ผู้เขียน หัวข้อ: เตรียมชง รมว.สธ.ใหม่แก้ประกาศ เรื่องสิทธิการตาย 4 ข้อหลัก  (อ่าน 1500 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9755
    • ดูรายละเอียด
คณะอนุ กก.สิทธิการตายแพทยสภา  เตรียมชง รมว.สธ.ใหม่แก้ประกาศ สช.-กฎกระทรวง เรื่องสิทธิการตาย 4 ข้อหลัก ขีดเส้นใต้ ต้องตัดคำว่า “กรุณาหยุดการบริการพร้อมให้คำนิยามวาระสุดท้ายของชีวิตใหม่   
                 
       ศ.คลินิก นพ.อำนาจ กุสลานันท์ นายกแพทยสภา ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการศึกษารายละเอียดและกำหนดแนวทางดำเนินการเกี่ยวกับ กฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 12 แห่ง พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 และประกาศสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) เกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต หรือสิทธิการตาย กล่าวว่า  จากการประชุมคณะอนุกรรมการฯ  นั้นที่ประชุมเห็นพ้องร่วมกัน ใน 4 ข้อหลัก คือ

1.การกำหนดวาระสุดท้ายของชีวิต ตามกฎกระทรวงเขียนไว้ค่อนข้างกว้าง อาจจะมีปัญหาหาในทางปฏิบัติ แพทยสภาจึงจะเป็นผู้กำหนดนิยามของคำว่าวาระสุดท้ายของชีวิต โดยจะเชิญทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และราชวิทยาลัยต่างๆ มาประชุมหารือร่วมกัน เพื่อให้ความหมายของคำว่าวาระสุดท้ายของชีวิตถูกต้องตามเจตนารมณ์ใน พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 อย่างแท้จริง 

2.สถานที่ในการทำหนังสือแสดงเจตนาฯ ซึ่งเดิมระบุให้ทำที่ใดก็ได้ แต่ที่ประชุมเสนอให้มีการทำหนังสือได้ในสถานที่ 4 แห่งเท่านั้น คือ โรงพยาบาลที่คนไข้รักษาตัว สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอและสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
       
3.ตามตัวอย่างหนังสือแสดงสิทธิดังกล่าวนั้น ระบุว่า ให้แพทย์กรุณาหยุดการบริการ ซึ่งในทางปฏิบัติคงไม่แพทย์คนใดกล้าดำเนินการ เพราะเท่ากับทำให้ผู้ป่วยตาย  และ

4.ต้องตัดคำว่า “กรุณาหยุดการบริการ” ออกไป  ทั้งหมดนี้จะดำเนินการขอแก้ไขในกฎกระทรวง ประกาศ สช.และอาจรวมถึง พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 โดยจะนำเสนอต่อรัฐมนตรีว่ากระทรวงสาธารณสุข (รมว.สธ.) เพื่อดำเนินการต่อไป
       
       นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ เลขาธิการแพทยสภา กล่าวว่า การที่จะต้องตัดคำว่า “กรุณาหยุดการบริการ” ออกไป เนื่องจากแพทย์เมื่อแพทย์ได้ทำหัตถการใดกับผู้ป่วยแล้ว เช่น ใส่เครื่องช่วยหายใจ แพทย์ไม่สามารถดำเนินการถอดเพื่อให้คนไข้ตายเร็วขึ้น เพราะแม้แพทย์ไม่ถอดคนไข้ก็จะเสียชีวิตอยู่แล้ว ทั้งนี้ การถอดเครื่องช่วยหายใจจะทำได้ใน 2 กรณีเท่านั้น คือ ผู้ป่วยเสียชีวิตและผู้ป่วยอาการดีขึ้น

ASTVผู้จัดการออนไลน์    2 สิงหาคม 2554