ผู้เขียน หัวข้อ: สรุปผลการประชุมสัมมนา ค่าตอบแทนที่เป็นธรรม และเหมาะสมกับภาระงาน 14 ตค 2554  (อ่าน 31412 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด

การประชุมสัมมนาครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมประชุมร้อยกว่าคน แต่เนื่องจากอยู่ในช่วงที่หลายจังหวัดประสบอุทกภัยอย่างร้ายแรง และผู้บริหารกระทรวงฯไม่สามารถเข้าร่วมการประชุมสัมมนาได้ แนวทางการประชุมสัมมนาครั้งนี้จึงเป็นการพูดคุยกันในแง่วิชาการ  

สรุปเนื้อหา...ค่าตอบแทนที่เป็นธรรม และเหมาะสมกับภาระงาน

1. ค่าตอบแทนที่เป็นธรรม …ค่าตอบแทนที่เหมาะสม...หลักการ

2. ค่าตอบแทนของกระทรวงสาธารณสุขที่ผ่านมา...วิเคราะห์เปรียบเทียบ

3. ค่าตอบแทนของกระทรวงสาธารณสุขในวันข้างหน้า...หลักการ

4. P4P ที่เป็นธรรม และเหมาะสม...วิเคราะห์เปรียบเทียบ
...

เริ่มด้วยความเคลื่อนไหวล่าสุดจากผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขเกี่ยวกับค่าตอบแทน คือ

1.หนังสืออนุมัติจัดสรรงบประมาณรายจ่าย...เพื่อเป็นค่าตอบแทนสำหรับกำลังคนด้านสาธารณสุข



...
2.งบประมาณของ สป.ที่จัดสรรลงจังหวัด ปีงบประมาณ 2554 (รายการ ค่าตอบแทนกำลังคนด้านการสาธารณสุข)
(จังหวัดไหน โรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป ไหนได้งบเท่าไหร๋ ดูกันได้เลย)













...
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 พฤศจิกายน 2011, 22:41:13 โดย story »

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
ค่าตอบแทนที่เป็นธรรม และเหมาะสมกับภาระงาน

ค่าตอบแทนที่เป็นธรรม(Fair Compensation)

๑. ทำมากได้มาก ทำน้อยได้น้อย (Quantity)
๒. ทำงานยากได้มากกว่า ทำงานง่ายได้น้อยกว่า (Difficulty)
๓. ทำงานมีคุณภาพสูงได้มากกว่า ทำงานคุณภาพต่ำได้น้อยกว่า (Quality)
๔. ทำงานเท่ากัน ได้เท่ากัน (Equal Pay for Equal Work)

ค่าตอบแทนที่เหมาะสม(Adequate Compensation)

๑. เปรียบเทียบกับราคาตลาด (Market Competitiveness)
๒. เปรียบเทียบกับมาตรฐานการครองชีพ (Standard of Living)
๓. เปรียบเทียบกับองค์กรอื่น และวิชาชีพอื่น (External Relativity)

ค่าตอบแทนในระบบราชการประกอบด้วย
๑. เงินเดือน
๒. เงินเพิ่ม
๓. สวัสดิการ
๔. เครื่องราชอิสริยาภรณ์
....................................................
จากอดีตถึงปัจจุบัน ค่าตอบแทน...กระทรวงสาธารณสุข
ปี พ.ศ. ๒๕๓๖
*ข้อบังคับกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๖

เป็นครั้งแรกที่มี บัญชีอัตราค่าตอบแทน...ตามคุณภาพ และปริมาณงาน (เฉพาะการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ)

*หลัก​เกณฑ์​และ​แนวทางปฏิบัติ​การจ่าย​เงิน​เพิ่มพิ​เศษสำหรับ​แพทย์ ทันต​แพทย์ ​และ​เภสัชกร ที่ปฏิบัติงาน​ในสถานบริ​การสาธารณสุข​โดย​ไม่​ทำ​เวชปฏิบัติส่วนตัว ​และ​หรือปฏิบัติงาน​ใน​โรงพยาบาล​เอกชน พ.ศ. ๒๕๓๖

