ผู้เขียน หัวข้อ: แฉ สตง.ตรวจสอบ สปสช.พบตุกติก “หมอวินัย” ลั่นพร้อมแจงทุกประเด็น  (อ่าน 1179 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9755
    • ดูรายละเอียด
สพศท.แฉ สตง.ตรวจพบ สปสช.บริหารงบผิดพลาด หลายส่วนไม่ตรงตามมติ ครม.มีการจ่ายเงินคณะอนุกรรมการซี้ซั้ว “หมอประชุมพร” ขนข้อมูลฟ้อง “วิทยา” 6 ธ.ค.นี้ ด้าน “นพ.วินัย” พร้อมชี้แจงทุกประเด็น เว้นจ่ายเงินเบี้ยเลี้ยง ขอเวลาคุยกฤษฎีกา
       
       พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ ประธานสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป (สพศท.) กล่าวว่า เมื่อวันที่ 22 พ.ย.2554 สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) ได้เผยแพร่สรุปผลการตรวจสอบประเมินผลสํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ปีงบประมาณ 2554 โดยระบุว่า มีการฝ่าฝืนมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) หลายข้อ เช่น การจ่ายเงินเบี้ยประชุมให้ประธานและอนุกรรมการเกินกว่ามติ ครม. มั่วจ่ายเบี้ยเลี้ยง โดยไม่มีมติคณะกรรมการ สปสช.การจ่ายเงินค่าเบี้ยเลี้ยงการเดินทางในการจัดประชุมอบรมสัมมนาของสปสช. ที่เกินกว่าอัตรากำหนด หรือ แม้กระทั่งการบริหารงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติรายการงบบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคไม่เป็นไปตามที่คู่มือกําหนด
       
       พญ.ประชุมพร“สรุปผลของ สตง.นั้นย่อมสะท้อนให้เห็นว่า สปสช.มีความผิดพลาดในการบริหารงานจริงๆ ดังนั้น ในวันที่ 6 ธ.ค.ที่จะมีการประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ตนจะนำหนังสือร้องเรียนเกี่ยวกับกรณีดังกล่าว พร้อมกับหลักฐานผลสรุปของ สตง.ไปเสนอต่อ นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (รมว.สธ.) ในฐานะประธานบอร์ด ให้รับทราบถึงความไม่โปร่งใสของหน่วยงานเพื่อที่จะได้แก้ไขและปรับปรุงข้อบกพร่องให้ดีขึ้น” กล่าว
       
       ด้าน นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า จากข้อท้วงติงของ สตง.นั้น ตนและหน่วยงานรับทราบดี และได้ชี้แจงในบางส่วนไปแล้ว เช่น กรณีการบริหารงบประมาณ การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคนั้น ความจริงแล้วเป็นเพียงความเข้าใจผิดที่ตีความทางคู่มือ ซึ่ง สปสช.ได้กระจายงบประมาณไปยังหน่วยงานนอกบริการในลักษณะความร่วมมือ หรือ MOU (เอ็มโอยู) เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนมีการดูและป้องกันสุขภาพอย่างถูกต้อง เหล่านี้ล้วนเป็นการส่งเสริมการสร้างเสริมสุขภาพทั้งสิ้น ซึ่ง สปสช.จะแก้ไขคู่มือใหม่ให้ครอบคลุมการบริการสุขภาพมากขึ้น
       
       “สำหรับกรณีของการจ่ายเงินในเรื่องการลงพื้นที่ดำเนินงานและการการใช้จ่ายเงินบางรายการที่ระบุว่า เป็นไปโดยไม่ประหยัด เช่น ค่าเดินทางโดยเครื่องบิน เบี้ยเลี้ยงการประชุมอบรมสัมมนาของ สปสช.ที่ไม่ได้มีการคิดรวมกับค่าอาหารในงานประชุมซึ่งไม่ได้อยู่ในมติของ ครม.นั้นทาง สปสช.คงต้องขอเวลาในการหารือกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการเสียก่อน ส่วนกรณีเบี้ยประชุมนั้น ไม่ได้อยู่ในอำนาจการสั่งจ่ายของ ครม.หรือต้องผ่านความเห็นของรัฐมนตรีเลย เพราะเบี้ยประชุมมีการคิดแยกจากค่าตอบแทนในการปฏิบัติงานอยู่แล้ว” นพ.วินัย กล่าว

ASTVผู้จัดการออนไลน์    6 ธันวาคม 2554