ผู้เขียน หัวข้อ: นายกสมาคมรพ.เอกชนยันไม่ค้าน "สิทธิการตาย"แพทย์ปฏิบัติอยู่แล้ว  (อ่าน 1779 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9755
    • ดูรายละเอียด
นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน ยืนยัน พ.ร.บ.สิทธิการตาย ไม่ได้ส่งผลต่อรายรับของโรงพยาบาลเอกชน ย้ำผู้ป่วยสมัครใจเข้ารับการรักษา และเข้าใจถึงค่าใช้จ่ายอยู่แล้ว...

นพ.เอื้อชาติ กาญจนพิทักษ์ นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน กล่าวถึงกรณีที่มีข้อคิดเห็นแตกต่าง ระหว่างแพทย์กรณีการบังคับใช้กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการดำเนินการตามหนังสือ แสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุข ตามมาตรา 12 แห่ง พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 และประกาศสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และแพทยสภาได้ยื่นขอแก้ไขกฎกระทรวง ที่ทำเกินขอบเขตของ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติฯ ต่อ รมว.สาธารณสุข ว่า การที่มีบางกลุ่มระบุว่า เรื่องนี้ถูกคัดค้าน เนื่องจากจะส่งผลต่อรายรับของโรงพยาบาลเอกชนนั้น ไม่ใช่ข้อเท็จจริง เพราะอย่าลืมว่าโรงพยาบาลเอกชน เป็นโรงพยาบาลทางเลือกที่ผู้ป่วย สมัครใจเข้ารับการรักษา และเข้าใจถึงค่าใช้จ่ายอยู่แล้ว ขณะที่โรงพยาบาลเองก็มีแนวทางการดำเนินการตามมาตรา 12 ของ พ.ร.บ.นี้ มาโดยตลอด ก่อนจะมีการบังคับใช้แนวทางตามกฎกระทรวงเสียอีก ซึ่งที่ผ่านมา ก็ไม่ต้องอาศัยหนังสือแสดงเจตนา แต่อาศัยการพูดคุย ความศรัทธาที่มีต่อกันระหว่างแพทย์ ผู้ป่วย และญาติ ซึ่งแพทย์จะมีการพูดคุยกับญาติอยู่แล้วว่า ผู้ป่วยป่วยด้วยโรคอะไร มีความรุนแรงแค่ไหน เป็นการปรึกษาหารือกัน ซึ่งไม่เคยมีปัญหา อย่างไรก็ตาม เมื่อมีกฎกระทรวงดังกล่าว ก็ไม่ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากนัก เพราะโรงพยาบาลมีการดำเนินการลักษณะนี้แล้ว แต่อาจติดตรงการปฏิบัติจริง ยกตัวอย่าง กรณีที่ผู้ป่วยรักษาอยู่แล้ว และประสงค์ให้ถอดเครื่องหายใจ เรื่องนี้ไม่มีแพทย์คนไหนกล้าทำ

“โรงพยาบาลเอกชน มีแนวทางดำเนินการตามมาตรา 12 มานานแล้ว โดยวิธีการปฏิบัติ ไม่ได้ทำเป็นหนังสือ แต่มีการหารือกับญาติผู้ป่วยเป็นรายๆ ไป ซึ่งแต่ละรายจะไม่เหมือนกัน แต่ทั้งหมดแพทย์ทำงานบนพื้นฐานวิชาชีพ และตามแนวทางของแพทยสภา ซึ่งในเรื่องนี้เมื่อแพทยสภา มีแนวทางให้ดำเนินการอย่างไร ก็ต้องดำเนินการตาม เป็นไปตามกระบวนที่ควรจะเป็นอยู่แล้ว” นพ.เอื้อชาติกล่าว.

ไทยรัฐ 5 สค.2554