ผู้เขียน หัวข้อ: สุดยอดหัวใจ!! "ตูน บอดี้สแลม" อาสาทำดี วิ่ง400กม. กทม.-บางสะพาน ระดมทุน  (อ่าน 1481 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9755
    • ดูรายละเอียด
ตูน อาทิวราห์ คงมาลัย หรือ ตูน บอดี้สแลม นักร้องชื่อดังของเมืองไทย ร่วมโครงการทำความดี วิ่งเพื่อการกุศลระดมทุนช่วยเหลือ การซื้อเครื่องมือทางการแพทย์ของโรงพยาบาลบางสะพาน โดยกิจกรรมดังกล่าวนี้ใช้ชื่อว่า “ก้าว” ก้าวคนละก้าว 10 วัน 400 กิโลเมตร ไปกับตูน bodyslam เริ่มต้นจากกรุงเทพฯไปจนถึงอำเภอบางสะพาน ในวันที่ 1-10 ธันวาคมนี้



ชาแนลยูทูป bodyslam ระบุข้อความว่า “ก้าว” ที่ท้าทายที่สุดครั้งหนึ่งในชีวิต ของตูน บอดี้สแลม กับการวิ่ง 10 วัน 400 ก.ม. กรุงเทพ – บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อระดมทุนช่วยเหลือโรงพยาบาลบางสะพานในการซื้อเครื่องมือแพทย์ที่ขาดแคลนในวันที่ 1 – 10 ธันวาคม 2559 นี้ มาลุ้น,ให้กำลังใจไปด้วยกัน

และร่วมบริจาคเงินได้ที่บัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกรุงไทย สาขาบางสะพาน ชื่อบัญชี “โครงการก้าวคนละก้าว เพื่อโรงพยาบาลบางสะพาน”เลขที่บัญชี 7420378118 ทางแห่งความหวังอยู่ไม่ไกล ถ้าได้ “ก้าว” เล็กๆ จากทุกคน #ก้าว #ก้าวคนละก้าว

2016-11-16
http://77jowo.tnews.co.th/contents/213207/

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9755
    • ดูรายละเอียด
วันนี้ถือเป็นวันแรกที่ ตูน บอดี้สแลม เริ่มวิ่งการกุศลเพื่อหาเงินสมทบทุนซื้ออุปกรณ์การแพทย์มอบให้ โรงพยาบาลบางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ มีศิลปิน ดารา เดินทางมาร่วมวิ่งและให้กำลังใจจำนวนมาก โดย ตูน บอดี้สแลม จะเริ่มวิ่งจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพฯ ถึง อ.บางสะพาน ใช้เวลา 10 วัน ระยะทาง 400 กิโลเมตร

วันนี้ (1 ธ.ค. 59) นายอาทิวราห์ คงมาลัย หรือ ตูน บอดี้สแลม เริ่มวิ่งการกุศลจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร เพื่อหาเงินซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์มอบให้กับโรงพยาบาลบางสะพาน อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งในวันนี้มีประชาชนและศิษย์เก่าโรงเรียนสวนกุหลาบ รวมถึงเพื่อนศิลปินดาราเดินทางมาให้กำลังใจเป็นจำนวนมาก

ในช่วงเวลาประมาณ 04.00 ศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันร่วมกับโรงพยาบาลพระรามเก้า ได้มอบเงินจำนวนรวมกว่า หนึ่งแสนบาทให้กับ ตูน อาทิวราห์ เพื่อสมทบทุนช่วยเหลือโรงพยาบาลบางสะพาน โดย ตูน ระบุว่า ขอขอบคุณชาวไทยทุกคนที่ร่วมสมทบทุน จนยอดบริจาคขณะนี้สูงถึง 4 ล้านบาท และตนตั้งใจว่าจะได้ยอดรวมมากกว่า 40 ล้านบาท เมื่อสิ้นสุดกิจกรรม ส่วนเรื่องสภาพร่างกาย ตนมั่นใจเพราะได้ฝึกซ้อมวิ่งมาโดยตลอด รวมถึงได้เข้ารับการตรวจร่างกายมาแล้วก่อนหน้านี้



นอกจากนี้ ยังมีศิลปินดารา อาทิ ก้อย รัชวิน ,ดีเจพุฒ ,ณัฐ ศักดาทร ,ศิลปินวงค็อกเทล ,หมู สวีทมุน ,บอย โลโมโซนิค เดินทางมาร่วมวิ่งในช่วงเช้าวันนี้

ทั้งนี้ ตูน บอดี้สแลม จะออกวิ่งจากหน้าโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ในเวลา 04.30 น. ขึ้นสะพานพระพุทธยอดฟ้า หรือสะพานพุทธ มุ่งหน้าถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน และผ่านแยกดาวคะนอง เลี้ยวขวาเข้าถนนพระราม 2 มุ่งหน้าถนนเพชรเกษม โดยผ่านจังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ สิ้นสุดที่ตลาดบางสะพาน ในวันที่ 10 ธันวาคม 2559 รวมระยะทาง 400 กิโลเมตร

สำหรับผู้ที่สนใจร่วมบริจาคสามารถโอนเงินเข้าไปที่ เลขที่บัญชีของโครงการกิจกรรมวิ่งการกุศล “#ก้าวคนละก้าว” ซึ่งทางโรงพยาบาลเป็นผู้เปิดบัญชีเอง บัญชีธนาคารกรุงไทย สาขาบางสะพาน ชื่อบัญชี โครงการก้าวคนละก้าว เพื่อโรงพยาบาลบางสะพาน เลขที่บัญชี 742-0-37811-8 และมีการแจ้งยอดทุกเย็น หลังจบกิจกรรมวิ่งการกุศลในแต่ละวันผ่านทาง www.bodyslamband.com และทางIG :@artiwara ของตูนบอดี้สแลม

2016-12-01
http://deeps.tnews.co.th/contents/215228/

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9755
    • ดูรายละเอียด
“ตูน บอดี้สแลม” วิ่งถึงร.พ. บางสะพานแล้ว มีผู้บริจาคระดมทุนซื้ออุปกรณ์การแพทย์ 63 ล้านบาท ใช้เวลาวิ่งจากกทม.ถึงบางสะพาน 10 วันระยะทาง 400 ก.ม. ชาวบ้าน-แฟนเพลงให้กำลังใจตลอดเส้นทาง ก่อนมอบเงินบริจาคให้โรงพยาบาล ด้านร็อกเกอร์หนุ่มเปิดประมูลรองเท้าไนกี้ “รุ่งอรุณ” คู่ที่ใส่วิ่ง-คู่เดียวในโลก มีคนมาประมูลยอดอยู่ที่ 999,999 บาท แถมทีมท็อตแน่ม ฮอตสเปอร์ ส่งเสื้อสโมสรพร้อมลายเซ็นนักเตะร่วมประมูลกับโครงการด้วย

วันที่ 10 ธ.ค. หลังจากร็อกเกอร์หนุ่ม “ตูน บอดี้สแลม” หรืออาทิวราห์ คงมาลัย มีโครงการ #ก้าวคนละก้าว เพื่อระดมทุนซื้ออุปกรณ์การแพทย์มอบให้โรงพยาบาลบางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ โดยเริ่มออกวิ่งจากกรุงเทพฯ ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.ที่ผ่านมา และมีกำหนดวิ่งเป็นระยะทางรวม 400 ก.ม. เป็นเวลา 10 วัน ซึ่งระยะทางที่นักร้องหนุ่มวิ่งผ่านมีชาวบ้านนำเงินมาร่วมบริจาคและให้กำลังใจตลอดเส้นทางจำนวนมาก รวมถึงมีเพื่อนนักร้องและดารามาร่วมวิ่งกันอีกหลายคนด้วย โดยล่าสุดยอดเงินบริจาคอยู่ที่ 63 ล้านบาทแล้ว

สำหรับการวิ่งในวันสุดท้ายที่เหลือระยะทางอีก 38.6 ก.ม. ตูนเริ่มออกวิ่งรอบแรกเมื่อเวลา 05.30-07.30 น. จากหน่วยบริการประชาชนบ้านอ่างทอง อ.ทับสะแก วิ่งมาตามถนนสายโคกตาหอมบ้านกรูด ถึงเบย์วิว รีสอร์ต ระยะทางการวิ่ง 10 ก.ม. โดยมี ชาวบางสะพานร่วมก้าวคนละก้าวไปกับตูน บอดี้สแลม ด้วย

