ผู้เขียน หัวข้อ: นายหน้าค้าความจนและความตาย : ผลักดันกฎหมาย ร่างกฎหมาย ใช้อำนาจรัฐ มีผลประโยชน์  (อ่าน 1699 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
 เมื่อไม่นานมานี้มีรัฐบาลของสองประเทศคืออินเดียกับฮังการี รัฐบาลอินเดียเพิกถอนใบอนุญาตองค์กรพัฒนาเอกชน NGO 20,000 กลุ่ม ที่รับเงินทุนจากต่างประเทศ เช่นเดียวกันกับรัฐบาลฮังการีก็เพิกถอนใบอนุญาตของ NGO ทำให้ NGO เหล่านี้ขาดท่อน้ำเลี้ยง แหล่งท่อน้ำเลี้ยงของ NGO ที่รัฐบาลอินเดียและฮังการีอดรนทนไม่ได้คือ จอร์จ โซรอส พ่อมดการเงินโลก คนที่เคยโจมตีค่าเงินบาทจนประเทศไทยเกิดวิกฤติมาแล้วนั่นเอง
       
       ในประเทศไทยประชาไทเองก็รับเงินของจอร์จ โซรอส เช่นกัน จาก Open Society Foundation และได้มายาวนานตั้งแต่ปี 2548 น้อยคนจะทราบว่านายจอน อึ๊งภากรณ์ แกนนำและที่ปรึกษากลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ และนางสาวสารี อ่องสมหวัง แห่งมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค NGO สายพันธุ์ตระกูล ส เป็นผู้ร่วมก่อตั้งประชาไทมาด้วยมือของตนเอง
       
       อันที่จริง NGO ดีๆ ในประเทศไทยนั้นก็มีมากเหลือเกิน เดิมที่ NGO ตระกูล ส ทำหน้าที่ตรวจสอบทุจริต เช่น การทุจริตยาในกระทรวงสาธารณสุข แต่พอมีอำนาจก็กลับมีจุดด่างพร้อยเสียเอง โดยมีผลประโยชน์ทับซ้อน มีการหลบเลี่ยงภาษี
       
       • “องค์การอิสระและองค์การเอกชนในเครือข่ายตระกูล ส : การไขว้ตำแหน่งและการขัดกันแห่งผลประโยชน์”
       • ตระกูล ส คือใคร?
       • ฤาสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขาตระกูล ส จะล่มสลายเหมือน Al Capone เพราะการหนีภาษี
       • กรณีเงินแผ่นดินของประชาชนที่ต้องตรวจสอบได้ของเจ้าคุณเสนาะและ NGO ตระกูล ส
       
       สร้างเครือข่ายกับชมรมแพทย์ชนบท และมูลนิธิแพทย์ชนบท เป็นส่วนหนึ่งของตระกูล ส ได้วางแผนโดยไตร่ตรองไว้ก่อนในการไปขอเงินจากสปสช. มาเข้ามูลนิธิ โดยที่ตัวเองนั่งทับสองตำแหน่งทั้งสองฝั่ง สวมหมวก NGO และสวมหมวกเจ้าหน้าที่ของรัฐทำให้สามารถขอเงินภาษีของประชาชนจากองค์การอิสระของรัฐได้อย่างง่ายดาย
       
       • ชมรมแพทย์ชนบทและตระกูล ส.
       • ชมรมแพทย์ (อ้าง) ชนบท?
       • ความสำเร็จ และ การสืบทอดของแพทย์ชนบท
       
       ทั้งนี้ อภิสิทธิ์ชนแห่ง NGO ตระกูล ส จำนวนหนึ่งที่มีความสามารถพิเศษในการทำความดี เอาเงินภาษีของประชาชน ไปทำงานที่ตนต้องการ มีการผลาญงบประมาณแผ่นดิน ด้วยวิธีการเหลือบไรริ้นสร้างผลประโยชน์ทับซ้อน นั่งๆ นอนๆ ควบหลายตำแหน่ง แบ่งเงินรับเงินกันไปมา ในนามภาคประชาสังคม ขอแฉให้ชมวิธีการอันแยบคาย ที่ NGO กลุ่มนี้ได้ทำกันอย่างแพร่หลายมายาวนาน อยากให้มาตรา 44 ลงมาอีกหลายๆ รอบจริงๆ มาพิจารณากลยุทธ์ NGO ตระกูล ส กันดีกว่า
       
