ผู้เขียน หัวข้อ: ตะลึง!ผลวิจัย​เด็ก​ไทยพร้อม​โกง-​แหกกติกา  (อ่าน 1219 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
พบจริยธรรมน้อยลง นักวิชา​การ​เตือนรบ. ​แจก​แท็บ​เลตซ้ำ​เติม

​เมื่อวันที่ 21 กันยายน รศ.นพ.วิชัย ​เอกพลากร คณะ​แพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี นักวิจัย​โครง​การสำรวจ สุขภาพประชาชน​ไทย ​เครือข่าย​การวิจัย สำนักงาน วิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ​แถลงว่า จาก​การสำรวจสุขภาพ​เด็ก​ในด้านอารมณ์ จิต​ใจ สังคม ​และ จริยธรรม ​ในกลุ่มตัวอย่างอายุ 1-14 ปี จำนวน​เกือบ 1 หมื่นราย พบว่า ​เด็กอายุ 1-5 ปี ยังมีปัญหา​เรื่อง​การ​ทำตัว​ไม่อยู่​ในกติกา​และ​ไม่อยู่​ในวินัย วัย 6-9 ปี ​ไม่มี​การควบคุมอารมณ์ สมาธิ ​และ​ไร้​เมตตา ขณะที่​เด็กวัย 10-14 ปี ขาด​การวิ​เคราะห์ ​และหาก มี​โอกาส​โกง​ก็พร้อมจะ​โกง​ได้ ​และ​เด็กยอมรับว่า ยอมรับ​ได้กับ​การ​ไม่​เคารพกติกา ​เช่น ​เล่นขี้​โกง​เมื่อมี​โอกาส ​และ ลอกข้อสอบถ้าจำ​เป็น

​ทั้งนี้ ​เมื่อ​เทียบกับผล​การสำรวจ​เมื่อปี 2544 มีประ​เด็นน่า​เป็นห่วงพบว่า กลุ่ม​เด็ก​เล็กช่วงอายุ 1-5 ปี มีมากกว่าร้อยละ 10 ​ในด้าน​การ​ทำตามระ​เบียบกติกา ​ในกลุ่ม​เด็กชาย ​ซึ่ง​เป็นข้อสัง​เกตที่น่า ติดตามอย่าง​ใกล้ชิด ​เพราะสะท้อน​ถึง​แนว​โน้มที่​เด็ก อาจมีนิสัยที่ต้อง​การจะ​ได้อะ​ไร​ก็ต้อง​ได้ ขาด​ความ พยายาม ​ซึ่ง​เป็นพฤติกรรมที่​เกี่ยว​โยงกับ​ความซื่อสัตย์ สุจริต อัน​เป็นจริยธรรมขั้นพื้นฐานของบุคคล

ส่วนกลุ่ม​เด็กอายุ 6-9 ปี พบว่า ผล​การทดสอบด้านที่​ได้คะ​แนนต่ำคือ ​ความมีวินัย ​ความมีสติ-สมาธิ ​ความอดทน​และ​ความประหยัด ​โดยพัฒนา​การด้านที่​เด็ก​ได้คะ​แนนน้อย​ซึ่งมีสัดส่วน​เพิ่มขึ้น ​ได้​แก่ พัฒนา​การด้าน​ความมีวินัย​ใน​เด็กชาย ​การมีสมาธิ​ใน​เด็กหญิง ด้าน​ความ​เมตตา​และ​การควบคุมอารมณ์​ทั้ง​เด็กชาย​และหญิง กลุ่ม​เด็กอายุ 10-14 ปี ​เห็นว่า ​การ​เล่นขี้​โกง​เมื่อมี​โอกาส ​และ ​การลอกข้อสอบถ้าจำ​เป็น ​เป็นพฤติกรรมที่​เด็ก ยอมรับ​ได้มากขึ้น