จากนั้นนักร้องหนุ่มออกวิ่งในช่วงที่ 2 เวลา 07.30-09.00 น. จากเบย์วิว รีสอร์ต ถึงบ้านกรูด เรสสิเดนท์ ระยะวิ่ง 9 ก.ม. โดยวิ่งเลียบชายทะเลบ้านกรูด ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวชื่อดังของ อ.บางสะพาน ท่ามกลางสภาพอากาศที่สดชื่น แดดยังไม่ร้อนมาก ทำให้ตูน บอดี้สแลม สามารถวิ่งได้อย่างสบายๆ โดยในช่วงวิ่งระยะที่ 2 มีแฟนคลับของบอดี้สแลมที่ติดตามมาจากกรุงเทพฯ มารอให้กำลังใจกันเป็นจำนวนมาก รวมถึงชาวบ้านกรูดด้วยที่มารอมอบเงินบริจาคและต้อนรับตูนกันอย่างล้นหลามตลอดสองข้างทาง

ส่วนในช่วงที่สาม ตูนออกสตาร์ตเวลา 09.00-10.30 น. จากบ้านกรูด เรสสิเด้นท์ ถึงกรีน ซี วิว รีสอร์ต ระยะวิ่ง 8.6 ก.ม. ก่อนพักการวิ่งสำหรับในช่วงเช้า จากนั้นนักร้องหนุ่มเริ่มวิ่งอีกครั้งในช่วงสุดท้ายเวลา 16.00 น. ออกจากกรีน ซี วิว รีสอร์ต มุ่งหน้าสู่จุดหมายปลายทางร.พ.บางสะพาน ระยะทางสุดท้ายอีก 11 ก.ม. โดยมีนายทวี นริศสิริกุล ผู้ว่าฯ ประจวบคีรีขันธ์ และเพื่อนศิลปินร่วมวิ่งด้วย นำโดยแท่ง-ศักดิ์สิทธิ์ แท่งทอง, ก้อย-รัชวิน วงศ์วิริยะ, เปอร์-สุวิกรม อัมระนันทน์, แจ๊ค แฟนฉัน-เฉลิมพล ทิฆัมพรธีรวงศ์, วงแคลช นำโดยพล-คชภัค ผลธนโชติ, แฮ็ค-ฐาปนา ณ บางช้าง และยักษ์-อนันต์ ดาบ เพ็ชรธิกรณ์ ใช้เส้นทางวิ่งมาถึงแยกท่ามะนาว แล้วเลี้ยวขวาผ่านวัดท่ามะนาว ผ่านบริษัท สหวิริยา ป่ายาง ถึงสามแยกแล้วเลี้ยวขวาไปวัดเขาโบสถ์ ซึ่งจะเป็นจุดรวมพลของคนที่จะร่วมวิ่งกับ “ตูน บอดี้สแลม” ไปจนถึงร.พ. บางสะพาน ในเวลา 17.30 น.

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ในการวิ่งช่วงสุดท้ายที่บริเวณแยกร.พ.บางสะพาน คณะนักวิ่งและประชาชนทั้งหมดได้หยุดวิ่งเพื่อให้ “ตูน บอดี้สแลม” เป็นผู้วิ่งไปจนถึงเส้นชัย โดยมีคุณพ่อคุณแม่ของนักร้องหนุ่มยืนรอรับ พร้อมกับประชาชนที่มาต้อนรับและส่งเสียงปรบมือให้กำลังใจดังสนั่น ก่อนจะขึ้นไปทำพิธีการบนเวที พร้อมกับมอบเงิน 63,000,000 บาท ให้กับร.พ.บางสะพาน

“ตูน บอดี้สแลม” กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของโครงการก้าวคนละก้าวฯ ว่า ตนเป็นคนจ.สุพรรณบุรี แต่มีโอกาสมาใช้ชีวิตอยู่ที่อ.บางสะพาน ตั้งแต่เมื่อสองปีที่แล้ว แล้วก็คิดว่าตัวเองเป็นคนบางสะพานคนหนึ่ง จึงทราบปัญหาการขาดแคลนเครื่องมือแพทย์และพูดคุยกับผอ.โรงพยาบาล จนเกิดเป็นโครงการวิ่งการกุศลครั้งนี้ขึ้น ทุกอย่างที่ทำไม่ใช่เพราะอยากจะมีชื่อเสียงโด่งดังหรือสร้างภาพ เพราะตอนแรกตั้งใจจะวิ่งเงียบๆ แต่มีโอกาสได้คุยกับพี่ปิงปอง ที่นิตยสารอะเดย์ เพื่อขอให้ช่วยลงข่าวให้ ซึ่งพี่ปิงปองแนะนำว่าเรื่องดีๆ แบบนี้ต้องทำให้เสียงดัง เพื่อที่คนอื่นจะได้รู้และร่วมช่วยเหลือได้ด้วย ตอนแรกไม่ได้คิดว่าจะได้รับการบริจาคจากคนไทยทั่วประเทศเป็นจำนวนเยอะขนาดนี้ คิดว่าได้ 4-5 ล้านบาทก็ดีใจแล้ว พอเห็นยอดวันนี้สูงถึง 63,000,000 บาท ต้องขอพูดคำว่าขอโทษที่ดูถูกน้ำใจคนไทยไปหน่อย

“สิ่งที่ผมทำในวันนี้อยากจะสะท้อนปัญหาให้คนทั้งประเทศได้เห็น ไม่ใช่แค่โรงพยาบาลบางสะพานเพียงอย่างเดียว ยังมีโรงพยาบาลอื่นๆ อีกมากมายที่ขาดเครื่องมือแพทย์ในการรักษา ถ้าช่วยเหลือกันได้ก็จะช่วยชีวิตคนได้อีกจำนวนมาก ที่สำคัญคือไม่อยากให้โครงการในวันนี้สูญเปล่า หลังจากนี้ไปหากทุกคนช่วยเหลือกันได้ก็จะเป็นสิ่งที่ดีมาก ผมก็เป็นแค่คนตัวเล็กๆ คนหนึ่งที่หลายคนเคยพูดว่าหุ่นขี้ยา ใครที่เคยว่าผมว่าเป็นขี้ยาลองมาวิ่ง 400 กิโลเมตรกับผมดูมั้ย ตัวเล็กๆ แบบผมอาจจะสามารถทำได้เพียงเท่านี้ แต่คนไทยทั้งประเทศถ้าร่วมมือกันก็จะสามารถช่วยโรงพยาบาลอื่นๆ ได้ด้วย ผมต้องขอบคุณ ทุกคนที่ช่วยเหลือและเป็นกำลังใจให้การก้าวครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี แล้วในอนาคตก็จะมีก้าวต่อไปด้วยกันครับ” นักร้องหนุ่มทิ้งท้ายนอกจากนี้เพจ Bodyslamband ได้เปิดประมูลรองเท้าวิ่งยี่ห้อไนกี้ รุ่น Lunarepic Flyknit Shield iD ชื่อ “รุ่งอรุณ” ซึ่งนักร้องหนุ่มใส่ วิ่งตลอด 10 วันที่ผ่านมา ซึ่งชื่อรุ่งอรุณ “ตูน บอดี้สแลม” ได้ตั้งชื่อให้บริษัทไนกี้ และที่สำคัญรองเท้าคู่นี้เป็นรุ่นที่ตูนเป็นผู้ออกแบบเอง จึงเป็นรองเท้าคู่เดียวในโลก ราคาประมูลเริ่มที่ 9,999 บาท โดยล่าสุดราคาประมูลอยู่ที่ 999,999 บาทแล้ว

ขณะที่สโมสรท็อตแน่ม ฮอตสเปอร์ ซึ่งเป็นทีมฟุตบอลที่ “ตูน บอดี้สแลม” ชื่นชอบตั้งแต่เด็ก ได้ส่งเสื้อสโมสรพร้อมลายเซ็น นักเตะมาให้ เพื่อร่วมโครงการก้าวคนละก้าว ก่อนเปิดประมูลเริ่มต้นที่ 999 บาท

11 ธันวาคม 2559
https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_137910

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9755
    • ดูรายละเอียด
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบางสะพาน เผยที่มาโครงการ "ก้าวคนละก้าว" เดิมทีจะจัดวิ่งการกุศลนำเงินซื้ออุปกรณ์การแพทย์ ปลื้มใจ ตูน บอดี้สแลม อาสาเป็นแกนนำวิ่งระดมทุน