เริ่มมีเงินไม่ทำคลินิค และโรงพยาบาลเอกชน

ปี พ.ศ. ๒๕๓๘
*พระราชบัญญัติเงินเดือน และเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ.๒๕๓๘

เริ่มมีเงินประจำตำแหน่ง

ปี พ.ศ. ๒๕๔๔
*หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงินค่าตอบแทนแนบท้ายข้อบังคับกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานให้กับหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.๒๕๔๔

มีการปรับปรุงอัตราค่าตอบแทนจากปี ๒๕๓๖ และเป็นฉบับที่ใช้เป็นหลักในปัจจุบัน ถือว่าเป็นฉบับ ๑

ปี พ.ศ. ๒๕๔๕
*พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕

เริ่มโครงการ ๓๐ บาทรักษาทุกโรค ประชาชนใช้บริการมากขึ้น บุคลากรรับภาระหนักเพิ่มขึ้น

ปี พ.ศ. ๒๕๔๘
*ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มพิเศษสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุข พ.ศ.๒๕๔๘

เริ่มมีเงิน พตส.

ปี พ.ศ. ๒๕๕๐
*ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและอัตราการจ่ายเงินค่าตอบแทนแก่บุคลากรทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขในสังกัดกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๐

กทม. ปรับค่าตอบแทนแพทย์สูงขึ้นมาก

*แพทยสภามีหนังสือถึงกระทรวงสาธารณสุขให้มีการปรับอัตราค่าตอบแทนให้มากขึ้น

แต่กระทรวงสาธารณสุขยังไม่ปรับเปลี่ยน

*ศาลจังหวัดทุ่งสง พิพากษาจำคุกแพทย์หญิง ในคดีร่อนพิบูลย์

โรงพยาบาลชุมชนส่วนใหญ่ลดขีดความสามารถในการผ่าตัด มีการส่งต่อไปยังโรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไปมากขึ้น

ปี พ.ศ.๒๕๕๑
*หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงินค่าตอบแทนแนบท้ายข้อบังคับกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานให้กับหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข(ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๕๑

กระทรวงสาธารณสุขได้รับเรื่องร้องเรียนมากมายเกี่ยวกับความเป็นธรรมในการจ่ายค่าตอบแทนจากบุคลากรวิชาชีพต่างๆ
พยาบาลในโรงพยาบาลชุมชนในพื้นที่ปกติ และเจ้าหน้าที่อนามัยเรียกร้องความเป็นธรรมเรื่องค่าตอบแทน
บุคลากรโรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป เรียกร้องความเป็นธรรมเรื่องค่าตอบแทน

ปี พ.ศ.๒๕๕๒
*หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงินค่าตอบแทนแนบท้ายข้อบังคับกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานให้กับหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข(ฉบับที่ ๕) พ.ศ.๒๕๕๒

มีการปรับเปลี่ยนอัตราค่าตอบแทนนอกเวลาราชการ

*หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงินค่าตอบแทนแนบท้ายข้อบังคับกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานให้กับหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข(ฉบับที่ ๖) พ.ศ.๒๕๕๒

ให้ค่าตอบแทนแก่พยาบาลในโรงพยาบาลชุมชนในพื้นที่ปกติ และเจ้าหน้าที่อนามัย

*หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงินค่าตอบแทนแนบท้ายข้อบังคับกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานให้กับหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข(ฉบับที่ ๗) พ.ศ.๒๕๕๒

ให้ค่าตอบแทนแก่บุคลากรในโรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป (แต่ค่า K ยังพิจารณาไม่เสร็จ)

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05 พฤศจิกายน 2011, 08:03:52 โดย story »

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
เอกสารประกอบการประชุมสัมมนา

***เนื่องจาก ฉบับ 7 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณา ค่าผันแปร (ค่า K) ด้วย แล้วบอกว่าถ้าพิจารณาเสร็จแล้วจะแจ้งให้ทราบ


........................................................

***ตัวแทนของสมาพันธ์ฯเข้าร่วมพิจารณาค่าผันแปร (ค่า K) และได้นำเสนอรูปแบบการคิด (เดือนกันยายน ๒๕๕๒)


........................................................

