ผู้เขียน หัวข้อ: หนุ่มกู้ภัยถูกงูกัดสาหัสหวิดเสียแขนรพ.รัฐไม่เหลียวแล-เคลียร์กู้ภัยไม่เอาความ รพ.  (อ่าน 2085 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
หนุ่มกู้ภัยช่วยเหลือชาวบ้าน ตัวเองรับเคราะห์งูกัดแขนเจ็บสาหัส ส่งโรงบาลรัฐแพทย์ไม่เหลียวแล แจกแค่พารา 2 เม็ด กว่า 2 ชั่วโมง จึงจำต้องย้ายส่งโรงพยาบาลเอกชน แพทย์ระบุมาช้าไปต้องกีดแขน รักษาหายได้แต่ใช้ไม่เหมือนเดิม

พัทยา-วานนี้(11 มิ.ย. 54) ภาพอาสาสมัครสว่างบริบูรณ์เมืองพัทยานอนในห้องไอซียูโรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา หลังเข้าช่วยเหลือชาวบ้านจนถูกงูกะปะกัดได้รับบาดเจ็บสาหัส รายนี้เปิดเผยเมื่อเวลา 11.30 น.( 11 มิ.ย.54 )นายประสิทธิ์ ทองทิศเจริญ ประธานกู้ภัยมูลนิธิสว่างบริบูรณ์พัทยา นายธนวัฒน์ สุระแสงญากรณ์ กรรมการมูลนิธิสว่างบริบูรณ์พัทยาพร้อมเจ้าหน้าที่เดินทางเข้าเยี่ยม นายจักรพันธ์ มีแก้ว อายุ 19 ปี อาสาสมัครกู้ภัยสว่างบริบูรณ์ฯ จุดพัทยาใต้ได้รับบาดเจ็บงูกะปะกัดหลังเดินทางไปช่วยเหลือชาวบ้านที่แจ้งขอความช่วยเหลือจากงูเข้าบ้านพร้อมเพื่อนอาสาสมัครอีก 2 คน

ด้านนายตรีเพ็ชร ภักดี อายุ 18 ปี อาสาสมัครที่เดินทางไปช่วยและนำคนเจ็บส่งโรงพยาบาลเล่าเหตุการณ์ให้ฟังว่า พวกตนได้รับแจ้งจากศูนย์วิทยุว่ามีชาวบ้านของความช่วยเหลือจากงูเข้าไปในบ้านบริเวณริมทางรถไฟ ภายในซอยสนามกอล์ฟ พัทยากลาง เกิดเหตุเวลาประมาณเที่ยงคืนครึ่ง( 10 มิ.ย.) หลังรับแจ้ง ตนพร้อมคนเจ็บและอาสาอีก 1 คนจึงเดินทางไปตรวจสอบ ซึ่งพวกตนได้ช่วยเหลือชาวบ้านโดยการจับงูซึ่งเป็นงูกะปะ และนำใส่ถุงปุ๋ยเพื่อเตรียมไปปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ แต่ระหว่างคนเจ็บหยิบถุงเพื่อขึ้นรถงูกะปะได้พุ่งเข้ากัด จนคนเจ็บได้รับบาดเจ็บตนเองจึงรีบนำส่งโรงพยาบาลบางละมุง

ในระหว่างที่อยู่โรงพยาบาลบางละมุงซึ่งช่วงนำส่งประมาณ 01.00 น. ตนได้นำงูไปให้แพทย์ดูด้วยว่าเป็นงูชนิดได้ แต่คณะแพทย์ได้เจาะเลือดแล้วให้กินยาพาราแก้ปวด 2 เม็ด จากนั้นก็ให้นั่งรอทั้งที่มีงูตัวที่กัดว่าเป็นชนิดใด และทั้งๆที่คนเจ็บบอกว่ามีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก เจ้าหน้าที่และพยาบาลไม่สนใจเอาแต่นั่งอ่านนิตยสาร จนเวลาผ่านไป 2 ชม.ตนเองเห็นอาการคนเจ็บไม่ดีจึงรีบย้ายส่งโรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ซึ่งเบื้องต้นได้แจ้งทางมูลนิธิสว่างบริบูรณ์พัทยาและหัวหน้าจุดเกี่ยวกับการรักษาแล้ว

ด้านนายประสิทธิ์ ประธานกู้ภัย กล่าวว่า ในเบื้องต้นได้มาดูอาการหลังทราบข่าว ส่วนค่ารักษาทางมูลนิธิจะออกให้ เนื่องจากได้รับบาดเจ็บในหน้าที่ในการช่วยเหลือชาวบ้าน อีกทั้งทราบว่าคนเจ็บมีความประพฤติในการปฎิบัติหน้าที่ที่ดี ร่วมทั้งครอบครัวไม่มีฐานะและยังมีลูกเล็กอายุ 2 เดือนอีก 1 คน

ด้านคณะแพทย์โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา เผยเกี่ยวกับอาการคนเจ็บว่า คนเจ็บถูกนำส่งมาช้าไปเสียแล้วหากส่งเร็วจะทำการช่วยเหลือได้ดีกว่านี้ ซึ่งในเบื้องต้นคนเจ็บถูกพิษของงูไปทำร้ายเซลเส้นเลือดจนแขนบวม ทางแพทย์จึงทำการกีดผิวหนังเพื่อเอาเลือดเสียออก เพื่อไม่ให้เกิดการบวมแล้วไปกดทับส่วนอื่นๆของแขน ซึ่งปัจจุบันอาการดีขึ้นแต่ต้องนอนดูอาการในห้องไอซียูก่อน แต่หากรักษาหายแขนก็อาจจะกลับมาใช้ไม่ได้ดังเดิม
..........................

