ผู้เขียน หัวข้อ: มนุษย์เงินเดือนญี่ปุ่น 1 ใน 5 เสี่ยงทำงานหนักตาย  (อ่าน 915 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
รัฐบาลญี่ปุ่นเผยผลการศึกษาที่พบว่ามนุษย์เงินเดือน 1 ใน 5 มีความเสี่ยงเสียชีวิตจากการโหมทำงานหนักเกินไป 
มนุษย์เงินเดือนญี่ปุ่น 1 ใน 5 เสี่ยงทำงานหนักตาย

หลังเกิดเหตุพนักงานหญิงวัย 24 ปีของบริษัทเอเจนซีโฆษณาแห่งหนึ่งของญี่ปุ่นเสียชีวิตจากการกระโดดตึกเพราะเกิดความเครียดและเป็นโรคซึมเศร้าจากการทำงานหนักเมื่อปีที่แล้ว จนทำให้มีการเรียกร้องให้รัฐบาลหามาตรการจัดการปัญหาดังกล่าว รวมถึงยกเครื่องกฎหมายแรงงานในประเทศอีกครั้ง

ล่าสุดรัฐบาลญี่ปุ่นได้ทำการสำรวจพบว่า มีมนุษย์เงินเดือนจำนวน 1 ใน 5 หรือหลายสิบล้านคน มีความเสี่ยงที่จะทำงานหนักเกินไปจนนำไปสู่การฆ่าตัวตายได้  ซึ่งภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า คาโรชิ หรือแปลว่าโรคเสียชีวิตจากการทำงานมากเกินไป
ทั้งนี้คำว่า คาโรชิ ได้ถูกนำมาใช้ครั้งแรกในช่วงปี 1970 ซึ่งเป็นยุคหลังสงครามของญี่ปุ่นที่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว

โดยศาสตราจารย์ด้านสังคมวิทยาของมหาวิทยาลัยโอซากา ระบุว่า  แพทย์หลายคนพบว่ามีพนักงานออฟฟิศจำนวนหนึ่งที่แม้จะดูสุขภาพดี แต่กลับเสียชีวิตอย่างกะทันหัน ซึ่งแพทย์เชื่อว่าสาเหตุอาจเป็นเพราะโรคหัวใจที่เกิดจากการทำงานหนักเกินไป

ซึ่งนับตั้งแต่ปีช่วง 1980  เป็นต้นมา กลุ่มทนายความด้านสิทธิแรงงานและภาคประชาชนได้ผลักดันให้แก้กฎหมายเพื่อปรับปรุงสภาพการทำงาน    จนกระทั่งเมื่อปี 2014 ที่ผ่านมา ได้มีการออก กฎหมายดังกล่าวตามที่มีการเรียกร้อง แต่ไม่มีการบังคับให้นายจ้างต้องออกมาตรการใดๆ เป็นพิเศษ   ขณะที่บริษัทต่างๆในญี่ปุ่นยังถือว่าการทำงานมากเกินไปถือเป็นเรื่องปกติ

1 ธ.ค. 2559
https://www.pptvthailand.com/news/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99/40637

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
ญี่ปุ่นแก้ "กม.แรงงาน" เหตุทำงานหนักจน "ตาย"
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 01 กุมภาพันธ์ 2017, 22:23:17 »
เป็นที่รู้กันดีว่า "ญี่ปุ่น" เป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมการ "ทำงานหนัก" ผลวิจัยเผยว่าชาวญี่ปุ่นทำงานล่วงเวลาถึงกว่า 80 ชั่วโมงต่อเดือน คนนับล้านคนที่ต้องอยู่ภายใต้ความกดดัน ส่งผลให้ทั้งสุขภาพร่างกายและจิตใจทรุดโทรม โดย ผลการศึกษาจากทางรัฐบาลญี่ปุ่นเร็ว ๆ นี้เผยว่า 1 ใน 5 คนทำงานมีความเสี่ยงที่จะทำงานหนักจนเสียชีวิต หรือที่เรียกในภาษาญี่ปุ่นว่า "คาโรชิ" รัฐบาลญี่ปุ่นต้องรับมืออย่างหนักหลังเกิดกรณีที่สั่นสะเทือนไปทั่วโลก

การฆ่าตัวตายของพนักงานสาวจากบริษัทเอเยนซี่โฆษณา"เดนท์สุ" วัย 24 ปี จากการที่เธอต้องทำงานและยังโดนกดดันอย่างหนักจากที่ทำงาน ผลการสืบสวนพบว่าเธอทำงานล่วงเวลาถึง 105 ชั่วโมงต่อเดือน

