ผู้เขียน หัวข้อ: ศาลสั่งรพ.บำรุงราษฎร์จ่าย12ล.ให้"วอลเตอร์ ลี"  (อ่าน 5329 ครั้ง)

ผู้สื่อข่าว

  • Global Moderator
  • Newbie
  • *****
  • กระทู้: 12
    • ดูรายละเอียด
25 ธค. 2552 16:54 น.

    ศาลจังหวัดพระโขนง นัดอ่านคำพิพากษาคดีที่ นางประภาพร แซ่จึง และ ด.ช.ซาย เค่อ ลี หรือน้องซาย อายุ 3 ปี ภรรยาและบุตรชาย นายวอเตอร์ ลี สัญชาติมาเลเซีย ผู้ดำเนินรายการอาหารชื่อดัง เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฏร์ จำกัด (มหาชน), น.พ. เดชะพงษ์ ภู่เจริญ แพทย์สูตินารีเวช และ พ.ญ.อรชาติ อุดมพาณิชย์ แพทย์รังสีวิทยา เป็นจำเลยที่ 1-3 เรื่องละเมิดเนื่องจากกระทำการประมาท เรียกค่าเสียหาย 390,966,293 บาท กรณีเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2549 นางประภาพร ภรรยาของ นายวอลเตอร์ ลี ไปคลอดบุตรชายที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ แต่บุตรออกมาโดยมีความพิการแขนขวา และขาทั้งสองข้างขาด ทั้งที่การฝากครรภ์ แพทย์ระบุผลอัลตร้าซาวด์ว่า บุตรสมบูรณ์และแข็งแรงดี

    ศาลพิจารณาแล้ว คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า น.พ.เดชะพงษ์ และ พ.ญ.อรชาติ กระทำการละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ เห็นว่าโดยมูลเหตุที่โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยทั้งสองนั้นมาจากเหตุการอัล ตร้าซาวด์ที่จำเลยที่ 2 - 3 ไม่ได้ตรวจดูถึงความพิการของบุตรนางประภาพรขณะอยู่ในครรภ์ ทั้งที่จำเลยต้องบอกกล่าวให้โจทก์ทราบ โดยเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2549 ขณะนางประภาพรตั้งครรภ์ได้ 4-5 เดือน จำเลยที่ 2 ส่งตัวโจทก์ไปให้จำเลยที่ 3 ตรวจอัลตราซาวด์ ใช้เวลาตรวจ 5-10 นาที จำเลยที่ 3 ระบุว่าบุตรในครรภ์สมบูรณ์ดีทุกประการ หลังจากนั้นไม่มีการตรวจซ้ำอีก มีเพียงการไปพบแพทย์เพื่อตรวจการเต้นของหัวใจอีกเท่านั้น กระทั่งคลอดบุตรออกหมาแล้วมีความพิการ แขนขวา และขาทั้งสองข้างขาด ไม่มีเบ้าสะโพก

    ขณะที่จำเลยที่ 2 เบิกความว่า หลังการอัลตราซาวด์ ได้แนะนำให้โจทก์ที่ 1 กลับมาทำอัลตราซาวด์ เพื่อดูความเจริญเติบโตของทารกอีกครั้ง แต่โจทก์ไม่ทำ ซึ่งจำเลยที่ 2 รู้สึกเห็นใจต่อโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 3 เบิกความว่า ได้รับมอบหมายให้ตรวจอัลตราซาวด์ในระดับที่ 1 พบการเจริญเติบโตตามปกติ แต่รู้สึกเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นอย่างยิ่ง

    ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า บันทึกเวชระเบียนของโจทก์ที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2549 กระทั่งคลอดบุตร ไม่ปรากฏว่ามีการระบุให้โจทก์กลับมาอัลตราซาวด์ซ้ำ รวมถึงไม่ระบุถึงความพิการของทารกในครรภ์ ฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ไม่เคยอธิบาย ผลดี ผลเสีย ของบุตรในครรภ์ให้โจทก์ที่ 1 ทราบ ทั้งที่ควรตรวจถึงความพิการของทารกในครรภ์ เพื่อแจ้งให้โจทก์มีสิทธิที่จะตัดสินใจว่าจะรักษาอย่างไร เป็นความผิดฐานประมาทเลินเล่อ ละเว้นหน้าที่ที่ต้องระวัง อันเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสอง ขณะที่หากตรวจพบความพิการ การยุติครรภ์ในกรณีที่ไม่ขัดศีลธรรมสามารถทำได้ตามมติของแพทยสภา แต่ต้องขึ้นอยู่กับตัวผู้ป่วย ประกอบคำแนะนำของแพทย์ สำหรับจำเลยที่ 1 ในฐานะเป็นคู่สัญญากับโจทก์โดยตรง ก็ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 - 3 ด้วย

