1.5
การจ้างที่ปรึกษาไม่เหมาะสมสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มีการจ้างที่ปรึกษาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2549 จากการตรวจสอบพบว่าการจ้างที่ปรึกษาไม่เหมาะสม ดังนี้
1.5.1
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจ้างที่ปรึกษาในลักษณะต่อเนื่องและอัตราค่าจ้างค่อนข้างสูงสปสช. เริ่มดำเนินการในปีงบประมาณ 2546 ตั้งแต่วันที่ 19 พฤศจิกายน 2545 มีการจ้างที่ปรึกษาโดยทำเป็นสัญญาและใช้ชื่อว่า “สัญญาจ้างพนักงาน” และกำหนดให้ปฏิบัติงานในตำแหน่งพนักงาน (ที่ปรึกษาอาวุโส) ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2549 จนถึงปัจจุบันปีงบประมาณ 2552 รายละเอียดข้อมูลที่ปรึกษาอาวุโสและอัตราค่าจ้าง ปรากฏดังตาราง

หมายเหตุ :
1.
ปีงบประมาณ 2549 - 2552 จ้างเจ้าหน้าที่ สปสช. ที่เกษียณแล้วเป็นที่ปรึกษาอาวุโส
1.1 นพ.ปัญญา กีรติหัตถยากร เกษียณในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญพิเศษ เงินเดือน 96,130.00 บาท สปสช.จ้างเป็นที่ปรึกษาอาวุโส
เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2548
1.2 พญ.เรณู ศรีสมิต เกษียณในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักพัฒนาคุณภาพ เงินเดือน121,540.00 บาท สปสช.จ้างเป็นที่ปรึกษาอาวุโส
เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2548
1.3 เจ้า นางเขมรัสมี ขุนศึกเม็งราย เกษียณในตำแหน่งผู้อำนวยการ สปสช. เขต 1 เชียงใหม่ เงินเดือน 112,400.00 บาท สปสช.จ้างเป็นที่ปรึกษาอาวุโสเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2551
2.
ปีงบประมาณ 2553 ยังคงมีการจ้างที่ปรึกษาอาวุโส 3 คน ตามข้อ 1 และมีการจ้างที่ปรึกษาเพิ่มจำนวน 3 คน
2.1 นายวิญญู พิทักษ์ปกรณ์ เริ่มจ้างหลังเกษียณจาก สปสช. ในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย จ้างในอัตราเดือนละ 70,000 บาท
เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2552
2.2 นพ.สมชาย นิ้มวัฒนากุล อดีตเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชจังหวัดนครศรีธรรมราช จ้างในอัตราเดือนละ 80,000.00 บาท
เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2552
2.3 นพ.นิพนธ์ โตวิวัฒน์ อดีตเป็นนายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชกรรมป้องกันประจำสาธารณสุขจังหวัดอุทัยธานี จ้างในอัตราเดือนละ 41,500.00 บาท เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2553
จากตารางข้างต้น ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2549 - 2552 สปสช. มีการจ้างที่ปรึกษาอาวุโส จำนวน 3 คน โดยทั้ง 3 คน เป็นเจ้าหน้าที่ของ สปสช. มาก่อนและหลังจากจ้างแล้วจะมีการจ้างอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี โดยสัญญาที่จัดทำในช่วงปีงบประมาณ 2549 - 2550 จะจัดทำทุกปี โดยมีเงื่อนไขในสัญญาว่าจะต่ออายุเมื่อผ่านการประเมินผล ต่อมาในปีงบประมาณ 2551 - 2552 มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหารายละเอียดในหัวข้อระยะเวลาการจ้าง โดยกำหนดเพิ่มในวรรคสอง คือ
“ในกรณีที่ระยะเวลาตามสัญญาจ้างพนักงานนี้ใกล้จะสิ้นสุดลง หากสำนักงานต้องการจ้างพนักงานปฏิบัติงานต่อไปอีกให้ถือว่าสัญญาจ้างพนักงานนี้ขยายออกไปอีกทุก ๆ หนึ่งปี เว้นแต่สำนักงานจะมีการยุบหรือยกเลิกตำแหน่งและได้แจ้งให้พนักงานทราบล่วงหน้าแล้ว ให้สัญญานี้สิ้นสุดลงตามระยะเวลาที่กำหนดในสัญญา” และยังคงต้องให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อพิจารณาต่อสัญญาจ้าง โดยรูปแบบการประเมินผลให้เป็นไปตามที่ผู้รับจ้างกำหนด
