ผู้เขียน หัวข้อ: ประธาน สพศท.ยื่นหนังสือ “วิทยา” เรียกร้อง ปลด “หมอวิชัย” พ้นเก้าอี้ สปสช.  (อ่าน 1202 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
ประธาน สพศท.-เครือข่ายภาคประชาชน บุกยื่นหนังสือร้อง “วิทยา” ปลด “หมอวิชัย” พ้นตำแหน่งกรรมการ สปสช.เจ้าตัวลั่นพร้อมตั้งกรรมการสอบ
       
       วันนี้ (12 ก.ย.) เวลา 13.00 น.ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนที่จะมีการประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ ประธานสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาล โรงพยาบาลทั่วไป (สพศท.) ได้ยื่นหนังสือต่อ นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เพื่อขอให้คัดชื่อ นพ.วิชัย โชควิวัฒน ออกจากการเป็นคณะกรรมการในสัดส่วนตัวแทนจากผู้สูงอายุ ตลอดจนผู้แทนองค์กรเอกชนที่มาจากเครือข่ายภาคประชาชน ขณะที่เครือข่ายต่างๆ เช่น สมาคมพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมเครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากมลพิษทางสิ่งแวดล้อม องค์กรแรงงานรักษ์สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ ชมรมเกษตรกรรักษ์สิ่งแวดล้อม เครือข่ายป้องกันประชาชนด้านสาธารณสุข ชมรมผู้สูงอายุชนบท ฯลฯ ได้รวมตัวกัน เพื่อยื่นหนังสือประท้วงต่อ นายวิทยา ในฐานะประธานคณะกรรมการ สปสช.เพื่อให้พิจารณาคัดชื่อ นพ.วิชัย โชควิวัฒน ออกจากการเช่นกัน
       
       โดย พญ.ประชุมพร ประธาน สพศท.กล่าวว่า จะมีการยื่นหนังสือเพื่อขอให้คณะกรรมการปลด นพ.วิชัย โชควิวัฒน จากคณะกรรมการบอร์ด สปสช.ซึ่งในวาระนี้ นพ.วิชัย เป็นตัวแทนในสัดส่วนภาคองค์กรเอกชน (NGO) ในสัดส่วนผู้สูงอายุ เนื่องจากมีพฤติกรรมเสื่อมเสียตาม มาตรา 16(6) ซึ่งว่าด้วยเรื่องของผลประโยชน์ทับซ้อน คือ นพ.วิชัย เป็นประธานอนุกรรมการยุทธศาสตร์ สปสช. ซึ่งมีอำนาจในการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ จากองค์การเภสัชกรรม ซึ่ง นพ.วิชัย ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการอยู่เช่นกัน อีกทั้ง นพ.วิชัย ยังเคยถูกมติจาก คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ซึ่งมีมติว่า กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง เมื่อวันที่ 11 พ.ค.2553 และทำให้เกิดมาตรฐานในสิทธิการรักษา ทำให้ผู้ป่วยรับสารพิษ ไม่อยู่ในกรอบนโยบาย สปสช.ในขณะเป็นกรรมการ สปสช.ในตำแหน่งคณะอนุกรรมการยุทธศาสตร์
       
       พญ.ประชุมพร กล่าวด้วยว่า ทั้ง สพศท.และเครือข่ายฯ อยากให้ นายวิทยา พิจารณาคัดชื่อ นพ.วิชัย ออกจากคณะกรรมการ ซึ่งปรากฏชัดว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนชัดเจน ในการเป็นคณะกรรมการที่ทับซ้อนกัน อยู่ทั้งในส่วนผู้ซื้อคือ สปสช.และผู้ขาย คือ องค์การเภสัชกรรม ซึ่งตาม พ.ร.บ.ก็ระบุไว้ชัดเจน ว่า บุคคลจะต้องอยู่ใน 2 วาระ ไม่ใช่แค่เปลี่ยนเสื้อจากคณะกรรมการในสัดส่วนผู้ทรงคุณวุฒิ มาอยู่ในสัดส่วน NGO ซึ่งในขณะที่ นพ.วิชัย ก็เป็นผู้แต่งตั้ง คณะกรรมการในส่วน NGO กันเอง นอกจากปลด นพ.วิชัย ออกจากคณะกรรมการ อยากให้ นายวิทยา ตั้งคณะกรรมการสอบสวนความโปร่งใสของที่มากลุ่มที่ 4 คือ NGO และกลุ่ม 6 คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ เนื่องจาก พบว่า มีการคัดเลือกโดยให้ผู้ที่เคยอยู่ในคณะกรรมการแล้วมาดำรงตำแหน่งใหม่ โดยสลับกลุ่ม เช่น นางบุญยืน ศิริธรรม เคยเป็นกรรมการในฐานะองค์กรเอกชนด้านสตรี แต่ภายหลังพบว่า มีการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการในฐานะผู้แทนองค์กรเอกชนด้านการเกษตร ทำให้เกิดความสับสน
       