***ประธานคณะกรรมการดังกล่าว(นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์) ยืนยันว่า ค่าผันแปร (ค่า K) จะเสร็จและนำออกมาใช้ก่อนปลัดกระทรวงฯ(นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์)เกษียนอายุราชการ


story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา โฆษกกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า... ฉบับ 7 มี 2 ส่วน จ่ายตามอายุการปฏิบัติงาน และจ่ายตามภาระงาน(ค่าผันแปร---ค่า K) เริ่มใช้ 1 กค 2552



(นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา โฆษกกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ต่อว่า...) ส่วนการจ่ายตามภาระงาน(ค่าผันแปร---ค่า K)จะเร่งพิจารณา และจะมีผลบังคับย้อนหลังตั้งแต่ 1 กค 2552 เช่นกัน และจะใช้หลักเกณฑ์นี้เพียง 15 เดือน หลังจากนั้นกระทรวงจะใช้แนวทางใหม่


story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
เงินเดือนของข้าราชการพลเรือนแบบเดิม (ระบบซี) ใช้มาตั้งแต่ ปีพ.ศ. ๒๕๑๘ ไม่สามารถดึงดูด คนดีคนเก่ง เข้ามารับราชการ และรักษาไว้ให้อยู่ในระบบราชการได้ จึงมีปรับเปลี่ยนระบบเงินเดือนเป็นแบบแท่ง ตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๕๑

แต่ก็ดูเหมือนว่าระบบใหม่ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้(เพราะห่างจากเอกชนมากเกินไป?)
...

ตัวอย่างที่บ่งบอกถึงระบบข้าราชการในกระทรวงสาธารณสุข ขาดคนดี ขาดคนเก่ง ในมุมมองของ นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน  ซึ่งเคยทำจดหมายส่วนตัวทำถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขณะเป็นนายกรัฐมนตรี
ลงวันที่ 1 กันยายน 2552  

"กราบเรียน ท่านนายกรัฐมนตรีที่รักและนับถือยิ่ง

กระทรวงสาธารณสุข ขณะนี้ อ่อนแอ ทั้งวิชาการ การบริหาร และคุณธรรม หากไม่มีการแก้ไขนอกจากจะไม่สามารถเผชิญกับปัญหายากๆ อย่างไข้หวัดใหญ่ 2009 ระลอกสอง และไม่สามารถผลักดันนโยบายสำคัญของรัฐบาลอย่างนโยบายโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบลได้แล้ว โครงการเมกะโปรเจกต์ต่างๆ จะเกิดปัญหาการทุจริตซึ่งจะกระทบต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลรุนแรงและร้ายแรงยิ่ง กว่ากรณีทุจริตยา 1,400 ล้าน กระทรวงสาธารณสุขขณะนี้จึงต้องการผู้ นำ โดยเฉพาะปลัดกระทรวงที่ กล้าแข็ง มีความรู้ ความสามารถ บารมีเพียงพอ และเชื่อถือไว้วางใจได้ เข้ามากอบกู้สถานการณ์ ซึ่งมองไปทั่วแล้ว ผมขอกราบเรียนว่า น่าจะถึง นายแพทย์ชูชัย ศุภวงศ์ ลูกหม้อเก่ากระทรวงสาธารณสุข ขณะนี้เป็นข้าราชการพลเรือนระดับ 11 อยู่ที่สำนักงานสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กลับมาทำหน้าที่นี้

...







story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
คณะรัฐมนตรียุค พตท. ทักษิณ ชินวัตร(๓ พค ๒๕๔๘) ได้มีมติเกี่ยวกับค่าตอบแทนกำลังคนด้านสาธารณสุข ให้ปรับให้ได้ ร้อยละ ๖๐-๘๐ ของภาคเอกชน





...........................................................
ค่าตอบแทนระหว่างภาครัฐ กับภาคเอกชน ห่างกันมากแค่ไหน เป็นที่ทราบกันดี ลองเปรียบเทียบ ค่าตอบแทน(นอกเวลาราชการ) ฉบับ ๕ ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน กับ อัตราค่าธรรมเนียมแพทย์ของแพทยสภาที่ภาคเอกชนใช้กันอยู่