ข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้นแสดงให้เห็นว่า สปสช. มีการจ้างที่ปรึกษาในลักษณะต่อเนื่องและใช้สัญญาฉบับเดียวแล้วมีการต่ออายุสัญญาไปเรื่อย ๆ นอกจากนั้นพิจารณาจากอัตราค่าจ้างของแต่ละคนพบว่ามีอัตราที่ค่อนข้างสูงและในปีงบประมาณ 2553 มีการจ้างที่ปรึกษาเพิ่มอีกจำนวน 3 คน เป็นอดีตเจ้าหน้าที่ สปสช. 1 คน และบุคคลภายนอก 2 คน
1.5.2
การจัดทำสัญญาจ้างที่ปรึกษาไม่ครบถ้วน จากการตรวจสอบการทำสัญญาจ้างที่ปรึกษาทั้ง 3 คน พบว่า สปสช. จัดทำสัญญาจ้างที่ปรึกษาไม่ครบถ้วน ปรากฏดังตาราง

หมายเหตุ : เจ้า นางเขมรัสมี ขุนศึกเม็งราย เริ่มจ้างในปีงบประมาณ 2551 และในปีงบประมาณ 2552 ใช้สัญญาจ้างของปีงบประมาณ 2551
จากตารางข้างต้น สปสช. จัดทำสัญญาจ้างที่ปรึกษาไม่ครบถ้วน ดังนี้
1.5.2.1 สัญญาจ้าง นพ.ปัญญา กีรติหัตถยากร เริ่มจ้างในปีงบประมาณ 2549 และได้ทำสัญญาจ้างในปีงบประมาณ 2549 - 2550 สำหรับปีงบประมาณ 2551 ไม่ได้จัดทำสัญญาแต่มีการจ่ายเงินค่าจ้าง และเริ่มมาจัดทำสัญญาจ้างอีกครั้งในปีงบประมาณ 2552
1.5.2.2 สัญญาจ้าง พญ.เรณู ศรีสมิต เริ่มจ้างในปีงบประมาณ 2549 และได้ทำสัญญาจ้างในปีงบประมาณ 2549 - 2550 สำหรับปีงบประมาณ 2551- 2552 ไม่ได้จัดทำสัญญา แต่มีการจ่ายเงินค่าจ้างต่อเนื่องทุกปี
1.5.2.3 สัญญาจ้าง เจ้า นางเขมรัสมี ขุนศึกเม็งราย เริ่มจ้างในปีงบประมาณ 2551 และได้ทำสัญญาในปีงบประมาณ 2551 โดยในสัญญาฉบับนี้ได้มีการระบุระยะเวลาการจ้างต่อเนื่องว่า
“ในกรณีที่ระยะเวลาตามสัญญาจ้างพนักงานนี้ใกล้จะสิ้นสุดลง หากสำนักงานต้องการจ้างพนักงานปฏิบัติงานต่อไปอีก ให้ถือว่าสัญญาจ้างพนักงานนี้ขยายออกไปอีกทุก ๆ หนึ่งปี เว้นแต่สำนักงานจะมีการยุบหรือยกเลิกตำแหน่งและได้แจ้งให้พนักงานทราบล่วงหน้าแล้ว ให้สัญญานี้สิ้นสุดลงตามระยะเวลา ที่กำหนดในสัญญา” ดังนั้น ในปีงบประมาณ 2552 จึงเป็นการจ้างต่อเนื่องตามสัญญาในปีงบประมาณ 2551 อย่างไรก็ตามในปีงบประมาณ 2553 สปสช. ได้จัดทำสัญญาจ้างที่ปรึกษาใหม่ทั้งหมด และระบุระยะเวลาการจ้างต่อเนื่องเช่นเดียวกับสัญญาที่ทำในปีงบประมาณ 2551
1.5.3
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจ้างที่ปรึกษาทำหน้าที่ผู้บริหารระดับสูงจากการสอบถามผู้อำนวยการสำนักบริหารทรัพยากรบุคคลและการเปลี่ยนแปลงและวิเคราะห์ข้อมูลรายละเอียดประกอบสัญญาจ้าง พบว่า สปสช. จ้างที่ปรึกษาอาวุโสทำหน้าที่ผู้บริหารระดับสูงเช่นเดียวกับเลขาธิการ รองเลขาธิการ หรือผู้ช่วยเลขาธิการ โดยได้กำหนดในขอบเขตความรับผิดชอบของแต่ละคนดังนี้
1.5.3.1 นพ.ปัญญา กีรติหัตถยากร มีหน้าที่ความรับผิดชอบตามสัญญา
ในปีงบประมาณ 2550 - 2553 คือ ให้คำปรึกษาและคำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สิทธิเข้ารับบริการสาธารณสุขที่สถานบริการอื่น การติดตามเงินลงทุนและการพิจารณาเงื่อนไขการชำระหนี้ การประสานงานด้านการเมือง การชี้แจงข้อมูลแก่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สนับสนุนและกำกับการพัฒนาคุณภาพของหน่วยบริการ ติดตามและตรวจเยี่ยมหน่วยบริการ และงานอื่น ๆ ที่เลขาธิการมอบหมาย