อย่างไรก็ตาม จากปัญหาที่เกิดขึ้นซ้ำซาก ทำให้ญี่ปุ่นต้องลงมือแก้ไขอย่างจริงจัง "ซีเอ็นเอ็น" รายงานว่า "นายฮิโรชิ คาวาฮิโตะ" ทนายของพนักงานสาวเดนท์สุ และเลขาธิการสถาบันป้องกันและให้คำปรึกษาผู้มีความเสี่ยงเสียชีวิตจากการทำงานหนัก เผยว่ากรณีฆ่าตัวตายจากการทำงานหนักของพนักงานสาววัย 24 ปี ได้เปลี่ยนแปลงทัศนคติสังคมญี่ปุ่นไปพอสมควร รวมทั้งบริษัทต้นปัญหาอย่างเดนท์สุ ก็ยอมลดชั่วโมงงานล่วงเวลาลงมาเป็น 65 ชั่วโมงต่อเดือน

รวมถึงการที่ "นายชินโซ อาเบะ" นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ได้พบกับบรรดาแรงงานเพื่อถกหารือเกี่ยวกับแผนการที่จะแก้ไขกฎหมายแรงงาน เพื่อที่จะจำกัดความต้องการของนายจ้างที่มีต่อลูกจ้าง โดยกระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการแห่งญี่ปุ่นเผยว่า รัฐบาลจะเสนอร่างนี้ต่อสภาในเดือนมีนาคมปี 2560 อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่า ร่างกฎหมายใหม่นี้ต้องแข็งแกร่งพอที่จะบังคับให้ภาคเอกชนปฏิบัติตาม และจำเป็นต้องมีการลงโทษปรับบริษัทที่ละเมิดกฎ เนื่องจากที่ผ่านมารัฐบาลยังไม่ได้ใส่ใจและผลักดันประเด็นนี้อย่างจริงจัง และปัญหาที่แท้จริงก็คือสังคมญี่ปุ่นมองว่าการทำงานหนักล่วงเวลาของพนักงานเป็นเรื่อง "ปกติ" ที่ทุกคนต้องทำ และมองว่ามันไม่ใช่ปัญหาอะไร

ทางการญี่ปุ่นเผยผลวิจัยของปัญหานี้ พบว่ามีกรณีปัญหาที่เรียกร้องค่าชดเชยจากการทำงานหนักจนเสียชีวิตถึง 1,456 ราย ในปีงบประมาณ 2557 โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเกี่ยวกับด้านสุขภาพและสวัสดิการที่กำลังขาดแคลนคนทำงาน ด้านกระทรวงสาธารณสุขญี่ปุ่นในปีงบประมาณ 2558 มีถึง 93 รายที่ฆ่าตัวตายหรือพยายามฆ่าตัวตายจากความกดดันในการทำงาน รวมถึง 96 คนที่เสียชีวิตจากปัญหาด้านสมองและหัวใจจากการทำงานหนัก

และถึงแม้ว่าหลายบริษัทจะพยายามส่งเสริมให้พนักงานมีสมดุลของการทำงานและการใช้ชีวิต แต่ผลวิจัยพบว่าพนักงานญี่ปุ่นส่วนมากยังใช้เวลาอยู่ในออฟฟิศมากกว่าประเทศอื่น ๆ

"นายโคจิ โมริโอกะ" ศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยคันไซ ซึ่งทำการศึกษาประเด็นการทำงานหนักจนเสียชีวิตให้ความเห็นว่า การปรับเปลี่ยนนี้ต้องบ่งชี้เพิ่มด้วยว่าทำอย่างไรพนักงานจะทำงานอย่างปลอดภัยในทุก ๆ ด้าน

ด้าน "นายเจฟฟ์ คิงสตัน" ผู้อำนวยการสาขาเอเชียศึกษา มหาวิทยาลัยเทมเพิล กรุงโตเกียว ระบุว่า การผลักดันกฎหมายนี้เหมือนกับ "วัวหายล้อมคอก" ต้องมีคนตายก่อนถึงจะแก้ไข ทั้งที่เป็นเรื่องที่ควรทำมานานแล้วด้วยซ้ำ

