ผู้เขียน หัวข้อ: การบริหารงบประมาณ กองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยกระทรวงสาธารณสุข  (อ่าน 5842 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด

การบริหารงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าโดยกระทรวงสาธารณสุข
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์
รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข

ที่มาและจุดมุ่งหมาย
1.ประเมินผลกระทบระบบหลักประกันในปัจจุบัน

1.1เป็นปัจจัยคุกคามต่อเสถียรภาพของระบบบริการของหน่วยงานในสังกัดสปสธ.ซึ่งหน่วยบริการหลักของประเทศ
1.2นำไปสู่ความไม่เท่าเทียมระหว่างสิทธิ์ และระหว่างประชาชนต่างพื้นที่
1.3ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำแตกต่างจนเชื่อมโยงให้เกิดความขัดแย้งแย่งชิงฐานสิทธิ์ระหว่างหน่วยผู้บริหารกองทุน  
1.4ทั้งขัดต่อแนวทางแห่งรัฐธรรมนูญที่กำหนดเป็นกฎหมายในการจัดบริการแก่ประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน

2.เกิดความไม่สอดคล้องเชิงกระบวนการบริหารภาครัฐ

2.1ระหว่างหน่วยงานหลักเดิมที่ยังมีบทบาทหลักในการดำเนินภารกิจด้านสุขภาพคือ สำนักงานปลัด-สธ. กับหน่วยงานใหม่ผู้กำหนดการจ่ายเพื่อระบบริการคือสำนักงานจัดการกองทุน
2.2ลักษณะความไม่สอดคล้องจัดสรรก่อให้เกิดปรากฏการณ์ย้อนทิศทางการบริหารจัดการของกระทรวงสาธารณสุขทำให้เครือข่ายบริการสุขภาพขาดความเชื่อมโยง  ศักยภาพเชิงเครือข่ายถดถอย
2.3ทำให้สูญเสียประสิทธิภาพภาครัฐในภาพรวมที่ควรเร่งรัดร่วมมือแก้ไขโดยเร่งด่วนและต้องดำเนินการศึกษาให้ปรากฏความชัดเจนเพื่อแก้กลไกภาครัฐให้เกิดศักยภาพมากที่สุด

3.ระบบสุขภาพถูกระบบการเงินคุกคามจนเสียหาย

3.1แนวทางการขับเคลื่อนด้วยระบบการเงินอย่างเดียว แม้จะมีประสิทธิภาพในระดับหนึ่ง แต่ด้วยภาระที่ต้องมุ่งเน้นผลงานที่ตอบสนองต่อเม็ดเงินภายในปีงบประมาณ ทำให้ขาดมุมมองการพัฒนาโครงสร้างฐานรากระบบสุขภาพที่ยั่งยืน
3.2ความเสียหายในระบบสุขภาพที่ถูกควบคุมด้วยแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์มากกว่าแนวคิดทางสุขภาพ ถูกจำกัดด้วยกลไกการควบคุมค่าใช้จ่ายของรัฐและกองทุน สุขภาพถูกบริหารแบบสินค้าและถูกจัดการเชิงธุรกิจ
3.3ความเสียหายปรากฏในรูปของความสูญเสียความมั่นคงทางทรัพยากรบริการ นำไปสู่การสูญเสียความศรัทธาบริการจากความสามารถแข่งขันเชิงคุณภาพด้วยต้องรองรับแต่ปริมาณ

4.การขับเคลื่อนระบบบริการจัดสรรโดยตรงไปยังหน่วยบริการ ไม่สอดคล้องกับระเบียบบริหารราชการขาดการบูรณาการศักยภาพการจัดการเชิงระบบที่มีมิติต่อไปนี้

4.1มิติด้านนโยบายและแผน
4.2มิติด้านการกำกับติดตามในระบบราชการ
4.3มิติด้านบุคลากรว่าด้วยการบริหารความดีความชอบและขวัญกำลังใจ
4.4มิติด้านการสนับสนุนทรัพยากร ได้แก่ งบลุงทุน การจัดสรรและควบคุมอัตรากำลัง

ทำให้รัฐสูญเสียประโยชน์ที่พึงมีต่อประชาชน

5.ความขัดแย้งระหว่างหน่วยผู้ให้บริการกับผู้จ่ายปิดหนทางการเข้าถึงงบประมาณที่เพียงพอ