       1. ผลักดันกฎหมาย
       โดยการสร้างมวลชน และเลี้ยงสื่อไว้เป็นปากเสียง ปกติพวกนี้จะมีกระบอกเสียงและเสียงดังมาก ที่ผ่านมาหลังจาก สสส โดนมาตรา 44 ปลดบอร์ดกลางอากาศ หัวหน้าหน่วยงานของรัฐระดับกรมถึงกลับปรารภกับผมทางโทรศัพท์ว่า พอท่อน้ำเลี้ยงแห้งไป ไม่เคยมีม็อบมาอีกเลย ทั้งๆ ที่แต่ก่อนปลุกระดมมวลชน จ้างกันมาได้ง่ายดาย จึงได้เรียนสายไปว่า ไม่ใช่เรื่องเงิน แต่อาจจะเป็นเรื่องมวลชนตาสว่าง เริ่มรู้ทัน ไม่ยอมทำตาม กฎหมายหลายฉบับถูกผลักดันโดย NGO การล่ารายชื่อประชาชนการจัดตั้งม็อบของเหล่านี้ล้วนใช้เงิน แต่จะเอาเงินมาจากไหนนั้นมาอีกเรื่อง ผมเองเดินหลังเวทีมาทุกม็อบทราบค่าใช้จ่ายดี เวลาที่ใช้หลักการสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขาก็สามารถวิ่งหานักการเมือง เช่น ทักษิณ ชินวัตร เพื่อให้ได้อย่างที่ตัวเองต้องการ จริงๆ คนพวกนี้วิ่งเข้าหานักการเมืองได้ทุกฝ่าย ทุกสี เพื่อได้ผลประโยชน์ตามที่ต้องการ
       
       2. เข้าไปร่างกฎหมาย
       เช่น เข้าไปเป็นกรรมาธิการขั้นแปรญัตติ หรือเข้าไปรับหลักการ มีการล็อบบี้ในสภาไม่ว่าจะเป็นรัฐสภา วุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศไทย สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นต้น ยกตัวอย่างเช่น
       
       ในวันที่ 19 ธ.ค. 44 มีการประชุมคณะกรรมการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.... ครั้งที่ 3 โดยมี น.ส.สารี อ่องสมหวัง เป็นกรรมาธิการ น.ส.สุรีรัตน์ ตรีมรรคา เป็นกรรมาธิการ นายสงวน นิตยารัมภ์พงศ์ เป็นเลขานุการคณะกรรมาธิการ นางยุพดี ศิริสินสุข เป็น ผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมาธิการคนที่หนึ่ง
       
       ในวันที่ 20 มี.ค. 45 มีการประชุมคณะกรรมการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.... ครั้งที่ 20 โดยมี น.ส.สารี อ่องสมหวัง เป็นกรรมาธิการ น.ส.สุรีรัตน์ ตรีมรรคา เป็นกรรมาธิการ นายสงวน นิตยารัมภ์พงศ์ เป็นเลขานุการคณะกรรมาธิการ นางยุพดี ศิริสินสุข เป็น ผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมาธิการคนที่หนึ่ง
       
       จะเห็นได้ว่า NGO ตระกูล ส คือ นส. สารี อ่องสมหวัง นางสาวสุรีรัตน์ ตรีมรรคา และนางยุพดี ศิริสินสุข เป็นผู้มีส่วนยกร่างกฎหมาย สปสช.และมาจากมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคทั้งสิ้น
       
       การเข้าไปร่างกฎหมายเอง เขียนกฎหมายเองกับมือน่าจะเข้าใจหลักการของกฎหมายนั้นๆ เป็นอย่างดี จะถือว่าไม่รู้กฎหมายก็ไม่ได้