ปธ.กู้ภัยสว่างฯพัทยา พาลูกน้องเหยื่องูกัด เคลียร์ใจ รพ.รัฐ หลังไม่เอาใจใส่รักษา หวิดแขนพิการ ขณะ ผอ.โรงพยาบาล ยัน ดูแลตามขั้นตอน ยอมรับ จนท.บกพร่อง พร้อมปรับปรุงบุคคลากร

 จากกรณีเมื่อ วันที่ 11 มิ.ย.54 ที่หนุ่มกู้ภัยได้เข้าช่วยเหลือชาวบ้านจับงู แต่ตนเองกลับรับเคราะห์แทน ถูกงูกะปะกัดแขนเจ็บสาหัสปางตาย ส่งรักษาโรงบาลรัฐแต่ จนท.ไม่สนใจ รอเกือบ 2 ชม.จำต้องย้ายส่งโรงพยาบาลเอกชน แพทย์ระบุมาช้ารักษาหายได้แต่แขนอาจใช้งานได้ไม่ 100%

โดยตลอดช่วงปี 2553 ที่ผ่านมา โรงพยาบาลรัฐประจำเมืองพัทยาแห่งนี้มักจะได้รับการร้องเรียนจากประชาชนที่เข้าไปใช้บริการหลายรายด้วยกัน บางรายก็ปรากฏเป็นข่าว ฟ้องร้องกันไป หรือบางรายก็ร้องทุกข์ผ่านเวปหรือสังคมออนไลน์ต่างๆ ซึ่งทางโรงพยาบาลก็ได้ออกมาชี้แจงเรื่องต่างๆ พร้อมยอมรับในความบกพร่อง อาจมี จนท.บางคนที่เอาใจใส่คนไข้ไม่ดีพอ และพร้อมที่จะเร่งปรับปรุง แก้ไขพัฒนาบุคคลากรของโรงพยาบาลให้มีประประสิทธิภาพยิ่งๆขึ้นไป จนล่าสุด มาเกิดเหตุการณ์หนุ่มอาสากู้ภัยที่ถูกงูกะปะกัด แต่ทางโรงพยาบาลล่าช้า จนคนไข้ทนไม่ไหวกลัวตาย ร้องขอย้ายไปโรงพยาบาลเอกชนใกล้เคียง

ซึ่งเรื่องนี้ ทาง ผู้อำนวยการโรงพยาบาล นายแพทย์ ณรงค์ศักดิ์ เอกวัฒนกุล ได้ชี้แจงว่า ในคืนวันนั้น ประมาณ ตี1 คนไข้ถูกงูกะปะกัดเข้ามารักษาที่ห้องฉุกเฉิน มีพยาบาลที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ 1 คน ซึ่งก็ได้ทำการรักษาตามขั้นตอน โดยการล้างแผล พันแผล ให้ยาแก้ปวด พร้อมกับพาไปเจาะเลือดเพื่อตรวจหาว่าเป็นพิษชนิดใด ปริมาณของพิษมีมากน้อยแค่ไหนที่เข้าสู้กระแสเลือด เพื่อจะได้ฉีดเซรุ่ม หรือจะได้ให้ยาประเภทอื่นๆได้ถูกต้องตามอาการ ซึ่งถ้าไม่ตรวจชนิด หรือระดับพิษในเลือด หากฉีดเซรุ่มในชนิดและขนาดมี่ไม่ถูกต้องอาจทำให้คนไข้เสียชีวิตได้ และในกระบวนการตรวจสอบเลือดต้องใช้เวลาประมาณ 30 นาที ซึ่งในระหว่างที่คนไข้รอผลเลือดอยู่นั้น พิษของงูกะปะเริ่มเข้ากระแสเลือดและกำเริบทำให้แขนค่อยๆบวม พร้อมกับความเจ็บปวดที่มากขึ้น และในระหว่างนี้ ทางจนท.ของโรงพยาบาลไม่ได้อธิบายขั้นตอนต่างๆของการรักษาให้คนไข้ฟัง และยังอาจไม่มีความเข้าใจอย่างท่องแท้ในกรณีนี้ว่าควรทำอย่างไร ฉุกเฉินแค่ไหน จึงไม่ได้เอาใจใส่ต่ออาการของคนไข้เท่าที่ควร ซึ่งเมื่อคนไข้รอไม่ไหว อีกทั้งอาการบาดเจ็บที่เริ่มแย่ลง จึงขอย้ายไปโรงพยาบาลอื่นซึ่งทางโรงพยาบาลก็ไม่สามารถห้ามได้ เพราะเป็นความต้องการของคนไข้