เช่น
Appendectomy
ค่าตอบแทน(นอกเวลาราชการ) ฉบับ ๕  ...  ๘๐๐ บาท
คู่มือธรรมเนียมแพทย์ ... ๑๒,๐๐๐ บาท(Mean) ... ๒๐,๐๐๐ บาท (Percentile 90)

Craniectomy/Craniotomy for subdural hematoma
ค่าตอบแทน(นอกเวลาราชการ) ฉบับ ๕  ...  ๒,๔๐๐ บาท
คู่มือธรรมเนียมแพทย์ ... ๓๐,๐๐๐ บาท(Mean) ... ๗๒,๐๐๐ บาท (Percentile 90)

Debridement of open fracture
ค่าตอบแทน(นอกเวลาราชการ) ฉบับ ๕  ...  ๘๐๐ บาท
คู่มือธรรมเนียมแพทย์ ... ๘,๐๐๐ บาท(Mean) ... ๑๕,๐๐๐ บาท (Percentile 90)

ถ้าจะปรับให้ได้ ๖๐-๘๐ ของภาคเอกชน ต้องรีบปรับ ...และปรับกันยกใหญ่.....
.............................................................................................
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10 พฤศจิกายน 2011, 23:07:17 โดย story »

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
ในขณะที่อาชีพอื่น และผู้ใช้แรงงานมีการกำหนดชั่วโมงการทำงานที่เหมาะสมไว้ ให้ผู้ทำงานปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่เป็นการทำลายคุณภาพชีวิตของผู้ทำงาน แต่วิชาชีพด้านสาธารณสุขยังไม่มีการกำหนดไว้เลย เหมือนไม่สนใจคุณภาพชีวิตของผู้ทำงาน และนั่นคือ ไม่สนใจคุณภาพของงาน และไม่สนใจชีวิตของผู้ป่่วย

***ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ

การปฏิบัติงานนอกเวลาราชการในวันทำการ ให้มีสิทธิเบิกเงินตอบแทนได้ไม่เกินวันละสี่ชั่วโมง

การปฏิบัติงานในวันหยุดราชการ ให้มีสิทธิเบิกเงินตอบแทนได้ไม่เกินวันละเจ็ดชั่วโมง

(นั่นคือ ไม่ควรปฏิบัติงานนอกเวลาเกินสี่ชั่วโมงในวันธรรมดา และเจ็ดชั่วโมงในวันหยุด)

..................................................................................................

มาดูกฎหมายคุ้มครองผู้ใช้แรงงานกันบ้าง เรื่องชั่วโมงการทำงาน   ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด







story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายเกี่ยวกับ เรื่องค่าตอบแทน อย่างไรบ้าง? มาดูกัน เชื่อถือได้แค่ไหนก็ไม่รู้ จะเอายังไงก็ไม่รู้อีกเหมือนกัน รอให้น้ำที่ท่วมอยู่ลดไปก่อน แล้วมาดูอีกครั้งว่า กระทรวงสาธารณสุขจะเอายังไงกัน.....

รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ความเห็น



กระทรวงสาธารณสุขให้ สวรส.ศึกษาเรื่อง ค่าตอบแทน ...ดูซิว่า สวรส.คิดอย่างไร




today

  • Staff
  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 263
    • ดูรายละเอียด
เป็นหมอ ชีวิตมันเศร้า

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
แนวคิดของกระทรวงสาธารณสุข เกี่ยวกับค่าตอบแทน แบ่งเป็น ๓ ส่วน (แต่ไม่รู้ว่าจะเอาจริงหรือเปล่า...)



