ผู้เขียน หัวข้อ: ชาวบ้านแห่ร้องมูลนิธิผู้บริโภคเกือบ 900 เรื่อง แค่ปีเดียว !!  (อ่าน 1389 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เปิดปมปัญหารอบปี พบประชาชนร้องเรียนปัญหาเฉียด 900 กรณี เร่งเสนอสารพัดกฎหมายให้คุ้มครองผู้บริโภค
       
       วันนี้ (21 ธ.ค.) นายอิฐบูรณ์ อ้นวงษา หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) กล่าวในการแถลงข่าวเรื่อง สถานการณ์ความทุกข์ของผู้บริโภคประจำปี 2554 ว่า จากการรับเรื่องร้องเรียนในช่วงปี 2554 ของมูลนิธิ พบว่า มีเรื่องร้องเรียนทั้งสิ้น 895 กรณี และมีการร้องเรียนผ่านเครือข่ายผู้บริโภคในส่วนภูมิภาคอีกจำนวนหนึ่ง โดยสามารถแบ่งกลุ่มปัญหาได้ 7 ด้าน ได้แก่

1.ด้านการเงินการธนาคาร
2.ด้านอสังหาริมทรัพย์
3.ด้านสินค้าและบริการ
4.ด้านสื่อและโทรคมนาคม
5.ด้านบริการสุขภาพและสาธารณสุข
6.ด้านบริการสาธารณะ
7.ด้านการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารของประชาชน
       
       นายอิฐบูรณ์ กล่าวว่า ด้านการเงินการธนาคาร ปัญหาที่พบ เช่น ใบแจ้งหนี้ของบัตรเครดิตบางบริษัทมีรายละเอียดเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น และไม่แสดงรายละเอียดค่าใช้จ่ายที่สามารถตรวจสอบได้ และผู้บริโภคมักจะถูกเชิญชวนกึ่งบังคับให้ทำประกันแบบคุ้มครองหนี้สินแล้วไม่มีสินไหมตอบแทน การหลอกล่อให้ผ่อนชำระเงินหนี้บัตรเครดิตในอัตราขั้นต่ำ ทำให้ผู้บริโภคต้องแบกรับภาระค่าธรรมเนียมและดอกเบี้ยในอัตราที่สูงลิบลิ่ว การเชิญชวนให้ร่วมโครงการพักชำระหนี้ในช่วงอุทุกภัยโดยที่ไม่มีการหยุดพักเงินต้นและดอกเบี้ยที่แท้จริง นอกจากนี้ ยังพบปัญหาด้านอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะการทำสัญญาซื้อขายบ้านและที่ดินที่ล่อผู้บริโภคด้วยเงินดาวน์ต่ำแต่คุณภาพของงานก็ต่ำด้วย” หัวหน้าศูนย์กล่าว
       
       นายปฏิวัติ เฉลิมชาติ เครือข่ายผู้บริโภคภาคอีสาน กล่าวถึงปัญหาด้านสินค้าและบริการ ว่า พบการบ่ายเบี่ยง ประวิงเวลาของบริษัทประกันภัย ทั้งประกันภัยรถยนต์ ประกันชีวิต และประกันวินาศภัย มีการปฏิเสธการจ่ายค่าสินไหม โดยอ้างว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่เข้าเงื่อนไขการรับประกันภัย ทำให้ผู้บริโภคต้องให้วิธีการฟ้องร้องแทน ซึ่งทางเครือข่ายเห็นว่าเป็นปัญหาที่ความเฝ้าระวัง เพราะอาจเป็นปัญหาใหญ่ต่อเนื่องไปปี 2555 รวมทั้งความเสียหายที่เกิดจากการซื้อ หรือใช้สินค้าที่ไม่มีคุณภาพ อาทิ รถใหม่ป้ายแดง เสียหายแล้วบริษัทไม่เปลี่ยน แต่ใช้วิธีการซ่อมไปเรื่อยๆทำให้ผู้บริโภคเสียค่าใช้จ่ายมาก
       
       ด้านตัวแทนเครือข่ายภาคใต้ กล่าวถึงปัญหาด้านการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารของประชาชน โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้ พบว่า มีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารที่หมดอายุแล้วในห้างค้าปลีกสมัยใหม่ ทั้งยังพบปัญหาความไม่ชัดเจนของการแสดงฉลากสินค้า เช่น วันผลิต หมดอายุ อยู่ในตำแหน่งที่อ่านยาก เอกสารกำกับไม่เป็นภาษาไทย
       
