ผู้เขียน หัวข้อ: สรุปเนื้อหาการสัมมนาแยกข้าราชการสธ.ออกจากกพ.(17มิย2553)  (อ่าน 2253 ครั้ง)

pradit

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 322
    • ดูรายละเอียด
สรุปเนื้อหาการสัมมนาเรื่อง
การแยกบุคลากรสาธารณสุขออกจากกพ.

วันที่ 17 มิถุนายน 2553

พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา

มีผู้เข้าร่วมการ สัมมนา 600 คน ประกอบด้วยบุคลากรของกระทรวงสาธารณสุขทุกสาขาวิชาชีพ/อาชีพ ได้แก่แพทย์ พยาบาล เภสัชกร ทันตแพทย์ เทคนิกการแพทย์ เจ้าพนักงานสาธารณสุข นักวิชาการสาธารณสุข และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอื่นๆ และหมออนามัย รวมทั้งสมาชิกสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข โดยใช้เวลาสัมมนาตั้งแต่เวลา 9.00น.ถึง 16.00 น.

   นาย แพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุขได้มาเป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนา โดยมีศจ.คลินิกนพ.อำนาจ กุสลานันท์ อุปนายกแพทยสภา เป็นผู้กล่าวรายงานโดยสรุปว่า กระทรวงสาธารณสุขมีปัญหาการขาดแคลนบุลากรมาตลอด และยิ่งขาดแคลนมากขึ้น หลังจากการประกาศใช้พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545 เนื่องจากภาระงานในการตรวจรักษาผู้ป่วยมากขึ้น ในขณะที่ประชาชนมีความเสี่ยงต่อความเสียหายและฟ้องร้องแพทย์มากขึ้น ทำให้แพทย์มีความเครียดและลาออกจากโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขมากขึ้น ในขณะเดียวกัน กพ.ก็มีนโยบายที่จะลดจำนวนข้าราชการลง โดยไม่มีการเพิ่มตำแหน่งข้าราชการมารองรับบุุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ ถูกบังคับให้เข้าทำงานในกระทรวงสาธารณสุข ทำให้บุคลากรเหล่านี้ต้องทำงานในตำแหน่งลูกจ้างชั่วคราว ซึ่งเงินเดือนต่ำ แต่ไม่มีสวัสดิการเหมือนข้าราชการ ทำให้ขาดขวัญกำลังใจที่จะทำงานในระยะยาว มีการลาออกของบุคลากรอย่างต่อเนื่อง ปัญหาการขาดแคลนบุุคลากรสาธารณสุขจึงเป็นปัญหาเรื้อรังของกระทรวงสาธารณสุข

ในฐานะที่แพทยสภามี วัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ ตามที่บัญญัติไว้ในพ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรมพ.ศ. 2525 มาตรา 7(5)  ให้ความเห็นและคำแนะนำแก่รัฐบาลใน ปัญหาด้านการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศ แพทยสภาโดยคณะอนุุกรรมการพิจารณาปรับเปลี่ยนเงินเดือนและค่าตอบแทนแพทย์ใน ภาคราชการ จึงได้จัดสัมมนานี้ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะรับฟังความคิดเห็นจากบุุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุุข ในการแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรสาธารณสุขนี้ และเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรสาธารณสุข ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชน ได้รับบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ดีมีมาตรฐาน มีความปลอดภัย มีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี โดยบุคลากรสาธารณสุขก็มีขวัญกำลังใจที่ดี ในการทำงานบริการประชาชน และมีคุณภาพชีวิตที่ดีเช่นเดียวกัน

หลังจากนั้น นายแพทย์ไพจิตร วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุขได้กล่าวว่า ตนเองได้ตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาปัญหาการขาดแคลนบุคลากรสาธารณสุข และคิดว่า ทางแก้ไขปัญหาอาจจะมี 3 แนวทางคือ     

1.    อยู่กับ กพ.เหมือนเดิม แต่จะต้องไปต่อรองกับรัฐบาลทุกปี ในการขอเงินค่าตอบแทนประจำปีในกรณีเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย

2.      คือการแยกจาก กพ.