1.5.3.2 พญ.เรณู ศรีสมิต มีหน้าที่ความรับผิดชอบตามสัญญาปีงบประมาณ 2550 - 2553 คือ สนับสนุนการบริการผู้ติดเชื้อ เอช ไอ วี โครงการโรคลมชัก โครงการยิ้มสวยเสียงใส การพัฒนาระบบยาและเวชภัณฑ์ การบริหารจัดการงบประมาณสำหรับโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของหน่วยบริการและการควบคุมกำกับติดตามและประเมินผลหน่วยบริการ
ในส่วนของศูนย์ตติยภูมิเฉพาะด้าน การพัฒนาระบบคุณภาพและการพัฒนาทรัพยากรบุคคล และงานอื่น ๆ ที่เลขาธิการมอบหมาย
1.5.3.3 เจ้า นางเขมรัสมี ขุนศึกเม็งราย มีหน้าที่ความรับผิดชอบตามสัญญาปีงบประมาณ 2551 - 2553 คือ การสนับสนุนและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับระบบบริการคุณภาพ (Quality Management System : QMS) เน้นหนักด้าน Management review ระบบตรวจสอบภายในและการบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข การทบทวนเวชระเบียนในสถานพยาบาลตามมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ (Hospital Accreditation : HA) และการประเมินคุณภาพการรักษา (Clinical audit) การพัฒนาเครือข่ายบริการรวมทั้งระบบส่งต่อ - ส่งกลับ การพัฒนาการชดเชยเพื่อรับรองการพัฒนาระบบบริการ การพัฒนาระบบยาและเวชภัณฑ์ มาตรฐานการบริการเป็นรายกรณีและรายโรค การติดตามและตรวจเยี่ยมหน่วยบริการ การสนับสนุนและปฏิบัติงานร่วมกับส่วนงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือได้รับมอบหมาย และงานอื่น ๆ ที่เลขาธิการมอบหมาย (ภาคผนวกที่ 3)
จากข้อเท็จจริงการปฏิบัติหน้าที่ตามขอบเขตความรับผิดชอบดังกล่าวจะมีหน่วยงานและผู้ปฏิบัติรับผิดชอบอยู่แล้วในแต่ละภารกิจ แต่กำหนดให้มีที่ปรึกษาทำงานเต็มเวลาเหมือนเจ้าหน้าที่ของ สปสช.
1.5.4
เอกสารการประเมินผลการปฏิบัติงานของที่ปรึกษาสำหรับปีงบประมาณ 2551 และ 2552 ไม่สมบูรณ์จากการสัมภาษณ์ผู้อำนวยการสำนักบริหารทรัพยากรบุคคลและการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติงานของที่ปรึกษาทั้ง 3 คน ชี้แจงว่า รูปแบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของที่ปรึกษาไม่เป็นลายลักษณ์อักษร แต่การประเมินผลใช้มติการประชุมของคณะกรรมการนโยบายทรัพยากรบุคคลที่ประกอบด้วยคณะกรรมการ 4 คน คือ เลขาธิการ และรองเลขาธิการ 3 คน แต่การประชุมคณะกรรมการดังกล่าวไม่เป็นทางการ และไม่ได้จัดทำรายงานการประชุม การต่อสัญญาที่ปรึกษาใช้การแจ้งผลการลงมติของคณะกรรมการดังกล่าวที่แจ้งให้สำนักบริหารทรัพยากรบุคคลและการเปลี่ยนแปลงด้วยวาจาไม่มีการแจ้งผลการลงมติเป็นลายลักษณ์อักษร
อย่างไรก็ตามแม้ว่าในสัญญาว่าจ้างที่ปรึกษาจะระบุว่ารูปแบบการประเมินผลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามที่ผู้ว่าจ้างกำหนด แต่รูปแบบการประเมินผลการปฏิบัติการของที่ปรึกษาในลักษณะดังกล่าวไม่เหมาะสมเนื่องจากไม่มีหลักฐานการประเมินผลการปฏิบัติงานที่เป็นทางการ ดังนั้นในปีงบประมาณ 2552 สปสช. จึงมีการประเมินผลการปฏิบัติงานของที่ปรึกษาอาวุโสประจำปีงบประมาณ 2551 เป็นลายลักษณ์อักษรแต่พิจารณาจากเอกสารรายงานผลการประเมินพบว่าไม่มีการลงวันที่ที่ทำการประเมินผลและลายมือชื่อรับทราบผลการประเมินซึ่งระบุไว้ในแบบฟอร์ม ต่อมา
ในปีงบประมาณ 2552 ได้มีการปรับแบบฟอร์มประเมินผลงานที่ปรึกษาใหม่ โดยในแบบฟอร์มไม่มีการระบุวัน เดือน ปี ที่ทำการประเมินจึงถือว่าเป็นการจัดทำเอกสารที่ไม่สมบูรณ์
.........................................................................................