ผู้เขียน หัวข้อ: คนไทยเสี่ยงภัยกับระบบสาธารณสุขที่กำลังจะล่มสลาย-พญ.อรพรรณ์  (อ่าน 1783 ครั้ง)

pradit

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 322
    • ดูรายละเอียด
คนไทยเสี่ยงภัยกับระบบสาธารณสุขที่กำลังจะล่มสลายจากการจัดงบสาธารณสุข
แบบ สปสช.และไม่มี กสธ.

                               พญ.อรพรรณ์  เมธาดิลกกุล    *
คนไทยกับความเสี่ยงภัยในระบบสาธารณสุข

ด้วยขณะนี้คนไทย ตัวท่าน  ครอบครัว และคนใกล้ชิดของท่าน  กำลังเสี่ยงกับระบบบริการทางการแพทย์และการสาธารณสุขซึ่งกำลังจะล้มทั้งระบบ ผู้ป่วยล้นโรงพยาบาล  คนไข้ต้องรอนาน   เพราะขาดแพทย์และบุคลากร ผู้ให้บริการที่เหลืออยู่ มีภาระงานหนักมาก และไม่ได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ  เมื่อมีภาวะฉุกเฉินต่อชีวิตหรือได้รับภัยพิบัติด้านต่างๆ รวมถึงภัยพิบัติด้านสารพิษที่เกิดขึ้นบ่อยๆ  ท่านอาจต้องได้รับการดูแลจากบุคลากรที่ขาดการพักผ่อนและล้าจากภาระงานที่หนักมาแล้ว   และการสาธารณสุขปัจจุบันไม่ให้ความสำคัญของการป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพและสืบเนื่องจากขาดการส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพ  ทำให้ประชากรไทยต้องป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้เพิ่มขึ้นในช่วงนับแต่ประเทศมีการจัดระบบงบประมาณแบบสปสช.(สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ)

ระบบ สปสช. ไม่จัดงบเพื่องานส่งเสริมสุขภาพ/ป้องกันโรคตามสภาพความจำเป็นทางสาธารณสุข กับทั้งไม่มีมาตรการให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในดูแลตนเอง ทำให้ภาวะสุขภาพของคนไทยโดยรวมตกต่ำกว่าก่อนมีการจัดงบประมาณแบบ สปสช. ดัชนีชี้วัดด้านสุขภาพของคนไทยลดต่ำ  โรคที่ป้องกันได้มีอัตราป่วยเพิ่มขึ้นอย่างไม่ควรจะเป็นทั้งที่รัฐจัดงบด้านการสาธารณสุขเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 47.2 ในปีงบประมาณ 2550ซึ่งโดยทั่วไปก่อนมีระบบ สปสช.มีอัตราเพิ่มร้อยละ2 

สาเหตุหลักของภาระงานเกินกำลัง ขาดแพทย์ พยาบาล และบุคลากรสาธารณสุข เกิดจาก กพ.
เนื่องด้วยการสาธารณสุขของประเทศ มีลักษณะเป็นบริการสาธารณะซึ่งมีพัฒนาการอย่างยาวนาน    แพทย์เพยาบาล และบุคลากรสาธารณสุข  ที่ปฏิบัติงานให้บริการสาธารณสุขในประเทศส่วนใหญ่มีสังกัดอยู่ในกระทรวงสาธารณสุข  ไม่ให้อัตราตำแหน่งคนทำงาน และ สปสช.โฆษณาให้คนไปใช้รักษาตามโครงการต่างๆอย่างมาก  ทำให้คนเข้าใช้บริการมากขึ้น  เป็นภาระหนักอย่างรุนแรง

ภาษีที่คนไทยจ่ายถูกใช้โดย สปสช.100,000 ล้านบาท งบเสียหาย สร้างปัญหามาก และรั่วไหลอย่างมาก
 
          สำนักงบประมาณทักท้วงการใช้งบของ สปสช.หลายกรณีว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย บุคลากรสาธารณสุขเรียกให้ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขตรวจสอบการใช้งบของ สปสช.เหตุพบพฤฒิการณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย/งบรั่วไหล  เมื่อประเทศมีระบบงบประมาณที่ มี สปสช.  งบประมาณด้านการสาธารณสุขของประเทศมีอัตราเพิ่มสูงอย่างน่าวิตก จากอัตราเพิ่มโดยเฉลี่ยร้อยละ 1.90  ก่อนมี สปสช.เป็นร้อยละ 12.46  ซึ่งผู้แทนสำนักงบประมาณนำเสนอว่าเป็นงบที่เพิ่มขึ้นอย่างน่าวิตกจะกระทบกับความอยู่รอดของระบบงบประมาณของประเทศรวมถึงตัวระบบ สปสช.และระบบการสาธารณสุขของประเทศเอง ซึ่งจะอยู่รอดไม่ได้เช่นกัน ในปี 2552 โรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ร้อยละ 62 มีกระแสเงินสดติดลบ ไม่อาจให้บริการประชาชนได้อย่างปกติ(505  จาก 807 แห่ง)

บุคลากรสาธารณสุขขาดความสุขในการทำงานภายใต้ระบบ สปสช. และ กพ. /ผู้ให้บริการฯเห็นว่าระบบบริการก่อนมี สปสช ดีกว่าเมื่อมี สปสช.

จากการสำรวจข้าราชการสาธารณสุข 2514 คน ระหว่าง 1 มีนาคมถึง 31 พฤษภาคม 2553
พบว่าข้าราชการสาธารณสุข
ร้อยละ 94 และ 91 ไม่มีความสุขอย่างมากถึงมากที่สุดในการทำงานภายใต้ระบบของ กพ.และ สปสช. 
และร้อยละ 98  และ 95 ต้องการแยกออกจาก กพ. และ สปสช. รวมทั้งเสนอให้ยุบ สปสช. ตามลำดับ   
ผู้ให้บริการฯ 1012 คน  ปี 2552 ร้อยละ 93 เห็นว่าระบบบริการฯ ก่อนมี สปสช.ดีกว่าเมื่อมี สปสช.

ข้าราชการสาธารณสุขไม่อาจทอดทิ้งประชาชน และปล่อยให้ระบบการสาธารณสุขล่มสลาย
งานรักษาพยาบาลและงานสาธารณสุข เป็นงานที่มีความรับผิดชอบสูงสุด คือรับผิดชอบต่อชีวิต  ความเป็นความตาย ความพิการ ภาวะสุขภาพ และเป็นงานมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรค เป็นงานเร่งด่วน รอเก็บไว้ทำภายหลังไม่ได้  งานให้บริการที่สถานีอนามัยถึงโรงพยาบาล ต้องพร้อม และมีเวร ต้องทำตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน ตลอดปี เป็นงานที่ยาก ซับซ้อน ต้องใช้เทคนิคสูง เสี่ยงต่อการฟ้องคดีอาญาซึ่งมีโทษจำคุก หน่วยงาน กพ.บริหารกำลังคนข้าราชการสาธารณสุขไม่ได้จำเป็นต้องมีกฎหมายเฉพาะด้านระเบียบข้าราชการสาธารณสุขเพื่อจัดกำลังคนข้าราชการสาธารณสุข  กำหนดตำแหน่ง อัตราเงินเดือน ความก้าวหน้า และการอื่น เพื่อให้ข้าราชการสาธารณสุขสามารถทำงานได้  เพื่อไม่ให้ประชาชน ต้องอยู่ในตกอยู่ในสังคมที่เสี่ยงภัยด้านสาธารณสุขเช่นนี้

(ออกจาก กพ. กันได้แล้ว)