ผู้เขียน หัวข้อ: ข้อเสนอแนวคิดการจ่ายค่าตอบแทนตามภาระงาน P4P จากสมาพันธ์ฯ  (อ่าน 8292 ครั้ง)

pradit

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 322
    • ดูรายละเอียด

การประชุมเชิงปฏิบัติการการจ่ายค่าตอบแทนตามภาระงาน และผลการปฏิบัติงาน
เมื่อวันที่ ๒๗ กค. ๒๕๕๔ ที่ผ่านมา ณ โรงแรมหลุยส์ แทร์เวิร์น เนื้อหาที่สำคัญ คือ

๑. ระเบียบการจ่ายค่าตอบแทน ฉบับ ๔, ๖ และ ๗ จะไม่มีการนำมาใช้อีกในปีงบประมาณ ๒๕๕๕(รองปลัดกระทรวงฯยืนยัน)
๒. การร่างระเบียบฉบับใหม่มาใช้แทนจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น และเร่งด่วน(ที่ประชุม)
๓. มีการตั้งคณะทำงานของกระทรวงฯขึ้นมาศึกษารูปแบบการจ่ายค่าตอบแทนทั้งในส่วนพื้นที่พิเศษและความขาดแคลน และ การจ่ายแบบ P4P(แล้ว)
๔. ชมรม รพศ./รพทฯจะตั้งคณะทำงานศึกษารูปแบบการจ่ายแบบ P4P เพื่อนำเสนอกระทรวงฯ(ด้วย)

การจ่ายค่าตอบแทนหลายรูปแบบ
๑.เอกชน ๒.กึ่งเอกชน ๓.รูปแบบ(ที่คิดมา)นำเสนอ

รูปแบบที่มีการใช้แล้ว และรูปแบบที่คิดค้นขึ้น
๑.การนำเสนอรูปแบบการจ่ายค่าตอบแทนหลายรูปแบบจากโรงเรียนแพทย์ ม.สงขลาฯ และม.ศรีนครินทรวิโรฒ
๒.การนำเสนอรูปแบบการจ่ายค่าตอบแทนหลายรูปแบบจากรพ.พุทธชินราช , รพ.เชียงราย และรพ.มะการักษ์
แต่ละรูปแบบต่างก็มีจุดเด่นจุดด้อย และอุปสรรคความยุ่งยาก รวมทั้งข้อควรระวังแตกต่างกันไป

คำซุบซิบของผู้เข้าร่วมประชุม
มีการตั้งธงไว้แล้วว่า (รูปแบบที่คิดขึ้นมา)จะให้มีค่าตอบแทนใกล้เคียงกับของเดิม ทั้งกลุ่มรพศ/รพท.(ฉบับ๗)และกลุ่มรพช.(ฉบับ๔)

นี่เป็นโอกาสทองที่กระทรวงสาธารณสุขจะยกเครื่อง เปลียนแปลง แก้ไขปัญหา
แต่กลัวผู้บริหารจะใช้(โอกาสนี้)ไม่เป็น

เรื่องนี้ถ้าทำดีก็เลิศ ถ้าไม่ดีก็แตกกันเละ

............................................................................................

จะอย่างไรก็ตาม แนวคิดและหลักการเรื่องนี้(P4P) น่าจะอยู่ในคำสำคัญที่ขีดเส้นใต้
การจ่ายค่าตอบแทนตามภาระงาน และผลการปฏิบัติงาน
โดยการพิจารณาอย่างเป็นระบบเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม และทั่วถึง
การพิจารณารูปแบบจึงควรดูเป็นประเด็นๆที่สำคัญ
๑. ภาระงาน
เครื่องมืออะไร? ที่จะใช้วัดภาระงานที่ยอมรับกันได้  เท่าที่เห็น ก็คือ การรวบรวมภาระงานเป็นคะแนน(Relative Weight--RW) โดยมีการถ่วงน้ำหนักจากการอิงค่ามาตรฐาน(ที่ผ่านการคิดค้นและการใช้มาแล้ว)อยู่ ๒ มาตรฐาน คือ DRG(Diagnosis Related Groups) และ DF(ค่าธรรมเนียมแพทย์ของแพทยสภา)

๒. Threshold
เครื่องมืออะไร? ที่จะใช้กำหนดจำนวนภาระงานพื้นฐาน(ภาระงานที่เกินพื้นฐานถือเป็นภาระงานส่วนเกิน) เท่าที่นำเสนอกันมา ก็คือ เงินเดือน(บวก-ลบ เงิน พตส. เงินไม่ปฏิบัติเวช.นอกรพ. หรือเงินประจำตำแหน่ง)

๓. การเปลี่ยนภาระงานส่วนเกินเป็นเงินค่าตอบแทน
การเปลี่ยนหน่วยคะแนนเป็นเงินบาท จะใช้อัตราเท่าไหร่กัน?

