ผู้เขียน หัวข้อ: แพทยสภาแนะควรชะลอ'สิทธิการตาย'นัดถก14กค.  (อ่าน 1781 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9759
    • ดูรายละเอียด
แพทยสภาชี้ควรชะลอ "สิทธิการตาย" ยังคงมีการกำหนดวิธีการที่ไม่ชัดเจนในการปฏิบัติจริง และอาจก่อให้เกิดปัญหาตามมาได้ ยันไม่ได้ขวาง นัดถก 14 ก.ค.นี้...

เมื่อวันที่ 13 ก.ค.สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย เครือข่ายพุทธิกา และศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริยศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดราชดำเนินเสวนา "สิทธิการตายอย่างสงบ ทางเลือกอันชอบธรรมของผู้ป่วย" นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา  กล่าวว่า การกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่ เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย พ.ศ.2553  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกฎกระทรวงตามมาตรา 12 พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ซึ่งยังคงมีการกำหนดวิธีการที่ไม่ชัดเจนในการปฏิบัติจริง และอาจก่อให้เกิดปัญหาตามมาได้ โดยเฉพาะการกำหนดว่าให้แพทย์ทำหน้าที่ถอดสายท่อ ในผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่แสดงความไม่ประสงค์รับการรักษาด้วยเครื่องมือแพทย์ ต่างๆ ซึ่งในความเป็นจริงไม่มีแพทย์คนใดอยากทำ ไม่ใช่กลัวถูกฟ้องร้อง แต่เป็นเรื่องของมนุษยธรรม

"แพทยสภาไม่ได้ขัดขวางการสิทธิดังกล่าว แต่ไม่เห็นด้วยในวิธีการปฏิบัติ ซึ่งขัดกับความเป็นจริง และเข้าข่ายขัดกับ พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 ที่กำหนดชัดเจนให้แพทย์ต้องทำการรักษาให้ดีที่สุด แต่การ Un Plug เป็นการผลักภาระให้แพทย์ ซึ่งไม่ถูกต้อง กฎกระทรวงดังกล่าวจึงเป็นการออกแบบการตาย ทั้งๆ ที่ไม่มีใครรู้ว่าจะตายอย่างไร" นพ.เมธี กล่าว

อย่างไรก็ดี เรื่องนี้ควรชะลอไปก่อน ส่วนจะมีการฟ้องศาลปกครองในการออกกฎกระทรวงเกินขอบเขตของมาตรา 12 นั้นต้องรอผลการประชุมของคณะกรรมการแพทยสภาในวันที่ 14 ก.ค.นี้.

ไทยรัฐ 14 กค 2554

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9759
    • ดูรายละเอียด
Re: แพทยสภาแนะควรชะลอ'สิทธิการตาย'นัดถก14กค.
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 14 กรกฎาคม 2011, 21:51:12 »
สช.ตอกแพทยสภา ยันมีส่วนร่วม “สิทธิการตาย”

สช.ตอกกลับแพทยสภา ชี้ มีส่วนร่วมในการออกกฎกระทรวง สิทธิการตาย ทุกกระบวนการ
       
       วันนี้ (14 ก.ค.) นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) กล่าวถึงประเด็นเรื่องกฎกระทรวงหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุข ที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย พ.ศ.2553 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกฎกระทรวงตามมาตรา 12 พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 หรือหนังสือแสดงสิทธิการตาย ว่า จากกรณีที่ตัวแทนแพทย์ซึ่งอ้างชื่อในนามองค์กรแพทยสภา ว่า สช.ไม่เคยรับฟังแพทยสภาในการออกกฎกระทรวงดังกล่าวนั้น สช.ขอชี้แจงว่า ไม่เป็นความจริง เพราะที่ผ่านมา แพทยสภามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นมาโดยตลอด และตลอดการประชุมของคณะกรรมการกฤษฎีกาทั้ง 7 ครั้ง ก็มีการเชิญแพทยสภาเข้าร่วมทุกครั้งพร้อมๆกับหน่วยงานอื่นๆ อีก 7 หน่วยงาน ได้แก่ 1. กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กระทรวงยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานอัยการสูงสุด กรมการแพทย์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ และ สช.ซึ่งในส่วนแพทยสภาเองเคยมีการส่งหนังสือชี้แจงรายละเอียดต่อเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้วตั้งแต่วันที่ 12 ม.ค.2553 ตามหนังสือเลขที่ พส.010/21
       