ด้าน นาย นายจักรพันธ์ มีแก้ว อายุ 19 ปี อาสาสมัครกู้ภัยสว่างบริบูรณ์พัทยา เหยื่องูกัด เปิดเผยขณะที่ยังนอนรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลเอกชนในเมืองพัทยาว่า ในระหว่างที่ตนนั่งรอผลตรวจเลือดที่โรงพยาบาลแห่งแรกนั้นนานมาก (พร้อมรากเสียงยาว) รู้สึกปวดแผลตรงฝ่ามือที่โดนงูกัด และท่อนแขนไปจนถึงไหล่ปวดบวมเป็นอย่างมาก ซึ่งพยาบาลที่ประจำอยู่ไม่ได้สนใจตนเลย ดังนั้นตนและเพื่อนอาสาที่มาด้วยกันจึงปรึกษากันว่าควรจะย้ายโรงพยาบาลรักษา ดีกว่านั่งรอความตายอยู่โรงพยาบาลรัฐแห่งนี้ เพราะอาการกำเริบมากแล้ว ปวดจนทนไม่ไหว พร้อมกับอาการแน่นหน้าอก ซึ่งเมื่อมาถึงโรงพยาบาลอีกแห่ง แพทย์ได้ทำการกรีดบริเวณท่อนแขนที่บวมเพื่อนำพิษงู และเลือดที่แข็งตัวออกมา ช่วยลดอาการบวม พร้อมกับการโทรไปขอผลเลือดที่โรงพยาบาลแห่งแรก แล้วฉีดเซรุ่มให้ ซึ่งแพทย์ที่โรงพยาบาลแห่งนี้บอกเล่าถึงขั้นตอนต่างในการรักษาให้ตนเข้าใจและเอาใจใส่ดูแลรักษาเป็นอย่างดี  อย่างไรก็ตามหลังการส่งรักษาในโรงพยาบาลเอกชนแล้ว เบื้องต้นพบว่ามีค่าใช้จ่าย ค่ารักษาพยาบาล ค่ายา ต่างๆที่สูงมาก ซึ่งเกินกว่ากำลังที่คนหาเช้ากินค่ำ หรือเจ้าหน้าที่อาสาคนหนึ่งที่มีลูกยังเล็ก แค่ 2 เดือนจะจ่ายได้

ดังนั้น นายประสิทธิ์ ทองทิศเจริญ ประธานมูลนิธิสว่างบริบูรณ์พัทยา กล่าวว่า ตนได้มาดูอาการ จนท.แล้ว ส่วนค่ารักษาทางมูลนิธิจะออกให้ เนื่องจากได้รับบาดเจ็บในหน้าที่ในการช่วยเหลือชาวบ้าน แต่ทั้งนี้จากคำบอกเล่าของ จนท.อาสา เกี่ยวกับการรักษาอาการคนไข้ที่โรงพยาบาลเดิม ยังสร้างความคลางแคลงใจแก่หลายฝ่าย

ทางประธานมูลนิธิสว่างบริบูรณ์พัทยา และเจ้าที่อาสาที่อยู่ในเหตุการณ์ จึงได้ไปความกระจ่างจาก ผู้อำนวยการโรงพยาบาลแห่งแรก ซึ่งทางหัวหน้าพยาบาล และ จนท.ที่อยู่เวรในวันนั้น ยืนยันว่า ได้ปฏิบัติหน้าที่ในรักษาตามขั้นตอน ทั้งการล้างแผล ให้ยา และเจาะเลือดตรวจ แต่ก็ยอมรับว่า จนท.อาจเอาใจใสไม่เพียงพอ และพร้อมที่อบรม ปรับปรุงคุณภาพและบริการของบุคลากรในหน่วยงานให้ดียิ่งขึ้น โดยจะนำเหตุการณ์นี้ไปเป็นบทเรียนแก่เจ้าหน้าที่ทุกคนในโรงพยาบาล พร้อมทั้งทำเรื่องเสนอไปถึงทางจังหวัดเพื่อขอความช่วยเหลือคนไข้ในฐานะผู้มีบัตร 30 บาท ด้วย
 
ซึ่งเมื่อนายประสิทธิ์ และ จนท.กู้ภัยทั้งหมดได้รับทราบข้อเท็จจริงแล้ว ต่างก็ไม่ติดใจเอาความ หรือคิดที่จะฟ้องร้องโรงพยาบาลอีกต่อไป แต่ทั้งหมดได้ฝากโรงพยาบาลทุกแห่งโปรดให้ความเอาใจใส่ในคนไข้ทุกคน ไม่ว่าจะยากดีมีจนอย่างไร ควรดูแลอย่างเต็มที่โดยคิดว่าคนไข้เหล่านั้น เป็นญาติพี่น้องของท่าน แล้วเหตุการณ์ฟ้องร้อง หรือร้องเรียนตามโรงพยาบาลต่างๆคงจะไม่เกิดขึ้น

pattayadailynews.com