ผู้เขียน หัวข้อ: นักการเมืองพูดไว้-นโยบายด้านการแพทย์และสาธารณสุข-5-คำถาม-คำตอบ  (อ่าน 2426 ครั้ง)

pradit

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 322
    • ดูรายละเอียด
หลังจากการนำเสนอนโยบายของพรรคการเมืองครบทั้ง 4 พรรคแล้ว มีคำถามและข้อเสนอแนะ จากผู้เข้าร่วมเสวนา ซึ่งก็ได้รับคำตอบจากพรรคการเมืองต่างๆ และบางคำถามก็ไม่ได้ถามเนื่องจากข้อจำกัดเรื่องเวลา ซึ่งจะขอสรุปคำถามและข้อเสนอแนะดังนี้

   1.ปัญหาแพทย์ลาออกไปอยู่โรงพยาบาลเอกชนนั้น นอกจากภาระงานที่มากเกินไปแล้ว ปัญหาสำคัญคือเงินเดือนและค่าตอบแทนต่ำมากเมื่อเทียบกับค่าตอบแทนในภาคเอกชน ทำไมผู้บริหารจึงไม่ปรับเปลี่ยนเงินเดือนของแพทย์(ที่รักษาชีวิตและสุขภาพ ของประชาชน) ให้เท่ากับเงินเดือนของผู้พิพากษาหรืออัยการที่รักษาความยุติธรรมของประชาชนบ้าง (อยากรู้ว่า ชีวิต และความปลอดภัยในสุขภาพนั้นสำคัญน้อยกว่าความยุติธรรมหรืออย่างไร) ทั้งๆที่แพทย์ทำงานหนักทั้งกลางวันกลางคืน ถามว่าถ้าท่านเป็นรัฐบาลจะทำการขึ้นเงินเดือนให้แพทย์ในราชการไหมครับ?

 ข้อนี้ หลายๆพรรคก็บอกว่าน่าจะเป็นไปได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพรรคชาติไทย

   2.ข้อนี้ท่านเลขาธิการแพทยสภาเป็นห่วงเรื่องการฟ้องแพทย์ในคดีอาญา อยากให้มีการออกพ.ร.บ.คุ้มครองแพทย์ที่ปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพไม่ให้ ต้องถูกฟ้องร้องเป็นคดีอาญา ซึ่งนพ.วินัย วิริยะกิจจาก็เห็นด้วยว่าถ้าเป็นการประกอบวิชาชีพเวชกรรมแล้วก็ไม่ควรถูก ฟ้องในคดีอาญาเหมือนอาชีพอื่นๆที่นับว่า การประกอบวิชาชีพตามหน้าที่ที่สุจริต มีมาตรฐาน ไม่นับว่าเป็นคดีอาญา เช่นตำรวจ

    3.นพ.วินัย วิระกิจจาได้บอกว่าถ้าพรรคชาติไทยได้เป็นรัฐบาลจะแยกข้าราชการกระทรวงสาธารณ สุขออกจากกพ. เป็นกสธ. เพื่อจะได้บริหารจัดการในเรื่องตำแหน่งและค่าตอบแทนที่เหมาะสมและเป็นธรรม ต่อภาระงานและความรับผิดชอบ

   4.มีผู้เสนอความเห็น เรื่องงบประมาณไม่พอ บุคลากรลาออก และประชาชนไม่สร้างสุขภาพแต่ผลักภาระมาโรงพยาบาลเกินความจำเป็น พรรคการเมืองก็มีความเห็นตรงกันว่าจะต้องเพิ่มเงินเข้าระบบมากขึ้น แต่ยังไม่สามารถบอกว่าจะกระตุ้นให้ประชาชน “สร้างสุขภาพ” ได้อย่างไร ซึ่งส่วนหนึ่งบอกว่าควรให้ประชาชนร่วมจ่าย แต่ไม่ได้กล่าวถึงวิธีการโดยละเอียดว่าจะร่วมจ่าย แค่ไหน อย่างไร