       “ในการประชุมพิจารณากฎกระทรวงนั้น คณะกรรมการกฤษฎีมีการนำข้อเสนอของแพทยสภามาพิจารณาใน 3 ประเด็น ได้แก่

1.ขอให้นิยามคำว่า “วาระสุดท้ายของชีวิต” ซึ่งในส่วนนี้เป็นหน้าที่แพทย์ที่จะวินิจฉัย แต่เนื่องจากแพทยสภามีการเสนอให้ปรับเปลี่ยนคำนิยามจากแพทย์ผู้ทำการตรวจรักษา เป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมผู้รับผิดชอบการรักษา คณะกรรมการจึงดำเนินการตามข้อเสนอแนะ
2.แพทยสภาเสนอให้มีการเพิ่มเติมถ้อยคำจากที่มีระบุให้ญาตินำหนังสือแสดงเจตนารมณ์มายื่นกับแพทย์นั้นให้เพิ่มว่า “ให้ถือหนังสือแสดงเจตนารมณ์ฉบับหลังสุด มายื่นกับแพทย์เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่า ควรยึดหนังสือฉบับใด และ
3.กรณีที่แพทยสภาเสนอให้มีการทำหนังสือแสดงเจตนารมณ์ที่ สำนักเขต สำนักงานอำเภอ และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเท่านั้น ยกเว้นผู้ป่วยอยู่ในโรงพยาบาลจะต้องให้แพทย์พิจารณา ว่า ต้องทำหนังสือที่ใด แต่คณะกรรมการเห็นว่า สภาพสังคมไทยไม่เหมาะสม จึงไม่ได้แก้ไข ซึ่งการดำเนินการทุกอย่างนั้น แพทยสภารับรู้ทุกกระบวนการ จึงไม่เข้าใจว่าทำไมวันนี้ยังมีแพทย์พยายามจะให้ชะลอกฎกระทรวงฯ ทำไม” นพ.อำพล กล่าว
       
       นพ.อำพล กล่าวด้วยว่า จาการที่ตนเคยมีการเข้าไปคุยกับ นายกแพยสภา ครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 9 มิ.ย.ที่ผ่านมานั้น ก็ดูท่าว่าเห็นด้วยอยู่แล้ว ดังนั้น วันนี้ สช.จึงได้นำเอกสารต่างๆ ที่แสดงถึงกระบวนการพิจารณากฎกระทรวงที่แพทยสภามีส่วนร่วมมานำเสนอ และในวันที่ 2 ส.ค.นี้จะมีการประชุมชี้แจงรายละเอียดดังกล่าวแกบุคลากรที่สนใจอีกครั้ง
       
       ผู้สื่อข่าวถามว่า หากที่ประชุมคณะกรรมการบริหารแพทยสภา มีมติว่าจะฟ้องศาลปกครองเพื่อชะลอการบังคับใช้กฎกระทรวงจริงๆ สช.จะดำเนินการอย่างไร นพ.อำพล กล่าวว่า ก็คงทำได้แค่ชี้แจงเท่านั้น แต่แค่อยากให้ทบทวนความจำขององค์กรเท่านั้น และอยากแนะนำว่า ทางที่ดีควรไปทำหน้าที่ตามที่องค์กรเสนอมาจะดีกว่า
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันเดียวกันเวลา 13.00 น. แพทยสภามีการจัดประชุมคณะกรรมการแพทยสภาเกี่ยวเรื่องหนังสือแสดงสิทธิการตาย โดย ศ.คลินิก นพ.อำนาจ กุสลานันท์ ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมว่า แพทยสภาจะยังไม่ดำเนินการฟ้องศาลปกครองเพื่อชะลอผลบังคับใช้กฎกระทรวงฯ แต่จะมีการตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพพิจารณาเฉพาะ โดยมี
       
