ผู้เขียน หัวข้อ: ดื่มน้ำไม่สะอาดเสี่ยงท้องร่วง 7 เท่า  (อ่าน 1221 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
ดื่มน้ำไม่สะอาดเสี่ยงท้องร่วง 7 เท่า
« เมื่อ: 08 พฤศจิกายน 2011, 22:20:59 »
 กรมควบคุมโรค เตือนต้มน้ำประปาดื่มป้องกันท้องร่วง แจงดื่มน้ำไม่สะอาดเสี่ยงท้องร่วงสูงถึง 7 เท่า ขณะสถานการณ์ไฟช็อตทำคนตายสูงขึ้นถึง 45 ราย
       
       วันนี้ (8 พ.ย.) นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร นักวิชาการชำนาญการพิเศษ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กล่าวในงานกรมควบคุมโรค พบสื่อมวลชน (Meet the press) ว่า ที่ผ่านมา พบว่า มีการระบาดของโรคท้องร่วง เนื่องจากน้ำประปาปนเชื้อโรค 72 ราย ในอาคารพักแห่งหนึ่ง ย่านนนทบุรี จากผู้อาศัยทั้งหมด 190 ราย ซึ่งพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม โดยจากการสอบสวนโรค พบว่า ประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวไม่ได้มีการปฏิบัติตามคำแนะนำของการประปานครหลวง เช่น ไม่ได้ต้มน้ำประปาให้สุกก่อนใช้ จึงได้รับเชื้อซาโมเนลลาร์ (Salmonellas) เพราะในช่วงน้ำท่วมนั้น กระบวนการส่งผ่านน้ำใช้อาจไหลมาพบปะกับสารปนเปื้อนระหว่างทาง ดังนั้น แม้ต้นน้ำจะมีกระบวนการฆ่าเชื้อที่ถูกต้อง แต่เมื่อน้ำไหลผ่านหลายจุดก็อาจปนเปื้อนมาบ้าง ดังนั้น จึงควรมีการปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด เพราะหากไม่มีการต้มน้ำใช้อย่างถูกวิธีจะทำให้มีโอกาสเสี่ยงได้รับเชื้อและเป็นโรคระบบทางเดินอาหารสูงกว่าปกติถึง 7 เท่า
       
       ด้าน นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า เชื้อที่ก่อให้เกิดโรคทางเดินอาหารมี 3 ชนิด คือ เชื้ออีโคไล (E.coli) ซาโมเนลลา (Salmonellas) และ ชิกเกลลา (Shigelloses) โดยขณะนี้พบแค่เชื้อซาโมเนลลาเพียงเล็กน้อยตามอพาร์ตเมนต์ คอนโด ระหว่างเกิดสถานการณ์น้ำท่วมบางจุดเท่านั้น ซึ่งยังไม่ถือน่าห่วงมากแต่ก็จำเป็นต้องป้องกันไว้ก่อน และอยากฝากให้ผู้ประกอบอาคารหอพักมีมีการเติมคลอรีนในน้ำประปาที่เป็นถังพักน้ำ ในปริมาณที่เหมาะสม คือ 0.2-0.5 พีพีเอ็ม ส่วนผู้บริโภคเองหากไม่ต้องการดื่มและใช้น้ำประปาที่มีกลิ่นคลอรีนฉุนเกินไป ก็ให้ใช้วิธีการรองน้ำแล้วพักไว้ 24 ชม.ก่อนเพื่อให้กลิ่นคลอรีนหายไปแล้วจึงต้มดื่ม
       
       “ทั้งนี้ ผู้ประกอบการสามารถติดต่อขอคลอรีนจาก กรมควบคุมโรคได้ หากมีไม่พอ สำหรับผู้ที่เกิดอาการท้องร่วงก็แนะนำให้ดื่มน้ำเกลือแร่ทดแทนการสูญเสียน้ำจากอุจจาระร่วงได้” นพ.พรเทพ กล่าว
       นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า จากการรายงานผู้เสียชีวิตจากอุทกภัยครั้งนี้ ปัจจุบันมีผู้เสียชีวิต 506 ราย ในจำนวนนี้เป็นผู้ถูกไฟฟ้าช็อต 45 ราย ซึ่งภายในสัปดาห์เดียว หลังจากที่มวลน้ำเริ่มเข้าพื้นที่เขตเมืองมากขึ้น พบว่า จำนวนผู้เสียชีวิตจากไฟช็อตเพิ่มขึ้นสูงกว่าปกติทันที ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะเขตเมืองมีประชาชนหนาแน่นกว่า และการเข้าถึงไฟฟ้าเยอะมากกว่า โดยกำลังมีการวิเคราะห์การเสียชีวิตดังกล่าวเพื่อรายงานต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และประชาชน เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งพบว่าการเสียชีวิตหลายราย พิสูจน์ได้ยากเนื่องจากเจ้าหน้าที่ไม่สามารถเข้าถึงพื้นที่ได้ จึงอยากเตือนให้ประชาชน ตัดไฟเพื่อป้องกันเหตุการณ์ดังกล่าว
       
       “สำหรับเทศกาลลอยกระทงในปีนี้ อยากขอความร่วมมือประชาชนในพื้นที่น้ำท่วมให้งดการลอยกระทง เพราะนอกจากทำให้เกิดขยะ ซึ่งจะขวางทางน้ำ ทำให้เกิดน้ำเสีย เกิดการเพาะพันธุ์ยุง นอกจากนี้ ในช่วงนี้เริ่มเข้าต้นฤดูหนาว ซึ่งจะมีแดดแรงกว่าปกติ ขยะที่โผล่พ้นผิวน้ำเมื่อถูกแดด จะทำให้แห้งและง่ายต่อการลุกไหม้ ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้บ้านเรือนอย่างมาก เพราะหลายพื้นที่น้ำเข้าไปถึงตัวบ้านและขยะสามารถลอยไปติดได้ง่าย” นพ.สุวรรณชัย กล่าว

ASTVผู้จัดการออนไลน์    8 พฤศจิกายน 2554