วันที่ 9 ธันวาคม 2559 นายแพทย์เชิดชาย ชยวัฑโฒ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เปิดเผยถึงที่มาของโครงการ "ก้าวคนละก้าว" หลังเป็นที่โด่งดัง เมื่อนักร้องหนุ่ม "ตูน บอดี้สแลม" อาสาเป็นแกนนำวิ่งระดมทุนหาเงินซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ โดยเดิมทีทางโรงพยาบาลต้องการที่จะจัดวิ่งการกุศลเพื่อกระตุ้นให้คนหันมาออกกำลังกาย เพราะการออกกำลังกายจะป้องกันโรคได้ดีกว่าการรักษาเท่านั้น ตั้งใจที่จะเชิญชวน ตูน บอดี้สแลม มาร่วมเป็นกระบอกเสียง เนื่องจากทราบว่าเขามีบ้านอยู่ที่บางสะพาน และเห็นว่าเป็นคนชอบออกกำลังกาย เพื่อจะนำเงินส่วนหนึ่งที่เหลือจากการจัดการวิ่งการกุศลก็จะนำมาซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์

แต่เมื่อมีการชักชวน ตูน บอดี้สแลม เข้าร่วม เขาก็ยินดีอาสาที่จะวิ่งด้วยตัวเองเพื่อระดมทุนเพื่อให้ได้มากที่สุด เนื่องจากตูนคิดว่าการจัดวิ่งการกุศลที่เต็มรูปแบบอาจต้องใช้งบประมาณมาก ถ้าหากต้องการระดมทุนเพื่อซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายนั้นอาจจะเหลือไม่มาก จึงอาสาลงแรงวิ่งระดมทุนเองดังกล่าวด้วยตนเอง

ผอ.โรงพยาบาลบางสะพาน เล่าที่มาที่ไปก่อนเป็นโครงการ "ก้าวคนละก้าวเพื่อโรงพยาบาลบางสะพาน" เตรียมแบ่งเงินบริจาคแก้ไขปัญหาน้ำท่วม

http://hilight.kapook.com/view/146273

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9755
    • ดูรายละเอียด
    ตูน บอดี้สแลมกำลังจะออกวิ่งในโครงการ ‘ก้าวคนละก้าว’ เป็นระยะทาง 400 กิโลเมตร จากกรุงเทพฯ - บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อระดมทุนช่วยเหลือโรงพยาบาลบางสะพานที่กำลังขาดแคลนอุปกรณ์ทางการแพทย์
    เป้าหมายของการวิ่งครั้งนี้ไม่ใช่เพื่อแข่งความเร็วกับใคร แต่เป็นการกระจายปัญหานี้ให้คนได้รับรู้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้


     400 กิโลเมตร คือระยะทางโดยประมาณจากกรุงเทพฯ สู่อำเภอบางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์
     ถ้านั่งรถด้วยระยะทางประมาณนี้ อาจต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 4 ชั่วโมง
     แต่ ตูน-อาทิวราห์ คงมาลัย หรือตูน บอดี้สแลม ไม่เลือกที่จะเดินทางด้วยรถยนต์ เพราะเขากำลังจะใช้สองเท้าที่เขามี บวกกับแรงใจและแรงกายจำนวนมากเพื่อพาตัวเองไปให้ถึงบางสะพานด้วยการวิ่งทีละก้าว ทีละก้าว โดยตั้งใจจะใช้เวลา 10 วัน วิ่งวันละ 40 กิโลเมตร หรือเทียบเท่ากับการวิ่งมาราธอนติดต่อกันโดยไม่หยุดพักจำนวน 10 ครั้ง
     เป้าหมายในการวิ่งครั้งนี้ของเขาไม่ใช่เพื่อแข่งขันกับใคร ไม่มีเส้นชัยให้พิชิต เหรียญรางวัลไม่ใช่แรงจูงใจสูงสุด เพราะจุดหมายปลายทางที่เขาต้องการยิ่งใหญ่กว่านั้น ถึงขั้นอาจช่วยต่อชีวิตใครบางคนได้จากการออกวิ่งแต่ละก้าวเลยด้วยซ้ำ
     คงไม่เกินจริงถ้าจะบอกว่าเขาไม่ได้กำลังจะวิ่งเพื่อตัวเอง เพราะแต่ละก้าวคือความตั้งใจที่จะช่วยเหลือผู้ป่วยในโรงพยาบาลบางสะพานที่กำลังขาดแคลนอุปกรณ์ทางการแพทย์
     ก่อนจะออกวิ่งจริงในวันที่ 1 ธันวาคมนี้ ในโครงการ ‘ก้าวคนละก้าว’ The Momentum มีโอกาสได้พูดคุยกับเขานานนับชั่วโมง และนี่คือบทสนทนาที่จะตอบทุกคำถามในใจคุณที่มีต่อภารกิจครั้งนี้ของ ตูน บอดี้สแลม

ที่มาของการวิ่งครั้งนี้เป็นอย่างไร
     มันเริ่มต้นจากการที่ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ คุณหมอเชิดชาย ชยุวัฑโฒ ท่านแค่อยากชวนผมไปเป็นหนึ่งในสีสันของงานวิ่งที่กำลังจะจัด เพื่อต้องการให้คนบางสะพานได้มาวิ่งออกกำลังกายกัน แล้วถ้ามีเงินเหลือจากการจัดงานก็จะเอามาซื้อเครื่องมือแพทย์ที่กำลังขาดแคลน พอฟังแล้วก็อยากช่วย เพราะเป็นคนชอบวิ่งอยู่แล้ว และมันก็ไม่ได้เหนือบ่ากว่าแรง ซึ่งก่อนหน้านี้ก็เคยได้ไปใช้ชีวิตอยู่ที่บางสะพาน ไปปลูกบ้านที่นั่น คิดว่าถ้าได้ทำอะไรสักอย่างให้คนในพื้นที่ตรงนี้ก็คงดี
     สุดท้ายจึงไปคุยกับคุณหมอ ได้ไปดูที่โรงพยาบาล ได้เห็นสภาพของความขาดแคลน ได้เห็นคนไข้ที่ต้องนอนอยู่ข้างทางเดินในโรงพยาบาล เพราะว่าห้องไม่พอ หรือแม้กระทั่งไม่มีเครื่องมือใช้รักษา ทั้งที่เป็นเครื่องมือพื้นฐานด้วยซ้ำ พอได้ยินแบบนั้นก็รู้สึกว่ามันขาดเยอะ แล้วจะพอเหรอกับการวิ่งเพื่อการกุศลแค่ครั้งเดียว เพราะเราก็มีเพื่อนที่เคยจัดงานวิ่ง เลยรู้ว่าการจัดงานแบบนี้ต้องใช้เงินเยอะ บางงานใช้เงินเป็นล้าน พอเอารายได้จากสปอนเซอร์หรือการสมัครมาหักลบ ก็เหลือกำไรอยู่นิดเดียว หรือบางทีต้องควักเนื้อไปทำบุญด้วยซ้ำ
     ก็เลยเป็นที่มาในการขออนุญาตคุณหมอว่าเดี๋ยวผมขอทำให้แล้วกัน คุณหมอก็งงๆ นะว่าจะทำอะไร ก็เลยกลับมานอนคิดที่บ้านว่าจะจัดงานวิ่งให้คุณหมอแล้วกัน จะเป็นแม่งานให้ พอคิดเร็วๆ บรรทัดสุดท้ายก็คงเป็นตัวเลขที่เยอะกว่าที่คุณหมอทำเอง แต่พอมาเขียนดูอีกทีบนกระดาษจริงๆ ต้นทุนมันเยอะกว่าที่คิด และรายได้ก็ต้องลุ้น ไม่ได้มีความง่ายขนาดนั้น สุดท้ายก็ล้มความคิดเดิมทั้งหมด อยากจะช่วย แต่คิดว่าต้นทุนมีเราคนเดียวพอ ไม่ต้องมีค่าเสื้อ ค่าเหรียญ ค่าอาหาร ค่าเต็นท์ ค่าจัดการ ไม่ต้องแล้ว ต้นทุนคือเราคนเดียว ก็วิ่งคนเดียวจากกรุงเทพฯ ไปบางสะพาน เรี่ยไรเงินจากหลายๆ คน เอาเงินที่ได้วิ่งลงไปให้เขาที่บางสะพาน
 

    เราจะใช้การวิ่งนี้สื่อสารปัญหาที่มีอยู่ให้กับคนได้รับรู้ในวงกว้างที่สุด
    สาระไม่ได้อยู่ที่การวิ่ง 400 กิโลเมตร ไม่ต้องไปถึงเร็วที่สุด ไม่ต้องแข่งกัน
    แต่สาระคือเราใช้การวิ่งเป็นเครื่องมือในการบอกกล่าว
    ส่งสารออกไปว่าตรงนี้ต้องการความช่วยเหลือและขาดแคลน

