ผู้เขียน หัวข้อ: ยุทธศาสตร์การแยก-ออกจาก กพ.-นพ.อุสาห์ พฤฒิจิระวงศ์(ฉบับพาวเวอร์พอยท์)  (อ่าน 2813 ครั้ง)

pradit

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 322
    • ดูรายละเอียด
(นำเสนอในการสัมนา วันที่ 17 มิย 2553 กระทรวงสาธารณสุข)

คปร.เตรียมชงครม.ลดจำนวน ขรก. 6 แสนคนใน 3 ปี
พร้อมปรับเกณฑ์เออร์รี่รีไทร์ใหม่ อ้างใช้งบฯมากเกินไป
     "ไตรรงค์" เผย
     คปร.มีมติให้ลดจำนวนข้าราชการทั่วประเทศ 6 แสนคนภายใน 3 ปี หวั่นงบหมดไปกับเงินเดือนไม่มีเหลือใช้ลงทุนพัฒนาประเทศ
      พร้อมปรับเกณฑ์เออร์รี่รีไทร์ใหม่จากที่ต้องมีอายุ 50 ปีขึ้นไปหรือรับราชการเกิน 25 ปี เป็นต้องมีอายุราชการเหลืออยู่ไม่เกิน 2 ปี  เมื่อวันที่ 23 เมษายน นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรี  ด้านเศรษฐกิจ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุม...

วันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2553 เวลา 21:00:46 น.  มติชนออนไลน์ 
...................................................................................
เรื่องบังเอิญ ... ไม่มี
ปรมาจารย์ อูเกวย์

ยุทธศาสตร์
ก็คือ...
ไม่มียุทธศาสตร์
โพ...กังฟูแพนด้า

เอาความจริงมาพูดกัน ก็ชื่นใจแล้ว
เครือข่ายรากหญ้ากระทรวงสาธารณสุข
.................................................
การแพทย์และสาธารณสุข เป็นบริการสาธารณะ

         มีลักษณะสำคัญ ๓ ประการ ได้แก่
๑.) ทุกคนมีสิทธิใช้บริการอย่างเสมอภาคและเท่าเทียม
๒.) มีความต่อเนื่อง ไม่ใช่การจัดเป็นครั้งคราว
๓.) ปรับเปลี่ยนตามเงื่อนไขของประชาชนผู้ใช้บริการ มีการพัฒนาทั้งปริมาณและคุณภาพของบริการ
...
ปีพ.ศ.   ผู้ป่วยนอก(ครั้ง)   ผู้ป่วยใน(ครั้ง)    จำนวนแพทย์        จำนวนพยาบาล
                                        กระทรวงสาธารณสุข  กระทรวงสาธารณสุข
 ๒๕๕๑    ๑๔๐.๐๗ ล้าน       ๙.๔๙ ล้าน         ๑๑,๘๔๑ คน       ๘๘,๑๕๓ คน
 ๒๕๔๕     ๙๙.๓๒ ล้าน      ๕.๘๔ ล้าน       ๘,๘๒๑ คน      ๘๒,๓๕๒ คน
เวลา๗ปี     ๔๐.๗๕ ล้าน      ๓.๖๕ ล้าน        ๓,๐๒๐ คน         ๕,๘๐๑  คน

