ผู้เขียน หัวข้อ: ร่างพ.ร.บ.องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ....จะเข้าสภา  (อ่าน 4543 ครั้ง)

seeat

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 470
    • ดูรายละเอียด


มีหลายร่าง แต่หนึ่งในนั้น เป็นร่างของ นส.สารี อ๋องสมหวัง
สาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ. เป็นอย่างไรมาดูกัน

วิชาชีพด้านสาธารณสุข ก็เป็นผู้ประกอบการ ตามกฏหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค (มาตรา ๓... ผู้ประกอบการ)



คณะกรรมการ ฟ้องศาลดำเนินคดี แทนผู้บริโภคได้ โดยยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียม (มาตรา ๑๙(๕))



บุคคลใดๆก็สามารถถูกเชิญไปให้ปากคำ หรือความเห็น และจัดส่งเอกสารไปให้คณะกรรมการ (มาตรา ๒๒)



องค์การอิสระนี้เป็น One Stop Service สำหรับผู้บริโภค สภาวิชาชีพใดๆก็ไม่มีความหมาย หน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคของรัฐ ก็ว่างงาน
(ข้อ ๕)




พี่ๆน้องๆคิดเห็นกันอย่างไร...?

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 ธันวาคม 2011, 01:18:29 โดย seeat »

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
จดหมายเปิดผนึกถึงสมาชิกวุฒิสภา

ขอให้ทบทวนความเหมาะสมของพ.ร.บ.องค์กรอิสระเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ....

ประธานสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย(สผพท.)
ที่ทำการเฉพาะกิจ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
โทร. ๐๘๖ ๕๖๕ ๙๙๘๕

๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๔

เรื่อง ขอให้วุฒิสภาทบทวนความเหมาะสมที่จะต้องตราพ.ร.บ.องค์กรอิสระเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ....

เรียน สมาชิกวุฒิสภาทุกท่าน

อ้างถึง พ.ร.บ.องค์กรอิสระเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ....

สิ่งที่ส่งมาด้วย ๑.ผลการตรวจสอบ(สปสช.)และข้อเสนอแนะของสตง.

๒.จดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรีและครม.จากสผพท.

ในขณะนี้มีพ.ร.บ.องค์กรอิสระเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. .... ที่ผ่านมติเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร และกำลังพิจารณาอยู่ในวุฒิสภา

ซึ่งเมื่อดิฉันได้อ่านพ.ร.บ.นี้แล้ว เห็นว่า ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องตราพ.ร.บ.แบบนี้อีกด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้คือ

๑. ในปัจจุบันนี้มีพ.ร.บ.ที่มีวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองผู้บริโภคอยู่หลายฉบับ และพ.ร.บ.องค์กรอิสระเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคฉบับที่ผ่านมติของสภาผู้แทนราษฎรฉบับนี้ มีเนื้อหาและการบังคับหรือดำเนินการซ้ำซ้อนกับพ.ร.บ.ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคอีกหลายฉบับที่มีอยู่แล้วดังนี้คือ *พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. ๒๕๔๕ * พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.๒๕๕๑ * พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ และ พ.ศ.๒๕๔๑ *พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.๒๕๕๑

นอกจากนี้ยังมีพระราชกฤษฎีกา และกฎกระทรวงอีกหลายฉบับที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ในการคุ้มครองผู้บริโภคได้อย่างกว้างขวาง และครอบคลุมการบริโภคได้ทุกภาคส่วนอยู่แล้ว และยังมีสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นหน่วยงานภาครัฐ ที่ทำงานในด้านการคุ้มครองผู้บริโภค มีมูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภคเป็นหน่วยงานเอกชน ที่ดำเนินการด้านคุ้มครองผู้บริโภคอยู่อย่างเข้มแข็งอยู่แล้ว