5.1หน่วยบริการประกาศปัญหาวิกฤตทางการเงินที่ปรากฏวงกว้าง
5.2หน่วยผู้จ่ายยืนยันความเพียงพอของงบประมาณเพื่อสื่อความมีประสิทธิภาพบนวงเงินงบประมาณที่บริหาร
5.3การถืออำนาจตามกฎหมายในฐานะผู้ซื้อที่กำหนดอัตราและเงื่อนไขจัดสรรเอง
5.4ช่องว่างความอ่อนแอของหน่วยบริการและหน่วยต้นสังกัด ทั้งด้านบุคลากรและข้อมูลรวมทั้งความไม่เป็นเอกภาพในระหว่างกลุ่มระดับบริการ ทำให้แม้มีการฟังความเห็นเรื่องอัตราค่าบริการตามกฎหมายกลายเป็นกระบวนการที่ไม่เกิดมรรคผล

พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
มาตรา ๑๘ คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้.............
      (๑๓) จัดประชุมเพื่อให้คณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นโดยทั่วไปจากผู้ให้บริการและผู้รับบริการเป็นประจำทุกปี
มาตรา ๔๖ หน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการตามมาตรา ๔๔ และหน่วยบริการที่รับการส่งต่อผู้รับบริการ มีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขจากกองทุนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
   หลักเกณฑ์การกำหนดค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขตามวรรคหนึ่ง ต้องผ่านการรับฟังความคิดเห็นตามมาตรา ๑๘ (๑๓) ก่อน และอย่างน้อยต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข ดังต่อไปนี้
   (๑) อาศัยราคากลางที่เป็นจริงของโรคทุกโรคมาเป็นฐานตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานตามมาตรา ๕๐ (๔)
   (๒) ครอบคลุมถึงค่าใช้จ่ายของหน่วยบริการในส่วนเงินเดือนและค่าตอบแทนบุคลากร
   (๓) คำนึงถึงความแตกต่างในภารกิจของหน่วยบริการ
   (๔) คำนึงถึงความแตกต่างในกลุ่มผู้รับบริการและในขนาดของพื้นที่บริการที่หน่วยบริการรับผิดชอบ

(ต่อ)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 สิงหาคม 2011, 23:20:40 โดย story »

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
นโยบายกระทรวงสาธารณสุข ---การบริหารงบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

1.พัฒนาให้เครือข่ายบริการมีบทบาทในการบริหารจัดการงบบริการสุขภาพในส่วนการจัดบริการที่แยกจากหน่วยผู้ซื้อบริการโดยสมบูรณ์
2.บริหารจัดการงบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้ตอบสนองการจัดการสุขภาพที่ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพเท่าเทียมอย่างเหมาะสม
3.พัฒนารูปแบบการใช้จ่ายงบหลักประกันสุขภาพให้มีประสิทธิภาพลดปัญหาความเหลื่อมล้ำและขาดแคลนในหน่วยบริการ
4.สร้างความเป็นเอกภาพและเป็นทางการในการจัดการงบหลักประกันและการขับเคลื่อนให้เกิดผลเป็นรูปธรรมภายใต้ความมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน

นโยบายกระทรวงสาธารณสุข--- การพัฒนาบทบาทผู้ซื้อ-ผู้จัดบริการ

1.แยกบทบาทผู้ซื้อและบทบาทผู้จัดบริการ (PURCHASER – PROVIDER SPLIT) โดยการเสนอรูปแบบการจัดการงบบริการตอบสนองจัดการสุขภาพของพื้นที่เครือข่ายบริการสุขภาพ
2.โดยพัฒนากลไกหน่วยบริหารระบบบริการสุขภาพระดับเขต รับงบจัดสรรรายหัวในภาพเขตพวงบริการตามผังบริการที่พื้นที่กำหนด
3.การจัดทำข้อตกลงให้กองทุนผู้ซื้อกำหนดเป้าหมายหรือตัวชี้วัดด้านสุขภาพของประเทศ ร่วมกับของพื้นที่ แล้วสนับสนุนงบประมาณภาพรวมให้หน่วยบริการดำเนินการ