       นายสวัสดิ์ คำฟู ตัวแทนเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคเหนือ กล่าวถึงปัญหาด้านบริการสุขภาพและสาธารณสุข ว่า ปัญหาการใช้บริการบัตรทองยังคงเป็นอันดับต้นๆของเรื่องร้องเรียนในกลุ่มนี้ เช่น เครือข่ายหน่วยบริการในระบบบัตรทองที่มีไม่เพียงพอต่อการให้บริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงพยาบาลเอกชนไม่ให้ความสำคัญต่อระบบหลักประกันสุขภาพด้วยการไม่กระจายเงินให้กับเครือข่ายหน่วยบริการของตนเองทำให้หน่วยบริการไม่เกิดประสิทธิภาพในการบริการ และมีการโยกย้ายสิทธิของผู้ใช้บริการโดยไม่แจ้งให้ทราบของโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งที่จังหวัดเชียงใหม่พบผู้เดือดร้อนในกรณีนี้ จำนวน 3,000 กว่าราย ในขณะที่หน่วยงานบริการของรัฐมักพบปัญหาการวินิจฉัยและการตรวจรักษาที่ผิดพลาด
       
       นางกชนุช แสงแถลง หัวหน้าฝ่ายสนับสนุนองค์กรผู้บริโภคและพัฒนานโยบายมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคกล่าวเสริมในเรื่องปัญหาด้านระบบประกันสุขภาพ ว่า “จากการสังเกตพบว่า การให้บริการของสถานพยาบาล ผู้ที่ยากจนเท่านั้นจึงจะได้รับบริการ 30 บาทรักษาทุกโรค ฉะนั้นหากต้องการจะรับบริการในส่วนนี้ต้องแสดงว่าตนยากจนก่อน จึงอยากให้ กระทรวงสาธารณสุขตั้งราคาเป็นกลางให้กับ 3 กองทุนที่อยู่ในเงื่อนไขนี้ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการรับรักษา” นางกชนุช กล่าว
       
       ด้าน น.ส. สวนีย์ ฉ่ำเฉลียว เจ้าหน้าที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค กล่าวถึงการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคด้วยการฟ้องเป็นคดีทั้งคดีแพ่งสามัญ คดีอาญา และคดีผู้บริโภคผ่านคดีอุบัติเหตุรถโดยสาร โดยคดีทั้งสิ้น 124 คดี ผลคดีสิ้นสุดแล้ว 108 คดี สามารถเรียกร้องค่าเสียหายให้กับผู้เสียหายได้ทั้งสิ้น 27,244,803.39บาท ทั้งนี้ จากปัญหาต่างที่พบทางมูลนิธิจะเสนอข้อเรียกร้องต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

1.ผู้บริโภคจะต้องมีข้อมูลให้เท่าทันกับสถานการณ์ เพื่อรับมือ รวมทั้งเป็นเกราะป้องกันตัวจากการถูกเอาเปรียบ คือ องค์กรอิสระผู้บริโภคในรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 61 คือหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการเผยแพร่ข้อมูล ให้ความเห็น รวมทั้งเสนอแนะแนวทางในการหาทางออกให้กับผู้บริโภคได้หากเกิดองค์การอิสระก็จะเป็นคำตอบสำหรับผู้บริโภคได้
       
2.กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคฉบับอื่นๆก็ต้องเกิดขึ้นด้วย ทั้ง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหาย และ พ.ร.บ กองทุนสินไหมทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ ตลอดจนการปรับปรุงพัฒนากฏหมายที่มีอยู่ในสอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหาผู้บริโภคในปัจจุบัน เช่น กฎหมายเกี่ยวกับอาหารและยา ต้องเพิ่มบทลงโทษให้ผู้กระทำผิด

3.ต้องบังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่อย่างจริงจัง และให้เกิดประสิทธิภาพ เช่น กฎหมายด้านการจราจร ด้านขนส่งที่ควบคุมด้านการใช้ความเร็ว เข็มขัดนิรภัย การควบคุมพนักงานขับรถโดยสาร เป็นต้น

ASTVผู้จัดการออนไลน์    21 ธันวาคม 2554