   5.การแก้ปัญหาความไม่เสมอภาคในการรับบริการแก่ประชาชนในชนบทนั้น มีการกล่าวถึงว่าจะมีแพทย์ประจำสถานีอนามัยซึ่งจะยกสถานะเป็นโรงพยาบาลชุมชน ว่า อาจจะทำให้แพทย์อยู่ไม่ได้ถ้าจะต้องรับผิดชอบคนเดียว 24 ชั่วโมงตลอดปี เพราะแพทย์ต้องทำงานเป็นทีมจึงจะอยู่ได้

   6.การแก้ปัญหาการขาดแคลนแพทย์ที่จะเร่งผลิตแพทย์นั้น ต้องคำนึงถึงคุณภาพและมาตรฐาน ความรู้และทักษะของแพทย์ด้วย และทำอย่างไรจะแก้ปัญหาแพทย์และพยาบาลสมองไหลไปอยู่เอกชนได้

   7.มีคำถามฝากไปถึงพรรคการเมืองที่จะมาเป็นรัฐบาลว่าให้แก้ไข ระเบียบการจ่ายค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการของแพทย์และบุคลากรอื่นๆ เพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าของค่าตอบแทนในปัจจุบัน ที่คณะอนุกรรมการพิจารณาปรับเปลี่ยนค่าตอบแทนแพทย์ในภาคราชการของแพทยสภาได้ เสนอแพทยสภาและแพทยสภาได้นำเสนอต่อนพ.มงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขคนปัจจุบันไปแล้ว และรมว.ได้มอบหมายให้ปลัดกระทรวงสธ.คนปัจจุบันพิจารณาดำเนินการต่อไป โดยมีการเสนอให้เงินค่าตอบแทนนี้เป็นเงินจากงบประมาณอื่นไม่ใช่ไปขึ้นอยู่ กับสถานะเงินบำรุงโรงพยาบาล ซึ่งทางพรรคประชาธิปัตย์และพรรคชาติไทยก็บอกว่าน่าจะได้เงินและการสนับสนุน จากท้องถิ่น เช่นเดียวกับที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้อนุมัติให้ดำเนินการแล้วในโรง พยาบาลที่สังกัดกรุงเทพมหานครซึ่งไม่ควรทำเฉพาะในกรุงเทพ ควรทำในทุกจังหวัด

  8.มีผู้เสนอให้เพิ่มงบประมาณหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้พยาบาลช่วยตรวจผู้ป่วยเล็กๆน้อยๆเพื่อแบ่งเบาภาระงานของแพทย์ แต่ในขณะเดียวกัน บุคลากรพยาบาลก็ขาดแคลนเช่นเดียวกัน และยังไม่มีตำแหน่งบรรจุพยาบาลอีก ทำให้มีปัญหาพยาบาลสมองไหลไปอยู่เอกชนเข่นเดียวกัน

  9.พรรคพลังประชาชนบอกว่าแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนมีน้อยกว่าในโรงพยาบาล จังหวัดและโรงพยาบาลศูนย์ ควรจัดสรรแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนมากขึ้น

 แต่ต้องดูด้วยว่าแพทย์โรง พยาบาลจังหวัดนั้นถึงแม้จะมีมาก แต่ก็อาจจะต้องทำงานในระดับสูงกว่าโรงพยาบาลชุมชน  และขาดแพทย์เฉพาะทางด้วย เช่น ศัลยแพทย์ วิสัญญีแพทย์ ประสาทศัลยแพทย์ และอื่นๆอีกมาก