ทำไมต้องวิ่ง ทั้งที่คุณเองน่าจะอยู่ในจุดที่เลือกทำอย่างอื่นได้ เช่น จัดคอนเสิร์ต เล่นดนตรี หรือทำอะไรที่ไม่ต้องเปลืองแรงขนาดนี้
     จุดประสงค์แรกของคุณหมอคือต้องการให้ทุกคนเห็นความสำคัญของการออกกำลังกาย ซึ่งเราก็วิ่งอยู่แล้ว สิ่งหนึ่งที่ผมชอบมากคือ ทุกวันนี้เวลาผมซ้อมวิ่งในหมู่บ้าน ภาพที่ผมเห็นคือจะมีพี่ๆ จากบ้านหลังอื่นๆ ออกมาวิ่งตาม ทั้งที่เขาก็ไม่เคยวิ่ง แล้วก็มาให้กำลังใจผม ผมชอบความรู้สึกนี้ เราไม่ได้วิ่งเก่งกาจอะไร แต่ก็เป็นแรงบันดาลใจเล็กๆ ให้คนลุกออกมาจากบ้าน ออกมาจากโซฟาหน้าทีวีได้ ออกมาวิ่งกับเราคนละรอบสองรอบ บางคนก็วิ่งกับเราเป็นสิบรอบ
     ผมรู้สึกว่าการวิ่งมันเพิ่มมิติของผมด้วย จากแค่ร้องเพลง แค่จัดคอนเสิร์ต ผมเองทำมาหมดแล้ว และตรงนั้นมันก็ไม่ได้บันดาลใจให้คนมาออกกำลังกายอย่างที่คุณหมอต้องการ ซึ่งผมก็เป็นคนชอบกีฬามากอยู่แล้ว ความสนใจของผมถ้าให้แบ่งออกมาเป็น 100% ดนตรีกับกีฬามาอย่างละ 50% เลยนะ คือผมเล่นกีฬามาตลอดชีวิตอยู่แล้ว เป็นอีกมุมหนึ่งที่ชอบ และสามารถสื่อสารผ่านตัวเองได้ ถ้าทำแล้วมันบันดาลใจให้คนได้จริงๆ เราก็อยากจะทำ

แล้วทำไมต้องวิ่งไกลถึง 400 กิโลเมตร ทั้งที่จริงๆ วิ่งแค่ 100 หรือ 200 กิโลเมตร ก็น่าจะดึงความสนใจจากคนได้อยู่แล้ว
     ไม่ (ส่ายหัว) เนื่องจากเราต้องการสื่อสารถึงปัญหาความขาดแคลนตรงนี้ ให้คนหันมาเห็นเยอะๆ ซึ่งปัญหานี้มันไม่ได้โครมคราม หรือเสียงดังมากจนเรียกคนให้มาช่วยได้ในทีเดียว ปัญหานี้เป็นเหมือนปัญหารายวัน ยิบย่อย ที่ไม่มีใครเอามากองรวมกันให้คนได้เห็นในคราวเดียว แต่ในขณะเดียวกันมันก็เป็นปัญหาใหญ่ที่ซ่อนอยู่ ในระหว่างที่เราคุยกันก็มีเด็กๆ ที่ต้องแชร์เครื่องอบตัว ที่โรงพยาบาลบางสะพานมีอยู่เครื่องเดียว แต่มีเด็กตัวเหลืองต้องการใช้เครื่องอบ 3-4 คนตลอดเวลา หรือเครื่องฟอกไตที่ไม่พร้อม ในขณะที่เราคุยกันก็มีคนรอคิวอยู่ ผมต้องการให้คนได้รู้เยอะๆ
     งานนี้ผมอยากให้เป็นเรื่องจำนวนคน ยิ่งคนรู้เยอะ ยิ่งบริจาคกันคนละเล็กละน้อย สมมติมีคนรู้ล้านคน บริจาคกันมาคนละ 5 บาท ก็ได้ 5 ล้านแล้ว เพื่อการสื่อสารมันเลยต้องการการวิ่งที่ดูเกินจริงนิดหนึ่ง ถ้าเราจัดงานวิ่งการกุศลในสวนลุมฯ 4 รอบ เรียกคนมาได้รอบละ 300 คน แจกเสื้อแจกเหรียญ คนก็รู้ประมาณหนึ่ง ออกมาช่วยแล้วไง สุดท้ายก็ลืม ปัญหาก็ไม่ได้ถูกบอกต่อ
     ผมว่านี่เป็นปัญหาของพวกเราทุกคนนะ ญาติเราบางคนอยู่ต่างจังหวัด ก็อาจจะต้องไปรอคิวโรงพยาบาลรัฐ อาจจะต้องการเครื่องมือบางอย่างเพื่อช่วยชีวิตเขา บางคนอาจจะคิดว่าจริงเหรอ เงิน 10 บาทจะช่วยคนได้เหรอ แต่ผมบอกเลยว่ามันมีคุณค่า มีความหมายมาก
     ระยะทางมันเหมือนเรียกคนให้หันมามองได้เยอะขึ้น หันมามองก่อนว่าไอ้คนคนนี้จะทำอะไรขนาดนี้วะ ทำเพื่ออะไร มันถูกตั้งคำถาม พอคนรู้ว่าเราทำทำไม หรือทำไมต้องวิ่ง 400 กิโลเมตร ก็น่าจะทำให้คนหันมาสนใจปัญหามากขึ้น
 

    สิ่งที่ผมกลัวคืออะไรรู้ไหม กลัวว่าจะไปเดือดร้อนการจราจร
    คือไม่อยากให้มันเกิดภาพตรงนี้ ที่ผมบอกทุกคนว่าจะวิ่งคนเดียว
    เพราะว่าผมไม่อยากให้มันไปเดือดร้อนคนอื่น

นอกจากเรื่องการระดมทุนแล้ว การวิ่งครั้งนี้มีความหมายอะไรที่มากกว่านั้นหรือเปล่า
     เราจะใช้การวิ่งนี้สื่อสารปัญหาที่มีอยู่ให้กับคนได้รับรู้ในวงกว้างที่สุด สาระไม่ได้อยู่ที่การวิ่ง 400 กิโลเมตร ไม่ต้องไปถึงเร็วที่สุด ไม่ต้องแข่งกัน แต่สาระคือเราใช้การวิ่งเป็นเครื่องมือในการบอกกล่าว ส่งสารออกไปว่าตรงนี้ต้องการความช่วยเหลือและขาดแคลน อยากให้คนแบบเราๆ ที่ไม่ได้มีเงินเยอะๆ ที่จะบริจาคได้เป็นแสนเป็นล้านเหมือนคนอื่นเขาได้รับรู้กันเยอะๆ
     ก่อนอื่นต้องรับรู้ก่อนว่ามีปัญหา เพราะเราคนไทยจะชินตากับโรงพยาบาลรัฐ โรงพยาบาลประจำจังหวัดและอำเภอ ที่เวลาคนไปใช้บริการต้องต่อคิวกันเยอะๆ ตั้งแต่ตีสี่ตีห้า คนเฒ่าคนแก่ เด็กน้อย ไปรอกันถึงเย็น คืออยู่โรงพยาบาลทั้งวัน เราชินตากัน และมักจะคิดว่าคนที่มีความรับผิดชอบเรื่องพวกนี้คงช่วยกันเต็มที่อยู่แล้ว คนที่บริจาคก็คงเข้าไปอุดรูรั่วตรงนี้ได้อยู่แล้ว มันถึงไม่มีเสียงที่พูดถึงปัญหาเหล่านี้ เพราะทุกคนก็ต่างคิดว่ามีคนดูแลอยู่ตรงนั้นพอแล้ว สุดท้ายทุกอย่างก็เป็นเหมือนเดิม
     จริงๆ แล้วไม่ใช่แค่ที่บางสะพานเท่านั้นที่เป็นแบบนี้ คุณหมอก็บอกว่าโรงพยาบาลระดับนี้ (โรงพยาบาลชุมชนขนาด 120 เตียง) มีอยู่อีก 80 กว่าโรงพยาบาลทั่วประเทศ ซึ่งก็ต้องการความช่วยเหลือไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง จริงๆ ก็มีหน่วยงานเข้าไปช่วยเหลือแก้ไขปัญหาตลอดเวลานะ แต่เหมือนถมทรายในมหาสมุทร คนป่วยก็มีทุกวัน เครื่องไม้เครื่องมือที่มีก็เก่าลงไปทุกวัน เทคโนโลยีก็เปลี่ยนไปทุกวัน และต้องการอะไรใหม่ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับปัจจุบัน


แต่สุดท้ายคุณคงไม่สามารถวิ่ง 400 กิโลเมตรได้ทุกเดือน ในอนาคตก็ยังจะมีปัญหานี้เกิดขึ้นอีก คุณมองเรื่องนี้อย่างไร
     ใช่ๆ ผมไม่ใช่ผู้วิเศษอยู่แล้ว ซึ่งที่ผ่านมาก็มีคนในสังคมออกมาทำบางสิ่งเพื่อช่วยเหลือผู้คนอยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าเราไปคิดแบบนั้น เราก็จะไม่ได้ทำอะไรเลย คิดว่าเดี๋ยวก็มีปัญหา เราจะทำไปทำไม เดี๋ยวก็คงมีคนมาทำเอง หรือเดี๋ยวอีกปีหนึ่งคนก็ลืมไปหมดแล้ว ถ้าเราคิดแต่เรื่องปัญหา เราจะไม่ได้เริ่มทำอะไร
     เป้าหมายในฝันของผม คือทำให้โครงการนี้ไปช่วยบอกต่อ ไปช่วยกระตุ้นเตือนให้กับคนในพื้นที่อีกหลายๆ จังหวัด หลายๆ อำเภอ ให้เขาหันกลับไปมองโรงพยาบาลหลังบ้านเขาว่ามีปัญหานี้อยู่หรือเปล่า และถ้าเขาเป็นคนที่มีพลังประมาณหนึ่ง ก็อาจจะริเริ่มทำอะไรสักอย่างเพื่อโรงพยาบาลหลังบ้านเขา อันนี้คือปลายทางในฝันที่อยากให้เกิดขึ้นมาก

ถ้าให้สำรวจตัวเอง คิดว่าการวิ่งครั้งนี้เป็นการตั้งคำถามหรือค้นหาคำตอบอะไรในชีวิตหรือเปล่า
     ไม่ได้คิดลึกขนาดนั้นเลย ผมแค่ทำมัน แล้วก็ทำอย่างรวดเร็วมาก ไม่ต้องไปคิดว่ามาจากตรรกะหรือมีอะไรรองรับที่สมเหตุสมผลไหม แค่ทำไปก่อน ผมเล่าเรื่องนี้มาประมาณรอบที่ร้อยให้ทุกคนได้ฟัง เพราะผมต้องขอความช่วยเหลือจากคนจำนวนหนึ่งในการทำเรื่องนี้ให้เกิดขึ้นจริง โดนคำถามแบบนี้บ้าง แตกต่างไปบ้าง เจอคำถามในเชิงที่ทำให้กลับมาฉุกคิด ให้กลับไปทำการบ้านก็เยอะ ผมอยู่กับสิ่งนี้มาประมาณหนึ่งเดือน พูดเรื่องนี้ทุกวัน ซึ่งมันสนุกมากเลยนะ ไม่รู้สิ บางทีผมทำงานนี้หนักกว่าที่ออกไปโปรโมตอัลบั้มตัวเองอีก ผมรู้สึกเหนื่อยกาย แต่ไม่ได้เหนื่อยใจ
     เดือนที่ผ่านมามันสนุกมาก แล้วได้คิดว่าปลายทางเราทำเพื่อเด็กคนหนึ่งที่แชร์เครื่องอบตัวกับอีกคนอยู่ เพื่อพ่อแม่ที่เห็นลูกป่วยอยู่แต่รักษาไม่ได้ คนแก่ที่รอเครื่องไม้เครื่องมือ เฮ้ย มันมีกำลังนะ ตอนแรกไม่ได้คิดใหญ่ด้วยซ้ำ เพราะความเป็นคนขี้อาย เป็นคนกลัว กลัวคนบอกว่าเราทำดีเพื่อโปรโมตตัวเอง เอาหน้า กลัวจะโดนคนว่า โดนคนวิจารณ์ อยากทำเล็กๆ วิ่ง 400 กิโลเมตรนี่แหละ ไม่ต้องป่าวประกาศมากมาย ไม่ต้องออกสื่อ ไม่ต้องสัมภาษณ์ กลัว… กลัวจริงๆ ที่จะโดนแบบนี้ เพราะเราอยากทำเรื่องนี้ด้วยความสบายใจที่สุด เราไม่ได้อยากมาอยู่ท่ามกลางผู้คน ให้คนตัดสินว่าเราทำเพื่ออะไร หรือมีผลประโยชน์ไหม เพราะถ้าทำแล้วเครียด เราจะไม่ทำ
 

    ก้าวก็หมายถึงก้าวเดิน ก้าวต่อไป ไม่ต้องรีบก้าว ก้าวสั้นๆ บ้าง
    ถ้ามีแรงน้อย ก้าวยาวๆ ได้ ถ้ามีแรงเยอะ หยุดก้าวได้ถ้าเหนื่อย
    พรุ่งนี้มาก้าวใหม่ ก้าวสั้นๆ ก้าวยาวๆ หยุดก้าว 400 กิโลเมตร
    ถ้าเราไปเรื่อยๆ มันก็ถึงนะ แต่ถ้าไม่เริ่มก้าวเลย
    อยู่แต่กับบ้าน กิโลเมตรแรกก็คงไม่มี

แล้วทำไมถึงเปลี่ยนใจ
     เพราะคุยกับผู้ใหญ่คนหนึ่ง เล่าให้เขาฟังว่าผมจะทำแบบนี้ พี่ช่วยบอกต่อหน่อยได้ไหม พี่เขาก็ถามว่า อ้าว แล้วทำไมไม่ทำให้มันจริงจังไปเลยวะ เฮ้ย ทำดีไม่ต้องเขินดิ ทำดีไม่ต้องอาย ทำไปเลย พี่เขาก็บอกว่าถ้าเราทำตรงนี้ ทำเต็มที่ เต็มเม็ดเต็มหน่วย แล้วคนรู้เยอะๆ ได้เงินเยอะๆ ไปช่วยกันเยอะๆ มันก็ดีไม่ใช่เหรอ เราอุตส่าห์ลงแรงขนาดนี้ มันต้องได้ผลที่คุ้มค่าเหนื่อยสิวะ มันมีอยู่แล้วคนที่จะมองเราแบบนั้น แต่ไม่ต้องกลัว ทำไปเลย ถ้ามันจะได้ผลประโยชน์เยอะที่สุดกับปลายทางที่เราต้องการให้เป็น ผมก็คิดว่า เออ จริงว่ะ เราอุตส่าห์ตั้งใจขนาดนี้แล้ว อะ กลั้นใจ เอาก็เอา ทำให้มันเป็นเรื่องใหญ่ไปเลยก็ได้ เพราะอยากให้คนรู้เยอะๆ เพื่อมาช่วยกันเยอะๆ

สิ่งที่ยากที่สุดในภารกิจครั้งนี้คืออะไร
     ยากสุดอาจจะเป็นเรื่องของการวิ่งที่จะต้องจบให้ได้ มันก็อยู่ที่การฟิตซ้อมแล้วว่าจะออกแบบยังไงให้มันจบ 400 กิโลเมตรใน 10 วันให้ได้ ซึ่งตรงนี้ก็มีคนมาช่วยดูแลเยอะ ทั้งคุณหมอตรวจร่างกาย ให้ความเห็น ออกแบบการซ้อม หรือนักกายภาพ นักกีฬาที่มีประสบการณ์ในการวิ่งระยะนี้ ก็มาช่วยออกแบบการซ้อม และช่วยซัพพอร์ตในการวิ่งจริง มีคุณหมอที่มีประสบการณ์คอยวิ่งตามเราทุกก้าว เพื่อที่เวลาวิ่งแล้วล้มฟุบไปก็ปั๊มขึ้นมาได้เลย เรามีคนช่วยมากมาย ตรงนี้อาจทำให้เรื่องยาก ยากน้อยลง พอมีคนช่วยตลอดเวลามันก็เลยดูเหมือนไม่ได้ยากมาก เพราะพออธิบายแบบนี้กับทุกคน เขาก็เห็นด้วย และพร้อมมาช่วย ทุกโรงพยาบาลเลยนะครับ ต้องขอบคุณผ่านทางนี้ไว้เลย ทุกคนช่วยแบบฟรีๆ เลย

แสดงว่าคุณก็รู้ว่าทุกกิโลเมตรที่กำลังจะวิ่งมีความเสี่ยง?
     มันก็มีปัจจัยเสี่ยงแหละ มันก็บ้าพอสมควร แต่เราก็เห็นบางคนวิ่งมาจากปัตตานี น้องๆ ตัวเล็กๆ บางทีก็วิ่งมาจากบุรีรัมย์ เขาก็ยังไม่เป็นไร แล้วเรามีคนช่วยเยอะขนาดนี้ ไม่เป็นไรหรอก เราไม่ได้วิ่งเร็วๆ นี่ เราก็วิ่งต๊อกแต๊กๆ เหนื่อยก็เดิน โธ่ แล้วมีทีมให้น้ำให้ท่าอีก ก็อยู่ที่เราแล้วว่าเตรียมตัวพร้อมขนาดไหน กล้ามเนื้อเราไหวไหม ใจเราไหวไหม ซึ่งใจผมบอกว่าโอเค

