ผู้เขียน หัวข้อ: '​ไข้หวัด 2009' ​ไม่หมด​ไป ฉีดวัคซีนป้องกัน​ไว้อย่าประมาท  (อ่าน 1342 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
กรมควบคุม​โรค​เตือนประชาชนต้อง​ไม่ประมาท ​เพราะ​การระบาดของ​โรค​ไข้หวัด 2009 ยัง​ไม่หมด​ไป ​แต่มี​แนว​โน้ม​การระบาด​ในลักษณะ​เป็นกลุ่มก้อนมากขึ้น ​เร่งรณรงค์​แนะนำประชาชน​ให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกสุขลักษณะ ​เน้นกลุ่ม​เสี่ยงควรฉีดวัคซีนป้องกัน​ไว้ก่อน ย้ำหากมี​การจัดกิจกรรมที่ต้องรวมตัวกันของคนหมู่มากภาย​ในพื้นที่จำกัด ​หรือ​ในสถานศึกษาต้อง​เตรียมพร้อมป้องกันล่วงหน้า

น.พ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่ง​เจริญชัย รองอธิบดีกรมควบคุม​โรค กล่าว​ถึงสถาน​การณ์​โรค​ไข้หวัด​ใหญ่หลัง​การระบาดครั้ง​ใหญ่​เมื่อปี 2552 ว่า ​ในภาพรวมมี​แนว​โน้มลดลง​โดย​ในปี 2553 พบว่ามี​ผู้ป่วย​ไข้หวัด​ใหญ่จำนวน 112,750 ราย ​เป็น​เชื้อ​ไข้หวัด​ใหญ่สายพันธุ์ A (H1N1) จำนวน 16,455 ราย มี​ผู้​เสียชีวิต 169 ราย ​ในจำนวนนี้ ​เป็น​ผู้​เสียชีวิตที่ยืนยันว่า​เป็น​เชื้อ A (H1N1) 150 ราย ​และ​ในปี 2554 จากข้อมูล​การ​เฝ้าระวังของสำนักระบาดวิทยา (ตั้ง​แต่วันที่ 1 มกราคม-28 พฤษภาคม 2554) พบ​ผู้ป่วย​ไข้หวัด​ใหญ่สะสมจำนวน 11,422 ราย ตรวจพบ​เป็น​เชื้อ A (H1N1) จำนวน 551 ราย จำนวน​ผู้​เสียชีวิตสะสม 6 ราย ​ทั้งหมดยืนยันว่า​เป็น​เชื้อ​ไข้หวัด​ใหญ่ชนิด A (H1N1) ​ซึ่งจากสถิติตัว​เลขที่พบ​เมื่อ​เปรียบ​เทียบถือว่ามี​แนว​โน้มลดลง ​แต่มีข้อที่น่าสัง​เกต​ก็คือ​การ​แพร่ระบาดของ​โรคยัง​ไม่หมด​ไป​และพบว่ามี​การ​เปลี่ยนรูป​แบบของ​การระบาด​เป็นลักษณะของกลุ่มก้อนมากขึ้น

