ผู้เขียน หัวข้อ: แถลงการณ์สมาพันธ์ฯ เรื่องงบไทยเข้มแข็ง 8 มค.53  (อ่าน 2962 ครั้ง)

somnuk

  • Staff
  • Newbie
  • ****
  • กระทู้: 48
    • ดูรายละเอียด
แถลงการณ์สมาพันธ์แพทย์รพศ./รพท. เรื่องงบไทยเข้มแข็ง กระทรวงสาธารณสุข
วันที่ 8 มกราคม 2553 ณ กระทรวงสาธารณสุข


สมาพันธ์แพทย์รพศ./รพท. ( http://www.thaihospital.org ) โดย
พญ.พจนา กองเงิน          ประธานสมาพันธ์
พญู.ประชุมพร บูรณ์เจริญ  รองประธานสมาพันธ์
นพ.ประดิษฐ์ ไชยบุตร      รองประธานสมาพันธ์
พญ.พัชรี ยิ้มรัตนบวร        เลขานุการ
พญู.สุธัญญูา บรรจงภาค   ประชาสัมพันธ์
นพ.วัชรพงศ์ แย้มศรี           ประชาสัมพันธ์
นพ.ศิริชัย ศิลปอาชา        ที่ปรึกษาสมาพันธ์
นพ.เฉลิมพงศ์ สุคนธผล     ที่ปรึกษาสมาพันธ์

ได้ร่วมแหล่งข่าวกรณีงบประเทศไทยเข้มแข็งกระทรวงสาธารณสุขดังนี้

1. การปฏิบัติงานในรพศ./รพท. ปัจจุบันอยู่ในภาวะวิกฤต เนื่องจากไม่ได้รับการสนับสนุนอัตรากำลังและงบพัฒนามานานกว่า 20 ปี โดยงบส่วนใหญ่นำไปใช้พัฒนา รพ.ชุมชน จนสามารถให้บริการได้ดี แต่เมื่อมีนโยบาย 30 บาท รักษาทุกโรคและเกิดการฟ้องร้องการรักษาพยาบาล รพ.ชุมชนได้ปรับลดศักยภาพตัวเอง จากที่เคยผ่าตัดไส้ติ่ง ผ่าตัดคลอด หรือผ่าตัดอื่นๆ เป็นส่งต่อผู้ป่วยมายังรพศ./รพท. ทั้งหมด ขณะนี้ห้องผ่าตัดรพ.ชุมชนที่ได้รับการทุ่มงบประมาณไปพัฒนา ก็ไม่ได้ใช้ประโยชน์ หากยังคงทุ่มเทงบประมาณสู่รพ.ชุมชนอีกคงไม่สามารถแก้ปัญหาการให้บริการสุขภาพระดับทุติยภูมิได้

2. การตรวจสอบครั้งนี้มีปรากฏการณ์ทีน่าสนใจ คือ

2.1 คณะกรรมการตรวจสอบคนหนึ่งเคยเสนอแนะ นายกอภิสิทธิ์ ให้ตั้ง แพทย์คนหนึ่งเป็นปลัดกระทรวงสาธารณสุข แต่นายวิทยา แก้วภราดัย ตัดสินใจตั้ง นพ.ไพจิตร วราชิต เนื่องจากต้องการให้มารับมือกับไข้หวัด 2009 ระลอกสอง

2.2 โครงการไทยเข้มแข็งได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ช่วง นพ.ปราชญู์ เป็นปลัดกระทรวง ณ เวลานั้นไม่มีผู้ใดติดใจ จนกระ ทั่ง นพ.ไพจิตร วราชิต ได้รับการแต่งตั้งเป็นปลัดกระทรวงฯ ก็มีคนออกมาประกาศว่า “ผิดหวัง” และจะตรวจสอบทุจริตทันที ทั้งๆที่ยังไม่ได้เริ่มทำงานเลย

2.3 เมื่อสามารถบีบให้ นายวิทยา แก้วภราดัย ลาออกได้แล้ว คิวต่อไป คือ นายมานิต นพอมรบดี และมีความพยายามปลดปลัดกระทรวงฯ เพื่อให้คนของตนเข้ามาแทน หากทำสำเร็จจะทำให้ข้าราชการทั้งกระทรวงเกิดความเกรงกลัว กลุ่มคนเหล่านี้ และจะสามารถเข้าไปแทรกแซงสั่งการทุกอย่างได้เหมือนในอดีต อีกทั้งยังทำให้กระทรวงฯ ถูกครอบงำโดยคนกลุ่มนี้ สามารถเสนอความคิดเห็นร่วมกับผู้บริหารกระทรวงฯ และสามารถกำหนดการจัดสรร อัตรากำลังของแพทย์ทั่วบ่ระเทศได้ เป็นสาเหตุให้เกิดปัญูหากำลังคนของแพทย์ในปัจจุบัน โดยที่กลุ่มคนเหล่านี้ปกติไม่ได้อยู่ที่รพ.ตนเอง ตามที่ควรจะเป็นแต่จะสิงสถิตอยู่ในกระทรวงสาธารณสุข ทำหน้าที่เหมือนรองปลัดคนหนึ่ง เป็นผู้กำหนด จำนวนแพทย์ใช้ทุนให้โรงพยาบาลต่างๆ และกำหนดทุนฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางในโรงพยาบาลต่างๆ แต่เนื่องจากตนเองไม่ได้เป็นแพทย์เฉพาะทาง จึงไม่เข้าใจความจำเป็นของการทำงานเป็นทีมของแพทย์สาขาต่างๆ จึงจัดโควตา ตามใจตนเองให้ รพ.ชุมชนต่างๆ แพทย์ที่ได้ทุนฝึกอบรมเหล่านี้เมื่อกลับมา ทำงานไม่ได้ ก็ลาออกไปอยู่ รพ.เอกชนหรือ รพศ./รพท. เป็นปัญหาทีแก้ไม่ตกของกระทรวงฯ มาตลอด

