ผู้เขียน หัวข้อ: ตำนานบุรุษผู้พิชิตขั้วโลกใต้(สารคดี-เนชั่นแนลจีโอกราฟฟิก)  (อ่าน 3092 ครั้ง)

pani

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 756
    • ดูรายละเอียด
“อังคารที่ 12 กันยายน [ปี 1911] ทัศนวิสัยไม่สู้ดีนัก ลมกรรโชกแรงจากทางใต้ อุณหภูมิ -52 องศาเซลเซียส สุนัขได้รับผลกระทบจากความหนาวเหน็บอย่างเห็นได้ชัด ส่วนลูกเรือที่แข็งทื่ออยู่ในเสื้อผ้าน้ำแข็งจับ  คงโล่งใจไม่มากก็น้อยหลังผ่านค่ำคืนกลางน้ำค้างแข็งมาได้... แต่ความหวังที่ว่าอากาศจะอุ่นขึ้นยังเลื่อนลอย”

ผู้เขียนบันทึกนี้คือ โรอัลด์ อามุนด์เซน นักสำรวจชาวนอร์เวย์ ผู้ซึ่งเมื่อห้าปีก่อนมีชื่อเสียงขึ้นมาจากการเป็นบุคคลแรกที่ล่องเรือจากมหาสมุทรแอตแลนติกไปยังมหาสมุทรแปซิฟิก โดยผ่านเส้นทางนอร์ทเวสต์แพสเซจ  (Northwest Passage) อันเลื่องชื่อในมหาสมุทรอาร์กติก แต่ตอนนี้เขาอยู่อีกขั้วโลกหนึ่งในภูมิภาคแอนตาร์กติก กำลังมุ่งมั่นหมายพิชิตรางวัลอันทรงเกียรติที่สุดในโลกแห่งการสำรวจที่ยังไม่มีใครครอบครอง นั่นคือขั้วโลกใต้

การเดินทางอันห้าวหาญครั้งนี้เกิดจากการวางแผนตระเตรียมอย่างละเอียดถี่ถ้วนตามแบบฉบับของอามุนด์เซนก็จริง แต่ในอีกแง่หนึ่งก็เป็นผลมาจากความประจวบเหมาะเช่นกัน ก่อนหน้านั้นสองปี ระหว่างที่อามุนด์เซนหมกมุ่นอยู่กับแผนขยายการสำรวจมหาสมุทรอาร์กติก  และการแล่นเรือสู่ขั้วโลกเหนือ     เขาก็ได้รับข่าวว่า           โรเบิร์ต แพรี พิชิตขั้วโลกเหนือได้แล้ว ตอนนั้นเอง   “ผมตัดสินใจเปลี่ยนเส้นทาง มุ่งหน้าสู่ขั้วโลกใต้ทันที”          อามุนด์เซนด์เท้าความหลัง เขาคิดว่า ถ้าไปถึงขั้วโลกใต้เป็นคนแรกได้ ทั้งชื่อเสียงและเงินทุนสำหรับการสำรวจในอนาคตคงไม่หนีไปไหน เขาจึงวางแผนมุ่งหน้าสู่ขั้วโลกใต้อย่างลับๆ โดยทำทีว่าเตรียมการไปสำรวจขั้วโลกเหนือ

กระนั้น การพิชิตขั้วโลกใต้ไม่ใช่เรื่องที่ใครจะทึกทักเอาเองได้ การมุ่งหน้าลงใต้ยังเป็นเป้าหมายที่        ป่าวประกาศไปทั่วของโครงการสำรวจแอนตาร์กติกของอังกฤษภายใต้การบัญชาการของนาวาโท โรเบิร์ต ฟอลคอน สกอตต์  อามุนด์เซนซึ่งกังวลว่าสกอตต์จะเป็นฝ่ายได้ชัย จึงรีบออกเดินทางจากเบสแคมป์ที่ฟรามเฮม ตั้งแต่ขั้วโลกยังไม่ทันเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิและสภาพอากาศพอจะทนทานได้ ผลที่ตามมาคือสุนัขที่มีประโยชน์ต่อภารกิจล้มตายไปหลายตัว และลูกเรือต้องทนทุกข์ทรมานจากอาการความเย็นกัดเท้าซึ่งใช้เวลารักษานานแรมเดือน

สี่วันหลังออกเดินทางก่อนเวลาอันควร  อามุนด์เซนประเมินสถานการณ์ของลูกเรือด้วยความสุขุม      เยือกเย็นและตัดสินใจ  “หันหลังกลับเพื่อรอจนถึงฤดูใบไม้ผลิ  การเอาชีวิตลูกเรือและสัตว์ไปเสี่ยงโดยดื้อดึงไปต่อหลังออกเดินทางเป็นสิ่งที่ผมยอมรับไม่ได้ หากจะเอาชนะในการแข่งขันครั้งนี้  เราต้องเดินหมากอย่างถูกต้อง    การเดินหมากผิดเพียงตัวเดียวอาจทำให้ทุกอย่างจบสิ้นลง”

