ผู้เขียน หัวข้อ: รพ.มหาราชโคราชส่งทีมแพทย์ตั้ง รพ.สนาม  (อ่าน 1710 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
รพ.มหาราชโคราชส่งทีมแพทย์ พยาบาล เภสัชฯ และพนักงานกู้ชีพสองชุด ตั้งโรงพยาบาลสนามช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมภาคกลาง ด้านน้ำใจ มทส. ร่วมแรงสร้าง เรือน้ำใจปีบทอง 50 ลำ ช่วย ...

วันที่ 16 ตุลาคม ที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา นายแพทย์ธีรพล โตพันธานนท์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา เปิดเผยว่า รพ.มหาราชฯ ได้จัดทีมหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล เภสัชกร พนักงานกู้ชีพ และทีมสนับสนุน ซึ่งเป็นทีมปฏิบัติงานชุดที่ 1 และ 2 ไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดอยุธยา โดยได้ไปตั้งโรงพยาบาลสนามที่ทุ่งนเรศวร และยังส่งทีมหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ของโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล เภสัชกร พนักงานกู้ชีพ และทีมสนับสนุน ไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัด ลพบุรี พร้อมกันนี้ได้นำชุดถุงยังชีพไปมอบให้แก่ประชาชนด้วย

ด้านมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี(มทส.) ศ.ดร.ประสาท สืบค้า อธิการบดีฯ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมรุนแรงในหลายจังหวัด ซึ่งหลายพื้นที่เรือที่จะเข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยไม่เพียงพอ ประชาชนได้รับความเดือดร้อนกันมาก กลุ่มนักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) ประกอบด้วยนายวัฒนา เพชรนอก นายเดชอนันต์ กลั่นอักโขนายสราวุธ ไปแดน นายอำคา จินาวงศ์ และนายธนวัฒน์ จันทร์น้ำใส โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.ทวิช จิตรสมบูรณ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา จึงได้คิดทำเรือน้ำใจปีบทอง เป็นเรือต้นแบบให้ชุมชนที่สนใจ นำไปสร้างเองได้ ใช้วัสดุหาง่าย ราคาไม่แพง และใช้งานได้ทันทียามฉุกเฉิน


นายวัฒนา เพชรนอก หนึ่งในทีมคิดสร้างเรือช่วยน้ำท่วม กล่าวว่า พวกเราเห็นว่าในพื้นที่น้ำท่วม เรือมีความจำเป็นมาก ไม่เพียงพอ หากจะซื้อก็ราคาแพง จึงคิดสร้างเรือผ้าใบที่สามารถทำขึ้นเองได้ เพื่อช่วยเหลือคนที่อยู่ในพื้นที่ประสบภัย ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่หาได้ง่าย มีเพียงเหล็กเส้น ผ้าใบรถบรรทุก หรือจะใช้ป้ายโฆษณาไวนิลที่มีอยู่ทั่วไปก็ได้ โดยเหล็กที่ใช้มี 3 ชนิด คือ เหล็ก 2 หุน 3 หุน และ 4 หุน ทำเป็นโครงเรือ ใช้ลวดมัดจุดเชื่อมต่อแล้วพันด้วยยางให้ยึดแน่น จากนั้นใช้ผ้าใบขนาดกว้าง 2 เมตร ยาว 3 เมตร เจาะตาไก่ร้อยเชือกผูกกับโครงเรือ ระยะเวลาในการทำก็ไม่นาน ถ้ามีความชำนาญในการเชื่อมเหล็ก เพียง 2 ชั่วโมง ก็จะได้เรือไว้ใช้ยามฉุกเฉิน ขนย้ายผู้ป่วยหรือคนชรา บรรทุกสิ่งของหนีน้ำ ขนอาหาร/น้ำดื่มเข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่น้ำท่วม ซึ่งเรือสามารถรับน้ำหนักได้ประมาณ 400 กิโลกรัม จะใช้ไม้พายช่วยพาย หรือถ้าระดับน้ำไม่ลึกมากก็ลากจูงได้ เรือลำนี้เป็นต้นแบบที่สร้างขึ้นมา ต้นทุนประมาณ 2,000 บาท เป็นค่าเหล็กเส้น 500 บาท กับค่าผ้าใบอย่างดีทนทานต่อการฉีกขาด 1,500 บาท ซึ่งชุมชนหรือผู้ที่สนใจสามารถนำแบบ “เรือน้ำใจปีบทอง” ไปสร้างไว้ใช้งานเองได้ เนื่องจากวิธีการไม่ยุ่งยาก เรือมีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา คล่องตัว เน้นการใช้งานง่าย และใช้งานได้ทันที

รศ.ดร.ทวิช จิตรสมบูรณ์ อาจารย์สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล กล่าวว่า ขณะนี้นักศึกษาและบุคลากรร่วมแรงร่วมใจช่วยกันประกอบเรือช่วยน้ำท่วม เรือน้ำใจปีบทอง จากแนวคิดและการออกแบบ ซึ่งเราได้สร้างในเบื้องต้นจำนวน 50 ลำ ด้วยเงินสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีและเงินบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธา รวมทั้งภาคธุรกิจเอกชนที่ร่วมสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ อาทิ เหล็กเส้น ให้ความอนุเคราะห์รถเทรลเลอร์สำหรับขนส่งเรือเพื่อส่งไปช่วยบรรเทาทุกข์ในพื้นที่ต่างๆ แล้ว โดยมีนักศึกษาสาขาวิศวกรรมเครื่องกลและสาขาวิชาต่างๆ นักศึกษาบัณฑิตศึกษา คณาจารย์และบุคลากรของมหาวิทยาลัยกว่า 300 คน รวมตัวกันช่วยสร้างเรือ จนกระทั่งแล้วเสร็จ และได้จัดส่งไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย

ไทยรัฐออนไลน์ 16 ตค 2554