       ประธาน สพศท.กล่าวด้วยว่า ในการยื่นหนังสือครั้งนี้ ยังมีประเด็นเร่งด่วนที่อยากให้ นายวิทยา ในฐานะประธานบอร์ด สปสช.เร่งแก้ปัญหา คือ เรื่องการขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรงใน 585 แห่ง จาก 821 แห่ง และยังพบว่ามีการค้างชำระกับโรงพยาบาลแพทย์ 9 แห่งในปี 2553 จำนวน 2,500 ล้านบาท นอกจากนี้ ได้มีการตรวจสอบโดยคณะอนุกรรมาธิการในคณะกรรมการธิการสาธารณสุขวุฒิสภาในปีงบ 2553 พบว่า ข้อมูล 3 ปีย้อนหลัง สปสช.มีเงินค้างท่อ ปี 2551 จำนวน 11,570 ล้านบาท ปี 2552 จำนวน 12,323 ล้านบาท และ ปี 2553 จำนวน 15,703 ล้านบาท โดยเงินค้างท่อดังกล่าว ปี 2554 จ่ายไป 7,754 ล้านบาท รวมแล้วมีเงินค้างท่อคงเหลือ 34,821 ล้านบาท โดย สปสช.อ้างว่า มีหนี้สินรอจ่ายทุกปี
       
       น.ส.ศรีวรินทร์ บุญทับ ประธานสมาคมพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า จากการที่กลุ่มตัวแทนภาคเอกชน รวมทั้ง นพ.วิชัย เป็นคณะกรรมการอยู่ ไม่มีการแก้ปัญหาระบบสาธารณสุขในฐานะคณะกรรมการ นอกจากเข้ามานั่งในตำแหน่ง เพื่อล้างผลาญงบประมาณของรัฐเท่านั้น อีกทั้งยังมีกระแสข่าวออกมาว่า ไม่มีความโปร่งใสในการคัดเลือกคณะกรรมการ จึงอยากให้รัฐมนตรีพิจารณาตามคำเรียกร้องที่เครือข่ายได้ยื่น
       
       ด้าน นายวิทยา กล่าวว่า สำหรับกรณีการร้องเรียนดังกล่าว ตนเตรียมแต่งตั้งคณะกรรมการรับเรื่องราวร้องทุกข์ ซึ่งจะนำเรื่องที่มีการร้องเรียนทั้งหมดภายในกระทรวง รวมถึงเรื่องนี้ ซึ่งมีนายธวัชชัย สุทธิบงกช เลขานุการรัฐมนตรี สธ.เป็นประธานกรรมการรับเรื่องร้องทุกข์ พร้อมทั้งจะแต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองทางกฎหมาย ซึ่งมี นายสุพจน์ ฤชุพันธ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย เป็นประธาน โดยมอบให้ นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัด สธ.รับไปดำเนินการต่อแล้ว และตนจะลงนามแต่งตั้งภายหลังจากการแต่งตั้งคณะเลขานุการและที่ปรึกษาในวันที่ 13 ก.ย.เรียบร้อยแล้ว โดยในส่วนการร้องเรียนนั้นจะมีการตรวจสอบรายละเอียดตามที่มีการร้องเรียนมาโดยคาดว่าจะแล้วเสร็จเร็วที่สุด
       
       รมว.สธ.สำหรับสัดส่วนของคณะกรรมการที่แต่งตั้งคณะกรรมการที่มีการลงคะแนนเลือกนั้น ประกอบด้วย ด้านการประกันสุขภาพ คือ พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์
ด้านการแพทย์และสาธารณสุข นพ.จรัล ตฤณวุฒิพงษ์
ด้านการแพทย์แผนไทย นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี
ด้านการแพทย์ทางเลือก นพ.พินิจ หิรัญโชติ
ด้านการเงินการคลัง นางวรนุช หงสประภาส
ด้านกฎหมาย นายเสงี่ยม บุญจันทร์ และ
ด้านสังคม นาวาอากาศเอก (พิเศษ) นพ.อิทธพร คณะเจริญ
ทั้งนี้ จะมีการส่งรายชื่อกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหมดให้กลุ่มงานด้านกฎหมายของกระทรวงตรวจสอบความถูกต้อง คุณสมบัติต่างๆ อีกครั้งก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีในสัปดาห์หน้า
       
       อนึ่ง สำหรับสัดส่วนของคณะกรรมการบริหารหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) มีทั้งหมด 30 คน ประกอบด้วย
1.รัฐมนตรี สธ.
2.ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงคลัง ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงแรงงาน ปลัด สธ. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
3.ผู้แทนเทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบอื่นอย่างละ 1 คน
4.ตัวแทนสภาวิชาชีพ 5 คน ซึ่งเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง
5.ตัวแทนกลุ่มเอ็นจีโอ โดยการคัดเลือกกันเองในแต่ละกลุ่มให้เหลือกลุ่มละ 1 คน จากนั้นคัดเลือกให้เหลือ 5 คน และ
6.ผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน ซึ่งเป็นกรรมการที่ต้องแต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรี (ครม.)

ASTVผู้จัดการออนไลน์    12 กันยายน 2554