3.    การตั้งกองทุนกระทรวง สาธารณสุข   คล้ายกับกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ โดยมีการสมทบจ่ายระหว่างภาครัฐและเจ้า หน้าที่ ซึ่งพนักงานหรือเจ้า หน้าที่ที่อยู่ในระบบนี้ จะได้รับเงิน เดือนสูงกว่าข้าราชการ ซึ่งต้องศึกษารายละเอียดในระยะยาว

โดยปลัดกระทรวงกล่าว ว่า ตนได้ตั้งคณะทำงาน 1 ชุด มีนายแพทย์เสรี หงษ์หยก รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็น ประธาน มีตัวแทนจากทุกสาขาวิชาชีพ มา ร่วมศึกษาแนวทางในการแก้ไขปัญหาเพื่อให้มีบุคลากรทำงานในกระทรวงสาธารณสุข อย่างเพียงพอ และมีความสุขในระดับหนึ่ง เมื่อ ศึกษาข้อดีข้อเสียของแต่ละแนวทางแล้ว จะมีการทำประชาพิจารณ์ต่อไป เพราะ เป็นเรื่องที่มีผลกระทบกับทุกคนที่ทำงานในกระทรวงของสาธารณสุข จึงต้องให้ทุกคนมีส่วนร่วม
 พร้อมกันนี้ ปลัดกระทรวงสาธารณสุขได้เสนอว่า การสัมมนาในวันนี้ จะมีข้อสรุปอย่างไร ก็ขอให้รายงานผลการสัมมนาให้ปลัดกะทรวงทราบ เพื่อจะได้ทำประชาพิจารณ์ เพราะเป็นเรื่องที่มีผลกระทบกับทุกคนที่ทำงานในกระทรวงสาธารณสุข

 นายแพทย์ไพจิตร์กล่าวต่อว่า ตามพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการสุขภาพมากขึ้น บุคลากรมีภาระงานมากขึ้น แต่ สัดส่วนบุคลากรที่เพิ่มขึ้นอาจไม่เพียงพอกับสัดส่วนผู้ป่วย ขณะเดียวกันต้องเข้าใจรัฐบาลซึ่งจะต้องควบ คุมจำนวนข้าราชการไม่ให้เพิ่มขึ้น  เพราะจะเป็นภาระ ค่าใช้จ่ายงบประมาณ ส่งผลให้ไม่มีเงินในการพัฒนาประเทศ จึง ต้องหาแนวทางอื่นๆ ด้วยนอกเหนือการออกจาก กพ. เช่น การผสมผสานข้าราชการระบบเดิม กับระบบใหม่ที่พนักงานไม่ได้เป็นข้าราชการ แต่เงินเดือนสูงขึ้นและมีกองทุนให้เมื่อเกษียณก็จะมีเงินที่ใช้ ดำรงชีพต่อไป ได้ ขณะนี้อยู่ในระหว่างเร่งศึกษาให้เร็วยิ่งขึ้น เนื่องจากเข้าใจความรู้สึกของคนทำงานว่ามี ความลำบาก ขณะนี้กระทรวงสาธารณ สุขมีข้าราชการและลูกจ้างกว่า 240,000 คน และ ลูกจ้างชั่วคราวอีกประมาณ 100,000 คน ซึ่ง ในการแก้ไขปัญหาจะต้องคิดให้รอบคอบทั้งระบบ และฟังข้อสรุปของแต่ละแนวทางให้ได้ข้อมูลทั้งหมด เมื่อได้ข้อสรุปแล้วจะเสนอรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงสาธารณสุข เพื่อตัดสินใจเชิง นโยบายต่อไป 

หลังจากปลัดกระทรวง กล่าวจบแล้ว วิทยากรคนต่อไปคือ พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา ประธานคณะอนุกรรมการ พิจารณาปรับเปลี่ยนเงินเดือนและค่าตอบแทนแพทย์ในภาคราชการของแพทยสภาได้ถาม ที่ประชุมว่า จะรอให้คณะทำงานของ ปลัดกระทรวงรายงานผลการศึกษา หรือเราจะถามกันตรงนี้เลย  แล้วพญ.เชิดชู ได้ถามที่ประชุมว่า  “ใครไม่เห็นด้วยที่จะ ออกจากกพ. ให้ยกมือขึ้น” ก็ไม่มีใครยกมือ  พญ.เชิดชู จึงได้ถามใหม่ว่า ใครเห็นด้วยกับการออก จาก กพ.ให้ยกมือขึ้น ปรากฎว่าคนใน ห้อง ประชุมยกมือขึ้นทั้งห้องเลย

