัดบริการสาธารณสุขไม่ใช่หน้าที่ของบริษัทประกันสุขภาพหรือสปสช. แต่เป็นหน้าที่ของกระทรวงสาธารณศสุขตามกฎหมาย
มาตรา 29 งบประมาณรายจ่ายประจำปีของสำนักงาน มีเพิ่มเติมว่า ให้ได้รับเงินอุดหนุนจาก(1)หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน หรือองค์กรอื่น รวมทั้งจากต่างประเทศ องค์กรระหว่างประเทศ และเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้

(2) ค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการจากการดำเนินงานของสำนักงาน

(3) ดอกผลของเงินหรือรายได้จากทรัพย์สินของสำนักงาน

เงินและทรัพย์สินของสำนักงานไม่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังเป็นรายได้แผ่นดินตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
ความเห็น ไม่ควรเพิ่มในมาตรานี้ ทำให้เห็นว่าสปสช.ต้องการใช้อำนาจตามที่เพิ่มใหม่นี้ ไปขอเงินบริจาคเพื่อเอามาใช้จ่ายตามอำเภอใจ เพราะเป็นเงินบริจาค และไม่ต้องคืนคลังอีกด้วย

มาตรา 32 คุณสมบัติของเลขาธิการ
มีความเห็นเพิ่มเติมว่า เลขาธิการ รองเลขาธิการและผู้ช่วยเลขาธิการควรกำหนดให้เป็นบุคคลตามมาตรา 100ของปปช.
เนื่องจากเดิมพบว่า เรื่องบางเรื่องที่สุ่มเสี่ยงต่อการทำผิดของบุคคลตามมาตรา 100 เลขาธิการก็มอบให้รองเลขาธิการทำแทน

พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
กรรมการแพทยสภา
ที่ปรึกษาสำนักกฎหมายการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
ที่ปรึกษากิติมศักดิ์ กรรมาธิการสาธารณสุข สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
https://www.facebook.com/churdchoo.ariyasriwatana/posts/10154745311850208