ผู้เขียน หัวข้อ: การจ่ายค่าตอบแทนในปัจจุบัน นโยบายและทิศทางในอนาคต--นพ. ณรงค์ สหเมธาพัฒน์  (อ่าน 2577 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด

งบประมาณค่าตอบแทนปี 2554 เสนอผ่าน สปสช. คณะรัฐมนตรี มีมติ 20 เมย. 2553 ให้ รองนายกรัฐมนตรี (นายไตรรงค์) รับไปพิจารณาร่วมกับ สปสช./ก.พ./สำนักงานปลัดกระทรวงฯ และหน่วยที่เกี่ยวข้องโดยค่าตอบแทนฯ ให้ศึกษาวิเคราะห์หาแนวทางการปรับเพิ่มให้ครอบคลุมบุคลการทุกภาคส่วนอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

• รองนายกรัฐมนตรี (นายไตรรงค์) พิจารณาเสนอเป็นมติ ครม. เมื่อ 18 พค. 2553 อนุมัติงบค่าตอบแทนบุคลากรด้านสาธารณสุขเพิ่มตามที่ เสนอ และให้มีการวิเคราะห์วัตถุประสงค์การจ่ายค่าตอบแทนและความเหมาะสมในการจัดสรรงบประมาณให้รอบคอบและเป็นธรรม และให้ สำนักงานปลัดกระทรวงฯ จัดเตรียมวงเงินงบประมาณ ปี 2554 จำนวนหนึ่งไว้ในงบกลาง เมื่อได้ข้อยุติแล้วจึงขอรับจัดสรรงบประมาณต่อไป

• กสธ. ตั้งคณะกรรมการพิจารณาทบทวนระบบการจ่ายค่าตอบแทนกำลังคนด้านสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในภาครัฐคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบกับหลักการค่าตอบแทนกำลังคนด้านสาธารณสุขประกอบ 3 ส่วนหลัก ตามข้อเสนอคณะกรรมการพิจารณาทบทวนระบบการจ่ายค่าตอบแทนกำลังคนด้านสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในภาครัฐ
1. เงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง---ตามคุณวุฒิ/ประสบการณ์
2. พื้นที่พิเศษ+ วิชาชีพขาดแคลนและจำเป็น---ธำรงรักษาวิชาชีพขาดแคลนและรักษาคนไว้ในพื้นที่พิเศษ
3. P4P---เพิ่มประสิทธิภาพทั้งใน/นอกเวลาราชการ ค่าตอบแทนสะท้อนภาระงาน ทำมากได้มาก(ค่าหัตถการ, OT , P4P)

ทิศทางการพัฒนาระบบการจ่ายค่าตอบแทนตั้งแต่ปี 2555
• ข้อตกลงในช่วงประกาศหลักเกณฑ์ฯ ฉบับที่ 7 ที่จะปรับระบบใหม่ตั้งแต่ ตค. 2553 แต่ยังไม่ได้ดำเนินการ
• มติ ครม. เมื่อ 3 พค. 54 ให้ตั้งคณะกรรมการศึกษาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาเกี่ยวกับการกำหนดค่าตอบแทนฯ ตั้งแต่ปี2555 เป็นต้นไป ตามที่ กสธ. เสนอ (เสนอตั้ง กก. พิจารณาทบทวนการแก้ปัญหาระดับพื้นที่และสาขาขาดแคลน รวมทั้งการจ่ายค่าตอบแทนตาม P4P)
• ทุกระดับเห็นว่า การจ่ายค่าตอบแทนแบบปัจจุบัน ไม่ช่วยแก้ปัญหา ไม่สะท้อนภาพที่เป็นจริง ไม่สะท้อนภาระงาน งบประมาณก็มีปัญหา
• จำเป็นต้องปรับระบบการจ่ายค่าตอบแทน และเห็นว่า P4Pน่าจะเป็นคำตอบให้กับโรงพยาบาล

การจ่ายค่าตอบแทนเหมาจ่ายแบบ Flat Rate ต้องปรับให้เหมาะสม โดยต้องพิจารณาทบทวนเรื่องพื้นที่ เน้นพื้นที่ที่อยู่ยากลำบาก ในระดับพื้นที่ซึ่งไม่ใช่ รพช. เพียงอย่างเดียวซึ่งต้องมีคณะกรรมการร่วมระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

• การพัฒนาระบบค่าตอบแทนตามหลัก P4P เพื่อเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานเป็นหลัก แต่ไม่ใช่เน้นการเพิ่มค่าตอบแทน ไม่ใช่DF และค่าตอบแทนที่ได้รับ ควรต้องสะท้อนงานที่หนัก โดยคนทำงานหนัก ได้ค่าตอบแทนมาก

การพัฒนาในส่วนที่เกี่ยวข้อง
• ตัวชี้วัดภาระงานของโรงพยาบาลแต่ละแห่ง เช่น งานด้านรักษาพยาบาล : OP (ปกติ ซับซ้อน เรื้อรัง) IP (DRG RW) OR (Major, Minor) Refer-in , งานด้าน PP (เยี่ยมบ้าน, FP,EPI) , งานด้านคุณภาพบริการ (EMS responsiveness prompt battention, Chronic care , การได้พบแพทย์ตรงเวลา)
• การพัฒนาตัวชี้วัด ภาระงานระดับบุคคล เพื่อกำหนดอัตราค่าตอบแทน
• การสร้างกระบวนการภายในองค์กร การมีส่วนร่วม การทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่
• เริ่มต้นให้เดินหน้าได้ก่อนแล้วค่อยๆ พัฒนา
• ปัญหาการบริหารโรงพยาบาล ทั้งปัญหาด้านการเงินค่าตอบแทน การไม่ได้อัตราตำแหน่ง ปัญหาการจ้างลูกจ้างอาจต้องมีการปรับตัวมาก
• การพัฒนาระบบบริหารจัดการของโรงพยาบาล เพื่อให้เกิดความคล่องตัว มีประสิทธิภาพ ซึ่งอาจต้องพิจารณาหลายรูปแบบ เช่น
- การกระจายอำนาจ เหมาะไหม
- Autonomous Hospital
.................................................
นพ. ณรงค์ สหเมธาพัฒน์
รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข
10 มิถุนายน 2554