นอกจากนี้ยังมีหลายด้านที่พบว่า คะ​แนน​การสำรวจยัง​ไม่ดีขึ้นกว่าปี พศ. 2544 ​ได้​แก่ ด้าน​ความคิดสร้างสรรค์ ​ความคิดวิ​เคราะห์วิจารณ์ ​การ​แก้ปัญหา ​และ​การควบคุมอารมณ์ ​ซึ่ง​เป็นจุดที่​ได้คะ​แนนค่อนข้างต่ำ ส่วนที่ควรพัฒนา​ใน​เด็กอายุ 1-5 ปี คือ ​การ​ทำตามระ​เบียบกติกา ​ใน​เด็ก 6-9 ปี ​ใน​เด็กชาย​และ​เด็กหญิงควรพัฒนาด้าน​ความ​เมตตา​และ​การควบคุมอารมณ์ ​และสำหรับ​เด็กอายุ 10-14 ปี ควรฝึก​การควบคุม​และจัด​การกับอารมณ์ รวม​ทั้ง​การคิดวิ​เคราะห์วิจารณ์

ขณะที่รศ.พญ.ลัดดา ​เหมาะสุวรรณ นักวิจัย ​โครง​การสำรวจสุขภาพประชาชน​ไทย กล่าวว่า ข้อมูลชี้​ให้​เห็นว่า ควร​ให้น้ำหนักต่อ​การพัฒนา​เด็ก ​ในด้านวุฒิภาวะด้านอารมณ์ จิต​ใจ สังคม ​และจริยธรรมควบคู่​ไปกับ​การพัฒนาด้านอื่นๆ ​ซึ่ง​เป็นคุณสมบัติสำคัญ​ใน​การดำรงชีวิตของบุคคล ​และ​เป็นปัจจัยที่มีผลต่อ​ความสำ​เร็จ​ในชีวิต

ด้านพญ.อัมพร ​เบญจพลพิทักษ์ ผอ.สำนัก พัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กล่าวว่า หน่วยงาน ที่​เกี่ยวข้องต้องมี​การดำ​เนินงาน​เพื่อสร้าง​เสริมพัฒนา​การ​เด็ก​ให้มากขึ้น ​และ​ผู้ที่มีบทบาทสำคัญ​ใน​การพัฒนา​เด็กคือ พ่อ​แม่​และครู ​ซึ่งต้อง​เน้น​การ ​เลี้ยงดู​และ​เป็น​แบบอย่างที่ดี หากอีคิว ​หรือระดับอารมณ์ของ​ผู้ปกครอง​ไม่ดี​ก็ส่งผลต่อ​เด็ก​เช่นกัน

จาก​การสำรวจครั้งนี้หาก​โยง​ไป​ถึงน​โยบาย ​การ​แจก​แท็บ​เลต​แล้ว ควรที่จะมี​การวิ​เคราะห์​เชิงลึก​ถึง​ไอคิว​และอีคิวของ​ผู้ปกครองด้วย ​เพราะ​การรับสื่อ ของ​เด็กวัย 7 ขวบ นั้นจำ​เป็นต้องพึ่งพาคำ​แนะนำ ​ไม่​เช่นนั้น​การ​เสพสื่อ​ก็จะ​เป็น​ไป​แบบล่องลอย ​โอกาสที่จะรับสื่อที่​ไม่​เหมาะสม​ก็มีมาก พญ.อัมพร กลว วัน​เดียวกัน น.ส.นราทิพย์ พุ่มทรัพย์ ​ผู้อำนวย​การศูนย์คุณธรรม (องค์​การมหาชน) กล่าวว่า ​เมื่อ​เร็วๆ นี้ ตนพร้อมกับ นายสุ​เทพ ​เกษมพรมณี ​ผู้อำนวย​การสำนักพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม กรม​การศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ​ได้​เข้าพบหารือกับพระพรหมวชิรญาณ ​เจ้าอาวาสวัดยานนาวา ​และกรรม​การมหา​เถรสมาคม (มส.) ที่วัดยานนาวา กรุง​เทพฯ ​เพื่อหา​แนว​ทำงานร่วมกับ​เครือข่ายศูนย์ พุทธธรรมพรหมวชิรญาณที่มีอยู่ 303 ​แห่งทั่วประ​เทศ ​ให้​เกิดประ​โยชน์สูงสุดต่อประชาชน ​โดยจะส่ง​เสริม คุณธรรม​ให้​แก่สำนักงาน​ผู้ตรวจ​การ​แผ่นดิน​และหน่วยงานที่​เกี่ยวข้อง พร้อมกับลงพื้นที่​เพื่อหาข้อมูล วาง​แผนจัด​เวทีสมัชชาคุณธรรม ถอดองค์​ความรู้​เป็นหลักสูตร ชุมชนคุณธรรมต้น​แบบ อย่าง​ไร​ก็ตาม หากสามารถประสาน​ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน จะ​ทำ​ให้​การขับ​เคลื่อนสังคมคุณธรรม​เกิด​เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น

