ผู้เขียน หัวข้อ: 'ต้องเพิ่ม' ก่อนเกินแก้ 'แพทย์คุณภาพ' ไทยมี...แต่ 'ยังไม่พอ'-เดลินิวส์-2เมย2553  (อ่าน 2401 ครั้ง)

pradit

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 322
    • ดูรายละเอียด
"การขยายตัวในการให้บริการทางการแพทย์สำหรับกลุ่มชาวต่างชาติ เพื่อเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ หรือเมดิคัล ฮับ (Medical Hub) ในปัจจุบันกำลังส่งผลกระทบต่อการบริการทางการแพทย์ของคนไทยโดยตรง ทั้งด้านคุณภาพของบุคลากรแพทย์ เนื่องจากแพทย์ฝีมือดีและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะไปกระจุกตัวอยู่ในโรงพยาบาล เอกชนซึ่งได้รับค่าตอบแทนที่สูงกว่า ส่งผลให้คนไทยต้องเสียค่ารักษาพยาบาลสูงขึ้น รวมไปถึงมีแนวโน้มขาดแคลนบุคลากรแพทย์ในอนาคต”
   
...นี่เป็นมุมมองของ นพ.ชลธิศ สินรัชตานันท์ นายกสมาคมศัลยกรรมตกแต่งใบหน้าแห่งประเทศไทย ซึ่งมุมมองเกี่ยวกับ “แพทย์” ข้างต้น คงมิได้หมายถึงแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านใดด้านหนึ่ง แต่ทุกด้าน
   
ปัจจุบันภาคเอกชนกำลังเร่งขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าว  สู่การเป็นเมดิคัล ฮับ ตามนโยบายภาครัฐ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างรายได้เข้าประเทศ รวมทั้งให้ทันกับการเปิดเสรีภาคบริการของ อาเซียน ซึ่งประเทศไทยถือว่ามีศักยภาพด้านการแพทย์และสุขภาพสูง มีบุคลากรแพทย์ซึ่งประเทศต่าง ๆ ให้การยอมรับ และมีการคาดกันว่าภายในปี ค.ศ. 2015 ประเทศไทยจะมีบทบาทเป็นหนึ่งในผู้นำด้านสุขภาพของโลก แต่เรื่องนี้ก็มีปัญหา
   
ที่สำคัญคือ...ทำอย่างไรคนไทยจึงจะไม่ได้รับผลกระทบ ?
   
ทั้งนี้ กับเรื่องนี้ นพ.ชลธิศ สะท้อนว่า... ประเทศไทยต้อง เตรียมความพร้อมอย่างจริงจัง วางกรอบการพัฒนาอย่างมีประสิทธิ ภาพ โดยควรมองอย่างครบทุกด้าน พิจารณาทุกส่วน โดยเฉพาะ 5 ส่วนหลัก ๆ คือ.....
   
1. ระบบสาธารณสุข ประเทศไทยมีระบบสาธารณสุขกระจายทั่วประเทศ สามารถเข้าถึงประชาชนได้อย่างทั่วถึง แต่ด้านคุณภาพนั้น ส่วนใหญ่ยังกระจุกตัวอยู่ในเมืองใหญ่ ๆ ขณะที่ระดับอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน ด้านคุณภาพ และประสบการณ์ ยังไม่เท่าเทียม ดังนั้น ฝ่ายที่เกี่ยวข้องควร “ต้องเร่งบริหารจัดการระบบสาธารณสุขภายในประเทศให้มีความเท่าเทียมกันในด้าน คุณภาพ”
   
2. สถาบันการศึกษา ผู้ผลิตแพทย์ ปัจจุบันมีสถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนเปิดการเรียนการสอนคณะแพทย ศาสตร์มากขึ้น อย่างไรก็ตาม จนถึงวันนี้แม้ประเทศไทยจะมีบุคลากรแพทย์ที่มีคุณภาพ และมีฝีมือเป็นที่ยอมรับระดับชั้นนำของโลก แต่ด้านจำนวนนั้น แม้ไม่ถึงขั้นขาดแคลน แต่ด้วยสัดส่วนแพทย์ 40 คนต่อประชากรแสนคน ก็ถือว่ายังน้อยมาก เมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสหรัฐอเมริกาที่มีแพทย์กว่า 300 คน ต่อประชากรแสนคน ดังนั้น “การผลิตบุคลากรแพทย์ให้เพียงพอต่อความต้องการ และคุณภาพการผลิตบุคลากรของแต่ละสถาบัน เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้เกี่ยวข้องต้องควบคุมดูแลให้ได้มาตรฐาน”
   