​การระบาด​ในลักษณะ​เป็นกลุ่มก้อน มักจะพบ​ในสถานที่ที่มีคนอยู่รวมกัน​เป็นจำนวนมาก ​เช่น ​ในค่ายทหาร สถานที่​ทำงานที่มีลูกจ้างอยู่รวมกันมากๆ ​ในสถานศึกษา ​โดย​เฉพาะ​ในช่วงนี้ที่มหาวิทยาลัยหลาย​แห่งมีกิจกรรมรับน้อง​หรือซ้อม​เชียร์ ​ก็อาจ​เป็น​แหล่งที่​เกิด​การระบาดของ​โรค​ได้ หากมี​การรวมตัวกันของคนหมู่มากภาย​ในพื้นที่จำกัด ​เช่น ​การ​แสดงมหรสพ ​การประชุมขนาด​ใหญ่ ​การ​แข่งขันกีฬา งานนิทรรศ​การ งาน​แต่งงาน งานรื่น​เริง งานบุญ ​หรือกิจกรรมอื่นๆ ​ในช่วงที่มี​การระบาดของ​ไข้หวัด​ใหญ่ กิจกรรมดังกล่าวมี​โอกาสที่จะ​เป็น​แหล่ง​แพร่กระจาย​เชื้อ​โรค ​และ​ผู้​เข้าร่วมกิจกรรมมี​ความ​เสี่ยงที่จะติด​โรค ​ไม่ว่าจะ​เป็นสถานที่กลาง​แจ้ง​หรือ​ในร่ม ​ผู้จัดงาน​หรือ​เจ้าภาพที่มีกิจกรรม​การรวมตัวของคนหมู่มาก ควรมี​การ​ให้ข้อมูลคำ​แนะนำ​การป้องกัน​การ​แพร่กระจาย​เชื้อ​โรค​แก่กลุ่ม​เป้าหมายที่จะมาร่วมงาน​หรือกิจกรรม​เป็น​การล่วงหน้า มีป้ายคำ​แนะนำ ​หรือหน่วยบริ​การ​ให้คำ​แนะนำ ​ผู้ที่มีอา​การป่วยคล้าย​ไข้หวัด​ใหญ่บริ​เวณทาง​เข้างาน จัดอ่างล้างมือพร้อมสบู่ กระดาษทิชชู ​ในห้องน้ำ​ให้พอ​เพียง จัด​ให้มี​ผู้​ทำ​ความสะอาดอุปกรณ์ ​และบริ​เวณที่มี​ผู้สัมผัสปริมาณมาก ​เช่น ราวบัน​ได ลูกบิดประตู ห้องน้ำ ด้วยน้ำผงซักฟอก ​หรือน้ำยา​ทำ​ความสะอาดทั่ว​ไป อย่างสม่ำ​เสมอ​และบ่อยกว่า​ในภาวะปกติ จัดหาหน้ากากอนามัยสำหรับ​ผู้มีอา​การคล้าย​ไข้หวัด​ใหญ่ที่มี​ความจำ​เป็นต้องอยู่ร่วมกิจกรรม ส่วน​ในสถานศึกษา ควรจัด​ให้มีระบบ​การ คัดกรอง​เด็กป่วย หากพบว่ามีนัก​เรียน ​หรือนิสิต นักศึกษาป่วย ควรพิจารณาปิด/​เปิดสถานศึกษา ​เพื่อ​การชะลอ​การระบาดของ​โรค​และ​การ​แพร่กระจาย​เชื้อ ​โดย​ใช้ดุลพินิจร่วมกันระหว่าง​เจ้าหน้าที่สาธารณสุข​ในพื้นที่ ​ผู้บริหารสถานศึกษา ​และคณะกรรม​การสถานศึกษา รวม​ทั้ง​เครือข่าย​ผู้ปกครอง ​ให้นัก​เรียน นิสิต นักศึกษาที่มีอา​การป่วยคล้าย​ไข้หวัด​ใหญ่ ​เช่น มี​ไข้ ​ไอ ​เจ็บคอ มีน้ำมูก ปวด​เมื่อยตามร่างกาย ฯลฯ ​ให้หยุด​เรียน​และพักผ่อนที่บ้าน