        3. เข้ามาใช้อำนาจรัฐ
       

       NGO ตระกูล ส จะเวียนเทียนกันเข้ามาเป็นบอร์ดในองค์การอิสระของภาครัฐเอง บางครั้งวิธีการเข้ามาดำรงตำแหน่งก็ไม่สง่างามแต่ประการใด ยกตัวอย่างเช่น มี การ block vote จาก NGO บ้านเลขที่เดียวกันจากสมุทรสาคร พื้นที่ของบางคนติดกันเป็นแพ โดยเป็น อสม ทั้งหมด โปรดดูในบทความ “ขอเรียกร้องให้ รมว.สาธารณสุขตรวจสอบด่วน! เกี่ยวกับกระบวนการสรรหากรรมการบอร์ด สปสช. และกรรมการควบคุม” และเป็นกลุ่มคนเดียวกันที่ผลักดันกฎหมาย ร่างกฎหมาย และเข้ามาใช้อำนาจรัฐเสียเอง
       
       ยกตัวอย่างเช่น
       น.ส.สารี อ่องสมหวัง เป็นกรรมาธิการในการร่างและแปรญัตติ พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ต่อมาเข้ามาเป็นกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเสียเอง
       น.ส.สุรีรัตน์ ตรีมรรคา เป็นกรรมาธิการ เป็นกรรมาธิการในการร่างและแปรญัตติ พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ต่อมาเข้ามาเป็นกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเสียเอง
       นายสงวน นิตยารัมภ์พงศ์ เป็นเลขานุการคณะกรรมาธิการในการร่างและแปรญัตติ พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ต่อมาเข้ามาเป็น เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเสียเอง
       นางยุพดี ศิริสินสุข เป็น เป็นผู้ช่วยเลขานุการในการร่างและแปรญัตติ พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ต่อมาเข้ามาเป็นกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเสียเอง
       
       การเข้ามาใช้อำนาจรัฐ โดยเฉพาะการเป็นกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีหน้าที่ต้องกำกับดูแล พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาตินั้นได้เขียน นิยาม คำว่าหน่วยบริการ ว่าไม่ได้รวมถึง NGO เข้าไปแต่อย่างใด แต่ NGO ตระกูล ส ก็ได้รับเงินทองและผลประโยชน์จาก สปสช. ไปมาก คำถามคือเมื่อร่างกฎหมายมากับมือตัวเอง เข้าใจชัดเจนดี แต่ก็ยังฝืนจะทำแม้กระทั่งเมื่อ คณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินทักท้วงและคัดค้านก็ยังทำและปล่อยให้มีการทำผิดต่อไปโดยเจตนา เช่นนี้จะถือว่าเป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานของรัฐจงใจกระทำประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 หรือไม่?
       
       4. เข้ามามีผลประโยชน์ทับซ้อนเสียเอง
       
       เรื่องนี้มีมาก โดยเฉพาะเงินจาก สปสช. สสส และ สวรส จนกระทั่ง คสช ต้องใช้มาตรา 44 และเรื่องยังมีคดีไปอีกยืดยาวเพราะหากหน่วยงานตรวจสอบ เช่น สตง ไม่ทำหน้าที่ก็จะเจอคดีอาญามาตรา 157 ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่เข้าเอง จึงขอยกตัวอย่าง
       
        นายอัมมาร์ สยามวาลา ผลักดันกฎหมายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และมาใช้อำนาจรัฐด้วยการเป็นกรรมการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และเป็นผู้บริหารและที่ปรึกษาสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) และ TDRI ได้รับเงินทุนวิจัยไปจากตระกูล ส ทั้ง สปสช. และ สสส เป็นจำนวนมากและหลายโครงการมาก
       นางสาวสารี อ่องสมหวัง เป็นกรรมาธิการในการร่างและแปรญัตติ พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
        นางยุพดี ศิริสินสุข เป็น เป็นผู้ช่วยเลขานุการในการร่างและแปรญัตติ พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
       น.ส.สุรีรัตน์ ตรีมรรคา เป็นกรรมาธิการ เป็นกรรมาธิการในการร่างและแปรญัตติ พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพ
       
