ผู้เขียน หัวข้อ: มติ สปสช.สำรอง “ยากำพร้า” กลุ่มยาต้านพิษ(ผู้จัดการ19เมย2553)  (อ่าน 1912 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
มติ สปสช.สำรองยาที่มีอัตราการใช้ต่ำ โดยไม่มียาอื่นมาใช้ทดแทนได้ และมีปัญหาการขาดแคลน แต่มีความจำเป็นต้องใช้เพื่อวินิจฉัย บรรเทา บำบัด ป้องกัน หรือรักษาโรคที่พบได้น้อย หรือโรคที่เป็นอันตรายร้ายแรง กลุ่มยาต้านพิษ 6 รายการ ใช้งบ 5 ล้าน เป็นทุนหมุนเวียน หลังพบผู้ป่วยรับพิษจากนิคมอุตสาหกรรม-โรงงาน
       
       วันนี้ (19 เม.ย.) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.สาธารณสุข กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เรื่อง การเพิ่มการเข้าถึงยากำพร้ากลุ่มต้านพิษในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ว่า
       
       “ยา กำพร้า” หมายถึง ยาที่มีอัตราการใช้ต่ำโดยไม่มียาอื่นมาใช้ทดแทนได้ และมีปัญหาการขาดแคลน แต่มีความจำเป็นต้องใช้เพื่อวินิจฉัย บรรเทา บำบัด ป้องกัน หรือรักษาโรคที่พบได้น้อย หรือโรคที่เป็นอันตรายร้ายแรง หรือโรคที่ก่อให้เกิดความทุพพลภาพอย่างต่อเนื่อง
       
       โดยได้มีมติให้ใช้งบประมาณ 5 ล้านบาท เป็นทุนหมุนเวียน และเริ่มดำเนินการในยากลุ่มต้านพิษ 6 รายการ ในจำนวนยากำพร้ากลุ่มต้านพิษ 36 รายการ ซึ่งเป็นยาที่มีความจำเป็นต้องใช้ในกรณีฉุกเฉินอย่างทันท่วงที โดยคาดว่าจะสามารถกระจายยาไปยังโรงพยาบาลต่างๆ ภายใน 3-6 เดือน
       
       “ปัญหาที่ผ่านมา คือ ยากลุ่มดังกล่าวบริษัทผลิตยาได้กำไรน้อย จึงมีการทยอยเลิกผลิต แต่ยังมีประชาชนจำนวนหนึ่งที่ต้องการใช้ยาดังกล่าว หากไม่รับจะทำให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตได้ จึงจำเป็นต้องมีการสำรองยา โดยให้องค์การเภสัชกรรมและสภากาชาดไทยเป็นผู้จัดหา โดยการผลิตหรือนำเข้าอย่างใดอย่างหนึ่งในงบประมาณที่กำหนด ซึ่งนอกจากผู้ป่วยบัตรทองแล้ว ยังเป็นการสำรองเผื่อให้ผู้ป่วยในระบบประกันสังคม และข้าราชการได้ใช้ด้วย” นายจุรินทร์กล่าว
       
       นายจุรินทร์ กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้ ยังมีมติให้เสนอคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติพิจารณารายการยาดัง กล่าวเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติ หมวดยากำพร้า เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงยา ส่งผลให้การรักษาพยาบาลมีประสิทธิภาพ ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
       
       ผศ.สำลี ใจดี ประธานอนุกรรมการคัดเลือกยาและเวชภัณฑ์ที่จำเป็นและมีปัญหาการเข้าถึงยา กล่าวว่า ยากำพร้าที่ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน 6 รายการ ได้แก่
1.Dimercaprol inj (BAL)
2.Sodium nitrite inj
3.Sodium thiosulfate inj
4.Methylene blue inj
5.Glucagon inj
6.Succimer cap (DMSA)
ซึ่งจะใช้ในผู้ป่วยผู้ได้รับพิษในกรณีที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ ประชาชนทั่วไป เช่น ในกรณีเกิดไฟไหม้ หรืออุบัติเหตุในครัวเรือน ประชาชนที่เกิดพิษ หรือเป็นโรคจากการทำงานในภาคอุตสาหกรรม และภาคเกษตรกรรม และชุมชนในเขตนิคมอุตสาหกรรม และศูนย์อาชีวเวชศาสตร์และพิษวิทยา กระทรวงสาธารณสุขที่ตั้งขึ้น เนื่องจากปัญหามาบตาพุด