๔. จำนวนเงินในการจ่ายค่าตอบแทนปลายปิด หรือปลายเปิด
ถ้าเอาความเป็นธรรมเป็นที่ตั้งปลายแบบไหนที่จะเหมาะสม?

๕. ระบบการจ่ายเงินค่าตอบแทน แยกเป็นส่วน หรือครอบคลุมทั้งระบบ
ถ้าคิดแยกกันเป็นของรพช.คิดโดยฐานแบบหนึ่ง รพศ/รพท.ก็คิดอีกรูปแบบหนึ่ง หรือทุกภาคส่วนใช้ฐานเดียวกัน แบบไหนจะเป็นธรรม และเหมาะสม? การแบ่งแยกบุคลากรเป็นกลุ่มรพช.กลุ่มรพศ/รพท.ควรจะได้มีหรือไม่?

*การที่ได้ความเห็นร่วมในแต่ละประเด็นก่อน แล้วนำมารวบรวมคิดเป็นรูปแบบน่าจะมีความขัดแย้งน้อยลง และได้รับการยอมรับมากขึ้น

**ถ้าเริ่มต้นด้วยการเอาข้อจำกัดในปัจจุบัน(ซึ่งเป็นผลจากอดีต)มาเป็นปัจจัยในการคิดรูปแบบที่จะใช้ในอนาคต เราก็คงได้อนาคตที่ไม่ต่างจากอดีตสักเท่าไหร่

***ถ้าวัตถุประสงค์ของการจ่ายค่าตอบแทนตามภาระงาน จะมีเพื่อแก้ไขปัญหาหลายๆเรื่องของระบบสาธารณสุขของเรา การยอมรับความจริงและความกล้าหาญเท่านั้นที่ทำให้เกิดความสำเร็จ


today

  • Staff
  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 263
    • ดูรายละเอียด
ต้องช่วยกันทำ P4P เพื่อชี้วัดถึงภาระงาน
ไม่ใช่เป็นเครื่องมือผู้บริหารในการสั่งให้แพทย์ทำในสิ่งที่เขาต้องการ

seeat

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 470
    • ดูรายละเอียด
ถ้าปัญหาใหญ่ปัญหาหนึ่งของระบบสาธารณสุขของไทย คือ ปัญหาด้านบุคลากร ที่ขาดทั้งปริมาณ และขาดขวัญกำลังใจ การใช้การจ่ายค่าตอบแทนที่เพียงพอและเป็นธรรมจะช่วยแก้ปัญหาไปได้เยอะ

แนวคิดจ่ายค่าตอบแทนตามภาระงาน ที่จะมีขึ้น ต้องเป็นแนวคิดที่สามารถตอบโจทย์เรื่องบุคลากรได้
1. ต้องไม่ใช่แค่เครื่องมือของผู้บริหารเท่านั้น
2. ต้องไม่ใช่แค่สร้างความเป็นธรรมภายในโรงพยาบาลเท่านั้น
3. ต้องไม่ใช่แค่สร้างความเป็นธรรมภายในวิชาชีพใดวิชาชีพหนึ่ง
4. ต้องไม่สร้างหรือเพิ่มความขัดแย้งระหว่างบุคลากรด้วยกันเอง
5. ต้องไม่สร้างหรือเพิ่มความเสี่ยงต่อมาตรฐานวิชาชีพ และจริยธรรม
6. ต้องสะท้อนภาพความเป็นจริง

การออกแบบระบบการจ่ายความตอบแทนตามภาระงานที่ดี จะช่วยในเรากระโดดข้ามปัญหาต่างๆที่เราสะสมมาอย่างยาวนานในระบบสาธารณสุขของเรา การคิดเพียงแค่ให้ได้ระบบการจ่ายค่าตอบแทนอันใหม่มาแทนอันเก่าโดยไม่สามารถตอบโจทย์ได้ ก็เป็นเพียงการก้าวไปอีกก้าวในโคลนตมของปัญหา กระทรวงสาธารณสุขก็ยังคงต้องเลอะเทอะกันต่อไป  มันน่าเสียดาย.....