ผู้เขียน หัวข้อ: กม.สถานพยาบาลฉบับใหม่บังคับ“รพ.เอกชน”รักษาผู้ป่วยฉุกเฉิน เล็งคลอดอัตราค่าใช้จ่าย  (อ่าน 494 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9755
    • ดูรายละเอียด
สบส. เผย พ.ร.บ. สถานพยาบาล ฉบับใหม่ ควบคุม “รพ.เอกชน” ต้องรักษาผู้ป่วยฉุกเฉิน ปฏิเสธไม่ได้ เตรียมตั้ง อนุกรรมการจัดทำหลักเกณฑ์ค่าใช้จ่ายที่จะจ่ายให้ รพ.เอกชน รับรักษาผู้ป่วยฉุกเฉิน
       
       ความคืบหน้านโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ดีทุกสิทธิ (EMCO) ซึ่งสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ได้จัดทำตารางราคาและอัตราจ่าย (Fee Schedule) เพื่อเป็นราคาการบริการการแพทย์ฉุกเฉินที่โรงพยาบาลจะเรียกเก็บจากกองทุนสุขภาพนั้น
       
       นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงเรื่องนี้ ว่า ตารางราคาและอัตราจ่าย (Fee Schedule) ดังกล่าว สพฉ. ดำเนินการเสร็จแล้ว อยู่ระหว่างการส่งให้ 3 กองทุนรักษาพยาบาล ประกอบด้วย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักงานประกันสังคม (สปส.) และกรมบัญชีกลาง พิจารณาให้ความเห็นชอบ ซึ่งหากทั้งสามกองทุนเห็นชอบ ก็มีโอกาสที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) จะให้ความเห็นชอบสูง ส่วนสถานพยาบาลเอกชนเท่าที่ทราบให้ความเห็นชอบในอัตราดังกล่าวแล้ว และมีสถานพยาบาลเอกชนส่วนหนึ่งพร้อมที่จะเข้าร่วมตามนโยบายนี้ แม้จะไม่ได้กำไรแต่เป็นการช่วยชีวิตคนไข้ได้
       

       นพ.ปิยะสกล กล่าวว่า ขณะนี้ พ.ร.บ. สถานพยาบาล (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2559 มีผลบังคับใช้แล้ว ซึ่งจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการให้การรักษาฉุกเฉินของสถานพยาบาลด้วย จึงได้มอบหมายให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) ที่เป็นผู้กำกับดูแลสถานพยาบาลตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ. 2559 พิจารณาในรายละเอียดของ พ.ร.บ. ว่าอะไรที่บังคับให้สถานพยาบาลเอกชนต้องดำเนินการ หรือไม่ต้องดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาผู้ป่วยกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามนโยบาย ทั้งนี้ ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม ก่อนนำมาพิจารณาต่อไป
       
       ด้าน ทพ.อาคม ประดิษฐสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ สบส. กล่าวว่า ตามมาตรา 36 พ.ร.บ. สถานพยาบาล พ.ศ. 2559 กำหนดให้สถานพยาบาลต้องควบคุมและดูแลให้มีการช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ป่วยฉุกเฉิน ซึ่งอยู่ในสภาพอันตรายและจำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลโดยฉุกเฉิน เพื่อให้พ้นจากอันตรายตามมาตรฐานวิชาชีพและตามประเภทของสถานพยาบาลนั้นๆ เท่ากับว่าสถานพยาบาลเอกชนทุกแห่งจะต้องให้บริการรักษาเจ็บป่วยฉุกเฉินตามที่กฎหมายบังคับ ส่วนเรื่องค่าใช้จ่าย สบส. จะต้องจัดทำกฎหมายลูก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการดำเนินการ ซึ่งเรื่องค่าใช้จ่ายที่จะจ่ายให้กับสถานพยาบาลเอกชนที่ให้บริการรักษาฉุกเฉินจะเป็นส่วนหนึ่งในหลักเกณฑ์นี้ โดยจะต้องมีการแต่งตั้งอนุกรรมการจัดทำกฎหมายลูกประกอบ พ.ร.บ. สถานพยาบาล พ.ศ. 2559 มี รองอธิบดี สบส .เป็นประธาน
       
       เมื่อถามว่า จะนำอัตราราคา Fee Schedule ของ สพฉ. มาพิจารณาด้วยหรือไม่ ทพ.ธงชัย กล่าวว่า ค่าใช้จ่ายที่ สพฉ. ทำนั้น จะนำมาใช้หรือไม่ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของอนุกรรมการ จากนั้นจะเสนอเข้าสู่การพิจารณาของ ครม. จึงจะมีผลบังคับใช้ ซึ่งเมื่อหลักเกณฑ์นี้ของ สบส. ประกาศใช้แล้ว สถานพยาบาลเอกชนทุกแห่งจะต้องปฏิบัติตาม เพราะเป็นเชิงควบคุม ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ขณะที่ สพฉ. จะเป็นเชิงขอความร่วมมือ

โดย MGR Online       17 มกราคม 2560