ส่วนแรก ...เงินเดือน
แพทย์จบใหม่ จะได้เงินเดือนในแท่งวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ประมาณหมื่นกว่าๆ แต่เอกชน (ไม่ว่าจะเป็นคลินิกเกี่ยวกับความงามที่มีเป็นดอกเห็ด) จะได้ระดับแสนต่อเดือน


ส่วนที่สอง ...พื้นที่พิเศษ และความขาดแคลน
ความสำคัญอยู่ที่ พื้นที่ไหน คือ พื้นที่พิเศษ ใช้อะไรเป็นหลักเกณฑ์ เป็นที่ยอมรับกันได้หรือเปล่า หรือคิดเอาเองเหมือนที่ผ่านมา ลองมาดูหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังใช้ในการกำหนดพื้นที่พิเศษ(ใช้กันทุกกระทรวง... นอกจากสาธารณสุข) คือ พระราชกฤษฎิกาเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ



หลักเกณฑ์ที่ใช้อยู่ในมาตรา ๖


เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ น่าสนใจ


การประเมินว่าพื้นที่ใดเป็นพื้นที่พิเศษ ใช้แบบประเมินนี้

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
ส่วนที่สอง...ความขาดแคลน
การประเมินความขาดแคลน ยังเป็นปัญหาว่าจะใช้อะไรเป็นเกณฑ์ว่า ขาดแคลน เดิมกระทรวงสาธารณสุขใช้ GIS ร่วมกับเกณฑ์อะไรก็ไม่รู้ (อาจจะเป็นอัตราแพทย์ต่อประชาชน แต่ไม่เคยตอบได้เลยว่า อัตราแพทย์เฉพาะทางต่อประชาชนใช้ตัวเลขอะไร) สรุปออกมาว่าโรงพยาบาลไหน ขาดเกิน เท่าไหร่? เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันมากว่า ไม่สะท้อนความเป็นจริง มาดูข้อมูลจากเวบไซด์ของกระทรวงฯ (แต่ไม่รู้ว่ากระทรวงฯจะยังยึดถือตัวเลขนี้หรือไม่)



แต่พอมาดูว่าโรงพยาบาลไหน มีแพทย์ขาดเกินเท่าไหร่ ....ก่อนหน้านี้มีตัวเลขที่ชัดเจน แต่ข้อมูลล่าสุดยังไม่มีตัวเลขขาดเกิน เรื่องนี้ต้องคุยกันนานว่า แพทย์สาขาใด(หลากหลายสาขามากในปัจจุบัน) ควรจะมีเท่าใด ในโรงพยาบาลระดับใด ต้องมีหลักการและหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน โดยจะต้องสะท้อนภาระงาน และภาระกิจตามความเป็นจริง (และยอมรับกันได้)




story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
สรุปการพูดคุยจากวิทยากรและผู้เข้าประชุมสัมมนา...ค่าตอบแทนที่เป็นธรรมและเหมาะสมกับภาระงาน

ลักษณะการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุข
•   ให้บริการด้านสุขภาพตลอด 24 ชั่วโมง
•   ทำงานภายใต้ระบบเครือข่าย ไม่อิงกับการแบ่งพื้นที่การปกครอง(จังหวัด อำเภอ ตำบล)
•   การทำงานของแต่ละวิชาชีพมีความยากตามมาตรฐานวิชาชีพและมีความเป็นอิสระ
•   บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำ-ขั้นสูงของข้าราชการ กพ.เป็น 4 บัญชี ตามประเภทของตำแหน่ง เป็นการแบ่งแบบหยาบๆ ไม่สอดคล้องกับภาระงานและค่าของงาน

ดังนั้น หลักเกณฑ์และวิธีการแก้ปัญหาในหลายกรณีต้องต่างจากกระทรวงอื่นๆ

การแก้ปัญหาการขาดแคลนกำลังคน
•   การขอกำหนดตำแหน่งเพิ่มใหม่จาก กพ.
•   การต่ออายุราชการ
•   เปลี่ยนตำแหน่งในสายงานอื่น ๆ เป็นตำแหน่งสำหรับบรรจุแพทย์ ทันตแพทย์
•   ขอทบทวนหลักเกณฑ์การกำหนดตำแหน่งเป็นระดับสูงขึ้น โดยไม่ต้องใช้อัตราว่างมายุบรวม
•   การจ้างนักเรียนทุนของกระทรวงสาธารณสุข เป็นลูกจ้างชั่วคราว
•   แต่ยังขาดความมั่นคงในอาชีพ
•   วางแผนการเพิ่มค่าตอบแทนให้บุคลากร
•   ประกาศกระทรวง สธ. ฉบับ 4,6,7

