ผู้เขียน หัวข้อ: “จุรินทร์” ปัดเสนอ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ ฉบับเอ็นจีโอ(ผู้จัดการ22มิย2553)  (อ่าน 2077 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
“จุรินทร์” ปัดไม่ได้ดัน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ เวอร์ชันฉบับเอ็นจีโอ เผยเข้า ครม.ย้ำแค่เห็นด้วยกับร่าง พ.ร.บ.ที่ผ่านกฤษฎีกา แจงหากมีฝ่ายใดไม่เห็นด้วยเสนอแก้ผ่านกรรมาธิการได้ ด้านแพทยสภา ค้าน สธ.ตั้งผู้ไม่รู้วิชาหมอมาเป็นกรรมการด้านวิชาชีพแพทย์ ฝ่ายเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ แฉมี ร่าง พ.ร.บ.ดองใน สภา 7 ฉบับ เตรียมประชุมหาข้อสรุป เดือน ส.ค.
       
       นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีแพทยสภามีหนังสือถึงสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ให้มีมติทบทวนร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ.... ที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2553 ว่า เป็นเพียงการเข้าใจผิดเท่านั้น และยืนยันว่า ข้อเท็จจริงนั้น ตนไม่ได้เสนอร่าง พ.ร.บ.ของฝ่ายใดเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีเป็นหลัก เพียงแต่ระหว่างที่เข้ามาบริหารงานนั้นเลขาธิการ ครม.สอบถาม ว่า ตนเห็นด้วยกับร่าง พ.ร.บ.ของ สธ.ที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาหรือไม่ ซึ่งตนก็เห็นด้วยและยืนยันร่างดังกล่าว เพื่อให้เข้าสู่ที่ประชุม ครม.และนำไปสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร
       
       นายจุรินทร์ กล่าวด้วยว่า ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวจะมีประโยชน์กับทั้งฝ่ายผู้ป่วย และบุคลากรทางการแพทย์ เนื่องจากหากเกิดกรณีอุบัติเหตุ หรือความเสียหายใดๆ ก็จะมีคณะกรรมการชุดหนึ่งมาพิจารณาเพื่อชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้น ซึ่งจะช่วยลดคดีการฟ้องร้องของแพทย์ และยังช่วยเหลือผู้ป่วย อย่างไรก็ตาม สำหรับรายละเอียดในกฎหมาย หากกลุ่มใดไม่เห็นชอบ หรือมีอะไรเพิ่มเติมสามารถเสนอเพื่อแก้ไขได้ในขั้นของกรรมาธิการสภาผู้แทน ราษฎร แต่หากยังไม่แล้วเสร็จก็สามารถแก้ไขเพิ่มเติม โดยการตั้งกรรมาธิการร่วม 2 สภา คือ สภาผู้แทนราษฎรและสภาวุฒิสภา เพื่อหาข้อสรุปได้เช่นกัน
       
       ขณะที่ ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา กล่าวว่า แพทยสภาเห็นด้วยที่จะมี พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ... เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วย แต่ไม่เห็นด้วยในวิธีการโดยเฉพาะประเด็นที่จะเอาผิดกับแพทย์ พยาบาล ตลอดจนเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ทำการรักษา และการให้ผู้ประกอบวิชาชีพอื่นร่วมเป็นคณะกรรมการในการพิจารณาเรื่องเกี่ยว กับทางการแพทย์ที่มีลักษณะเฉพาะ เพราะเป็นเหมือนการใช้ระบบเสียงข้างมากในการตัดสินหลักการทางการแพทย์ โดยไม่คำนึงถึงข้อมูลเชิงวิชาการด้านการแพทย์ใดๆ ทั้งสิ้น
       