        ต่อมาทั้งสามคนนี้เข้ามาเป็นกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหลายวาระ และเป็นผู้บริหารมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ตลอดจนมีคนจากมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเข้าไปเป็นกรรมการบอร์ด สสส แต่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้รับเงินจาก สปสช. และ สสส รวมแล้วไม่ต่ำกว่า 150 ล้านบาท ขอยกตัวอย่างโครงการที่ได้รับเงินทุนจาก สปสช. ดังนี้
       
       1. โครงการสร้างความเข้าใจและปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคโดยประชาชน (2554) (3.08 ลบ.)
       2. โครงการสร้างความเข้าใจและปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคโดยประชาชน (2554) (3.08 ลบ.)
       3. โครงการเสริมศักยภาพและสร้างความ เข้มแข็ง ศูนย์ประสานงานหลักประกัน สุขภาพ ประชาชน กรุงเทพมหานคร (2554) (1.24 ลบ.)
       4. โครงการสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคในชุมชนพื้นที่ กรุงเทพมหานคร (2556) (3.79 ลบ.)
       5. โครงการพัฒนาขยายเครือข่ายและจัด อบรมแกนนำอาสาสมัครผู้ป่วยโรคไต ต่อเนื่องระดับภูมิภาค (4ภาค) (2556) (0.97 ลบ.)
       
        น่าจะถือได้ว่าเป็นผลประโยชน์ทับซ้อน
       
        คงต้องถามว่าเป็นการดำเนินการตามทฤษฎีสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขาของเจ้าสำนักประเวศ วะสีที่ได้เงินไปจาก สสส. เข้ามูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติไปกว่า 800 ล้านบาทหรือไม่ หรือสั่งสอนสานุศิษย์ให้ประพฤติเช่นเดียวกัน
       
       แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ ข้อมูล เหล่านี้น่าจะยืนยันในสิ่งที่รัฐบาลอินเดียและฮังการีได้เจอมา ขอย้ำว่า NGO ที่ดีมีเยอะมาก แต่มี NGO จำนวนหนึ่งที่เป็นนายหน้าค้าความจนและความตายในนามของประชาชน น่าสงสาร คสช. ที่ต้องมาแตะของสกปรก จะโละทิ้งทั้งหมดก็จะเหม็นฟุ้งกระเด็นโดนคนจะผลักถังอุจจาระล้ม และจะเป็นที่รังเกียจของคนอื่นๆ ด้วยเสียอีก
       
        ขอแย้มพรายให้ทราบว่า เมื่อวันก่อนกฎหมายที่ NGO ตระกูล ส กำลังผลักดันมีอีกหลายฉบับ ปีนี้ปีระกา เลยมีการลักไก่ผลักดันกฎหมายเข้าสปท. ผิดคณะกรรมาธิการ โมเมมั่วเข้ามา แต่ผลคือเจอห้าอรหันต์ในสปท. ผู้รู้เท่าทันแสดงความไม่เห็นด้วย พ.ร.บ. นี้ที่พยายามผลักดันจะตั้งกองทุนและจะได้เงินปีอีกปีละสองพันล้าน แต่ในปัจจุบันจ่ายเงินเพื่อการนี้เพียงสองร้อยล้าน หากเหลือก็น่าจะเป็นท่อน้ำเลี้ยง NGO ตระกูล ส ได้อีกต่อไป โดนเตะกระจุยออกจาก สปท. ทำไมถึงไม่รู้สึกหน้าแหกบ้างเลยหรือ อ้อ สุภาษิตไทยมีคำว่า ด้านได้ อายอด ถ้ามีหิริโอตัปปะ คงจำไม่ทำกันเช่นนี้แล
       
        ขอให้นายหน้าค้าความจน นายหน้าค้าความตาย ในนามประชาชน จงวิบัติมีอันเป็นไป

โดย อาจารย์ ดร. อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์       
       สาขาวิชา Business Analytics and Intelligence
       สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง
       คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
19 มกราคม 2560
http://manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9600000006118

Korubaby

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
ในด้านกฎหมายเชื่อว่าหลายๆ คนยังงงอยู่ควรอ่านทั้งหมดนี่แล้วคุณจะเข้าใจ