ข้อมูลรวบรวมจาก  http://bps.ops.moph.go.th/index.php?mod=bps&doc=5 
๑๖มิ.ย.๕๓
...
การเพิ่มของบุคลากรทางการแพทย์
ไม่สัมพันธ์และไม่สอดคล้องกับภาระงานที่เปลี่ยนแปลงไป
                  นับตั้งแต่ ปีพ.ศ.๒๕๔๕ ถึงปี พ.ศ.๒๕๕๑
ระยะเวลา ๗ ปี
จำนวนผู้ป่วยนอก มากขึ้น ๔๐ ล้านครั้ง
จำนวนผู้ป่วยใน มากขึ้น ๓.๖๕ ล้านครั้ง
แต่จำนวนแพทย์และพยาบาล เพิ่มขึ้นไม่กี่พันคน
........................................................
ปัญหา การขาดแคลนบุคลากรทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น
ปัญหามาตรฐานและคุณภาพการบริการประชาชนลดลงและเร่งรีบ
เป็นเหตุให้เกิดสิ่งไม่พึงประสงค์
จากนโยบายปรับลดจำนวนข้าราชการ
..............................................
ต้องเลี่ยงมาเพิ่ม ลูกจ้าง(ถาวร)
ไม่เกิดผลดีแก่ราชการและประชาชน
ไม่ประหยัดงบประมาณของรัฐด้านเงินเดือนข้าราชการ
เพราะระบบงานต้องการผู้ปฏิบัติงานเพิ่มมากขึ้น
ให้สัมพันธ์สอดคล้องกับภาระงานที่เพิ่มขึ้น
.................................................
พยาบาลและบุคลากรสาขาวิชาชีพต่างๆ จำนวนกว่าหมื่นคน
ที่เป็นลูกจ้างรอการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการ
ไม่ได้รับความเป็นธรรม ขาดขวัญกำลังใจ ขาดความมั่นคง
ในหน้าที่การงาน ทำงานกันอย่างไม่มีความสุข
.......................................................
ปัญหาขาดแคลนแพทย์เฉพาะทางในโรงพยาบาลของรัฐ ยังคงอยู่
แพทย์เฉพาะทางที่เรียนจบ ต้องไปอยู่โรงพยาบาลในสังกัดอื่นหรือเอกชน
เพราะว่ากระทรวงสาธารณสุขไม่สามารถหาตำแหน่งบรรจุ เป็นข้าราชการให้
สมองไหล สยดสยองมาก
...............................
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๕๑
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.๒๕๔๖
ที่ต้องการพัฒนาระบบราชการไทย
มีการพัฒนาให้ส่วนราชการเป็นองค์กรสมรรถนะสูง
พัฒนาข้าราชการให้เป็นทุนมนุษย์
และพยายามนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้
นับเป็นการบริหารราชการที่ล้ำหน้าประเทศต่างๆทั่วโลก
( เจ๋ง... )
............
การออกนโยบายลดจำนวนข้าราชการ
ก่อนที่คนจะเป็นทุนมนุษย์ ก่อนที่ส่วนราชการจะเป็นองค์กรสมรรถนะสูง
กพ.และกพร.กลับไม่ได้คำนึงถึง
หลักการบริการสาธารณะ และความเป็นจริง
การแพทย์และสาธารณสุข เป็นบริการสาธารณะ
ที่รัฐต้องจัดให้แก่ประชาชน มีลักษณะสำคัญ ๓ ประการ 
๑.) ประชาชนทุกคนมีสิทธิใช้บริการสาธารณะ อย่างเสมอภาคและเท่าเทียม
๒.) การบริการสาธารณะต้องมีความต่อเนื่อง ไม่ใช่การจัดให้เป็นครั้งคราว
๓.) ปรับเปลี่ยนได้ตามสภาวการณ์ของประชาชน มีการพัฒนาทั้งปริมาณและคุณภาพของบริการ
............................................................
แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ในประเทศไทย
อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติหลายฉบับ
เช่น พรบ.มหาวิทยาลัยต่างๆ, พรบ.กตร., พรบ.กลาโหม, พรบ.กทม.,พรบ.พัทยา
และพรบ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๕๑

