ผู้เขียน หัวข้อ: อึ้ง!! คนไทยฆ่าตัวตายเฉลี่ยวันละ 10 ราย  (อ่าน 1325 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
อึ้ง!! คนไทยฆ่าตัวตายเฉลี่ยวันละ 10 ราย ภาคเหนือยอดฆ่าตัวตายพุ่งเหตุเพราะหวงวัฒนธรรม “รักษาหน้า กลัวเสียชื่อเสียง” ชี้ สัญญาณอันตรายเพราะเก็บงำปัญหาไม่กล้าพูด  พ่วงปัญหาคนสูงวัย 80-84 ปี อัตราฆ่าตัวตายสูงสุด แนะลูกหลานเอาใจใส่
       
        วันนี้ (5 ก.ย.) นพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมสุขภาพจิต  เป็นประธานในการแถลงข่าวการสัมมนาทางวิชาการการป้องกันการฆ่าตัวตายในหลากสังคมหลายวัฒนธรรม หรือเรียกง่ายๆ ว่า รักตัวเองบ้าง...นะ
       
       โดย นพ.อภิชัย กล่าวว่า จากข้อมูลที่ที่กรมได้เก็บรวบรวมและประมวลผลข้อมูลฆ่าตัวตายของคนไทยตั้งแต่ปี2540 -2553  พบว่า หลังจากที่กรมจัดทำโครงการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายตั้งแต่ปี 2542อัตราการฆ่าตัวตายลดลงจากปีละ 5,700 ราย หรือคิดเป็น 8 ต่อแสนประชากร  ขณะที่ในปี 2553 เหลือเพียง 5.9 ต่อแสนประชากร หรือ 3,761 รายต่อปี เฉลี่ยวันละ 10 ราย โดยเพศชายมีอัตรา 9.29 ต่อแสนประชากรสูงกว่าเพศหญิงที่มีอัตราอยู่ที่ 2.62 ต่อแสนประชากร   หากจำแนกตามอายุพบว่าวัย 80-84 ปี มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงสุด อยู่ที่ 10.73 ต่อแสนประชากร รองลงมาเป็นกลุ่มอายุ 75-79 ปี อยู่ที่ 10.19 ต่อแสนประชากร
       
       นพ.อภิชัย กล่าวต่อว่า พื้นที่ซึ่งมีการฆ่าตัวตายมากที่สุด คือ ภาคเหนือมี 5 จังหวัดแรกที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงสุด คือ จ.ลำพูน จ.เชียงราย จ.แม่ฮ่องสอน จ.น่าน และ จ.เชียงใหม่ อยู่ที่ 20.02, 15.63, 14.45, 13.03 และ 12.47 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ  ขณะที่ 5 จังหวัดที่มีอัตราต่ำสุด ได้แก่ จ.ปัตตานี จ.หนองคาย จ.นราธิวาส จ.ยะลา และ จ.พิจิตร อยู่ที่ 0.77, 1.76, 1.77, 1.86 และ 2.17 ต่อแสนประชากร สำหรับวิธีการฆ่าตัวตายสำเร็จมากที่สุด ได้แก่ การแขวนคอ/รัดคอ ร้อยละ 66.42 รองลงมา คือ พิษจากยาฆ่าศัตรูพืชและสัตว์ ร้อยละ 19.81 พิษจากยา ตัวยา และสารชีวภาพอื่น ร้อยละ 4.28 สารเคมีและสารพิษ ร้อยละ 3.67 กระสุนปืนร้อยละ 3.11 ส่วนสา เหตุนั้นน่าจะเป็นเพราะส่วนหนึ่งประชากรในพื้นที่นับถือศาสนาอิสลาม ฆ่าตัวตายแล้วผิดกฎหมาย
       
       “เหตุผลที่ผู้สูงวัยฆ่าตัวตายกันมาก เพราะไม่มีเหตุผลในการมีชีวิตอยู่ต่อไป ไม่มีญาติมาเยี่ยมเยือน หรือไม่มีลูกหลานมาเอาใจใส่ดูแล จึงจำเป็นที่ลูกหลานหรือคนใกล้ชิดจะต้องทำให้ผู้สูงอายุรู้ว่าจะต้องอยู่ทำไม ให้รู้สึกมีความหวังและรอบางสิ่งเช่น พยายามหาเวลาไปพบปะแล้วพูดคุยเรื่องดีๆ เพื่อให้รู้สึกว่า ไม่ใช้ชีวิตลำพังเป็นต้น  ส่วนสาเหตุที่ภาคเหนือมีอัตราการฆ่าตัวตายสูงที่สุดนั้น เป็นผลจากวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่มีการรักษาหน้าที่รุนแรง การเสียหน้าถือเป็นเรื่องที่แรงมาก เมื่อผู้ชายเหนือมีเรื่องกลุ่มใจก็ไม่กล้าปรึกษาใคร ขณะที่ภาคอื่นมีพื้นที่แลกเปลี่ยนความเห็น เช่น ร้านน้ำชา   ร้านขายซาลาเปา  ในตอนเช้าเป็นที่พบปะพูดคุย ทั้งที่ ในทางสุขภาพจิต ถือว่าการปรึกษากับผู้อื่นเป็นสิ่งสำคัญมาก”
       
       อนึ่ง 10 ก.ย.ปีนี้ องค์การอนามัยโลก หรือ ฮู (WHO) กำหนดให้รณรงค์ภายใต้แนวคิด “การป้องกันการฆ่าตัวตายในหลากสังคมหลายวัฒนธรรม” โดยปีนี้กรมจะจัดงานในวันที่ 8 กันยายน 2554 ภายใต้แนวคิด “รักตัวเองบ้าง...นะ” ที่เซ็นทรัลเวิลด์ พลาซา ในงานจะมีการเปิดตัวแบบคัดกรองผู้ที่เสี่ยงต่อปัญหาการฆ่าตัวตาย ฉบับประชาชน (SU 9) เพื่อให้ประชาชนด้วย


ASTVผู้จัดการออนไลน์    5 กันยายน 2554