พญ.เชิดชู จึงหันไปพูดกับปลัดกระทรวงสาธารณสุขว่า ขอเรียนให้ท่านปลัดฯทราบว่า มติของที่ประชุมคือทุกคนขอให้แยกบุคลากรสาธารณสุขออกจาก กพ. ให้ท่านปลัดไปรายงานรมว.สธ.ได้เลย และ ให้รีบดำเนินการทันที ไม่ต้องไปศึกษาอะไรต่อไปให้เสียเวลาอีกแล้ว  แต่ ถ้าปลัดยังไม่ทำอะไร พวกเราก็จะรวบรวมรายชื่อ 10,000 ชื่อ เพื่อ เสนอพ.ร.บ.นี้เข้าสภาผู้แทนราษฎรด้วยตนเอง ตามสิทธิของประชาชนที่รัฐธรรมนูญได้ให้สิทธิแก่ประชาชนในการเสนอ กฎหมายได้  ปลัดกระทรวงได้ยินดัง นั้น ก็ได้แต่ยิ้ม โดยมิได้กล่าวรับหรือปฏิเสธแต่อย่างใดทั้งสิ้น และขอตัวออกจากห้องประชุมไป

  พญ.เชิดชู ได้กล่าวในที่ประชุมอีกว่า บุคลากรต่างๆที่ถูกบังคับให้ชดใช้ทุนอีกประมาณ20,000 คน ต้องเป็นลูกจ้างชั่วคราว เงินเดือนก็ไม่ขึ้น อาชีพไม่มีความ ก้าวหน้า สวัสดิการไม่ดี เสี่ยงต่อความผิดพลาด ดัง นั้นเมื่อกพ.ไม่ยอมอนุมัติให้บรรจุข้าราชการ จึงควรต้องมีการ “ปฏิรูประบบราชการของสธ.โดยแยกออกจาก กพ."
 
ทั้งนี้หลังจากที่พระราชบัญญัติหลัก ประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 บังคับใช้ โดยมุ่งหวังให้ประชาชนเข้าถึงบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขมาก ยิ่งขึ้นนั้น  กลับเป็นการสร้างปัญหาแก่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะผู้รับผิดชอบหลักในการให้บริการสาธารณสุข ด้วยภาระงานที่เพิ่มมากขึ้นซึ่งสวนทางกับปริมาณบุคลากรที่มีอยู่ ประกอบกับการบริหารงานของสำนักงานคณะกรรมการ ข้าราชการพลเรือน (กพ.) ที่มี ข้อจำกัดเรื่องการ เพิ่มอัตรากำลังคน การเพิ่มค่าตอบ แทนเพื่อจูงใจและการสร้างขวัญกำลังใจ ยัง ผลให้กำลังคนขาดแคลน คนที่ทนงานหนักไม่ไหวก็ลาออกไป คนที่ยังเหลืออยู่ก็ยิ่งทำงานหนักยิ่งขึ้น  งบประมาณด้านบริหารสะดุด กระทบกับมาตรฐานคุณภาพการบริการ ร้ายแรงถึงขั้นเกิดความสูญเสียต่อชีวิตและสุขภาพของประชาชน จนปรากฏกรณีคดีความฟ้องร้องระหว่างคนไข้กับ บุคคลากรทางการแพทย์ให้เห็นอย่างมากมาย เป็นข่าวดังๆอยู่ทั่วไป

  ทางออกของปัญหาสะท้อนผ่านการตกผลึกทางความคิดของบุคลากรสาธารณสุข ภายใต้การขับเคลื่อนของแพทยสภา คือ การแยกข้าราชการกระทรวงสาธารณสุขออก จาก กพ.
 
พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา ประธานคณะอนุกรรมการ พิจารณาปรับเปลี่ยนเงินเดือนและค่าตอบแทนแพทย์ใน ภาคราชการ แพทยสภา เล่าว่า ตั้งแต่มี พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หน่วยงานด้านสาธารณสุขต้องรับบทหนักมาก เมื่อเกิดความผิดพลาดในการรักษาก็ถูกฟ้อง ร้องได้อีก ทั้งนี้ยังพบว่าสธ.ยัง ขาดบุคลากรประจำเป็นจำนวนมาก ใน ขณะที่กพ.ไม่ยอมอนุมัติให้เพิ่มจำนวน
 
“ตอนนี้ไม่มีบรรจุเลย มีแต่บรรจุลูกจ้างชั่วคราว 20,000 คน เงินเดือนก็ไม่ขึ้น อาชีพไม่มีความก้าวหน้า สวัสดิการไม่ดี เสี่ยงต่อความผิดพลาด ดังนั้นเมื่อกพ.ไม่ยอมอนุมัติให้บรรจุข้า ราชการ จึงต้องมีการปฏิรูประบบราชการของ สธ.ออกจาก กพ.” พญ.เชิด ชู กล่าว
 
