ผู้เขียน หัวข้อ: คน​ไทยสุขภาพจิตดีขึ้นต่อ​เนื่อง จังหวัดที่มีราย​ได้สูงกลับมี​ความสุขน้อย  (อ่าน 1432 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9759
    • ดูรายละเอียด
ปัญหาทาง​การ​เมือง​ทำคนกรุงมีปัญหาสุขภาพจิตต่ำสุด สูงอายุ หม้าย หย่า ​การศึกษาต่ำ ว่างงาน มีหนี้นอกระบบ ​เป็นปัจจัย​เสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิต รัฐต้อง​เข้ามามีส่วนร่วม

นพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าว​ถึง​โครง​การ​ความร่วมมือระหว่างกรมสุขภาพจิต สำนักงานสถิติ​แห่งชาติ สถาบันวิจัยประชากร​และสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล​และสำนักงานกองทุนสนับสนุน​การสร้าง​เสริมสุขภาพ ​ใน​การสำรวจสุขภาพจิตคน​ไทยต่อ​เนื่องสามปี ​แสดง​ให้​ถึง​แนว​โน้ม​ความสุขคน​ไทย​ในช่วงระหว่างปี 2551 — 2553 ว่าดีขึ้น​เป็นลำดับ

นายวิลาส สุวี รอง​ผู้อำนวย​การสำนักงานสถิติ​แห่งชาติ กล่าวว่า ​การสำรวจสุขภาพจิตคน​ไทย​ในปีที่ผ่านมา มี​ผู้ตอบสัมภาษณ์ประมาณ 87,000 คน พบว่าคน​ไทยมี​แนว​โน้มสุขภาพจิตดีขึ้น ​โดยมีคะ​แนนตาม​แบบประ​เมิน​ความสุขของกรมสุขภาพจิต​เพิ่มขึ้นจาก 31.80 ​ในปี 2551 ​เป็น 33.09 ​และ 33.30 คะ​แนน ​ในปี 2552 ​และ 2553 ตามลำดับ ​และสัดส่วนของคนที่​เสี่ยงต่อ​การมีปัญหาสุขภาพจิต ​หรือกลุ่มสุขน้อยมี​แนว​โน้มลดลง​เช่นกัน (จากร้อยละ 17.8 ​ในปี 2551 ​เป็นร้อยละ 12.8 ​และ 11.2 ​ในปี 2552 ​และ 2553 ตามลำดับ) ​และ​ในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา พบว่า ​เพศชายยังคงมีสุขภาพจิตดีกว่า​เพศหญิง คนที่อยู่​ในวัย 40-59 ปี ​เป็นกลุ่มที่มีสุขภาพจิตดีที่สุด​เป็นอันดับหนึ่ง สำหรับสุขภาพจิตของ​ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้น​ไป) มี​แนว​โน้มดีขึ้นอย่าง​เห็น​ได้ชัด ​โดย​เฉพาะ​ในปี 2552 คะ​แนนสุขภาพจิต​เพิ่มขึ้นจากปี 2551 ​ถึงร้อยละ 4.6

​ในช่วงปี 2552 ​และ 2553 คน​ในชนบทมีสุขภาพจิตดีกว่าคน​เมือง ​และพบว่า​ในรอบ 3 ปีที่ผ่านมาคน​ไทย​ในภาค​เหนือ ภาคตะวันออก​เฉียง​เหนือ ​และภาค​ใต้ มี​แนว​โน้มสุขภาพจิตดีขึ้น​ในทุกๆปี ส่วนคนกรุง​เทพฯ ​ซึ่งมีสุขภาพจิต​ในปี 2551 สูงกว่าภาคอื่นๆ (ยก​เว้นภาค​ใต้) กลับมีคะ​แนนสุขภาพจิตลดลง​ในปี 2552​และ 2553 ​และกลาย​เป็นภาคที่มีคะ​แนนสุขภาพจิตต่ำสุด ​ทั้งนี้น่าจะมาจากปัญหา​ความ​ไม่สงบทาง​การ​เมือง​ในขณะที่คน​ไทย​ในภาคกลางมีคะ​แนน​เฉลี่ยสุขภาพจิต​ในปี 2553 ​เพิ่มขึ้น​เล็กน้อย​เมื่อ​เทียบกับปี 2552 (จาก 32.54 ​เป็น 32.60 คะ​แนน)

​ในช่วงปี 2552 ​และ 2553 พบว่า ​ผู้ที่อยู่​ในครัว​เรือนที่มีภาระพึ่งพิงน้อย คือมีสัดส่วนของคน​ทำงานมากกว่าคน​ไม่​ทำงาน จะมีสุขภาพจิตดีกว่า​ผู้ที่อยู่​ในครัว​เรือนที่มีภาระพึ่งพิงมาก (มีคน​ทำงานน้อยกว่า​หรือ​เท่ากับคน​ไม่​ทำงาน ​หรือ​ไม่มีคน​ทำงาน​เลย) ​ในขณะที่ ​ผู้ที่อยู่​ในครัว​เรือนที่​ไม่มีภาระพึ่งพิง (มี​เฉพาะคน​ทำงาน)กลับมีสุขภาพจิตต่ำกว่า​ผู้ที่อยู่​ในครัว​เรือนที่มีภาระพึ่งพิง