3. ผลการสอบของคณะกรรมการสะท้อนให้เห็นถึงความไม่เข้าใจสถานการณ์สาธารณสุข ในปัจจุบันเนื่องจาก

3.1 กรรมการบางท่าน เกษียณอายุราชการมานานกว่า 20 ปี แล้วอาจจะไม่ทราบว่าขณะนี้ รพ.ชุมซน ส่วนใหญ่ไม่ทำผ่าตัดและอัตราครองเตียงค่อนข้างต่ำ ผู้ป่วยอาการหนัก และที่สามารถดูแลได้ที่โรงพยาบาลชุมชนสวนหนึ่งจะจัดส่งต่อไป รพศ./รพท. เนื่องจากกลัวถูกฟ้องร้อง

3.2 กรรมการบางท่าน ไมได้ทำงานด้านการดูแลรักษาผู้ป่วยมานานแล้ว อาจจะไม่ทราบว่าขณะนี้ Mammogram เป็นวิธีมาตรฐานของการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและ Mammogram ระบบ Digital ไม่ต้องใช้ Film สามารถเชื่อมต่อเข้าระบบคอมพิวเตอร์ได้ เวลาตรวจผู้ป่วยจะเจ็บน้อยกว่า และมีความแม่นยำมากกว่า และยังมีอีกหลายองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่เป็นการยกระดับมาตรฐานการบริการ นำสิ่งที่ดีมาบริการประชาชน เป็นเรื่องของคุณภาพที่ดีกว่า รวมถึงการก้าวให้ตามทันโลกและเทคโนโลยี เหมือนโทรศัพท์มือถือรุ่นเก่าและรุ่นใหม่

3.3 รพ.ศูนย์ราชบุรีและ รพ.ศูนย์นครปฐม เป็นด่านรับผู้ป่วยที่ส่งจากภาคใต้ เนื่องจากระยะทางจากสุราษฎร์ธานี ถึง ราชบุรีกว่า 400 กิโลเมตร ไม่มีโรงพยาบาลขนาดใหญ่เลย นอกจากนั้นยังรับผู้ป่วยจากกรุงเทพฯ และปริมณฑลด้วย หากผู้ป่วยเป็นไส้ติ่งอักเสบ บางครั้งที่โรงพยาบาลในกรุงเทพฯ ไม่สามารถรับผู้ป่วยได้ ผู้ป่วยจะถูกส่งไป รพ.ศูนย์นครปฐม หากรพ.ศูนย์นครปฐมเตียงเต็มก็จะสงต่อไปรพ.ศูนย์ราชบุรี จะเห็นได้ว่า ทั้ง 2 โรงพยาบาล มีสภาพเหมือนแก้มลิงรองรับผู้ป่วยจากภาคใต้ตอนบนจาก กรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งกรรมการตรวจสอบคงไม่เข้าใจ

4. สมาพันธ์แพทย์รพศ./รพท. ประกอบด้วยแพทย์กว่า 9,000 คน ร่วมกับวิชาชีพต่างๆรวมแล้วเกือบสองแสนคน เป็นผู้รับผิดชอบ หลักต่อความเป็นความตายของประชาชนส่วนใหญ่ทั่วประเทศ ขอเรียกร้องให้

4.1 นายกรัฐมนตรีตัดสินใจด้วยฐานความเข้าใจที่ถูกต้อง มิใช่ตามแรงกดดันของคนบางคน และขอเรียกร้องให้ท่านปลัดฯ แต่งตั้งตัวแทนสมาพันธ์รพศ./รพท. ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบชีวิต ผู้ป่วยตัวจริงเข้าไปมีส่วนร่วมในการพิจารณางบประมาณในส่วนของ รพศ./รพท.

4.2 ท่านรมต. สาธารณ์สุข คนใหม่และท่าน รมช.มานิต เป็นตัวของตัวเองและไม่ปล่อยให้กระทรวงสาธารณสุขอยู่ภายใต้การครอบงำของคนบางคน

4.3 เรื่องราคารถพยาบาลที่แตกต่างกันนั้น คณะกรรมการอาจไม่ทราบว่า ราคาคือราคาตัวรถ บวกค่าประกอบ บวกอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ ซึ่งที่แตกต่างกันมากคืออุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ ขึ้นกับคุณภาพและประสิทธิภาพ ซึ่งคณะกรรมการทีมีประธาน และเลขาคนเดียวกัน เคยรับรองการจัดซื้อรถพยาบาล 232 คัน ว่าเครื่องมือแพทย์ดีราคาถูก ถึง 3 ครั้ง 3 คราแต่เมื่อทางรพ.ได้รับรถแล้วพบว่าคุณภาพเครื่องมือแพทย์ต่ำมาก จนรพ.ต้องเปลี่ยนใหม่เองเกือบหมด สำหรับเรื่องทุจริตรถพยาบาลทีอยู่ระหว่างการสอบสวนนั้น ขอให้เร่งรัดด้วย


ขอแสดงความนับถืออย่างสูง
สมาพันธ์แพทย์รพศ./รพท.แห่งประเทศไทย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12 มกราคม 2010, 08:08:21 โดย somnuk »