๒. องค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ได้พยายามผลักดันให้เกิดองค์กรอิสระเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค โดยการเขียนพระราชบัญญัติเพื่อจัดตั้งองค์กรอิสระเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งอ้างตามรัฐธรรมนูญปี ๒๕๕๐ มาตรา ๖๑ วรรค ๒ “ให้มีองค์การเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระจากหน่วยงานของรัฐ ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนผู้บริโภค ทำหน้าที่ให้ความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของหน่วยงานของรัฐในการตราและการบังคับใช้กฎหมายและกฎ และให้ความเห็นในการกำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งตรวจสอบและรายงานการกระทำหรือละเลยการกระทำอันเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ทั้งนี้ให้รัฐสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการขององค์การอิสระดังกล่าวด้วย”

แต่ร่างพ.ร.บ.องค์กรอิสระเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. .... ที่ผ่านการรับรองจากสภาผู้แทนฯไปแล้ว และกำลังพิจารณาอยู่ในวุฒิสภาในปัจจุบัน นั้นได้ร่างขึ้นโดยได้ขยายขอบข่ายการทำงานขององค์กรอิสระเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคไปไกลเกินกว่าเจตนารมณ์เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญพ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๖๑ มากมาย เกินเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ และมีความน่าเคลือบแคลงในการกำหนดให้ได้รับงบประมาณจากภาษีประชาชนมาเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน แต่พ.ร.บ.ไม่ได้กำหนดระเบียบการใช้เงิน การตรวจสอบ และไม่ได้กำหนดจริยธรรมหรือแนวทางในการป้องกันการดำเนินการที่เอื้อประโยชน์แก่คณะกรรมการหรือเลขาธิการที่จะมาดำรงตำแหน่งหัวหน้าสำนักงาน การกำหนดให้คณะกรรมการเขียนหลักเกณฑ์การดำเนินงานเอง ก็จะดำเนินการตามรอยขององค์กรอิสระอื่นๆที่ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติเฉพาะ เช่น สปสช.และตระกูลส.อื่นๆ ที่บริหารงานและดำเนินการที่ขัดต่อมติครม. ผิดระเบียบสตง. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ กำหนดเงินเดือนและเบี้ยประชุมขัดต่อมติครม. และความผิดอื่นๆ ตามที่สตง.ได้ชี้ประเด็นความไม่ถูกต้อง ไม่ประหยัด ไม่มีประสิทธิภาพ เหมือนในกรณีของสปสช.และคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งทำให้ประชาชนเสียหาย (ตามเอกสารหมายเลข ๑) และยังมีอีกหลายประเด็นที่สตง.ยังไม่ได้ตรวจสอบ (ตามเอกสารหมายเลข ๒.)

ฉะนั้นการเขียนร่างพ.ร.บ.องค์กรอิสระฯนี้ จึงสุ่มเสี่ยงต่อการดำเนินการที่ไม่สามารถรักษากฎหมาย คุณธรรม จริยธรรมและความถูกต้องและมีประสิทธิภาพได้

นอกจากนั้นยังมีการบัญญัติไว้ในพ.ร.บ.นี้ว่ารัฐบาลจะออกกฎหมาย หรือกฎระเบียบใดๆ ต้องส่งมาให้คณะกรรมการในพ.ร.บ.องค์การอิสระฯนี้พิจารณาให้ความเห็นชอบเสียก่อน ถ้าเห็นชอบแล้วจึงจะดำเนินการต่อไปได้ และดำเนินการไปแล้วก็ต้องรายงานคณะกรรมการนี้อีก (มาตรา ๒๑)

และคณะกรรมการนี้ยังมีสิทธิเรียกข้าราชการหรือพนักงานของรัฐมาให้ข้อมูลหรือส่งเอกสารมาให้คณะกรรมการประกอบการพิจารณาได้ด้วย(มาตรา ๒๒)