นโยบายกระทรวงสาธารณสุข--- การบริหารงบหลักประกันเพื่อคุณภาพที่เท่าเทียม

1.การพัฒนาศักยภาพเครือข่ายบริการตั้งแต่ปฐมภูมิถึงตติยภูมิให้สามารถรองรับการดูแลสุขภาพในทุกมิติที่เท่าเทียมในพื้นที่ต่างๆของประเทศ โดย FUNCTIONAL SERVICE PLAN
2.พัฒนาการบริหารจัดการระบบสุขภาพโดยคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับจังหวัด ได้แก่ การนำต้นทุนบริการมาประเมินงบบริการผู้ป่วยนอก  การบริหารงบส่งเสริมป้องกันภัยสุขภาพฉุกเฉิน
3.พัฒนารูปแบบการจัดบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องโรคโดยกลไกการบริหารจัดการระดับชุมชน โดยคณะกรรมการสุขภาพระดับอำเภอด้วยกลไกงบประมาณส่งเสริมป้องกันโรคชุมชน

นโยบายกระทรวงสาธารณสุข--- การลดปัญหาความเหลื่อมล้ำและขาดแคลนในหน่วยบริการ

1.ผลักดันให้มีปรับการจัดสรรที่เป็นเหตุให้เกิดความแตกต่างในงบดำเนินการจัดบริการที่นำไปสู่ความเหลื่อมล้ำด้านสุขภาพในประเด็นการหักเงินเดือน การจัดสรรตามหัวประชากร การขาดศักยภาพในการเข้าถึงงบประมาณ
2.การสนับสนุนการจัดสรรค่าใช้จ่ายตามต้นทุนบริการขั้นต้น และการจัดสรรตามผลงานในงบประมาณส่วนที่เหลือ
3.การลดการแบ่งส่วนงบบริการพื้นฐานไปจัดบริการโครงการเฉพาะกองทุนหลากหลาย

นโยบายกระทรวงสาธารณสุข--- ความเป็นเอกภาพและส่วนร่วมในการจัดการงบหลักประกัน

1.การระดมความเห็นโดยกระบวนการความมีส่วนร่วมในเครือข่ายบริหารและบริการทุกระดับ
2.การดำเนินการโดยคณะกรรมการบริหารยุทธศาสตร์หลักประกันและการเงินการคลังสุขภาพ  โดยมีกรรมการวิชาการรองรับ
3.การสนับสนุนให้มีคณะกรรมการระบบบริการสุขภาพระดับเขต คณะกรรมการระดับอำเภอ เพื่อสร้างความมีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพ

(ต่อ)



story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
5 ข้อเสนอหลัก : การบริหารงบหลักประกันสุขภาพ

1.การบริหารจัดการเครือข่ายบริการเบ็ดเสร็จระดับเขตบริหารจัดการงบหลักประกันสุขภาพทั้งหมดโดยคณะกรรมการผู้ให้บริการสุขภาพระดับเขต
2.การหักเงินเดือนระดับเขต บริหารงบIP งบลงทุน ม.41 P4P ระดับเขต/ บริหารงบOPระดับจังหวัด/ บริหารงบPP ระดับอำเภอ
3.การจัดสรรงบบริการพื้นฐานทั้งหมด ลดการบริหารจัดการเป็นกองทุนย่อย
4.ปรับสัดส่วนจัดสรร OP:IP:PP เป็น 40-40 -20
5.จัดสรรค่าใช้จ่ายขั้นต่ำให้หน่วยบริการดำเนินการได้ และสนับสนุนเงินส่วนที่เหลือตามผลงานบริการ

1.
การบริหารจัดการเครือข่าย บริการสุขภาพเบ็ดเสร็จระดับเขต บริหารจัดการงบหลักประกันสุขภาพ โดยคณะกรรมการผู้ให้บริการสุขภาพระดับเขตตามผังบริการสุขภาพ

กองทุนจัดสรรงบประมาณไปยังหน่วยบริการโดยตรงทำให้กระทรวงสาธารณสุข  ไม่สามารถบริหารงบประมาณให้เกิดความสมดุลเพียงพอ  ทำให้การบริการมีความแตกต่างระหว่างโรงพยาบาลและปรากฏเป็นความเหลื่อมล้ำระหว่างสิทธิ์ รวมไปถึงไม่สามารถขับเคลื่อนนโยบายสุขภาพที่สำคัญของประเทศอย่างเป็นระบบได้