  การขาดวิสัญญีแพทย์และศัลยแพทย์ทำให้โรงพยาบาลขนาดเล็กไม่ผ่าตัดอีก ต่อไป เพราะนอกจากจะทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงอันตรายแล้ว แพทย์เองก็ยังเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องทั้งในคดีแพ่งและคดีอาญา ทำให้แพทย์อาจพิจารณาส่งผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลจังหวัดหรือโรงพยาบาลศูนย์การ แพทย์แทนที่จะผ่าตัดในโรงพยาบาลอำเภอ(ชุมชน)  แต่จะ ส่งผลร้ายให้แก่ผู้ป่วยที่จะต้องถูกส่งต่อไปยังโรงพยาบาลขนาดใหญ่ อาจมีความเสี่ยงอันตรายเพิ่มขึ้น เช่นไส้ติ่งแตก มดลูกแตก และเสี่ยงต่ออาการหนักหรือเป็นอันตรายถึงชีวิต ฉะนั้นควรปรับปรุงระบบการส่งต่อให้มีประสิทธิภาพ มีความรวดเร็วและปลอดภัยด้วย

   10.มีการกล่าวถึงว่าผู้ประกันตนไม่ได้รับความเสมอภาคและเป็นธรรม เหมือนผู้ใช้ 30 บาท เพราะผู้ประกันสังคมต้องจ่ายเงินของตนเองสมทบทุกเดือน จึงจะได้สิทธิค่ารักษาพยาบาลซึ่งไม่รวมถึงการป้องกันโรคด้วย ในขณะที่30 บาทได้สิทธิมากกว่าประกันสังคมโดยที่ไม่ต้องจ่ายเงินของตนเองเลย และพอประกันสังคมจะขออยู่ห้องพิเศษก็ทำให้เสียสิทธิ์ค่ารักษาด้วย

  11.อาจารย์อนงค์ เพียรกิจกรรม ได้ถามเกี่ยวกับมาตรฐานการผลิตแพทย์และการจูงใจให้เยาวชนสนใจ เรียนแพทย์ เพราะปัจจุบันนี้ นักเรียนสละสิทธิ์ไม่เรียนแพทย์ถึง 25% ของผู้สอบเข้าเรียนแพทย์  และการที่จะนำเอามหาวิทยาลัยออกนอกระบบรวมทั้งคณะแพทยศาสตร์ด้วย จะเกิดปัญหาการขาดบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องออกจากระบบราชการและขาดแคลน อาจารย์สอนนักศึกษาแพทย์

  12.มีการกล่าวถึงความสัมพันธ์อันดีที่ผู้ป่วยและประชาชนให้ความ นับถือและไว้ใจแพทย์ ซึ่งปัจจุบันนี้ดูจะขาดหายไป เพราะประชาชนตระหนักในสิทธิและเรียกร้องสิทธิมากขึ้น ทำให้มาโรงพยาบาลมากขึ้น แต่ทำให้แพทย์มีเวลาให้ผู้ป่วยแต่ละคนน้อยลง ทำให้อาจไม่มีเวลามากพอที่จะทำให้ผู้ป่วยเข้าใจกระบวนการและผลการรักษา ก่อให้เกิดความคาดหวังสูงเกินจริงและไม่อาจยอมรับอาการอันไม่พึงประสงค์หรือ โรคแทรกซ้อนได้ ทำให้มีการร้องเรียนมากขึ้น

 ยังมีคำถามและข้อเสนอแนะที่ ไม่ได้ถามและยังไม่ได้กล่าวถึงอีกก็มี แต่นับได้ว่าการเสวนาครั้งนี้ถือเป็นก้าวที่สำคัญของแพทยสภาในการดำเนินการ ในเชิงรุก เพื่อที่จะให้ผู้ที่อยากเข้ามาบริหารประเทศ ได้รับทราบปัญหาสำคัญในวงการแพทย์ที่เกิดวิกฤตในปัจจุบัน  เพื่อ จะได้หาทางแก้ไข ให้เกิดประโยชน์และเหมาะสมกับบุคลากรและภาวะเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อให้เกิดผลดีที่จะเป็นประโยชน์แก่ประชาชนทุกหมู่เหล่า รวมทั้งบุคลากรทางการแพทย์ด้วย