ผู้เขียน หัวข้อ: กระทรวงการคลังคุมเข้มเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล-แพทยสภายืนกรานให้เบิกจ่ายยาข้อเข่า  (อ่าน 1333 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
กระทรวงการคลัง คุมเข้มเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลข้าราชการ
พบ 8 เดือนยอดพุ่งแค่ 4 หมื่นล้าน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนมาก...

นางสาวสุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะหัวหน้ากลุ่มภารกิจรายจ่าย เปิดเผยถึงยอดการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการและบุคคลในครอบครัวใน 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 54 หรือ ณ สิ้นเดือน พ.ค.54 ว่า มียอดการเบิกจ่ายรวม 40,000 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนมาก แต่คาดว่ายอดการเบิกจ่ายในปีงบ 54 จะอยู่ในกรอบเป้าหมายที่ 62,000 ล้านบาท สาเหตุที่ทำให้ยอดการเบิกจ่ายลดลง มาจากการเพิ่มประสิทธิภาพในการเบิกจ่าย ทั้งการควบคุมการเบิกจ่ายยาที่ไม่จำเป็น เช่น คุมการเบิกจ่ายยานอกบัญชียาหลัก และการตรวจสอบการเบิกจ่ายยาที่ไม่เป็นไปตามระเบียบย้อนหลังของโรงพยาบาล รวมถึงการออกระเบียบใหม่เพื่อป้องกันการทุจริต

“ที่ผ่านมา ยอดการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลพุ่งขึ้นเฉลี่ยปีละ 20-25% ทำให้ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลมีมากถึง 50,000-60,000 ล้านบาท ในปัจจุบัน หากไม่ควบคุมการเบิกจ่ายส่วนนี้ ประเมินกันว่า ยอดการเบิกจ่ายจะทะลุถึง 100,000 ล้านบาทในแต่ละปี ซึ่งจะทำให้การจัดทำงบประมาณสมดุลไม่เป็นไปตามเป้าหมาย”

นางสาวสุภา กล่าวต่อถึงแนวทางของกรมบัญชีกลางที่จะใช้ระบบประกันมาดูแลค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล เพื่อคุมให้งบประมาณรายจ่ายส่วนนี้อยู่ในเป้าหมายว่า กรมบัญชีกลางอยู่ระหว่างการศึกษาข้อดีข้อเสีย คาดได้ข้อสรุปเร็วๆนี้

ส่วนข้อเรียกร้องที่จะให้ยกเลิกระเบียบห้ามการเบิกจ่ายยารักษาข้อเข่าเสื่อมนั้น ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุป แต่ได้มอบหมายให้แพทย์ที่วิจัยการใช้ยาดังกล่าว และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญการรักษาโรคนี้ ไปหาข้อสรุปให้ตรงกันว่า ควรจะใช้ยาดังกล่าวรักษาคนไข้ต่อไปหรือไม่ ซึ่งหากได้ข้อสรุปว่า ยานี้สามารถรักษาให้หายขาดได้ ก็พร้อมที่จะยกเลิก สำหรับการเบิกจ่ายค่ารักษาโรคข้อเข่าเสื่อมในแต่ละปีจะอยู่ที่ราว 800-900 ล้านบาท.

ไทยรัฐ ออนไลน์:14 มิย. 2554

>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>.

แพทยสภายืนกรานให้เบิกจ่ายยาข้อเข่าเสื่อม แบบมีเงื่อนไข 
ผอ.รพ.รามาฯ เสนอ หากต้องการคุมค่ายาให้ผู้ป่วยร่วมจ่าย ในส่วนของยาต้นตำหรับ
       
       นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ เลขาธิการแพทยสภา กล่าวถึงกรณีที่ สวัสดิการรักษาพยาบาลคณะกรรมการบริหารระบบข้าราชการ เกี่ยวกับการควบคุมการเบิกจ่ายกลุ่มยาบรรเทาอาการข้อเสื่อม (กลูโคซามีน) เห็นชอบให้ตั้งคณะทำงานโดยเชิญผู้แทนจากแพทยสภา คณะทำงานวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง นำหลักฐานที่เป็นผลทางการรักษาจากการใช้ยามาพิสูจน์ให้ชัดเจนสรุปว่าควรให้มีการสั่งเบิกจ่ายยาดังกล่าวต่อไปหรือไม่ หลังจากมีการร้องเรียนจำนวนมาก ว่า แพทยสภา ยืนยันความเห็นตามที่ได้เคยส่งหนังสือ มติของคณะอนุกรรมการพิจารณาศึกษาทบทวนและรับรองประสิทธิภาพและความคุ้มค่าของยาแบบองค์รวม ซึ่งมีองค์ประกอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องครบ ทั้งราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย วิทยาลัยแพทย์ออโธปิดิกส์แห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ตัวแทนคณะแพทยศาสตร์จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล  โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป (รพ.ศ/รพ.ท.) ฯลฯ  ซึ่งมีความเห็นร่วมกัน
       
       นพ.สัมพันธ์  กล่าวว่า ข้อสรุปจากคณะอนุกรรมการ ได้เห็นพ้องกันว่า ผลการวิจัยในส่วนยากลูโคซามีนนั้น มีทั้งเห็นว่าได้ผล และไม่ได้ผล ซึ่งข้อเสนอได้อิงประโยชน์ผู้ป่วยและทำให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด คือ ให้สั่งจ่ายได้แบบมีเงื่อนไข ตามที่ทุกฝ่ายเห็นร่วมกันว่า ควรจ่ายให้แก่ผู้ป่วยที่มีอาการในระยะกลาง ระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน และไม่จ่ายยาเพื่อป้องกัน หรือ ให้แก่ผู้ป่วยอาการระยะท้าย เพราะไม่มีประโยชน์ ซึ่งเชื่อว่า การสั่งจ่ายแบบมีเงื่อนไข จะสามารถช่วยลดงบประมาณของกรมบัญชีกลางลงได้ รวมทั้งไม่ทำให้ประชาชนเสียประโยชน์จากการที่ตัดสิทธิประโยชน์ดังกล่าวทั้งหมด  ทั้งนี้ เห็นด้วยกับการตั้งคณะทำงานร่วมกันระหว่างกรมบัญชีกลางและหน่วยงานอื่นๆ  เพื่อนำไปสู่ข้อสรุปเพราะความเห็นจากแพทยสภา ได้มาจากการหารือร่วมกันจากทุกฝ่าย ทั้งผู้จ่ายยา ผู้ใช้ยา นักวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ และ อย.       
       
       นพ.ธันย์   สุภัทรพันธุ์  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า  เมื่อการหารือยังไม่ได้ข้อสรุปก็ต้องยึดตามระเบียบเดิมของกรมบัญชีกลาง โดยผู้ป่วยทุกคนที่เข้ารับการรักษาจะได้รับแจ้งจากแพทย์ ว่า ไม่สามารถเบิกยาดังกล่าวได้ ต้องจ่ายเองทั้งหมด  แต่จะมีทางเลือกโดยการใช้ยาในกลุ่ม Local made ซึ่งเป็นยาที่หมดสิทธิบัตรแล้ว และนำเข้าวัตถุดิบมาจากประเทศอื่น แต่มาบรรจุในประเทศไทย โดยราคาถูกกว่ายาต้นแบบมาก อย่างไรก็ตาม เกี่ยวกับเรื่องนี้ตนมองว่า ทางออกที่ดีที่สุด คือ ควรให้ผู้ป่วยใช้ยากลุ่มข้อเข่าเสื่อม แต่เป็นกลุ่ม Local made แทน และต้องตั้งราคากลางเพื่อควบคุมคุณภาพยา ซึ่งข้อเสนอนี้ทางกรมบัญชีกลางทราบดี และเคยมีการหารือแล้ว ส่วนหากจะใช้ยาต้นตำรับ อาจให้ผู้ป่วยร่วมจ่ายด้วย

manager online  14 June 2011