การจัดสรรตรงไปหน่วยบริการปรากฏการณ์ทิศบริหารย้อนเกล็ด สร้างความเหลื่อมล้ำระหว่างสิทธิ์ หน่วยบริการ และประชาชน

การบูรณาการศักยภาพบริหารและงบประมาณเป็นโอกาสลดความเหลื่อมล้ำระหว่างกองทุน หน่วยบริการ และประชาชน

การบริหารจัดการเครือข่าย บริการสุขภาพเบ็ดเสร็จระดับเขต

1.การจัดเครือข่ายเป็นพื้นที่สุขภาพที่เชื่อมโยงจากปฐมภูมิจนถึงทุติยภูมิระดับสูงที่สมบูรณ์
2.พื้นที่สุขภาพที่ความแตกต่างแต่ได้รับการสนับสนุนทรัพยากรเพื่อศักยภาพที่เท่าเทียม
3.ลดปัญหารอยต่อจากการบริหารแบบ CUP เป็นบริหารรวมแบบCUR ที่ไร้รอยต่อบริการ
4.ลดความเหลื่อมล้ำระหว่างสิทธิ์ และระหว่างประชาชนในแต่ละพื้นที่
5.เป็นนโยบายแม่บทที่หน่วยบริหารและหน่วยบริการเห็นพ้องขับเคลื่อนร่วมกันของกสธ.

การบริหารจัดการงบหลักประกันสุขภาพ โดยคณะกรรมการผู้ให้บริการสุขภาพระดับเขต

-ประกอบด้วยคณะกรรมการตามผังบริการระดับเขตเป้าหมาย 18 เขต
-ภาคส่วนที่มีปัจจัยด้านต่างๆ ทั้ง การเงิน วิชาการ เทคโนโลยี เข้ามาจัดรูปแบบที่ครบถ้วน ประกอบด้วย
ภาครัฐผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการสุขภาพ
ตัวแทนหน่วยบริการในแต่ละระดับ
ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสุขภาพในเขต
องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นทุกจังหวัด
ภาคเอกชน
-สามารถขับเคลื่อนนโยบายสุขภาพของชาติและของท้องถิ่นได้อย่างเป็นระบบ
-สำนักงานสาธารณสุขเขตทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการ จะมีผู้ตรวจราชการเป็นเลขานุการ และหน่วยวิชาการของกรมต่างๆ เป็นส่วนสนับสนุนหน่วยบริการ

2.
การหักเงินเดือนระดับเขต บริหารงบIP งบลงทุน ม.41 P4P ระดับเขต บริหารงบOPระดับจังหวัด บริหารงบPP ระดับอำเภอ

การหักเงินเดือนระดับเขต
1.การจัดสรรตามรายหัวและการหักเงินเดือนระดับเครือข่ายบริการ ทำให้มีความแตกต่างของงบดำเนินการอย่างมาก เป็นสาเหตุให้งบดำเนินการจัดบริการ ประชาชนไม่เท่าเทียมกัน
2.การแยกเงินเดือนจากงบบริการหรือหักเงินเดือนระดับประเทศเป็นแนวทางที่ทำให้งบจัดสรรรายหัวค่าดำเนินการไม่เหลื่อมล้ำกันมาก
3.พิจารณาการหักเงินเดือนระดับเขตเพื่อให้สอดคล้องกับการบริหารเครือข่ายสุขภาพระดับเขต

หลักเกณฑ์การจัดสรรและการหักเงินเดือนระดับCUPเกลี่ยระดับจังหวัดร่วมกับความแตกต่างในความสามารถทำผลงานเข้าถึงงบUCทำให้งบรายได้รายรพ. โดยเทียบในระดับเดียวกันมีความแตกต่างกันอย่างมาก

อัตราจัดสรรรายหัวประชากรระดับจังหวัด
1.หลักเกณฑ์การจัดสรรและการหักเงินเดือนจากกองทุนUC ทำให้งบ เหมาจ่ายรายหัวจังหวัดมีความแตกต่างกัน 268-1,522 บ.(2554)
2.การจัดสรรงบประมาณโดยตรงให้หน่วยบริการของกองทุนทำให้ความสามารถในการปรับเกลี่ยงบประมาณของกระทรวงสาธารณสุขมีข้อจำกัด