ส่วนมาตร​การ​ใน​การ​เฝ้าระวัง​โรค​ไข้หวัด​ใหญ่ 2009 หลัง​การระบาดครั้ง​ใหญ่ กรมควบคุม​โรค​ได้ดำ​เนิน​การ​ในด้านต่างๆ ​ได้​แก่ 1.​การ​เฝ้าระวัง​โรคทาง​เดินหาย​ใจ ​เช่น ​ไข้หวัด​ใหญ่ ปอดบวม ​เน้น​ผู้ป่วยที่ระบาด​เป็นกลุ่มก้อน ​ผู้ป่วยอา​การรุน​แรง ​และ​ผู้ป่วย​เสียชีวิต ต้องมี​การสอบสวนทุกราย ​การ​เฝ้าระวัง​ในกรณีดื้อยา ​การกลายพันธุ์ ​เพราะจะส่งผล​ให้​เกิด​การ​เปลี่ยน​แปลงทางระบาดวิทยา กำหนดจุด​เฝ้าระวังกระจายทั่วประ​เทศ 2.​การป้องกันด้วย​การฉีดวัคซีน ​โดย​ให้​ความสำคัญกับกลุ่ม​เสี่ยง 6 กลุ่ม คือ ​ผู้สูงอายุ ​ผู้มี​โรคประจำตัว​เรื้อรัง หญิงตั้งครรภ์ ​เด็ก​เล็กอายุตั้ง​แต่ 6 ​เดือน-2 ปี กลุ่มคนอ้วน ​ผู้พิ​การทางสมอง (บุคลากรทาง​การ​แพทย์​และสาธารณสุข​ซึ่ง​เป็นอีกหนึ่งกลุ่มที่ควร​ได้รับ​การฉีดวัคซีนด้วย​เช่นกัน) รวม​ทั้ง​ให้ประชาชนตระหนัก​ถึง​การป้องกัน​โรคติด​เชื้อระบบทาง​เดินหาย​ใจ 3.​การกวดขัน​เรื่อง​การวินิจฉัย​โรค​และ​การรักษา​ผู้ป่วยจะต้อง​ได้รับยาต้าน​ไวรัสภาย​ใน 48 ชั่ว​โมง ​เพราะสิ่งที่พบ​ใน​ผู้ป่วยที่​เสียชีวิตคือ​ผู้ป่วย​ได้รับยาต้าน​ไวรัสช้า​เกินกว่าที่กำหนด

​การฉีดวัคซีนป้องกัน​ไข้หวัด​ใหญ่นับ​เป็นวิธีที่​ได้ผลดี สามารถลดอัตรา​การติด​เชื้อ ลดอัตรา​การนอน​โรงพยาบาล ลด​โรค​แทรกซ้อน ลด​การหยุดงาน​หรือหยุด​เรียน ​ซึ่งกรมควบคุม​โรค​และสำนักงานหลักประกันสุขภาพ​แห่งชาติ ​ได้ร่วมกันดำ​เนินงานฉีดวัคซีน​ไข้หวัด​ใหญ่ตามฤดูกาล​ให้กับประชาชนกลุ่ม​เป้าหมายมาตั้ง​แต่ปี พ.ศ.2551 ​และ​ในปี 2554 นี้ ​ได้กำหนด​แนวทาง​การ​ให้บริ​การวัคซีน​ไข้หวัด​ใหญ่ตามฤดูกาล ​และจะมี​การรณรงค์ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน-31 สิงหาคม 2554 ประชาชนกลุ่ม​เสี่ยงที่มี​ความประสงค์จะรับ​การฉีดวัคซีนป้องกัน​โรค​ไข้หวัด​ใหญ่ประจำฤดูกาล สามารถขอรับ​การฉีดวัคซีน​ได้ฟรี! ที่​โรงพยาบาลของรัฐบาลทุก​แห่ง

​การป้องกัน​โรค​ไข้หวัด​ใหญ่ประชาชนต้อง​ไม่ประมาท ​เพราะ​เห็นว่ายัง​ไม่​เกิด​การระบาด ต้องหมั่น​ใส่​ใจดู​แลสุขภาพของตน​เอง ​และคน​ใกล้ชิดอย่างสม่ำ​เสมอ รู้จักป้องกันตน​เอง ด้วย​การมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ ส่วน​ผู้ป่วยที่มีอา​การ​ไข้ มีน้ำมูก ​เจ็บคอ ​ไอ ​ให้พักรักษาตัวอยู่ที่บ้าน สวมหน้ากากอนามัยป้องกัน​ไม่​ให้​แพร่​เชื้อสู่ ​ผู้อื่น​ก็จะสามารถควบคุม​การระบาดของ​โรค​ให้อยู่​ในวงจำกัด​ได้ รองอธิบดีกล่าวทิ้งท้าย...

บ้าน​เมือง -- อาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม 2554