แต่แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ภายใต้พรบ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๕๑
นับเป็นกลุ่มที่ได้รับการดูแลจากรัฐอย่างแย่ที่สุด
เมื่อเทียบกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ที่อยู่ภายใต้พรบ.อื่น
...............................................................................
บริการทางการแพทย์ มี๗๕สาขาและอนุสาขา ซึ่งแพทย์ต่างสาขาใช้แทนกันไม่ได้
การรับมือโรคภัยกว่า๒,๐๐๐โรคในประเทศไทย
ต้องออกแบบบริการตามข้อมูลพื้นฐานของพื้นที่
ไม่ใช่การนับจำนวนตามอัตราส่วนประชากร อย่างที่กพ.ชอบใช้
..........................................................................
การจัดสรรอัตรากำลัง ไม่ใช่การจัดตามจำนวนประชากร
แต่ควรจัดตามจำนวนและชนิดของภาระงานหรือผู้ป่วย

ต้องสอดคล้องกับความต้องการตามฐานข้อมูลโรค และจำนวนผู้ป่วยในพื้นที่
(กพ.จะเข้าใจไหมนี่?)
..........................
การจัดสรรควรจัดเป็นชุดบริการ
เช่น การจัดแพทย์ให้แก่โรงพยาบาลที่อยู่ในพื้นที่มีสถิติอุบัติเหตุสูง ควรจัดเป็นชุด
ได้แก่ แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน ศัลยแพทย์ทั่วไป ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ วิสัญญีแพทย์
พยาบาลช่วยผ่าตัด พยาบาลวิสัญญี พยาบาลห้องฉุกเฉิน พร้อมกับชุดห้องผ่าตัด
เครื่องมือและเวชภัณฑ์ที่จำเป็นทุกชนิด
...............................................
ต้องคำนึงถึงคุณค่าของบุคลากรทั้งหมด ไม่ใช่แค่จำนวนบุคคลากร
ยังต้องคำนึงถึงคุณภาพของทีมด้วย
คุณภาพของทีมที่จะดูแลประชาชน มาจากการมีคุณภาพชีวิตที่ดี
การทำงานที่บั่นทอนคุณภาพชีวิตของผู้ให้บริการ จะทำให้การบริการมีคุณภาพลดลง
...................................................................................................
จำนวนบุคลากรที่จัดให้ควรครอบคลุมเวลา
ผลัดละ๘ชั่วโมง วันละ๓ผลัด สัปดาห์ละ๗วัน ปีละ๓๖๕วัน
คนๆหนึ่งจะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพได้กี่ชั่วโมง การคิดชั่วโมงทำงานเป็นสิ่งจำเป็น
การทำงานที่จัดสรรช่วงเวลาพักผ่อนให้เหมาะสม ส่งผลถึงคุณภาพบริการที่ประชาชนจะได้รับ
...
หากยึดติดเพียงนโยบาย ลดจำนวนข้าราชการ
ด้วยหวังจะลดงบประมาณด้านเงินเดือนข้าราชการแล้ว
แต่กลับไปจ่ายเพิ่มในการจ้างลูกจ้างมาทำหน้าที่แพทย์ พยาบาล ฯลฯ
ไม่ได้เป็นการลดการใช้งบประมาณ
แต่ เป็นการลดขวัญกำลังใจ ลดคุณภาพชีวิตของผู้ให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วย
..........................................................................................
การดำเนินงานเช่นนั้น ไม่มีประโยชน์ใด แต่ส่งผลให้เกิดความล้มเหลว
ในการพัฒนาระบบราชการ และการพัฒนาหน่วยงานที่มุ่งหวังให้เป็นองค์กรสมรรถนะสูง
อีกทั้งจะล้มเหลวโดยสิ้นเชิงในการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงาน
....................................................................................
กพ.และกพร.ยังต้องคำนึงถึง
การจัดเส้นทางเดินในชีวิตราชการของบุคลากรในกระทรวงสาธารณสุขด้วย อีกทั้งผู้บริหารระดับสูงควรได้พินิจพิจารณาการแก้ปัญหาความขาดแคลนแพทย์สาขาต่างๆ ซึ่งแพทยสภาสามารถจัดให้มีการฝึกอบรมเฉพาะทางได้ถึงปีละ๒,๐๐๐ตำแหน่งแต่กระทรวงสาธารณสุขกลับจัดสรรทุนให้แพทย์ไปเรียนเพียงปีละ๖๐๐-๘๐๐ตำแหน่ง
..................................
การแก้ไขปัญหาของการบริหารงานบุคคล อาจไม่จำเป็นที่กระทรวงสาธารณสุขต้องออกจากกพ.
ถ้า กพ.สามารถปรับตัวแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ได้อย่างเป็นรูปธรรม
๑.พยาบาลและวิชาชีพอื่นที่เป็นลูกจ้างกว่า๑หมื่นตำแหน่ง ทุกคนได้รับการบรรจุ ทันที
๒.พยาบาลเทคนิคที่เรียนปรับวุฒิเป็นพยาบาลวิชาชีพได้รับเงินเดือนอย่างเป็นธรรม ต้องไม่ถูกลดเงินเดือน
๓.ทุกสาขาวิชาชีพที่เป็นลูกจ้างรอตำแหน่งข้าราชการ ได้รับการบรรจุแต่งตั้งทุกคน
๔.แพทย์และสาขาวิชาชีพอื่นที่เรียนจบเฉพาะทาง เมื่อเรียนจบมีตำแหน่งบรรจุเป็นข้าราชการ ทันที
๕.เลิกพูดเรื่องอัตราส่วนแพทย์หรือวิชาชีพอื่นต่อจำนวนประชากร GISก็เลิกพูด ให้เทียบกับภาระงาน
๖.กพ.ควรเชิญผู้เชี่ยวชาญมาช่วยดูแลระบบบริหารงานบุคคลของกระทรวงสาธารณสุข เพราะกพ.ไม่เข้าใจระบบที่มีความซับซ้อนของกระทรวงสาธารณสุข
...............................................................
เข้ายุทธศาสตร์การแยกข้าราชการกระทรวงสาธารณสุขออกจาก กพ.(เสียที)