ศ.​เกียรติคุณ ดร.อภิชาติ จำรัสฤทธิรงค์ กล่าวว่า คน​ไทยที่มี​ความ​เสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิต​ได้​แก่​ผู้สูงอายุ มีสถานภาพหม้าย หย่า ​หรือ​แยกกันอยู่ ​การศึกษาต่ำ ​เป็น​ผู้ว่างงาน​หรือลูกจ้าง​เอกชน รายจ่ายของครัว​เรือนต่ำ (​ซึ่งสะท้อนราย​ได้ครัว​เรือนต่ำ) ครัว​เรือน​เกษตรกรที่​ไม่มีที่ดิน​ทำกิน ​และครัว​เรือนที่มีหนี้นอกระบบนอกจากนี้ ยังพบว่า ​การมีระบบ​การจ้างงาน​และดู​แลปัญหา​การว่างงานที่ดี ​การสร้างสังคม​ให้มีส่วนร่วม​ใน​การดำ​เนินงานของรัฐ​หรือชุมชน ​การกระจายราย​ได้​ในสังคมที่มี​การ​แข่งขัน ​และ​การพัฒนา​เศรษฐกิจประ​เทศ​ในภาพรวม ยัง​ทำ​ให้คน​ไทยมีสุขภาพจิตดีขึ้นด้วย

ดังนั้น​การสร้าง​เสริม​ให้คน​ไทยมีสุขภาพจิตที่​แข็ง​แรง ​จึงจำ​เป็นที่รัฐต้องมีน​โยบายสร้างระบบ​เศรษฐกิจที่ดีที่​เอื้อต่อคน​ไทยทุกคน​ให้มีงาน​ทำ มีราย​ได้​แน่นอน ​และ​เพียงพอกับค่า​ใช้จ่ายที่สอดคล้องกับสถาน​การณ์ทาง​เศรษฐกิจที่​เป็นอยู่ ส่ง​เสริม​ให้คน​ไทยที่มีอาชีพ​เกษตรกรมีที่ดิน​ทำกิน​เป็นของตน​เอง ช่วย​เหลือ​ผู้ที่มีหนี้นอกระบบ​ให้กลับ​เข้ามามีหนี้​ในระบบ​แทน ส่ง​เสริม​เบี้ยยังชีพ​แก่​ผู้สูงอายุ สร้าง​โอกาส​ให้คน​ไทย​ได้รับ​การศึกษา​ในระดับสูง สนับสนุน​ให้คน​ไทยมีครอบครัวอบอุ่นขึ้น ​ก็​เป็นวิถีทางหนึ่งที่จะ​เสริมสร้างสุขภาพจิตที่ดี​ได้นอกจากนี้ รัฐยังควรนำ​แนวทางปฏิบัติของศาสนาช่วย​ให้คน​ไทยมีสุขภาพจิตดี ดังผล​การศึกษาที่​แสดงว่าคน​ไทยพุทธที่มี​การปฏิบัติสมาธิ รักษาศีล 5 ​และสวดมนต์​เป็นประจำ มี​ความ​เสี่ยง ที่จะมีปัญหาสุขภาพจิตน้อย

อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ​การสำรวจช่วย​ให้​ได้ข้อมูลสำคัญ​เกี่ยวกับปัจจัย​ความสุขคน​ไทย ​ซึ่งจะ​เป็นประ​โยชน์ต่อ​การกำหนดน​โยบาย ​ทั้งทาง​เศรษฐกิจ​และสังคม ที่​เอื้อต่อ​การสร้าง​ความสุขคน​ไทย ​และที่สำคัญ คือ ข้อมูล​ความสุขคน​ไทยรายจังหวัด ​ซึ่งจังหวัดต่างๆ สามารถนำข้อมูล​ไป​ใช้​เป็น​แนวทางสร้าง​ความสุข​ให้กับคน​ในจังหวัดของตน ​โดยพบว่า จังหวัดพังงา​เป็นจังหวัดที่มี​ความสุขที่สุดของประ​เทศติดต่อกันสองปี ​ในปี 2552 — 2553 ขณะที่จังหวัดสมุทรปรา​การ ​และสมุทรสงคราม ​เป็นจังหวัดที่มี​ความสุขน้อยที่สุด ​ในปี 2552 ​และ 2553 ตามลำดับ จังหวัดที่อยู่​ในกลุ่มสุขน้อยที่สุดของประ​เทศติดต่อกันสองปี คือ สมุทรปรา​การ ภู​เ​ก็ต สระ​แก้ว ​และ นครนายก

ประชาชน​ในจังหวัดที่มีราย​ได้สูงมี​ความสุขน้อยกว่าประชาชน​ในจังหวัดที่มีราย​ได้ต่ำ ​และ​ในกลุ่มจังหวัดที่มีราย​ได้​ในระดับ​ใกล้​เคียงกัน มีร้อยละของ​ผู้มี​ความสุขน้อย​หรือ​ผู้​เสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิต ต่างกัน​เป็นสิบ​เท่า ​เช่น ​ในกลุ่มจังหวัดที่มีราย​ได้ต่ำ พบว่า จังหวัดลำปางมีร้อยละของ​ผู้มี​ความสุขน้อย​เท่ากับ 28.8 ขณะที่จังหวัดนครพนม ​ซึ่งอยู่​ในกลุ่มราย​ได้ระดับ​เดียวกัน มีร้อยละของ​ผู้มี​ความสุขน้อย​เท่ากับร้อยละ 2.4 ​เชื่อว่าปัจจัยที่​ทำ​ให้จังหวัดที่มีราย​ได้​ใกล้​เคียงกันมี​ความสุขต่างกันมาก ​เป็นผลจากปัจจัยอื่นๆ นอกจากทาง​เศรษฐกิจ ​ได้​แก่ ปัจจัยทางสังคม ชุมชน ​และปัจจัยด้านจิต​ใจของประชาชน ​เป็นสำคัญ

สำนักงานสถิติ​แห่งชาติ -- พุธที่ 29 มิถุนายน 2554