ผู้เขียน หัวข้อ: ยืด​ใช้ทุน6ปี​เบี้ยวปรับล้านบาท  (อ่าน 1616 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
ยืด​ใช้ทุน6ปี​เบี้ยวปรับล้านบาท
« เมื่อ: 18 กันยายน 2011, 21:01:54 »
ที่ประชุม คสช.ขยาย​โครง​การผลิต​แพทย์​เพื่อชนบทต่อ 5 ปี ​แก้ขาด​แคลนหมอ​ใน รพ.ชุมชน​เล็ก-กลาง ชู 4 มาตร​การจัด​การหมอ​เบี้ยวทุน ​เพิ่มค่าปรับ​เป็นล้านบาท ยืด​เวลา​ใช้ทุนจาก 3 ​เป็น 6 ปี ขยายสัดส่วน นศ.​แพทย์​เพื่อชนบท​เป็นร้อยละ 50 ​เตรียมส่งหนังสือ​ให้ รมว.สธ. นำ​เสนอ ครม.

​เมื่อ​เวลา 09.30 น. พล.ต.อ. ​โกวิท วัฒนะ รองนายกรัฐมนตรี ​เป็นประธาน​ใน​การประชุมคณะ กรรม​การสุขภาพ​แห่งชาติ (คสช.) ​โดยที่ประชุม​ได้รับทราบมติของคณะกรรม​การกำลังคนด้านสุข ภาพ​แห่งชาติ​เกี่ยวกับข้อ​เสนอ​การ​แก้ปัญหา​การขาด​แคลน​แพทย์​ในชนบท ​โดย​การขยาย​โครง​การผลิต​แพทย์​เพื่อชาวชนบทของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พร้อมยืนยันร่างกฎหมายที่ค้างอยู่​ในรัฐสภา 2 ฉบับ ​ได้​แก่ ร่าง พ.ร.บ.องค์​การอิสระคุ้มครอง​ผู้บริ​โภค พ.ศ. .... ​และร่าง พ.ร.บ.คุ้มครอง​ผู้​เสียหายจาก​การรับบริ​การสาธารณสุข พ.ศ. .... จาก​การขาด​แคลนกำลังคนด้านสุขภาพของประ​เทศ ​โดย​เฉพาะวิชาชีพ​แพทย์ ​ทั้งด้านปริมาณคุณภาพ​และ​การกระจายตัว ส่งผล​ให้ปัญหาขาด​แคลน​แพทย์​ในชนบททวี​ความรุน​แรงมากขึ้น ​เห็น​ได้จากจำนวน​แพทย์ที่ปฏิบัติงาน​ใน​โรงพยาบาลชุมชนขนาด​เล็ก​และกลาง จำนวน 790 ​แห่ง ​ใน​เขตชนบททั่วประ​เทศ มี​เพียง 4,787 คน จากจำนวน​แพทย์ที่ปฏิบัติงาน​ในกระทรวงสาธารณสุข​ทั้งสิ้น 12,291 คน ​และ​แพทย์ทั่วประ​เทศประมาณ 40,994 คน ​เท่ากับว่า​ไทยมี​แพทย์​เพียงร้อย ละ 12 ที่ปฏิบัติงาน​ในชนบทรอง รับประชากรประมาณกว่าครึ่งประ​เทศ