๑.ทำความเข้าใจกับสังคมและประชาชน ให้ทราบว่า การเกิดปัญหาเรื่องอัตรากำลังส่งผลให้คุณภาพการรักษา ประสิทธิภาพการทำงาน และประสิทธิผลที่ต้องการนั้นจะเป็นไปได้ยาก เป็นผลเสียแก่ประชาชน

๒.ใช้ข้อเท็จจริงในการแก้ปัญหา การขับเคลื่อนแก้ไขปัญหานี้เป็นการแก้ไขไม่ให้ผลเสียไปตกแก่ประชาชน

๓.การทำความเข้าใจกับข้าราชการและบุคลากร ในเนื้อหาของร่างกฎหมายที่ต้องการมีความเข้าใจที่ตรงกัน รวมตัวกันเป็นเครือข่ายการขับเคลื่อนและดำเนินการ มีการศึกษาข้อมูลเพื่อจัดทำเนื้อหาประกอบเหตุผลอธิบายแก่รัฐสภาถึงความจำเป็นในการแยกตัวออกจาก กพ. อย่างเป็นรูปธรรม

๔.กระบวนการขับเคลื่อนควรมีการดำเนินการอย่างมีขั้นตอน หากยื่นร่างพรบ.เข้าสภาได้แล้ว ควรมีตัวแทนไปร่วมแปรญัติในชั้นกรรมาธิการ

ด้วยความปรารถนาที่จะให้ พี่น้องกระทรวงสาธารณสุข ทุกสาขาวิชาชีพ
ได้อยู่ในกระทรวงสาธารณสุข และ ได้บริการประชาชน อย่างมีความสุข
......................................................................จบ.........


today

  • Staff
  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 263
    • ดูรายละเอียด
ทั้งหมดนี้................เพื่อประชาชนคนไทยที่ใช้บริการกระทรวงสาธรณสุข