ข้อสังเกต คณะกรรมการเป็นคนจากองค์กรเอกชน ที่มิได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐานความรู้ความเชี่ยวชาญใดๆ นอกจากทำงานด้านเอกชนคุ้มครองผู้บริโภค แต่จะมีอำนาจพิจารณากฎระเบียบของทางราชการก่อนจะดำเนินการใดๆ แสดงว่าบ้านเมืองนี้ ไม่ต้องอาศัยผู้แทนปวงชนชาวไทย ไม่ต้องอาศัยคุณสมบัติสอบผ่านหลักเกณฑ์ข้าราชการหรือพนักงานของรัฐ แต่มามีอำนาจพิจารณากฎหมายได้เหนือกว่าผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะได้

๓. ความเคลือบแคลงในความซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใสในการดำเนินงานที่ไม่ได้กำหนดระเบียบปฏิบัติ พร้อมทั้งหลักเกณฑ์ด้านจริยธรรมกำกับไว้ เนื่องจากองค์กรนี้จะต้องได้รับงบประมาณจากเงินภาษีอากรของประชาชนมาใช้ในการดำเนินงาน แต่ไม่อยู่ภายใต้การดูแลกำกับของรัฐมนตรีหรือหน่วยงานราชการใดๆทั้งสิ้น และในร่างพ.ร.บ.นี้ ได้เลียนแบบพ.ร.บ.องค์กรอิสระทางด้านสาธารณสุข เช่น สสส. สวรส. สปสช. สช.ฯลฯ ที่ให้มีการจัดตั้งกองทุนที่ได้เงินมาจากภาษีของประชาชน มีคณะกรรมการมาบริหารกองทุน มีเลขาธิการทำหน้าที่หัวหน้าผู้บริหารสำนักงาน โดยการเลือกกันเองขององค์กรเอกชน ที่มีกฎกติการเลือก การสรรหา และบทเฉพาะกาลคล้ายคลึงกันกับ องค์กรข้างต้นที่กล่าวมา แต่องค์กรอื่นๆเหล่านั้น ยังมีรัฐมนตรี หรือนายกรัฐมนตรีคอยกำกับดูแล แต่องค์กรตามพ.ร.บ.ใหม่นี้ เลือกกันเองมาจากกลุ่มเอ็นจีโอล้วนๆ ไม่มีตัวแทนภาครัฐหรือผู้แทนจากการคัดเลือกของประชาชน เช่นสส.มาคอยกำกับดูแลเลยจึงน่าเป็นห่วงเรื่องความสุจริต โปร่งใส หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อนของคณะกรรมการและหรือเลขาธิการ

ขอให้ดูสปสช.(สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ)เป็นตัวอย่าง เอาคนเขียนพ.ร.บ.มานั่งเป็นเลขาธิการคนแรก ๒ สมัย สช.(สำนักงานสุขภาพแห่งชาติ)ก็เช่นเดียวกัน เขียนพ.ร.บ.เสร็จก็มาเป็นเลขาธิการสองสมัย และพยายามบอกว่าองค์กรของตนเองเป็นอิสระ จะออกกฎระเบียบอะไรเองก็ได้ แต่ตอนนี้สตง.ตรวจพบความผิดพลาดบกพร่องในการบริหารเงิน บริหารกองทุนของสปสช.อีกมากมาย องค์กรใหม่นี้จะไม่มีคนอื่นกำกับเลย น่าเป็นห่วงว่า จะเป็นช่องทางที่เอ็นจีโอจะใช้เงินงบประมาณไม่คุ้มค่า ไม่ประหยัด และไม่มีประสิทธิภาพเหมือนที่สตง.ชี้ประเด็นการบริหารงบประมาณของสปสช.

