ผู้เขียน หัวข้อ: สพศท.ชี้หนังสือสิทธิการตายหนุนแพทย์ “หยุดยื้อชีวิตคนไข้”  (อ่าน 1374 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
 สธ.ร่อนหนังสือถึง รพ.ในสังกัด ขอระงับคำแนะนำกรณีสิทธิการตาย แจงต้องพิจารณาประเด็นทางกฎหมายเพิ่มเติม ประธาน สพศท.ชี้หนังสือสิทธิการตาย บังคับแพทย์เพิกเฉยคนไข้
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 8 ก.ย.ที่ผ่านมา นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (ในขณะนั้น) ปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้ลงนามในหนังสือ สธ 0201.047.6/ว 427 เรื่อง ขอระงับคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติตามหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุข ส่งถึงอธิบดี ผู้ว่าราชการจังหวัด นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลทั่วไป และผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน โดยเนื้อหาส่วนหนึ่งระบุว่า ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้แจ้งการจัดทำคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติตามหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุข เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขเกี่ยวกับมาตรา 12 แห่ง พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550
       
       สธ.พิจารณาแล้วขอเรียนว่า เนื่องจากเรื่องนี้มีประเด็นสำคัญในข้อกฎหมายที่จำเป็นต้องมีการพิจารณาเพิ่มเติม และอาจมีความเกี่ยวข้องกับคำแนะนำดังกล่าว ดังนั้น เพื่อให้ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขสามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดและเพื่อประโยชน์ต่อการสาธารณสุข จึงขอระงับการใช้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติตามหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุข ซึ่งสธ.จะดำเนินการพิจารณาประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้อีกครั้ง จะแจ้งให้ทราบต่อไป

       พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ ประธานสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป (สพศท.) กล่าวว่า ในความเป็นจริงแพทย์ที่ปฏิบัติงานรักษาผู้ป่วยจริง เมื่อวินิจฉัยแล้วเห็นว่าไม่มีหนทางที่จะช่วยชีวิตผู้ป่วยต่อไปได้อีก จะแจ้งให้ญาติทราบและร่วมตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่แล้ว เช่น ต้องการให้แพทย์ยื้อชีวิตต่อไป หรือไม่ จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องกำหนดไว้ใน พ.ร.บ.และต้องทำเป็นหนังสือแสดงเจตนาฯแต่อย่างใด ซึ่งการกำหนดให้ผู้ป่วยจัดทำเป็นหนังสือเช่นนี้ เหมือนสนับสนุนให้แพทย์เพิกเฉยต่อคนไข้ เท่ากับเป็นการฆ่าโดยละเลยคนไข้
       
       “หนังสือแสดงเจตนาไม่ขอรับบริการเป็นการบังคับให้แพทย์ไร้วิจารณญาณในการวินิจฉัยช่วยเหลือผู้ป่วย ซึ่งเจตนาของการออกกฎแบบนี้ เพราะต้องการใช้บังคับโรงพยาบาลเอกชน เนื่องจากในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ไม่มีปัญหาการจัดเก็บเงินจากผู้ป่วย” พญ.ประชุมพร กล่าว

ASTVผู้จัดการออนไลน์    10 ตุลาคม 2554