       นายกแพทยสภา กล่าวด้วยว่า จากศึกษารายงานกฎหมายในลักษณะใกล้เคียงกันถึง 10 ฉบับ พบว่า หลักการดำเนินการในเรื่องนี้ของประเทศสวีเดน เหมาะที่ประเทศไทยจะนำมาปรับปรุง เนื่องจากการจ่ายเงินชดเชยให้กับผู้ได้รับความเสียหาย โดยยึดหลักหากแพทย์รักษาด้วยวิธีการที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้แล้วเกิดความผิดพลาดขึ้น จะไม่มีการจ่ายเงินชดเชย แต่หากเกิดความผิดพลาดจากการรักษาที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ จึงจะมีการจ่ายชดเชย การดำเนินการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.นี้ในไทยจะทำแบบผิวเผินไม่ได้ ควรมีทบทวน พิจารณา และศึกษาข้อมูลอย่างลึกซึ้ง โดยเทียบกับประเทศต่างๆ ที่มีการดำเนินการเช่นนี้ เมื่อได้ข้อสรุปควรเริ่มทดลองใช้ในบางพื้นที่ก่อนไม่ใช่เริ่มพร้อมกันหมด ทั้งประเทศ
       
       “ท้ายที่สุดหากร่าง พ.ร.บ.นี้มีผลบังคับใช้โดยไม่มีการศึกษาข้อมูลอย่างลึกซึ้ง และรอบด้าน ผลเสียจะเกิดกับประชาชนเอง แพทย์ไม่เสียอะไรถ้าไม่อยากเสี่ยงกับการถูกฟ้องร้อง ก็แค่ไม่รักษา แต่ผู้ป่วยจะไม่มีคนรักษาโรค และจะเป็นช่องโหว่ให้คนหาเงิน ด้วยการไปพบแพทย์บ่อยๆ แล้ว อ้างว่า เกิดความเสียหายจากการรักษาของแพทย์เพื่อหวังได้เงินชดเชยโดยที่ไม่ต้องรอ พิสูจน์ถูกผิดใดๆ ทั้งสิ้น เช่น ไปพบแพทย์แล้วบอกว่าแพ้ยา ก็จะได้เงินทันที ซึ่งเงินที่นำมาจ่ายก็ได้จากรัฐบาลและประชาชนที่ต้องเสียเงินมากขึ้นทั้ง สิ้น” ศ.นพ.สมศักดิ์ กล่าว
       
       ด้านนางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ กล่าวว่า ขณะนี้มีร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 7 ร่าง ประกอบด้วย ร่างของ สธ.ที่รวมกับร่างของแพทยสภาและของภาคประชาชนเขย่ารวมกัน เป็นร่างหลัก แต่ประเด็น คือ ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ สธ.มีความพยายามในการจัดตั้งสำนักงานกองทุนคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับ บริการสาธารณสุขไปอยู่ภายใต้กระทรวง โดยให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เป็นผู้บริหาร ซึ่งไม่ถูกต้อง เนื่องจากสำนักงานกองทุนฯ ควรเป็นองค์กรอิสระ ไม่ควรอยู่ในสังกัดของ สธ.ที่มีฐานะเป็นผู้ให้บริการ ซึ่งเป็นคู่กรณีกับผู้เสียหายอยู่แล้ว
       
       นางปรียนันท์ กล่าวอีกว่า ส่วนร่าง พ.ร.บ.อีก 6 ฉบับ แบ่งเป็นของภาคประชาชน ซึ่งเสนอเข้าไปด้วยการรวมรวม 10,000 รายชื่อ โดยเน้นการตั้งสำนักงานกองทุนฯที่เป็นอิสระ ทั้งนี้ ที่ภาคประชาชนต้องเสนอร่วมด้วยนั้น เพื่อต้องการมีสิทธิเข้าเป็นกรรมาธิการ 1 ใน 3 ส่วน ซึ่งจะมีประโยชน์ในการเสนอความคิดเห็นในสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎร ขณะที่อีก 5 ร่างนั้นเป็นของ ส.ส. อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ไม่อยากมาถกเถียง แต่ขอให้ไปสู้กันในสภาเพื่อหาข้อยุติ ว่า ร่าง พ.ร.บ.ลักษณะใดจะดีที่สุด ซึ่งคาดว่าจะมีการนัดประชุมในช่วงเดือนสิงหาคมจากเดิมเข้าเป็นวาระเมื่อ 12 พ.ค.2553