และถ้าดูให้ดีแล้ว เอ็นจีโอในองค์กรส.ทั้งหลายเหล่านี้เป็นคนกลุ่มเดียวกัน ทำงานอยู่ในองค์กรอิสระไขว้กันไปมา มีกลุ่มเอ็นจีโอที่เขียนและผลักดันร่างนี้เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา ตั้งเงินเดือนและค่าตอบแทนสูงๆ

จากเงินภาษีประชาชน ใช้งบบริหารและงบกองทุน ผิดมติครม. ผิดระเบียบสตง. ผิดระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี และผิดระเบียบของหน่วยงานเอง

แล้วจะมีใครตรวจสอบได้? กว่าสตง.จะตรวจพบประเด็นความผิดเวลาก็ล่วงเลยมาเข้าปีที่ ๑๐ แล้ว

แล้วเราจะปล่อยให้องค์กรอิสระตามพ.ร.บ.ใหม่นี้ดำเนินการตามรอยเท้าของสปสช.อีกหรือ?

ฉะนั้น ถ้าจะให้มีการจัดตั้งองค์กรอิสระนี้จริง จึงน่าจะตั้งกฎเกณฑ์ไว้ว่า ห้ามกลุ่มเอ็นจีโอคุ้มครองผู้บริโภคที่มีส่วนร่วมในการประชุมผลักดันหรือเขียนพ.ร.บ.นี้ไม่ให้เข้ามาดำรงตำแหน่งใดๆในองค์กรอิสระนี้ ไม่ว่าในบทเฉพาะกาล หรือกรรมการชุดแรก ๔ ปี ทั้งนี้เพื่อแสดงความสุจริตและโปร่งใสว่า ไม่เขียนพ.ร.บ.นี้มาเพื่อแสวงหาประโยชน์ให้แก่ตนเองและพวกพ้อง

๔.ในปัจจุบันนี้ มีพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคพ.ศ. ๒๕๕๑ ที่บัญญัติขึ้นเพื่อคุ้มครองและเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค ซึ่งทำให้ผู้บริโภคมีความสะดวก รวดเร็ว และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการฟ้องร้องแต่อย่างใด

* ผู้บริโภคฟ้องคดีได้โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย ซึ่งแตกต่างจากกฎหมายเดิม

* การดำเนินกระบวนพิจารณาเป็นไปโดยรวดเร็ว และมีการประนีประนอมก่อนพิจารณาคดี

* ผู้บริโภคไม่ต้องพิสูจน์ความเสียหาย หากแต่ ผู้ประกอบการเป็นผู้ต้องพิสูจน์ว่าตนเองไม่ต้องรับผิดเพราะเหตุใด

* ให้ศาลมีอำนาจใช้ดุลยพินิจกำหนดค่าเสียหายโดยไม่ต้องคำนึงถึงความเสียหายที่แท้จริง

การที่กำหนดให้คณะกรรมการในพ.ร.บ.องค์การอิสระฯนี้มีอำนาจหน้าที่ในการช่วยดำเนินคดี สนับสนุนการร้องเรียน และดำเนินการไกล่เกลี่ยคดีผู้บริโภคอีก จึงน่าจะเป็นการบัญญัตินอกเหนือเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ ซ้ำซ้อนกับพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค และเป็นช่องทางทุจริต(เรียกทรัพย์จากผู้ถูกร้องเรียนโดยเจตนาทุจริต) และยังเป็นการก้าวล่วงอำนาจของสภาวิชาชีพต่างๆที่เกี่ยวกับการบริการ การออกแบบงานสถาปัตยกรรม วิชาชีพวิศวกรรม การบริการด้านสุขภาพการแพทย์ การสาธารณสุข เภสัชกรรม ฯลฯ