นพ.ประทีป เมฆประสาน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลภูเขียว อธิบายว่า สาเหตุที่สธ.จะไม่ใช้บริการของกพ. เนื่องมาจาก สธ.มีบุคลากรหลากหลาย วิชาชีพและสายวิชาชีพมากที่สุด โดย เป็นการให้บริการแก่บุคคลทุกสัญชาติตามหลักมนุษยธรรม แต่อย่างไรก็ตามจากวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 เป็นเหตุให้กพ.ประกาศลดวงเงินที่จะนำมาจ่าย เป็นเงินเดือนแก่ข้าราชการสธ.ลง พร้อม กันนี้ปี 2545 มีการใช้พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จึงเกิดปัญหาอย่างรุนแรง
 
“ปัญหาคือเมื่อประกาศใช้พ.ร.บ. นี้แล้ว การกระจายตัวเพื่อใช้ บริการกลับไม่กว้างขวาง ทำให้งบประมาณกระจุกตัว กลายเป็นภาวะ บุคลากรสมองไหล คือย้ายไปทำในที่ๆ ดีกว่า ส่วนผู้ที่ยังอยู่ที่เดิมก็ต้องแบกภาระหนักกว่าเก่า และเกิดความผิดพลาดในการทำงานในที่สุด”

ต่อมานพ.ทวีเกียรติ บุญยไพศาลเจริญ สาธารณสุขนิเทศก์ ปฏิบัติหน้าที่ผู้ตรวจราชการสาธารณสุข เขต 3 ซึ่ง ได้รับมอบหมายจากปลัดกระทรวง ให้มาบรรยายเรื่องหลักการจัดสรรค่าตอบแทนที่เป็นธรรม กล่าวว่า ในปัจจุบันต้องมีการจ่ายผลตอบแทนบุคลากรทาง การแพทย์และสาธารณสุขใน 3 ส่วน คือ 1.เงิน เดือนประจำ ซึ่งต้องปรับขึ้นตามอายุราชการ

2.เงินเพิ่มพิเศษ จ่ายเท่ากันและสาขาวิชาชีพที่ขาดแคลน (เงินพ.ต.ส. )และพิจารณาตามพื้นที่ทำงาน (เงินเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย) ซึ่งจะจูงใจให้บุคลากรอยู่ในระบบราชการ

 3.เงินเพิ่มพิเศษจ่ายตามภาระงาน (เงินค่าปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ)
 
ทั้งนี้ต้องเป็นการจ่ายแบบปีต่อปี และครอบคลุมทุกคนในวิชาชีพ แต่ อาจจะได้ไม่เท่ากันบ้าง อย่างไรก็ตามในปีงบประมาณ 2554 จะของบกลางอีก 5,000 ล้าน เพื่อนำมาจ่ายในส่วนนี้
 
ต่อมานายสุกฤษฎิ์ กิติศรีวรพันธุ์ นักกฎหมายมหาชน ได้กล่าวว่าการดำเนินการหลังจากนี้ ในเมื่อกพ.ยังไม่อนุมัติตำแหน่ง ลูกจ้างชั่วคราวให้แก่สธ. ซึ่งจะกระทบต่อทุกส่วน ย่อมเท่ากับว่า รัฐไม่สามารถให้บริการสาธารณะด้านสาธารณสุขแก่ประชาชนได้ ดังนั้นสิ่งที่ประชาชนทำได้ในตอนนี้คือการ เข้าชื่อ 10,000 รายชื่อ เพื่อเสนอ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการสาธารณสุขและบุคลากรสาธารณสุข ตามกรอบรัฐธรรมนูญปี 2550

พญ.อรพรรณ์ เมธาดิลกกุล ได้นำเสนอแบบร่างพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการกระทรวงสาธารณสุขพ.ศ. .... แก่ที่ประชุม ซึ่งได้รับการอภิปรายอย่างกว้างขวาง ถือเป็นการทำประชาพิจารณ์พ.ร.บ.นี้เป็นครั้งแรก ซึ่งทางคณะผู้จัดสัมมนาได้บันทึกการประชุมนี้ไว้แล้ว เพื่อจะได้ถอดเทปการสัมมนา มาพิจารณารายละเอียด ในการดำเนินการต่อไป

ส่วนนพ.อุสาห์ พฤฒิจิรวงศ์ และดร.ทัศนีย์ บัวคำ  ก็ได้แสดงทัศนะใน การหาแนวทางที่จะบรรลุผลสำเร็จในการขอแยกบุคลากรสาธารณสุขออกจากกพ.ต่อไป

