ผู้เขียน หัวข้อ: แพทยสภาเล็งชงแก้ ม.41 อัด กม.คุ้มครองคนไข้ไม่ต้องรีบ!  (อ่าน 1235 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
 แพทยสภากร้าว! เล็งเสนอบอร์ด สปสช.ปรับแก้มาตรา 41  พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพฯ  ให้ครอบคลุมคนทั่วประเทศ จวกกม.คุ้มครองคนไข้ไม่ใช่ประเด็นร้อน  ไม่ควรเร่งรีบ
       
       วันนี้ (19  ก.ย.) ศ.(คลินิก) นพ.อำนาจ กุสลานันท์  นายกแพทยสภา กล่าวถึงกรณีการเคลื่อนไหวของเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ มีการเร่งรัดให้ นายวิทยา บุณศิริ  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ผลักดัน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ได้รับความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ......ให้เข้าสู่คณะรัฐมนตรี (ครม.)ในวันพรุ่งนี้ (20 ก.ย.) ว่า แพทยสภาในฐานะคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) นั้น จะเสนอต่อที่ประชุม บอร์ดในครั้งหน้า เพื่อขอปรับแก้ข้อบัญญัติใน เสนอขอแก้ไขมาตรา 41 พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 และร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ....โดยให้ขยายเพดานค่าชดเชยความเสียหายใหม่และขยายให้สามารถคุ้มครอง ประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากการบริการสาธารณสุขทั่วประเทศ ไม่จำกัดเฉพาะคนในระบบหลักประกันเท่านั้น  ซึ่งจำเป็นต้องเสนอเข้าที่ประชุมเพื่อให้ รมว.สธ.จะรับทราบและสามารถเสนอต่อ ครม.ได้
       
       “โดยส่วนตัวคิดว่า การขยายเพดานเงินชดเชยนั้น  ถ้าหากเป็นไปได้อยากให้มีการปรับเพดานมากที่สุดราว 1 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือประชาชนอย่างทั่วถึง เนื่องจากปัจจุบันมีเงินเข้ากองทุนสำหรับจ่ายค่าชดเยถึงพันล้านบาท ขณะที่การ่ายจริงมีแค่ หลักร้อยล้านเท่านั้น ทั้งนี้หากการแก้ไขมารตรา 41 นั้นใช้ไม่ได้ผลก็ค่อยปรับปรุงร่างกฎหมายใหม่ที่เหมาะสมต่อไป” ศ.(คลินิก) นพ.อำนาจ กล่าว
                 
       ด้าน นพ.สัมพันธ์  คมฤทธิ์   เลขาธิการแพทยสภา กล่าวว่า  หลังจากที่ทราบว่ามีการเคลื่อนไหวเรื่องนี้ นั้นคิดว่าเป็นการเร่งรีบเกินไป เพราะเรื่องนี้ยังมีการคัดค้านจาก ทั้งภาคประชาชนบางกลุ่มและภาควิชาชีพ ซึ่งที่ยังไม่เห็นด้วยกับ พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวก็มีอยู่มาก ดังนั้น จะเร่งรีบไม่ได้  ที่สำคัญขณะนี้มีประชาชนจำนวนมากที่ประสบปัญหาน้ำท่วมรัฐบาลจำเป็นต้องช่วยเหลือด่วนกว่าเรื่องอื่นรวมทั้ง  พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ ด้วย อย่างไรก็ตาม ในเรื่องการชดเชยความเสียหายจากบริการสาธารณสุข นั้น การแก้ไขมาตรา 4ถือเป็นวิธีการลัดและสามารถทำได้เร็วที่สุด แต่ถ้าจำเป็นต้องมี พ.ร.บ.คุ้มครองขึ้นมาจริงๆก็ควรทำประชาพิจารณ์


ASTVผู้จัดการออนไลน์    19 กันยายน 2554