    ศาลกำหนดค่าเสียหายที่จำเลยทั้งสาม ต้องร่วมกันชดใช้ให้แก่โจทก์ทั้งสอง แบ่งเป็นค่าเสียหายทางจิตใจของโจทก์ที่ 1 จำนวน 1 ล้านบาท , ค่าเสียหายจากการขาดรายได้ของโจทก์ที่ 1 จำนวน 1 ล้านบาท , ค่าจ้างคนเลี้ยงดูบุตรชาย โจทก์ที่ 2 จำนวน 3 ล้านบาท , ค่าอุปกรณ์ที่ช่วยให้โจทก์ที่ 2 สามารถพยุงตัวยืนได้ ที่ต้องเปลี่ยนไปตามวัย จำนวน 5 ล้านบาท , ค่ารักษาผ่าตัดในอนาคตจำนวน 1 ล้านบาท , ค่ารักษาทางจิตใจต่อโจทก์ที่ 2 จำนวน 1 ล้านบาท โดยการกำหนดค่าสินไหมทดแทนที่ศาลกำหนด ไม่เต็มจำนวนตามที่โจทก์ฟ้องนั้น เนื่องจากการกระทำละเมิดของจำเลยทั้งสาม ไม่ได้มีเจตนาร้าย ไม่ได้ส่อไปในทางเป็นอาชญากรรม จึงให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชดใช้เงินรวมจำนวน 12 ล้านบาท แก่โจทก์ทั้งสอง พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 นับตั้งแต่วันฟ้อง

    ภายหลังนายวอลเตอร์ ลี กล่าวว่า รู้สึกดีใจที่สิทธิของคนไข้ ได้รับการเยียวยารักษา สำหรับครอบครัวตน หลังเกิดเหตุการณ์นี้ได้พาน้องชาย บุตรชายตน ไปรักษาตัวที่ประเทศเยอรมัน ซึ่งแพทย์ต่างประเทศพูดตรงกันว่าต้องให้เด็กโตก่อนจึงจะรักษาได้ ทั้งที่ความจริงแล้ว หากรู้ว่ามีปัญหาเกิดขึ้นสามารถแก้ไขได้ทันที โดยกรณีของบุตรชายตน แพทย์ประเทศเยอรมันทำขาเทียมให้ได้ทั้งที่ยังไม่มีเบ้าสะโพก ซึ่งมีค่าใช้จ่ายนับล้านบาท ขณะที่ตนเองได้ขอความร่วมมือจากแพทย์ประเทศเยอรมัน มาให้ความรู้กับแพทย์ไทย ซึ่งตนเองเห็นว่าวัสดุอุปกรณ์ที่ให้การรักษาผู้ป่วยที่พิการตั้งแต่แรกคลอด นั้น ประเทศไทยมีศักยภาพที่จะสร้างขาเทียมสำหรับเด็กแรกคลอดที่ช่วยพยุงตัวได้ โดยมีราคาถูกกว่า ซึ่งแพทย์เยอรมันก็ยินดีที่จะสอนให้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย โดยมูลนิธิซาย มูฟเม้นท์ เป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างแพทย์ไทย - ประเทศเยอรมัน ซึ่งเชื่อว่าจะเกิดประโยชน์ต่อเด็กพิการตั้งแต่กำเนิดอีกจำนวนมากในประเทศ รวมไปถึงในแถบภูมิภาค สำหรับเรื่องอุทธรณ์ ต้องไปปรึกษากับทนายความและครอบครัวอีกครั้งว่าจะยื่นอุทธรณ์หรือไม่ ขณะที่ผู้พิการเป็นคนที่มีสมอง มีหัวใจ เพราะฉะนั้นการรักษาทางจิตใจเป็นเรื่องที่สำคัญ สังคมต้องเปิดโอกาสให้ผู้พิการสามารถใช้ชีวิตร่วมกับคนในสังคมได้ตามปกติ ” นายวอเตอร์ ลี กล่าวและว่า ตัวอย่างประเทศออสเตรเลีย มีการจัดให้เด็กพิการเรียนร่วมกับเด็กปกติในทุกๆห้องเรียน ทำให้เด็กพิการไม่คิดว่าตัวเองผิดปกติแต่อย่างใด เพราะสามารถใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่นได้ โดยที่คนรอบข้างไม่ต้องกังวลว่าจะอยู่กับคนพิการอย่างไร

somnuk

  • Staff
  • Newbie
  • ****
  • กระทู้: 48
    • ดูรายละเอียด
Re: ศาลสั่งรพ.บำรุงราษฎร์จ่าย12ล.ให้"วอลเตอร์ ลี"
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 28 ธันวาคม 2009, 16:13:35 »
ไม่ทราบว่า ตั้งครรภ์ 4-5 เดือน จะมองเห็นความพิการหรือเปล่า หมอสูติ หรือหมอเอ็กซเรย์ ว่าไงบ้าง

อ้างถึง
ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า บันทึกเวชระเบียนของโจทก์ที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2549 กระทั่งคลอดบุตร ไม่ปรากฏว่ามีการระบุให้โจทก์กลับมาอัลตราซาวด์ซ้ำ รวมถึงไม่ระบุถึงความพิการของทารกในครรภ์ ฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ไม่เคยอธิบาย ผลดี ผลเสีย ของบุตรในครรภ์ให้โจทก์ที่ 1 ทราบ ทั้งที่ควรตรวจถึงความพิการของทารกในครรภ์ เพื่อแจ้งให้โจทก์มีสิทธิที่จะตัดสินใจว่าจะรักษาอย่างไร เป็นความผิดฐานประมาทเลินเล่อ ละเว้นหน้าที่ที่ต้องระวัง

อ่านตามข่าวแล้ว เข้าใจว่า ศาลใช้หลักฐานเป็น เวชระเบียน บอกว่าไม่ได้บันทึกไว้ (ว่าให้มา u/s ซ้ำ)

นี่เป็นความสำคัญของเวชระเบียนที่เราได้พยายามย้ำกันบ่อยๆ มีอะไร ก็บันทึกไว้ด้วยนะครับ

เป็นความผิด ฐานประมาทเลินเล่อ ละเว้นหน้าที่ที่ต้องระวัง