ทั้งนี้ ปัญหาการทำงานหนักจนเสียชีวิตนี้ เริ่มมีเค้าลางตั้งแต่ปี 2513 เป็นต้นมา ในยุคที่เศรษฐกิจประเทศเติบโตอย่างรวดเร็ว แพทย์เริ่มเห็นจำนวนตัวเลขของพนักงานที่ดูมีท่าทางสุขภาพดี แต่ก็ค่อย ๆ ทยอยเสียชีวิต โดยที่สุดแล้วพบว่า คนเหล่านี้ตายจากปัญหาโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งเกิดจากการทำงานอย่างหนักหน่วง เป็นกระแสตั้งแต่ปี 2523 เป็นต้นมา ซึ่งทนายความด้านสิทธิแรงงานและกลุ่มประชาชน ได้พยายามผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านกฎหมายให้เห็นถึงความสำคัญของปัญหาการทำงานหนักได้สัมฤทธิผลในปี2557 ซึ่งมีการกำหนดเงื่อนไขคุ้มครองพนักงาน แต่ทว่าบรรดาบริษัทต่าง ๆ ก็ไม่ได้ทำตามแต่อย่างใด

3 ธ.ค. 2559
http://m.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1480760797

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
รัฐบาลญี่ปุ่นพบประชาชน 1 ใน 5 ของมนุษย์เงินเดือนมีความเสี่ยงสูงที่จะเสียชีวิตเพราะทำงานหักโหมเกินไป จนต้องออกมาเตือนประชาชน อย่าหักโหมงานหนัก ลดเวลางานก่อนตายหลังคนทำงานทำโอที 80 ชั่วโมงต่อเดือน

สำนักข่าวต่างประเทศรายงาน รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยผลสำรวจ เกี่ยวกับวัฒนธรรมการทำงานในญี่ปุ่นพบว่า 1 ใน 5 ของมนุษย์เงินเดือน มีความเสี่ยงสูงที่จะเสียชีวิตเพราะทำงานหักโหมเกินไป จนกระทั่ง นายกรัฐมนตรีชินโซะ อาเบะ จัดทำสมุดปกขาว เผยแพร่ไปยังประชาชน เปิดเผยข้อมูลการสำรวจพฤติกรรมการทำงานของมนุษย์เงินเดือนว่า โดยกว่า 21.3 เปอร์เซ็นต์ ทำงานมากกว่า 49 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และกว่า 22.7 เปอร์เซ็นต์ ทำงานล่วงเวลามากกว่า 80 ชั่วโมงในแต่ละเดือนเสี่ยงต่ออันตรายที่จะตามมา

ทั้งนี้การทำงานหนัก อาจส่งผลให้พนักงานจำนวนมากเกิดภาวะเครียดสะสม เหนื่อยล้าจนนำไปสู่การเสียชีวิตจากภาวะดังกล่าวเรียกว่า คาโรชิ หรือโรคทำงานหนักจนตาย ซึ่งสาเหตุการเสียชีวิต อาจมาจากหลอดเลือดไปเลี้ยงสมองอุดตัน หัวใจวาย รวมถึงการฆ่าตัวตาย

จากข้อมูลในสมุดปกขาวดังกล่าวพบว่า พนักงานที่ทำงานด้านไอทีจะทำงานหนักมากที่สุด รองลงมาคือสายงานวิศวกร และสายงานการบริการขนส่งสาธารณะและไปรษณีย์ ตามลำดับ รัฐบาลญี่ปุ่นจึงออกมาเตือนมนุษย์เงินเดือนอย่าหักโหม ลดเวลางานก่อนที่งานจะฆ่าตาย

นางชินโสะอาเบะ ขอให้มนุษย์เงินเดือนตระหนักถึงความสำคัญของการทำงานอย่างพอดี ไม่ทำลายสุขภาพ ก่อนที่การทำงานจะฆ่าเราเอง หลังจากมีข่าวทุกปีเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายในญี่ปุ่นจากความเครียดในการทำงาน ไปจนถึงปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ

อย่างไรก็ตาม อัตราการทำงานหนักของคนญี่ปุ่นสูงกว่าการทำงานของคนอเมริกันและยุโรปมาก โดยในอเมริกา มีเพียง 16.4 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ทำงานมากกว่า 49 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ในอังกฤษมีเพียง 12.5 เปอร์เซ็นต์ และในฝรั่งเศสมีเพียงแค่ 10.5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ทำให้ในญี่ปุ่นเกิดการฟ้องร้องเป็นคดีความและข้อเรียกร้องให้แก้ไขปัญหา

ที่มา rocketnews24.com

10 ตุลาคม 2559
http://www.thai-hotnews.com/news/7229