ความเห็นของคุณชุมศรี พจนปรีชา รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ซึ่งได้รับเชิญมาเป็นวิทยากร ในการให้ความเห็นจากสำนักงบประมาณถึงความเป็นไปได้ที่จะแยกบุคลากรสาธารณ สุขออกจากกพ.โดยได้กล่าวสรุปในการสัมมนาเมื่อวันที่ 17 มิย. 2553 ดัง นี้
1. การแยกบุคลากรสาธารณสุขออกจากกพ. มีความเป็นไปได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บุคลากร แพทย์ พยาบาลหรือบุคลากรในโรงพยาบาล/สถานีอนามัย เป็นบุคลากรที่มีวิชาชีพ/ความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะในระดับสูง ความรับผิดชอบสูง เนื่องจากต้องรับผิดชอบ "ชีวิต" ของประชาชน
 2.ต้องมีหลักการและกรอบการดำเนินการ ดังนี้ คือต้องตอบคำถามเหล่านี้ได้
2.1 แยกแล้วประชาชนได้อะไร?
  ตอบ ประชาชนจะได้รับการดูแลที่ดีตั้งแต่การส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันการเจ็บป่วย ตรวจคัดกรองก่อน เจ็บป่วย ตรวจรักษาโรค และฟื้นฟูสภาพ เนื่อง จากมีบุคลากรเหมาะสม สามารถให้บริการที่มีมาตรฐาน
ประชาชนไม่เสี่ยงต่อความผิดพลาด ไม่เสียหาย และไม่ต้องฟ้องร้องขอเงินชดเชย และประชาชนไม่ต้องรอนาน ประชาชน สามารถสร้างสุขภาพและป้องกันโรคได้
2.2 แยกแล้วจะแก้ปัญหาให้กับกระทรวง สาธารณสุขได้อย่างไร
ตอบ เมื่อแยกมาเป็นกสธ.(คณะกรรมการข้าราชการสาธารณสุข)แล้ว กสธ.ก็จะสามารถจัดสรรตำแหน่งและค่าตอบแทนเหมาะสม บุคลากรก็จะมีขวัญกำลังใจดี มีความสบายใจในการทำงาน ไม่ต้องลาออกไป แสวงหางานในโรงพยาบาลเอกชน  ช่วยแก้ปัญหาการ ขาดแคลนบุคลากรของ กระทรวงสาธารณ สุขได้ ทำให้กระทรวงสาธารณสุขสามารถจัดให้ มี บริการสาธารณที่ดีมีมาตรฐานได้อย่างทั่วถึง ประชาชนมีสุขภาพดี
2.3 ผลกระทบต่อภาระการเงินของรัฐบาล เพิ่มขึ้นมากน้อยแค่ไหน?
ตอบ เงินเดือนและค่าตอบแทนตามภาระงานที่เหมาะสม อาจจะต้องเพิ่มขึ้น แต่รัฐบาลต้องมี หน้าที่บริหารจัดการในส่วนอื่นมาทดแทน เช่น สปสช. ที่มีเงินใช้ฟุ่มเฟือย บุคลากรมีเงินเดือนสูง และกำหนดอัตราเงินเดือนได้เอง โดยไม่ต้องอาศัยพ.ร.บ.เงินเดือนและงบประมาณ ของทางราชการเลย
ทั้งนี้ ถ้าบุคลากรสาธารณสุขมีรายได้เหมาะสม (ไม่ต้องมากเท่าเอกชน แต่อย่าให้แตก ต่างกันแบบฟ้ากับเหว) หรือสามารถ ดำเนินการป้องกันโรคและอุบัติเหตุได้ดี  ประชาชนมีการเจ็บป่วยน้อยลง หรือมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัว รัฐบาลก็จะสามารถประหยัดงบประมาณในการรักษาพยาบาลลงได้เป็นอย่างมาก

ล่าสุดมติของที่ประชุมสัมมนาเรื่อง  “การแยกข้าราชการและบุคลากรของกระทรวง สาธารณสุขออกจาก กพ.” ซึ่งมีข้าราชการเข้า ร่วมกว่า 600 ชีวิต ต่าง เห็นพ้องไปในทิศทางเดียวกันว่าควรออกจากระบบของ กพ. พร้อมกันนี้ยังได้แจกแบบฟอร์มเข้าชื่อเสนอ กฎหมาย และร่างพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการ สาธารณสุข ให้ศึกษาอีกด้วย