๕. การกำหนดรายชื่อองค์กรที่เป็นกรรมการสรรหา ก็เป็นองค์กรที่มีตัวบุคคลที่เป็นพวกเดียวกันกับผู้เสนอกฎหมายนี้อยู่แล้ว เช่น ประธานสภาสมาคมผู้สูงอายุ เลขาธิการสช. ประธานสภาพัฒนาเด็กและเยาวชน ทำให้น่าสงสัยว่า กลุ่มเอ็นจีโอเหล่านี้ ต้องการเลือกพวกพ้องเข้ามามีอำนาจเหนืออำนาจรัฐ และใช้เงินภาษีประชาชนอย่างอิสระ ไม่ต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลหรือตรวจสอบใดๆจากองค์กรภาครัฐ (เหมือนที่เกิดขึ้นในสปสช. สสส. สช. สวรส. ที่มีกลุ่มเอ็นจีโอเหล่านี้ เป็นกรรมการไขว้กันไปมาคนละหลายๆองค์กร)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
๖. ในร่างพ.ร.บ.องค์กรอิสระนี้ได้กำหนดขอบเขตการทำงานของคณะกรรมการที่ต้องเกี่ยวข้องกับกฎหมายต่างๆมากมายหลายสิบฉบับ แต่กรรมการที่คัดเลือกมานั้น ไม่ได้มีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งที่มีความรู้ความสามารถตามกฎหมายทั้งหมดนี้แต่อย่างใด ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาการไม่สามารถดำเนินการตามหลักนิติธรรม ได้

๗.ในร่างพ.ร.บ.ใหม่นี้ กำหนดให้คดีที่อยู่ในข่ายของพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค ซึ่งรวมคดีที่เกี่ยวกับการบริการสาธารณสุขเข้าไปด้วย ซึ่งจะทำให้บุคลากรในสาขาวิชาชีพต่างๆในด้านสาธารณสุข ต้องถูกบังคับให้ทำงานภายใต้กฎหมายเพิ่มขึ้นอีก ๑ ฉบับ นอกเหนือจากกฎหมายต่างๆที่มีอยู่แล้ว ได้แก่ พ.ร.บ.ประกอบวิชาชีพเวชกรรม พ.ร.บ.สถานพยาบาล กฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ร.บ.สินค้าไม่ปลอดภัย และพ.ร.บ.องค์กรอิสระเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งนับว่าเป็นการบีบบังคับผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขมากเกินบุคลอื่นๆ ต่อไปคงไม่มีใครอยากมาเป็นบุคลากรทางด้านสุขภาพ ประชาชนอาจจะต้องไปรับบริการสาธารณสุขจากต่างประเทศก็เป็นไปได้

ในขณะที่มีข้อเรียกร้องให้แก้ไขพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ร.บ.สินค้าไม่ปลอดภัย ซึ่งมีความซ้ำซ้อนกับพ.ร.บ.ยา พ.ร.บ.ประกอบวิชาชีพเวชกรรม และยังจะมีพ.ร.บ.องค์กรอิสระนี้มาทับซ้อนพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค และพ.ร.บ.สินค้าไม่ปลอดภัยเข้าไปอีก

๘. ปัจจุบันนี้ มีสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค เป็นหน่วยงานภาครัฐ สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้รับงบประมาณจากภาษีอากรประชาชนอยู่แล้วปีละประมาณ ๒๐๐ ล้านบาท ในขณะที่องค์กรอิสระที่จะตั้งใหม่ตามพ.ร.บองค์กรอิสระฯนี้ ก็เขียนไว้ว่าจะขอเงินงบประมาณอย่างน้อยปีละไม่ต่ำกว่า ๒๐๐ ล้านบาท มาทำงานซ้ำซ้อนกัน เพียงแต่ให้เอกชนมาเป็นผู้ทำงานแทน ซึ่งปัจจุบันนี้ในภาคเอกชนคุ้มครองผู้บริโภค ก็มีมูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภคทำงานในด้านการคุ้มครองผู้บริโภคอยู่แล้ว เพียงแต่อาจจะมีความลำบากในการหาเงินบริจาคมาทำงาน การเขียนพ.ร.บ.องค์กรอิสระเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคแบบนี้ จึงเท่ากับเป็นการแสวงหาเงินและแสวงหาอำนาจขององค์กรเอกชนเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค และมีความซ้ำซ้อนกับพ.ร.บ.ต่างๆดังกล่าว