3. ภาคเอกชน การสร้างประเทศไทยให้เป็นเมดิคัล ฮับ   จำเป็นที่จะ “ต้องแยกส่วนการให้บริการ โดยจัดเป็นไพรเวท เซ็คเตอร์ (Private Sector) ซึ่งปัจจุบันภาคเอกชนกำลังเดินหน้า ภาครัฐควรให้การสนับสนุนอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม” เพื่อจะทำให้ก้าวสู่เมดิคัล ฮับ ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งนอกจากการสร้างรายได้เข้าประเทศแล้ว ยังเป็นการพัฒนาวงการแพทย์ไทยให้เจริญก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องอีกด้วย
   
4. ศักยภาพบุคลากรแพทย์ การเร่งสร้างบุคลากรแพทย์เพื่อให้เพียงพอต่อการบริการสาธารณสุขในประเทศ ด้วยการปรับหลักสูตรการเรียนการสอนจาก 7 ปีให้เหลือเพียง 6 ปี ปัจจุบันนอกจากจะ “ไม่สามารถสร้างจำนวนบุคลากรแพทย์ให้มากตามที่ตั้งเป้าไว้ และยังมีผลที่ตามมาและกำลังกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องรีบเร่งแก้ไขเป็นการ ด่วน คือเรื่องของคุณภาพ” ซึ่งปัจจุบันแพทย์รุ่นใหม่ก็กำลังมีปัญหาการเดินทางไปทำงานในต่างประเทศ เนื่องจากดีกรีแพทยศาสตรบัณฑิตหลักสูตร 6 ปีไม่ได้มาตรฐานสากล ทำให้ถูกปฏิเสธ
   
ข้อกีดกันที่ว่า “ด้อยคุณภาพ” นี่เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะขณะที่การเปิดเสรีภาคบริการกำลังเริ่มขึ้น นี่คือโอกาสสำคัญของ  การโยกย้ายบุคลากรที่มีทักษะเข้าไปในประเทศต่าง ๆ ซึ่งหากสามารถสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพป้อนตลาดได้ นอกจากเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตแล้ว ยังช่วยนำรายได้เข้าประเทศอีกทางหนึ่งด้วย
   
5. ด้านสังคม ปัจจุบันมีกรณี “ฟ้องร้องแพทย์” เกิดขึ้นบ่อย ส่งผลให้คนรุ่นใหม่ เด็กที่เรียนเก่ง ไม่เลือกเรียนแพทย์ ซึ่งหากปล่อยต่อไป ในอนาคตนอกจากจะ “ไม่มีคนเก่งเรียนแพทย์ ทำให้แพทย์คุณภาพด้อยลงไปเรื่อย ๆ” แล้ว ยังทำให้แนวโน้มการ “ขาดแคลนจำนวนแพทย์” ของไทย อาจเข้าขั้นวิกฤติได้
   
ทั้งนี้ กับประเด็นขาดแคลนนั้น จุดนี้ต้องแทรกว่า... แม้แต่แพทย์จบใหม่ที่ถูกส่งไปฝึกงาน ซึ่งช่วยแบ่งเบาภาระบุคลากรแพทย์เดิมตามโรงพยาบาลจังหวัด โรงพยาบาลชุมชน ตอนนี้ก็ดูเหมือนจะขาด ? เช่นที่ จ.อุทัยธานี แว่ว ๆ ว่าปีนี้ยังไม่ได้รับการจัดสรรแพทย์กลุ่มนี้เลย ? ซึ่งฝ่ายที่เกี่ยวข้องก็ควรจะต้องตรวจสอบ ?
   
ส่วน นพ.ชลธิศ ก็ทิ้งท้ายว่า... “ถ้า ไม่อยากให้ประเทศไทย...สายเกินแก้ ทั้งเรื่องเมดิคัล ฮับ และระบบสาธารณสุข สิ่งสำคัญคือการเร่งพัฒนาคุณภาพบุคลากรแพทย์ให้มีมาตรฐานเดียวกับมาตรฐานโลก เร่งแก้ปัญหาทางสังคม ปั้นบุคลากรแพทย์ให้เพียงพอกับระบบสาธารณสุขในประเทศ แล้วจึงป้อนสู่ต่างประเทศ...
   
เริ่มเร่งตอนนี้...ก็น่าจะยังพอทันการอยู่ !!”.

today

  • Staff
  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 263
    • ดูรายละเอียด
แล้วใครจะเป็นคนเริ่ม

ไม่เห็นมีใครเสนอตัวเริ่มเลย