บริหารงบ IP งบลงทุน งบม.41 และงบP4P ระดับเขต

1.การจัดระบบงบผลงานผู้ป่วยในไว้ที่สปสช.กลางไม่ได้สร้างกลไกการพัฒนาระบบบริการในเชิงเครือข่ายพื้นที่ หน่วยบริการต่างบริหารต่างบริการแย่งชิงผลงานบริการเกินวงเงินจนต้องปรับเกลี่ยลด
2.การบริหารจัดการงบผู้ป่วยในระดับเขตแบบพวงบริการ ตอบสนองการบริหารจัดการพัฒนาแบบเครือข่ายที่มีลักษณะ Centralize IP ลดการแย่งชิงและแยกย่อยงบใช้จ่ายและทรัพยากร ลดความเสี่ยงในการจัดบริการ
3.การจัดสรรงบประมาณสำรองความเสี่ยงค่าใช้จ่ายสูงและที่นอกเหนือการบริการ เช่น ม.41 P4P งบลงทุน ลดความเสี่ยงต่อความไม่เพียงพอของค่าใช้จ่าย หากเหลือมีความคล่องตัวจัดสรรคืนรายรพ.เมื่อสิ้นปี

(ต่อ)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
บริหารงบOPระดับจังหวัด

1.การจัดสรรงบงบผู้ป่วยนอกรายหักเงินเดือนรายCUP ทำให้หน่วยบริการที่ให้บริการOPD เป็นหลักเสี่ยงต่อค่าใช้จ่ายไม่พอเพียง
2.การบริหารงบ OP ระดับจังหวัดสร้างความชอบธรรมในการปรับเกลี่ยโดยคณะกรรมการระดับจังหวัด
3.ตอบสนองการจัดระบบบริการเครือข่ายระดับเขตที่กำหนดให้มี Satellite OP ที่ไม่มี IPDลดภาระความไม่คุ้มค่าและความเสี่ยงขาดทุนซ้ำซ้อนในการจัดบริการIPของรพ.ขนาดเล็ก
4.กรณีงบOPไม่เพียงพอ การบริหารโดยเขตสามารถปรับสัดส่วนงบ OP ให้เหมาะสมโดยคณะกรรมการบริหารระบบบริการได้

บริหารงบPP ระดับอำเภอ
1.เน้นการบริหารจัดการงบ National PP, Community PP และงบกองทุนตำบลด้วย
2.การจัดสรรงบไปสู่รพ.ในฐานะ CUP ทำให้รพ.ซึ่งมีภาระบริการผู้ป่วยหนักอยู่แล้วต้องปรับบทบาทมาบริหารจัดการระบบส่งเสริมป้องกันโรคชุมชนซึ่งยากที่จะดำเนินการได้ดี
3.สสอ.ได้กำหนดให้เป็นหน่วยบริหารจัดการระบบส่งเสริมป้องกันโรคชุมชนผ่านระบบPCUสอ.และรพ.แต่ไม่ได้รับสนับสนุนงบโดยตรง เกิดปัญหาการดำเนินการร่วมกับรพ.หลายแห่ง
4.การบริหารจัดการโดยอำเภอโดยคณะกรรมการบริหารสุขภาพอำเภอมีองค์ประกอบท้องถิ่นร่วม สสอ.เป็นเลขาทำให้การบริหารงบPP Community และ กองทุนตำบลเป็นความร่วมมือบนการจัดการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

3.
การจัดสรรงบบริการพื้นฐานทั้งหมด ลดการบริหารจัดการเป็นกองทุนย่อย
การจัดกองทุนย่อยเพื่อเป็นการสร้างกลไกการดำเนินงานเร่งรัดผลงานให้บรรลุเป้าหมายเฉพาะเรื่อง  เพิ่มการเข้าถึงการบริการโรคยากราคาแพง ลดภาวะล้มละลายจากค่ารักษาของครอบครัว