๙.เหตุผลต่างๆดังกล่าวนี้ จึงเห็นว่า ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีพ.ร.บ.องค์กรอิสระฯนี้ให้มีภาระหน้าที่ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่น เป็นการไม่ประหยัดงบประมาณจากภาษีประชาชน และมีอำนาจเหนือหน่วยงานภาครัฐที่มาจากผู้แทนปวงชนชาวไทย(คือครม.) และเหนือข้าราชการ(ที่ต้องมีความรู้ความสามารถและความเชี่ยวชาญเหมาะสมกับตำแหน่ง)

โดยบุคคลที่จะมาเป็นประธานกรรมการและคณะกรรมการนี้ ไม่ต้องถูกเลือกโดยประชาชน ไม่ต้องถูกคัดเลือกจากกฎระเบียบทางราชการ

หรือถ้าสว.จะคิดว่า ต้องมีองค์กรอิสระฯนี้ตามรัฐธรรมนูญ สมาชิกวุฒิสภา ก็ควรจะได้พิจารณาทบทวนแก้ไขพ.ร.บ.องค์กรอิสระเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ไม่ให้ซ้ำซ้อนกับพ.ร.บ.ต่างๆดังกล่าว รวมทั้งไม่ให้มีอำนาจมากมายมหาศาลเกินเจตนารมณ์มาตรา ๖๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. ๒๕๕๐ รวมทั้งเขียนมาตรการในกฎระเบียบการดำเนินงานให้ครอบคลุมความถูกต้องในด้านนิติธรรม คุณธรรม จริยธรรมของคณะกรรมการ และให้มีองค์กรกำกับและตรวจสอบได้ตามกฎหมาย ได้แก่ปปช. สตง. และรัฐสภารวมทั้งมีบทบัญญัติว่าคณะกรรมการและเลขาธิการต้องรายงานทรัพย์สินและหนี้สินต่อปปช.ก่อนเข้ารับตำแหน่ง และทุกปีในขณะดำรงตำแหน่ง และก่อนออกจากตำแหน่งด้วย

จึงเรียนมาเพื่อขอให้ท่านสมาชิกวุฒิสภาโปรดพิจารณาประเด็นต่างๆดังกล่าว เพื่อป้องกันไม่ให้การคุ้มครองผู้บริโภคเป็นไปโดยซ้ำซ้อน ไม่ประหยัด ไม่มีประสิทธิภาพ เอื้อประโยชน์ให้กลุ่มเอ็นจีโอมีอำนาจเหนือภาครัฐและผู้แทนปวงชนชาวไทย และเพื่อป้องกันการทุจริตและผลประโยชน์ทับซ้อน แบบเดียวกับการจัดตั้งกองทุนอื่นๆด้านสาธารณสุขที่ก่อให้เกิดปัญหาแก่ระบบบริการสาธารณสุขต่างๆมากมายดังที่ทราบกันดีอยู่แล้ว

ขอแสดงความนับถือ

(พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา) ประธานสผพท.

poppoppo

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
    • sbobet
7m 7m บาคาร่า บาคาร่า ibc ibc Gclub Gclub ผลบอล ผลบอล ibcbet ibcbet

watesutt

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 26
    • ดูรายละเอียด
 
  ถ้าอย่างนั้น เรามีสิทธิ์ ที่จะปฎิเสธ การรักษา หรือเลือกที่จะรักษา ในกรณี case ง่ายๆ ได้หรือเปล่าครับ

ประเมินดู ถ้าคนไข้ หรือญาติคนไข้ หัวหมอ มา ก็ปฎิเสธไปเลย จะได้ตัดไฟตั้งแต่ต้นลม :D :D :D :o :o :o :o

Meem

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2576
    • ดูรายละเอียด
โรงพยาบาลของรัฐ คงปฏิเสธ ไม่ได้แน่
เอกชน หรือคลีนิค ถ้าไม่ฉุกเฉิน น่าจะปฏิเสธได้นะ