การค่าตอบแทน ของคณะกรรมการพิจารณาทบทวนระบบการจ่ายค่าตอบแทนกำลังคนด้านสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในภาครัฐ ซึ่งกระทรวง สธ.แต่งตั้ง
1.จ่ายตามเงินเดือน และเงินประจำตำแหน่ง ซึ่งมีกฎหมายควบคุมอยู่
2.จ่ายตามระดับวิชาชีพและ พื้นที่พิเศษ
3.ค่าตอบแทนตามภาระงาน และผลการปฏิบัติงาน

ข้อเสนอแนะค่าตอบแทนที่เป็นธรรมและเหมาะสมกับภาระงาน
1.ความครอบคลุมบุคลากรทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค

2.ลักษณะงาน ให้ครอบคลุมลักษณะงานทุกด้าน ทั้ง
      - ด้านบริการ :ภาระงานมาก
      - ด้านบริหาร : ผู้ที่มีตำแหน่งทางวิชาการต้องปฏิบัติหน้าที่ทางบริหาร: ค่าเบี้ยประชุม
      - ด้านวิชาการ

3.พื้นที่ปฏิบัติงาน ต้องได้รับการพิจารณาที่แตกต่าง
      - พื้นที่มีความเจริญ
- พื้นที่ปกติทั่วไป
      - พื้นที่ทุรกันดาร
      - พื้นที่เสี่ยงภัย
บุคลากรที่ปฏิบัติงานในเมืองมีความสะดวกสบายกว่าในชนบท ทุก รพ.ใช้เกณฑ์เดียวกัน ไม่ควรแบ่งว่าเป็น รพท/รพศ หรือ รพช.

4. ค่าตอบแทนพื้นฐาน
            - เงินเดือน ตามระบบบัญชีเงินเดือน
   ข้าราชการพลเรือน (กพ.) เหมาะสม หรือไม่
      - เงินประจำตำแหน่ง
   ทางวิชาการ
   ทางบริหาร

5.สวัสดิการภาครัฐ (ค่าตอบแทนที่ไม่ใช่เงิน)
      - ค่าการศึกษาของบุตร : English program
      - ค่ารักษาพยาบาล : ค่าตรวจคลินิกพิเศษนอกเวลา

6.ค่าตอบแทนที่สร้างแรงจูงใจ
   เบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย :ประกาศ ฉบับ 4 , 6

7.ค่าตอบแทนตามราคาตลาด
   ไม่ทำเวชปฏิบัติส่วนตัว ควรเป็นตามกลไกตลาด
แพทย์เขตเมืองมีโอกาสได้รายได้สูงจากการทำเวชปฏิบัติ   หากไม่ทำเวชปฏิบัติส่วนตัวควรจะได้รับค่าตอบแทน   (ในการไม่ทำเวชปฏิบัติส่วนตัว) สูงกว่าในชนบท

8.ค่าตอบแทนตามความยากง่าย /ปริมาณงาน
      8.1 เงินค่าตอบแทนผู้ปฏิบัติงานในรพศ./รพท.  (ฉบับ 7 + ค่า K)
      8.2  P4P รูปแบบเดียวกัน ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค สถานพยาบาลที่อยู่ห่างไกลและมีปริมาณงานน้อย (ไม่ใช่อยากทำงานน้อย) ต้องไม่ได้รับผลกระทบจากค่าตอบแทนตามปริมาณงานจนทำให้ค่าตอบแทนโดยรวมต่ำ (โดยได้รับค่าตอบแทนตามพื้นที่ อย่างเหมาะสม)

การจ่ายค่าตอบแทนตามภาระงาน รพ.ศูนย์/รพ.ทั่วไป

1.ค่าตอบแทนผู้ปฏิบัติงานในรพศ./รพท. ฉบับที่ 7
มีการประกาศใช้แล้วแต่ยังไม่เต็มรูปแบบ
-ค่าตอบแทนพื้นฐาน (Flate rate) บุคลากรที่ไม่ต้องรับผิดชอบดูแลรักษาผู้ป่วย
-ค่าตอบแทนพื้นฐาน + (ค่าตอบแทนพื้นฐาน x ค่าตอบแทนผันแปร) บุคลากรที่มีความรับผิดชอบมากกว่า ข้าราชการปกติ