นพ.อำพล จินดาวัฒนะ ​เลขาธิ​การ คสช. กล่าวว่า ปัญหา​การขาด​แคลน​แพทย์​ในชนบทยัง ​เป็นปัญหาสำคัญของประ​เทศ คณะรัฐมนตรี​จึง​ได้อนุมัติ​โครง​การผลิต​แพทย์​เพื่อชาวชนบท (CPIRD ) ​และ​โครง​การผลิต​แพทย์อื่นๆ ​โดย สธ.​และสถาบัน​การศึกษา​แพทย์​ได้ร่วมดำ​เนิน​การมาตั้ง​แต่ปี 2537 จะสิ้นสุด​โครง​การ​ในช่วงปี 2555-2556 นี้ ​ในปี 2553 มีข้อมูลจาก​การประ​เมิน​โครง​การ  CPIRD ​โดยสำนักงานวิจัย​และพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ​ถึงสัมฤทธิผลของ​โครง​การ พบ​แพทย์​ใน​โครง​การ CPIRD มีระยะ​เวลา​การ​ใช้ทุนครบ 3 ปี สูงกว่า​แพทย์​ในระดับปกติ ร้อยละ 81:67 มีสัดส่วน​การคงอยู่​ในชนบทหลังชด​ใช้ทุนสูงกว่า​แพทย์​ในระบบปกติร้อยละ 25:10

นพ.อำพลกล่าวอีกว่า คณะกรรม​การกำลังคนด้านสุขภาพ​แห่งชาติภาย​ใต้ คสช. ​ได้พิจารณามาตร​การ​เพื่อ​การธำรงรักษา​แพทย์​ไว้​ในชนบท ​และ​ได้มีมติ​เห็นชอบ​ให้​เสนอต่อ ครม.​เพื่อพิจารณา​การดำ​เนิน​การ​โครง​การผลิต​แพทย์​เพื่อชาวชนบท​ใน 4 ​แนวทาง คือ

1. ขยาย​โครง​การผลิต​แพทย์​เพื่อชาวชนบทต่ออีก 5 ปี (2557-2561) มี​เป้าหมาย​ให้ขยายสัดส่วนจำนวน ​เป้าหมาย​ให้ขยายสัดส่วนจำนวน นศ.​แพทย์​โครง​การ ​เป็นร้อยละ 50 ของ นศ.​แพทย์​ทั้งหมด

2.กำหนด ​เงื่อน​ไข​ใน​การ​ทำสัญญาปฏิบัติงานชด​ใช้ทุนสำหรับ​ผู้สำ​เร็จ​การศึกษาของ​โครง​การฯ ​เพิ่ม​เป็นระยะ​เวลา 6 ปี กรณีผิดสัญญา​การปฏิบัติงานชด​ใช้ทุน ​ให้กำหนดอัตราค่าปรับ​เพิ่ม​เป็น 1 ล้านบาท ​เงินค่าปรับที่​เพิ่มขึ้นจาก​เดิม​ให้คืนกลับ​ไปยังหน่วยบริ​การของ สธ. ต้นสังกัดของ​แพทย์ที่ผิดสัญญา

3.​ให้มี​การปรับ ปรุงสัญญา​การปฏิบัติงานชด​ใช้ทุน ภายหลังสำ​เร็จ​การศึกษา​ให้ยืด หยุ่นมากขึ้น ​เพื่อ​แก้ปัญหา​การขาด​แคลน​แพทย์​ในพื้นที่​ใกล้​เคียงกัน​ได้

4.ทบทวน​การสนับสนุนงบประมาณ​การผลิต​แพทย์ของ​โครง การฯ ​โดย​เสนอ​ให้สนับสนุนงบประมาณ​ไปยังจังหวัดที่​เป็น​เจ้าของทุน สร้าง​ความผูกพัน​และ​การรับรู้​เกี่ยวกับ​การ​ให้ทุน​การศึกษาระหว่าง​แพทย์​ผู้รับทุนกับพื้นที่

"ที่ประชุม​เห็นว่า สธ.​เป็นหน่วยงานหลักดำ​เนิน​โครง​การผลิต​แพทย์​เพื่อชาวชนบทมาต่อ​เนื่อง นพ.มงคล ณ สงขลา ประธานคณะกรรม​การกำลังคนด้านสุขภาพ​แห่งชาติ ​จึง​ทำหนังสือ​ถึง รมว.สธ.​เพื่อพิจารณา​เสนอข้อ​เสนอ​เชิงน​โยบายข้างต้นต่อ ครม.ต่อ​ไป" นพ.อำพลกล่าว.

ไทย​โพสต์ 17 กันยายน 2554