ผู้เขียน หัวข้อ: สธ.เดินหน้าแผนลดความแออัดของโรงพยาบาล  (อ่าน 1390 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
รมว.สธ.เร่งรัดนโยบายลดความแออัดของโรงพยาบาลขนาดใหญ่ทั่วประเทศ ตั้งศูนย์สาธารณสุขชุมชนในเขตเมือง 215 แห่ง จัดแพทย์ พยาบาลประจำ บริการเหมือนแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาล  ตรวจรักษาผู้ป่วยทั่วไปที่อาการไม่รุนแรงและผู้ป่วยโรคเรื้อรัง...

เมื่อวันที่ 3 ก.ย. นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายแพทย์พรเทพ  ศิริวนารังสรรค์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์จักรกฤษณ์ ภูมิสวัสดิ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง และคณะผู้บริหาร ตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี จ.สุราษฎร์ธานี และโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ 500-1,200 เตียง เพื่อพบปะให้กำลังใจแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน และวางแนวทางในการปรับระบบบริการผู้ป่วย เพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป ซึ่งขณะนี้เกิดปัญหาทุกแห่ง ผู้ป่วยรอคิวตรวจนาน เจ้าหน้าที่แบกภาระหนัก

นายวิทยา กล่าวว่า รัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายจะเพิ่มการลงทุน เพื่อพัฒนาระบบบริการทุกระดับทั้งเขตเมืองและชนบทให้เพียงพอ ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน เครื่องมืออุปกรณ์การแพทย์ที่จำเป็น เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่มีคุณภาพมากขึ้น แต่ปัญหาที่ต้องเร่งดำเนินการด่วนขณะนี้ คือ การลดความแออัดของผู้ป่วยในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ทั่วประเทศ คือ ที่โรงพยาบาลศูนย์ซึ่งมี 25 แห่ง และโรงพยาบาลทั่วไปจำนวน 70 แห่ง ซึ่งมักเป็นพื้นที่ในเขตอำเภอเมือง จำนวนประชาชนมีมากอยู่แล้ว จุดที่แออัดที่สุดคือแผนกผู้ป่วยนอก เฉลี่ยต่อแห่งมีผู้ป่วยทุกประเภทใช้บริการวันละมากกว่า 2,000 คน  ทำให้ผู้ป่วยได้รับบริการช้า รอคิวนาน และเกิดปัญหาร้องเรียนบ่อยที่สุด เนื่องจากแพทย์ พยาบาล มีเวลาดูแลผู้ป่วยจำกัด งานล้นมือ เกิดความเครียด น่าเห็นใจมาก ที่สำคัญส่งผลให้คุณภาพการรักษาพยาบาลลดลง

"จำเป็นที่ต้องเร่งแก้ไข โดยวิธีการเพิ่มจุดตรวจรักษาผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อาการไม่รุนแรง โดยตั้งศูนย์สาธารณสุขชุมชนเขตเมืองมาช่วยทำหน้าที่แทน เพื่อลดภาระงานเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลใหญ่ มีแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ เครื่องมือแพทย์ อุปกรณ์การแพทย์ คุณภาพบริการเหมือนกันทุกอย่าง และจะนำระบบบัตรคิวเหมือนธนาคารมาปรับใช้ในการให้บริการผู้ป่วย ซึ่งผู้ป่วยสามารถตรวจรับบริการโดยใช้ระบบไอทีเชื่อมโยงการรักษา โดยโรงพยาบาลทั่วไปจะตั้งแห่งละ 2 ศูนย์ ส่วนโรงพยาบาลศูนย์จะตั้งแห่งละ 3 ศูนย์" นายวิทยากล่าว

ด้านนายแพทย์พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า การตั้งศูนย์สาธารณสุขชุมชนเขตเมืองนี้ จะบริหารในลักษณะของโรงพยาบาลสาขา มีแพทย์ตรวจรักษา ผู้ป่วยรายใดที่อาการรุนแรง จำเป็นต้องรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จะใช้ระบบการส่งรักษาต่อที่โรงพยาบาลใหญ่ ซึ่งจะทำให้จำนวนผู้ป่วยนอกในโรงพยาบาลใหญ่ลดลง แพทย์ พยาบาลในโรงพยาบาลใหญ่ สามารถทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางรักษาผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงซับซ้อนโดยเฉพาะได้เต็มที่ จะส่งผลดีต่อประชาชนโดยตรง และสามารถรักษาอยู่ใกล้บ้าน


ไทยรัฐออนไลน์ 4 กย 2554