ในที่สุด การเดินทางอันยาวไกลเกือบ 1,300 กิโลเมตรก็เริ่มต้นขึ้นอีกครั้งเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม อามุนด์เซนกับลูกทีม 4 คนเคลื่อนที่ด้วยสกีตามหลังเลื่อนบรรทุกเสบียง 4 คัน แต่ละคันมีน้ำหนัก 400 กิโลกรัมและลากโดยสุนัข 13 ตัว ทีมสำรวจมุ่งหน้าข้ามภูมิประเทศที่ไม่รู้จัก ปีนป่ายอยู่เหนือเหวน้ำแข็ง ลัดเลาะไปรอบๆหุบเหวลึกและน้ำแข็งของเทือกเขา ควีนมอดไปยังที่ราบสูงโพลาร์ ท่ามกลางสภาพอากาศที่ไม่อาจคาดเดาและเต็มไปด้วยภยันตราย กระนั้น ทีมสำรวจชาวนอร์เวย์ก็ไปถึงจุดหมายปลายทางตามกำหนดโดยไม่ประสบเหตุร้ายแรง             แต่ประการใด  “ในที่สุดเรา ก็มาถึงจุดหมาย และปักธงเอาไว้บนขั้วโลกใต้ทางภูมิศาสตร์ ณ ที่ราบสูงพระเจ้า          ฮากอนที่เจ็ด ขอบคุณพระเจ้า!” อามุนด์เซนบันทึกไว้เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ปี 1911

ในการเดินทางขากลับ ทีมสำรวจทิ้งข้าวของส่วนเกินไว้ ตลอดการเดินทาง สุนัขที่ถูกยิงและตายลงระหว่างทางกลายเป็นอาหารของทั้งคนและสุนัขที่รอดชีวิต เช้าตรู่วันที่ 26 มกราคม ปี 1912 เหล่าผู้พิชิตขั้วโลกก็กลับมาถึงเบสแคมป์ที่ฟรามเฮม

อามุนด์เซนเพลิดเพลินกับความมีชื่อเสียงจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต แต่เขาก็ไม่อาจเจริญรอยตามเพื่อนร่วมชาติ ผู้เป็นแรงบันดาลใจอย่างนานเซนซึ่งเป็นคนหลายมิติและมีเสน่ห์ ผลงานหนังสือและการบรรยายไม่เคยนำความมั่นคงทางการเงินมาให้ตามที่อามุนด์เซนคาดหวังเลย ในเดือนกรกฎาคม ปี 1918 เขากลับไปยังอาร์กติกเพื่อทำงานด้านวิทยาศาสตร์ตามที่ได้สัญญาไว้กับนานเซน นั่นคือการนำเรือ มอด ของเขาออกติดตามการเคลื่อนที่ของแผ่นน้ำแข็ง ครั้นล่วงถึงทศวรรษ 1920 อามุนด์เซนหันไปหาการบินแทนเพื่อล่ารางวัลใหม่ๆ เขาพยายามบินข้าม   ขั้วโลกเหนือหลายครั้งแต่ไม่สำเร็จ ในปี 1926 เขาบัญชาการเรือเหาะ นอร์จ โดยมีนักบินเป็นชาวอิตาลีชื่อ อุมแบร์โต โนบีเล บินข้ามมหาสมุทรอาร์กติกสำเร็จเป็นครั้งแรก

แม้การผจญภัยในช่วงหลังๆ ยังเป็นเรื่องของความกล้าบ้าบิ่นก็จริง แต่อามุนด์เซนก็เข้าร่วมในฐานะ         ผู้โดยสารมากกว่าผู้นำ โดยเต็มใจให้ผู้อื่นเป็นคนควบคุมดูแล  กระนั้น ในเดือนพฤษภาคม ปี 1928 เมื่อเรือเหาะของโนบีเลหายสาบสูญไปเหนือมหาสมุทรอาร์กติก  อามุนด์เซนก็กระตือรือร้นเข้าร่วมภารกิจช่วยเหลือซึ่งเกิดจาก   ความร่วมมือของหลายชาติ  โดยโน้มน้าวเพื่อนฝูงให้ช่วยบริจาคเงินเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับเที่ยวบินช่วยชีวิต

ที่เมืองทรมเซอเหนือเส้นอาร์กติกเซอร์เคิล อามุนด์เซนโดยสารเครื่องบินรุ่นลาตาม 47 (Latham 47) ติดตั้งทุ่นซึ่งบินมาจากฝรั่งเศส ถึงตอนนี้ นักบินขับเครื่องมาแล้ว 3 วันและออกปฏิบัติการโดยได้พักผ่อนเพียงเล็กน้อย เครื่องบินที่บรรทุกผู้คนและสัมภาระจนหนักอึ้งพยายามบินด้วยความยากลำบาก อากาศตอนนั้นสงบนิ่งไม่มีลม ซึ่งมักจะส่อเค้าถึงเมฆหมอกหนาทึบและทัศนวิสัยเลวร้ายทางทิศเหนือ หากพิจารณาจากมาตรฐานการบินในปัจจุบัน ปัจจัยทั้งหมดที่กล่าวมา ล้วนเป็นลางของหายนะ
เครื่องบินออกจากเมืองทรมเซอเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน เวลา 16.00 น. มีคนเห็นเครื่องบินลำนี้ครั้งสุดท้ายขณะบินอยู่เหนือเกาะซอมมาเรยที่ซึ่งขุนเขาบรรจบกับท้องทะเล เวลานั้นเป็นฤดูร้อนและผืนแผ่นดินเป็นสีเขียวขจี     ทว่า        อามุนด์เซนกำลังมุ่งหน้าไปทางทิศเหนือสู่แดนน้ำแข็ง

กันยายน 2554

kartoonyna

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 12
    • ดูรายละเอียด
ความพยายามเป็นเลิศจิงๆ