ใจที่ไหวคือแบบไหน
     ไหวคือเราคิดถึงปลายทาง ไม่ต้องคิดถึงกายภาพ คิดถึงปลายทางว่าเราทำอะไรอยู่ ทำเพื่ออะไรวะ สิ่งที่ยากที่สุดน่าจะเป็นเรื่องการวิ่ง ระหว่างทางมันมีทุกคนมาช่วย ซึ่งเป็นเรื่องที่สวยงามที่สุดที่ผมเจอเลย มีคนใจดีในเมืองไทยเพียบเลย จริงๆ นะ คนพร้อมที่จะช่วยเหลือกันนี่เยอะเลย ตามท้องถนนที่ผมเดินตอนนี้มีแต่คนทักเรื่องนี้ แล้วบางคนก็ควักเงินมาให้ผมเลย ขอช่วยด้วย สู้ๆ นะครับ ขนาดยังไม่ได้วิ่งเลย ดีมากเลย ได้เห็นน้ำใจคนระหว่างทาง

คุณออกแบบการวิ่งไว้อย่างไร
     คือเราออกแบบการวิ่ง 10 วัน 400 กิโลเมตร เท่ากับวันหนึ่งวิ่ง 40 กิโลเมตร เราแบ่งการวิ่งเป็น 4 เซต 4 ช่วงการวิ่ง ก็จะวิ่งประมาณช่วงละ 10 กิโลเมตร และพักครึ่งชั่วโมงถึงหนึ่งชั่วโมง แล้วก็เตรียมตัววิ่งในเซตต่อไป เซตแรกเราออกตี 4 ครึ่งถึง 6 โมงเช้า วิ่งๆ เดินๆ ชั่วโมงครึ่ง ไม่ต้องรีบ พอพักปุ๊บ เซตที่ 2 เราจะเริ่ม 6 โมงครึ่งถึง 8 โมงเช้า หลังจากนั้นเราก็จะพักยาวหน่อย แล้วเริ่มเซตที่ 3 ประมาณบ่าย 3 โมง คือเราไม่ได้วิ่งตลอด 40 กิโลเมตรติดกัน วิ่งแบบนั้นมันไม่มีทางจบอยู่แล้ว เราออกแบบให้มันไม่ทรมานมาก คือออกแบบให้เป็นไปได้จริงๆ แล้วเราไม่ได้ออกแบบคนเดียว ก็จะมีนักวิ่งมาช่วยออกแบบ คุณหมอ นักกายภาพ รู้สึกว่าเท่านี้กล้ามเนื้อร่างกายจะไม่ต้องใช้เยอะเกินไป จริงๆ สาระมันไม่ได้อยู่ที่การวิ่งเท่าไหร่ สาระมันอยู่ที่เรื่องที่เราต้องการจะสื่อสารมากกว่า
 

    โอ๊ย ตอนวิ่งเข้าเส้นชัย น่าจะร้องไห้นะ
    ก็คงเป็นอีกวันหนึ่งในชีวิตที่น่าจะมีความสุข แล้วก็อยากจะมีเงินเยอะๆ
    บอกคุณหมอว่าหมอเอาไปเลย ผมทำให้แล้วครับ เอาไปเลย

ตั้งเป้าไว้ไหมว่าจะต้องได้เงินเท่าไหร่
     เยอะที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะเครื่องมือแพทย์มันไม่ได้ 10 บาท 20 บาท ไม่ใช่หมื่นสองหมื่น บางเครื่องเริ่มต้นที่หลักล้าน ไอ้เครื่องที่เราไปตรวจความดันก็หลายแสนแล้ว สมมติเราหาเงินให้เขาได้ 10 ล้าน เอาไปซื้อเครื่องมือแพทย์ได้ 5 เครื่อง ก็ดูไม่เปลี่ยนแปลงเท่าไหร่เลยนะ คือครั้งนี้ผมอยากได้เยอะที่สุด เพื่อให้เขาไปต่อยอดอะไรก็ได้โดยไม่ต้องกระมิดกระเมี้ยน หรือกลัวเงินจะหมด มีเงินเหลือก็เอาไปซื้อเตียงเพิ่ม ให้สวัสดิการพยาบาลที่เขาป่วย เพราะโรงพยาบาลไม่ได้มีเครื่องฟอกอากาศที่มีประสิทธิภาพพออย่างโรงพยาบาลในกรุงเทพฯ พยาบาลก็ติดเชื้อโรคจากคนป่วยด้วย สวัสดิการก็ไม่ได้ดี แต่ก็เสียสละ จะได้มีเงินไปจัดการตรงนั้นได้ด้วย ห้องผ่าตัดที่ปิดอยู่ก็เปิดได้ด้วย ใช้เงินอีก 3-4 ล้านลงไปตรงนั้น อยากได้เยอะๆ เยอะที่สุด เพื่ออะไร เพื่อให้คุณหมอได้ใช้เงินตรงนี้เยอะที่สุดด้วย และเพื่อบอกต่อว่าคนไทยเรา พอเวลาจะช่วยกันจริงๆ ก็ใจดีนะ ใจดีจริงๆ ไม่ใช่ทำขนาดนี้แล้วได้นิดหน่อย เพื่อแสดงอะไรบางอย่างในเชิงสัญลักษณ์อย่างเดียว เราอยากทำให้มันเกิดเป็นรูปธรรมด้วย

นึกภาพวันวิ่งจริงๆ เป็นอย่างไร
     วันวิ่งจริงก็ไม่รู้จะเกิดอะไรขึ้น เพราะไม่เคยวิ่งแบบนี้เหมือนกัน สิ่งที่ผมกลัวคืออะไรรู้ไหม กลัวว่าจะไปเดือดร้อนการจราจร คือไม่อยากให้มันเกิดภาพตรงนี้ ที่ผมบอกทุกคนว่าจะวิ่งคนเดียว เพราะว่าผมไม่อยากให้มันไปเดือดร้อนคนอื่น ที่อาศัยถนนในการสัญจร บางคนก็รีบ บางคนก็ป่วย บางคนก็ต้องการเดินทางอย่างสะดวกสบาย นั่นแหละเป็นสิ่งที่ผมกังวล อยากจะแค่วิ่งเพื่อสื่อสารช่องทางตรงนี้ให้มันมีประสิทธิภาพที่สุดโดยที่ไม่ไปเดือดร้อนคนอื่น ไม่อยากเลย เป็นเหตุผลที่ผมจะวิ่งตี 4 ครึ่ง วิ่งให้เสร็จภายใน 8 โมง หรือให้เสร็จก่อนเวลาที่คนจะสัญจรมากๆ แต่ช่วงบ่ายๆ เย็นๆ มันอาจจะมีบ้าง แต่ผมก็จะพยายามวิ่งอยู่ในไหล่ทางเยอะที่สุด พยายามบอกทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องเลยนะครับ พี่ๆ ทีมงานทุกคน หรือพี่ๆ ตำรวจจราจรทุกคนว่าผมไม่ได้อยากปิดถนนหรืออะไรเลย อยากจะแค่ให้ผมได้วิ่งบนไหล่ทางได้ก็พอแล้ว เพราะว่าไม่ได้มีคนเห็นดี เห็นด้วยกับเรา 100% หรอก ผมเชื่ออย่างนั้น