ข้อดีของการคิดค่าตอบแทนผู้ปฏิบัติงานในรพศ./รพท.
-ทำได้ง่าย ไม่ยุ่งยาก
-เป็นที่ยอมรับของผู้ปฏิบัติงาน(ไม่สร้างความขัดแย้งในแต่ละสาขา วิชาชีพ)
-ไม่เป็นการเพิ่มภาระงานให้บุคลากรสาธารณสุข
-เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงานโดยไม่อิงระบบค่าตอบแทนของเอกชน(เช่น doctor fee)
ข้อเสียของการคิดค่าตอบแทนผู้ปฏิบัติงานในรพศ./รพท.
-ไม่สะท้อนถึงภาระงานอย่างแท้จริง
-ขาดการประเมินคุณภาพของการปฏิบัติงาน
-ผู้บริหารไม่สามารถกำหนดทิศทางการปฏิบัติงานของบุคคลากรในหน่วยงานได้

2.ค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน (P4P) ของแพทย์
   มีรูปแบบข้อเสนอจาก
- ชมรม รพศ./รพท.
      - สมาพันธ์แพทย์ รพศ./รพท.
- มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- กรมการแพทย์ (รพ.เด็ก)
   P4P ของสมาพันธ์แพทย์ รพศ./รพท.
      -เปรียบเทียบภาระงานด้านบริการของแพทย์ภาครัฐกับเอกชนที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาเดียวกัน โดยใช้คู่มือค่าธรรมเนียมแพทย์ พ.ศ.2549 ของแพทยสภา
      -นับภาระงานการบริการผู้ป่วยทั้งในและนอกเวลาราชการ ที่ไม่ได้มีการเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนอื่น
      -หักออกด้วยเงินเดือน
      -จะได้ภาระงานของแพทย์ที่ต้องปฏิบัติหน้าที่เกินเงินเดือน เมื่อเปรียบเทียบกับแพทย์เอกชนที่มีความเชียวชาญในสาขาเดียวกัน
      -ภาระงานของแพทย์ทุกสาขา นำมารวมกัน เปรียบเทียบกับเงินงบประมาณที่รัฐมอบให้ เพื่อคำนวณเป็นจำนวนเงินค่าตอบแทนต่อคน

ข้อดีของการคิดค่าตอบแทนตามภาระงาน
•   ผู้รับบริการ
–   ได้รับบริการดีขึ้น  มีเสียงชม
•   เจ้าหน้าที่
–   กระตือรือร้นในการทำงาน
–    ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมของ รพ.มากขึ้น
•   โรงพยาบาล
–   ได้ข้อมูลผลงานที่ใกล้เคียงกับที่ปฏิบัติจริง
–   ปริมาณผลงานเพิ่มมากขึ้น
–   ปรับโครงสร้าง  กระจายงานได้

ความกังวลใจของการคิดค่าตอบแทนตามภาระงาน
- การให้เงินตามภาระงานทำให้จริยธรรมเสีย เกิดการนัดตรวจผู้ป่วยซ้ำบ่อยว่ามาตรฐาน มีการให้นอนโรงพยาบาลหรือผ่าตัดโดยไม่มีความจำเป็น เพื่อให้ดูเหมือนว่ามีภาระงานมากขึ้น
- เพิ่มงาน การเก็บข้อมูล และการตรวจสอบข้อมูล
- การคิดผลงาน ตนเองมากกว่าที่ทำจริง
   
ข้อเสนอแนะ สิ่งที่ต้องทำต่อไปหลังมีการจ่ายค่าตอบแทนตามความยากง่าย /ปริมาณงาน
•   การสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการเพื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังการทำโครงการ
•   การสำรวจความพึงพอใจในการทำงานของเจ้าหน้าที่หลังการทำโครงการ
•   การประเมินผลด้านคุณภาพของงาน
...

pridkhem

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
    • sbobet
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ มากเลยครับ