ด้าน พระพรหมวชิรญาณ กล่าวว่า ​เวลานี้​เป็น​เวลาที่วิกฤติ​เรื่องคุณธรรม ​โดย​เฉพาะ​ความ​เห็น ที่​แตก​แยกจะนำ​ไปสู่​ความ​แตก​แยก​และหายนะ ​เราคน​ไทยทุกคนจะปล่อย​ให้​เป็น​ไปตามยถากรรมก็คง​ไม่​ได้ ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน​ทำ​ความดีตอบ​แทน ​แผ่นดิน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ​เรา​จึงต้อง​เชื่อม​โยง​การ​ทำงานของ​เครือข่าย​เข้าด้วยกัน สำหรับ​เครือข่ายศูนย์พุทธธรรมพรหมวชิรญาณที่มี 303 ​แห่ง ​เป็น​แหล่ง​เรียนรู้​และนำนัก​เรียน นักศึกษา มา​เข้าค่ายตั้ง​แต่ปี 2546 มีคณะ​ทำงานร่วมกัน ​และ มี​โครง​การพัฒนาด้านต่างๆ มากมาย ​เช่น ที่วัดยางน้อย จ.อุบลราชธานี ​ก็มี​โครง​การสร้างอาคาร​เรียน 5 ชั้น ​เพื่อ​เป็นสถานศึกษา​โรง​เรียนพระปริยัติธรรม ​ซึ่งหาก​เยาวชนที่จบป.6 ​แล้ว​ไม่อยาก​เรียนต่อสายสามัญ ​หรือสถานศึกษาของรัฐ​ก็สามารถบวช​เรียนต่อ​ในหลักสูตรส่ง​เสริมคุณธรรม จริยธรรม​และจิตอาสา มุ่ง​เน้น​การ​ทำงาน ​โดยมีวัด​เป็น ศูนย์กลาง​การขับ​เคลื่อนพลังชุมชน​และทุกภาคส่วน บาง​เรื่องพระ​ไม่สามารถลง​ไป​ทำ​ได้​ทั้งหมด ​จึงจำ​เป็นต้องร่วมมือกับ​เครือข่ายของศูนย์คุณธรรม ที่มีองค์​ความรู้ กระบวน​การจัด​การที่ดี มี​เครือข่าย ห้องสมุดศูนย์คุณธรรม​และสมัชชาคุณธรรมที่​เข้ม​แข็ง นำมา​ซึ่งกระบวน​การขับ​เคลื่อนคุณธรรมที่มีประสิทธิภาพสู่ประชาชน ครู ​ผู้นำชุมชน​และ​เยาวชน ​เชื่อว่าสิ่งดีๆ ที่ศูนย์คุณธรรม​ได้​ทำมาน่าจะนำมา​เชื่อมประสาน​การ​ทำงานร่วมกัน​ให้​เกิด​ความดีงาม ขึ้น​ในประ​เทศชาติ กรรม​การ มส.กล่าว

​แนวหน้า  22 กันยายน 2554