การวิ่งทั่วไปไม่ไหวก็เลิกได้ แต่การวิ่งครั้งนี้ดูเหมือนคุณจะเลิกไม่ได้แล้ว เพราะมีคนรับรู้มากมาย เหมือนเป็นคำสัญญา คุณมองเรื่องนี้อย่างไร
     ไม่ไหวคืออะไร คือถ้าเหตุการณ์ไม่ได้ถึงกับขาหักจนวิ่งไม่ได้แล้ว หรือเอ็นฉีก ข้อเท้าพลิกจนต้องพักไป 2 เดือน แบบนั้นก็คงวิ่งไม่ได้ แต่ถ้าแค่ขาแพลง หรือพักแค่นิดเดียวก็หาย ผมก็วิ่งต่อนะ เหนื่อยนอนพักคืนเดียวก็หาย แต่พวกกายภาพต่างหากที่ก็ต้องไปถามมันหน่อยว่า ข้อเท้ามึงไหวไหมวะ เข่ามึงโอเคนะ ตรงนี้มากกว่าที่ต้องเช็ก แต่ผมว่าใจไม่ยอมอยู่แล้ว ถ้าถามใจมันก็ต้องถึง ถ้าถามผมตอนนี้ผมก็บอกว่าผมทำถึงที่สุด ก็ไม่ยอม แต่ไปช้าๆ ไม่ใช่ ยูเซน โบลต์ นะ ไม่ต้องทำลายสถิติโลก
     บางทีคนเห็นผมวิ่งก็อาจจะทักว่า เฮ้ย พี่ตูน มึงเดินนี่หว่า ผมก็ไม่เขินนะ ผมก็ยังไป โครงการนี้มันถึงชื่อว่า ‘ก้าวคนละก้าว’ ไง โครงการนี้มันไม่ได้ชื่อว่าปรู๊ดปร๊าด หรือจี๊ดจ๊าด ก้าวก็หมายถึงก้าวเดิน ก้าวต่อไป ไม่ต้องรีบก้าว ก้าวสั้นๆ บ้าง ถ้ามีแรงน้อย ก้าวยาวๆ ได้ ถ้ามีแรงเยอะ หยุดก้าวได้ถ้าเหนื่อย พรุ่งนี้มาก้าวใหม่ ก้าวสั้นๆ ก้าวยาวๆ หยุดก้าว 400 กิโลเมตร ถ้าเราไปเรื่อยๆ มันก็ถึงนะ แต่ถ้าไม่เริ่มก้าวเลย อยู่แต่กับบ้าน กิโลเมตรแรกก็คงไม่มี แล้วสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ หรือสิ่งที่เราต้องการแก้ไขปัญหามันเป็นสิ่งที่ดูเกินจริง การที่เราจะวิ่ง 400 กิโลเมตรตรงนี้ ผมว่ามันสอดคล้องกัน คือมันก็ดูเกินจริงมากเลยกับปัญหาที่เราต้องการเข้าไปเยียวยา ดูเป็นปัญหาที่ต้องใช้ความตั้งใจ เหมือนเป้าหมายแห่งความสำเร็จมันอยู่ไกลๆ มันเทียบเคียงได้กับ 400 กิโลเมตร เราต้องการก้าวเล็กๆ จากทุกคนนี่แหละมาช่วยกัน คนละ 5 บาท 10 บาท ก้าวเล็กๆ นี่แหละ มากองรวมกัน ก้าวต่อก้าว ทางไกลๆ มันก็ดูเป็นไปได้นี่หว่า ถ้าเราช่วยกันก้าวนะ อย่าปล่อยให้ใครก้าวคนเดียว มันไม่มีทางถึง

ถ้าให้พูดหนึ่งคำกับตูนที่วิ่งเข้าเส้นชัยในวันนั้นจะพูดอะไร
     โอ๊ย ตอนวิ่งเข้าเส้นชัย น่าจะร้องไห้นะ ก็คงเป็นอีกวันหนึ่งในชีวิตที่น่าจะมีความสุข แล้วก็อยากจะมีเงินเยอะๆ บอกคุณหมอว่าหมอเอาไปเลย ผมทำให้แล้วครับ เอาไปเลย และได้ข่าวว่าวันนั้นก็จะมีคนจากบางสะพาน มีผู้ว่าฯ ประจวบฯ มาร่วมวิ่งต้อนรับเข้าเส้นชัยด้วยกัน คงเหมือน ฟอเรสต์ กัมป์ มีเด็กน้อย มีผู้เฒ่าผู้แก่ คนในตำบล ในอำเภอมาวิ่งด้วย อยากให้เราไปถึงวันนั้นได้ อืม แล้วจะทำมันทุกปี มีความสุขมากเลยตอนนี้ ความรู้สึกสุดท้ายคือตอนนี้มีความสุขมากเลยนะ

29-11-2016
http://themomentum.co/momentum-interview-athiwara-khongmalai

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9755
    • ดูรายละเอียด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า (9 ธ.ค.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวในรายการ ศาสตร์ของพระราชาสู่การปฏิบัติอย่างยั่งยืน โดยมีความตอนหนึ่งว่า อีกตัวอย่างของการทำดีเพื่อพ่อ ได้แก่โครงการก้าวคนละก้าว ซึ่งนายอาทิวราห์ คงมาลัย หรือ ตูน บอดี้สแลม นักร้องชื่อดัง

ในการวิ่งเพื่อระดมทุนจากผู้มีจิตศรัทธาทั่วประเทศ มาช่วยเหลือโรงพยาบาลบางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ในการจัดซื้อเครื่องมือแพทย์ที่ยังขาดแคลน โดยมีการออกวิ่งจากกรุงเทพฯ ไปยังอำเภอบางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทางรวม 400 กิโลเมตร ตั้งแต่วันที่ 1 ถึง 10 ธ.ค. นั้น

"อาจติดขัดการจราจรอยู่บ้าง ก็ถือว่าช่วยกันแล้วกัน เพราะนอกจากจะเป็นการอุทิศแรงกายแรงใจทำงานเพื่อสังคมแล้ว ยังเป็นการออกกำลังกายเป็นตัวอย่างให้กับเยาวชนและประชาชน เป็นความคิดสร้างสรรค์ของผู้ที่มีชื่อเสียงอยู่ในสังคม ที่สำคัญคือเป็นการทำกุศลที่สิ้นเปลืองน้อยที่สุด ใช้แรงกาย แรงใจ แต่ได้รับผลตอบรับมากที่สุด ขอเป็นกำลังใจให้กับทุกคนที่เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้" นายกรัฐมนตรี กล่าว

 9 ธ.ค. 59
http://news.sanook.com/2118734/

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9755
    • ดูรายละเอียด
จากกรณี “ตูน บอดี้สแลม” หรือนายอาทิวราห์ คงมาลัย นักร้องชื่อดัง จัดกิจกรรม “ก้าวคนและก้าว” เพื่อระดมทุนมอบให้โรงพยาบาลบางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ไปพัฒนาและจัดหาเครื่องมือแพทย์ ซึ่งมียอดเงินบริจาคทั้งสิ้นกว่า 70 ล้านบาท และเกิดกระแสวิจารณ์ในสังคมออนไลน์ถึงปัญหาโรงพยาบาลรัฐขาดแคลนเครื่องมือแพทย์ โดยเฉพาะในเรื่องงบประมาณที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า มีการจัดซื้อครุภัณฑ์ทางการแพทย์ไม่ตรงสเปก

เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ปัญหาดังกล่าวมีการพูดกันมาก แต่ในเรื่องการจัดซื้อครุภัณฑ์ทางการแพทย์หรือเครื่องมือแพทย์ที่ไม่ตรงสเปกนั้น ไม่ใช่เรื่องจริง เพราะโรงพยาบาลแต่ละแห่งเป็นผู้จัดทำสเปกขึ้นมาเสนอเอง โดยหน่วยงานในภูมิภาคจะมีคณะกรรมการกำหนดคุณสมบัติเฉพาะ (Specification) ตามความต้องการผู้ใช้ ว่าที่ไหนมีความจำเป็น และหากเป็นรายการที่อยู่ในบัญชีมาตรฐานครุภัณฑ์ของสำนักงบประมาณก็จะเป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้นของสำนักงบประมาณ

นพ.โสภณกล่าวว่า งบประมาณในการจัดซื้อเครื่องมือแพทย์มีอยู่ 4 แนวทางคือ 1.งบประมาณประจำปีเป็นงบลงทุนจากสำนักงบประมาณ 2.งบค่าเสื่อมจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ในการจัดซื้อทดแทน 3.เงินบำรุงของแต่ละโรงพยาบาล ซึ่งถือเป็นรายได้ของโรงพยาบาล หลังหักค่าใช้จ่ายต่างๆ จากการรักษาทั้งกลุ่มสิทธิสวัสดิการข้าราชการ ประกันสังคม หรือแม้แต่บัตรทอง ก็สามารถนำมาใช้จัดซื้อเครื่องมือแพทย์ที่จำเป็นได้ และ 4.เงินบริจาคจากประชาชนหรือผู้มีจิตศรัทธา

“ยืนยันว่าโรงพยาบาลสังกัด สธ.ไม่ได้ขาดแคลนเครื่องมือแพทย์อย่างที่เป็นข่าว และไม่ได้แย่ถึงขนาดไม่มีเครื่องมือทางการแพทย์ เพราะรัฐบาลก็สนับสนุนงบประมาณอยู่ และเครื่องมือแพทย์ที่จำเป็นหรือเป็นมาตรฐานในการช่วยเหลือชีวิตผู้ป่วย ทุกโรงพยาบาลมีพร้อม เพียงแต่ปัจจุบันมีการขยายงานบริการเพิ่มมากขึ้น เรียกได้ว่าปริมาณงานมากขึ้น จำเป็นต้องใช้เครื่องมือแพทย์เพิ่มมากขึ้น ยกตัวอย่าง ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และยังมีคนสูบบุหรี่อยู่มาก ทำให้เกิดความจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจมากขึ้น ซึ่งไม่ใช่ใช้เฉพาะแต่ในห้องฉุกเฉินเท่านั้น แต่ต้องจัดหาเครื่องช่วยหายใจไว้ในตึกธรรมดาด้วย” นพ.โสภณกล่าว