       แพทยสภาเป็นเจ้าภาพ และจะเชิญตัวแทนจากหน่วยงานต่างๆ อาทิ เลขาธิการ สช. เจ้ากรมแพทย์ ตัวแทนจาก สธ. คณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ เข้าร่วมด้วย เพื่อจะได้แก้ปัญหาต่อไป อย่างไรก็ตาม แพทยสภาเห็นด้วยกับ มาตรา 12 ตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ ฯ อยู่แล้ว แต่ยังต้องการให้มีการปรับแก้บางจุดเท่านั้น
       
       ด้าน พญ.ประสบศรี อึ้งถาวร อุปนายกแพทยสภา กล่าวว่า สำหรับประเด็นปัญหาที่ยังเป็นข้อถกเถียงกันนั้นไม่ใช่แค่ คำจำกัดความคำว่า "วาระสุดท้ายของชีวิตเท่านั้น" แต่ยังจำเป็นต้องปรับปรุง ขยายความ คำนิยามอื่นๆ ด้วย เช่น คำว่า "การทรมานจากการเจ็บป่วย" ต้องตีความออกมาให้ได้ว่า ความเจ็บป่วย หรือ เจ็บปวดของผู้ทำหนังสือแสดงสิทธิการตายนั้น หมายถึงอะไรบ้าง แล้วหากต้องยุติความทุกข์ทรมานดังกล่าว จะต้องดูความทรมานส่วนใดบ้างจึงจะเรียกว่า วาระสุดท้ายของชีวิต เพราะบางครั้ง แพทย์ต้องพิจารณาและวินิจฉัยโรคที่แตกต่างกันไป ซึ่งวาระสุดท้ายของโรคแต่ละชนิดย่อมต่างกันโดยธรรมชาติอยู่แล้ว ดังนั้นการที่ สช.จะออกมาระบุว่า แพทยสภาไม่ยอมทำหน้าที่ในการกำหนดนิยาม ความหมาย คำว่า วาระสุดท้ายนั้น ก็ต้องชี้แจงว่า ไม่สามารถทำได้ในขณะนี้ เนื่องจากภาพรวมของกฎกระทรวงยังไม่เรียบร้อย
       
       "แพทยสภาเห็นด้วยในหลักการของการมีกฎหมายเรื่องสิทธิปฏิเสธการรักษาของผู้ป่วย เพื่อรักษาผลประโยชน์และชีวิตของประชาชน แพทยสภามีความคิดเห็นเพิ่มเติม เช่น รายละเอียดของกฎกระทรวงบางประเด็น อาจทำให้เกิดการเสียชีวิตของผู้ป่วยโดยไม่สมควร เช่น การยุติการรักษาในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับความทรมานทางกายหรือใจ โดยที่ผู้ป่วยยังมิได้อยู่ในวาระสุดท้ายของโรคจริง แนวทางการปฏิบัติของสำนักงานสุขภาพแห่งชาติบางประเด็น อาจเป็นการออกคำสั่งที่เกินกว่าอำนาจที่พรบ.ให้ไว้ เช่น การบัญญัติให้ผู้ประกอบวิชาชีพถอดถอน(Withdraw) การรักษาผู้ป่วย ซึ่งอาจขัดกับความเชื่อทางศาสนาของผู้ปฏิบัติงาน และอาจขัดต่อศีลธรรมหรือมโนธรรมของผู้ปฎิบัติงาน" พญ.ประสบศรี กล่าว
       
       อุปนายก กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตามขอให้แพทย์ที่ได้รับหนังสือแสดงสิทธิการตาย นั้นดำเนินการตามประกาศของแพทยสภาไปก่อน ในระหว่างที่รอการประชุมหารือของคณะอนุกรรมการ ต่อไป

ASTVผู้จัดการออนไลน์    14 กรกฎาคม 2554