การจัดสรรงบบริการพื้นฐานทั้งหมด ลดการบริหารจัดการเป็นกองทุนย่อย

1.การจัดงบแยกย่อยโดยจัดแบ่งจากบริการพื้นฐานออกไปหลายรายการ ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อวงเงินบริการหลักไม่เพียงพอ
2.ส่วนที่จัดแบ่งไปบริหารแยกย่อยถูกกันเงินไว้ที่กองกลางสปสช. ไม่ถูกหักเงินเดือน หักเงินเดือนเฉพาะงบบริการหลักที่จ่ายล่วงหน้าทำให้งบบริการยิ่งน้อย ยิ่งเสี่ยง
3.การจัดกองทุนย่อย ทำให้เกิด ภาระงาน ภาระรายงาน อย่างมากต่อพื้นที่
4.หน่วยบริการมีความสามารถจัดบริการได้ไม่เท่าเทียม เกิดการแย่งตลาดบริการข้ามเขต

Links between health financing strategy and health outcomes :WHO 2007
ทิศทางระบบสุขภาพโลก เพิ่มการเข้าถึงบริการลด OOP(Object-Oriented programming)
การบริหารวงเงินรวมตามระบบบริการพื้นฐานตามมาตรฐานเพิ่มความครอบคลุมและคุ้มค่าในผลลัพธ์ด้านสุขภาพ

4.
การปรับสัดส่วนจัดสรร OP:IP:PP เป็น 40-40 -20
คำของบบริการผู้ป่วยในมีระบบข้อมูลจาก DRG ที่พัฒนามาอย่างดีรองรับ
แต่ข้อมูลผู้ป่วยนอกขาดความสมบูรณ์ทำให้การประเมินค่าใช้จ่ายที่พึงจัดสรรต่ำไป
ขณะที่งบส่งเสริมป้องกันอยู่ในสัดส่วนที่ต่ำไม่สามารถตอบสนองทิศทางการสร้างนำซ่อมได้

ข้อเหตุผลการจัดสัดส่วน OP : IP : PP

1.สามารถแก้ปัญหางบประมาณส่วน OPD ไม่เพียงพอ ซึ่งกระทบโรงพยาบาลชุมชนจำนวนมาก
2.มีผลกระทบค่าใช้จ่ายผู้ป่วยในซึ่งเป็นแหล่งรายได้สำคัญของ รพศ.รพท.แต่การตัดเงินเดือนระดับเขต สามารถลดส่วนหักเงินเดือนมากกว่ารพช.
3.เพิ่มงบประมาณด้านส่งเสริมป้องกันโรค เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบสุขภาพที่ยั่งยืน

5.
จัดสรรค่าใช้จ่ายขั้นต่ำให้หน่วยบริการดำเนินการได้ และสนับสนุนเงินส่วนที่เหลือตามผลงานบริการ
ความเพียงพอของค่าใช้จ่ายมีปัจจัยหลากหลายมากจนไม่สามารถกำหนด
สูตรคำนวณชดเชยให้เพียงพอได้ทุกที่การจัดสรรรายหัวตามประชากรในพื้นที่
และหักเงินเดือนรายคัพแม้จะมีการชดเชยด้วยงบ Cost function
หน่วยบริการที่ประสบปัญหาการเงินปี 53เพียง1ใน5 เท่านั้นที่ได้รับงบเพียงพอ

จัดสรรค่าใช้จ่ายขั้นต่ำ และสนับสนุนค่าใช้จ่ายตามผลงานบริการ

1.ในระยะเวลา 9ปี ที่ผ่านมากลไกการจัดสรรไม่สามารถปรับจำนวนบุคลากรและระบบบริการให้สอดคล้องตามประชาชนในพื้นที่
2.หน่วยบริการที่จัดตั้งขึ้นแล้วมีความจำเป็นต้องให้บริการตอบสนองความต้องการประชาชนในพื้นที่นั้นๆ แม้จะมีจำนวนน้อยก็ตามไม่สามารถยุบเลิกได้
3.การจัดสรรค่าใช้จ่ายให้หน่วยบริการเป็นพื้นฐานขั้นต่ำให้บริการได้จะทำให้ความครอบคลุมและการเข้าถึงบริการที่เท่าเทียมในประชาชนมีมากขึ้นและยังมีกลไกตอบสนองตามภาระงานบริการจ่ายตามผลงานด้วย
4.การพัฒนาการจัดทำต้นทุนมาตรฐานในทุกรพ.ตามนโยบายกสธ.จะเป็นเครื่องมือในการบริหารประสิทธิภาพ และการจัดสรรปรับเกลี่ยงบโดยกก.บริหารสุขภาพในระดับต่างๆ

..............................................................................................