ปลัด สธ.กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ เทคโนโลยีทางการแพทย์มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ครุภัณฑ์ทางการแพทย์ ต้องได้รับการจัดซื้อจัดหาให้ทันสมัยและเพียงพอต่อการใช้งาน เพื่อให้ประชาชนคนไทยได้รับบริการที่ดี มีคุณภาพ ทันสมัย อาจส่งผลให้โรงพยาบาลต้องรอการจัดสรรงบประมาณในการจัดซื้อ โดยในปีงบประมาณ 2560 ได้จัดสรรงบลงทุนครุภัณฑ์การแพทย์ จำนวน 2,702,568,000 บาท

“การจัดกิจกรรมดังกล่าวของนักร้องดัง ผมขอชื่นชมและถือเป็นแบบอย่างที่ดี เพราะพูดชัดเจนว่าถ้าหากไม่อยากมาโรงพยาบาลก็ควรหันมาออกกำลังกาย เป็นการปลุกกระแสคนรักสุขภาพ และยังเป็นการดำเนินงานตามแนวทางประชารัฐ เป็นการรวมน้ำใจของประชาชนที่จะร่วมทำบุญกับศิลปินที่ตนเองชื่นชม เพื่อมอบสิ่งดีๆ ให้กับสังคม ผ่านทางโรงพยาบาลสังกัด สธ. ซึ่งสร้างจากภาษีของประชาชน เป็นตัวอย่างประชารัฐที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ที่ผ่านมาโรงพยาบาลในสังกัด สธ.ได้รับการช่วยเหลือสนับสนุนจากผู้มีจิตกุศลและองค์กรต่างๆ เสมอมา ต้องขอขอบคุณทุกๆ ท่าน ทุกภาคส่วนของสังคม ที่ไม่ได้ปล่อยให้เป็นกลไกของรัฐฝ่ายเดียว” นพ.โสภณกล่าว


มติชนออนไลน์
13 ธันวาคม 2559

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9755
    • ดูรายละเอียด
จากกรณี ‘ตูน บอดี้สแลม’ ออกมาวิ่งระยะทางกว่า 400 กิโลเมตรจากกรุงเทพฯถึงอ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อรณรงค์ให้คนร่วมบริจาคสมทบทุนในการจัดซื้อเครื่องมือแพทย์ให้กับรพ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) โดยได้เงินบริจาครวม 70 ล้านบาท ก่อนนำมาสู่กระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงสธ.ว่าไม่สนใจแก้ปัญหาในการจัดหาเครื่องมือแพทย์ให้โรงพยาบาลที่อยู่ในสังกัดนั้น

ล่าสุดเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(รมว.สธ.) กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ไม่มีโรงพยาบาลแห่งไหนในประเทศไทยที่มีเครื่องมือแพทย์ครบทั้งหมดแม้แต่ในโรงพยาบาลที่เป็นโรงเรียนแพทย์ เพียงแต่เครื่องมือแพทย์ที่โรงพยาบาลแต่แห่งมีจะต้องครบตามมาตรฐานของแต่ละระดับโรงพยาบาล เช่น โรงพยาบาลระดับอำเภอควรมีเครื่องมือแพทย์มาตรฐานแค่ไหนอย่างไร หรือโรงพยาบาลจังหวัดควรมีแค่ไหนอย่างไร ทั้งนี้ ถือเป็นเรื่องที่ดีที่มีคนร่วมบริจาคสมทบทุนเพื่อหาซื้อเครื่องมือแพทย์ให้กับโรงพยาบาล เพราะแม้แต่โรงพยาบาลของโรงเรียนแพทย์ที่มีจำนวนไม่มาก ก็ยังมีการบริจาคสมทบทุนในการจัดซื้อจัดหา ซึ่งโรงพยาบาลสังกัดสธ.กว่า 800 แห่ง มีจำนวนมากกว่ามากก็ไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะมีการบริจาคเพื่อจัดซื้อเครื่องมือแพทย์ โดยทั่วโลกก็เป็นเช่นนั้น

“คุณตูนออกมาวิ่งเป็นเรื่องที่ดีมากๆ ต้องขอบคุณตูนเป็นอย่างยิ่ง ที่ร่วมกันช่วยเหลือโรงพยาบาล ซึ่งไม่ควรมีการเชื่อมโยงไปว่าการที่โรงพยาบาลต้องรับบริจาคเป็นเพราะการแพทย์ไทยล้มเหลว ที่ผ่านมาหลายๆโรงพยาบาลก็ต้องรับบริจาคเช่นนี้ พระหลายๆรูปก็สมทบทุนบริจาคให้โรงพยาบาลหลายๆแห่ง ทั้งซื้อเครื่องมือแพทย์และสร้างอาคาร เนื่องจากการของบประมาณประเทศ ไม่มีโรงพยาบาลไหนได้งบฯจัดซื้อเครื่องมือแพทย์ครบตามที่ต้องการ รัฐบาลจัดสรรงบให้เต็มที่เท่าที่รัฐให้ได้” นพ.ปิยะสกล กล่าว

นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดสธ. กล่าวว่า ในการจัดสรรงบประมาณให้โรงพยาบาลต่างๆนั้น ตามปกติจะมีขั้นตอน โดยโรงพยาบาลแต่ละแห่งจะจัดทำคำของบประมาณที่โรงพยาบาลต้องการทั้งเพื่อการจัดซื้อจัดหาเครื่องมือแพทย์ เวชภัณฑ์ หรือก่อสร้างมายังส่วนกลาง โดยวจะมีคณะกรรมการพิจารณาว่าเขตบริการสุขภาพพื้นที่ไหนควรได้รับการจัดสรรงบฯเท่าไหร่ อย่างไร จากนั้นจึงเสนอของบประมาณไปยังรัฐบาล เพื่อรับการจัดสรรตามที่มีการพิจารณา


ที่มา มติชนออนไลน์
19 ธ.ค. 2559

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9755
    • ดูรายละเอียด
สธ.แจงปมดราม่ารพ.รับบริจาคเงิน
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: 20 ธันวาคม 2016, 03:59:29 »
สธ.แจงเรื่องปกติรพ.รับบริจาคเงิน ย้ำรัฐจัดงบฯให้เต็มที่เท่าที่รัฐให้ได้ ระบุไม่มีรพ.ไหนมีเครื่องมือแพทย์ครบทั้งหมด

จากกรณีที่ตูน บอดี้สแลมออกมาวิ่งระยะทางกว่า 400 กิโลเมตรจากกรุงเทพฯถึงอ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อรณรงค์ให้คนร่วมบริจาคสมทบทุนในการจัดซื้อเครื่องมือแพทย์ให้กับรพ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) โดยได้เงินบริจาครวม 70 ล้านบาท ก่อนนำมาสู่กระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงสธ.ว่าไม่สนใจแก้ปัญหาในการจัดหาเครื่องมือแพทย์ให้โรงพยาบาลที่อยู่ในสังกัดนั้น

ล่าสุด ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(รมว.สธ.) กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ไม่มีโรงพยาบาลแห่งไหนในประเทศไทยที่มีเครื่องมือแพทย์ครบทั้งหมดแม้แต่ในโรงพยาบาลที่เป็นโรงเรียนแพทย์ เพียงแต่เครื่องมือแพทย์ที่โรงพยาบาลแต่แห่งมีจะต้องครบตามมาตรฐานของแต่ละระดับโรงพยาบาล เช่น โรงพยาบาลระดับอำเภอควรมีเครื่องมือแพทย์มาตรฐานแค่ไหนอย่างไร หรือโรงพยาบาลจังหวัดควรมีแค่ไหนอย่างไร ทั้งนี้  ถือเป็นเรื่องที่ดีที่มีคนร่วมบริจาคสมทบทุนเพื่อหาซื้อเครื่องมือแพทย์ให้กับโรงพยาบาล เพราะแม้แต่โรงพยาบาลของโรงเรียนแพทย์ที่มีจำนวนไม่มาก ก็ยังมีการบริจาคสมทบทุนในการจัดซื้อจัดหา ซึ่งโรงพยาบาลสังกัดสธ.กว่า 800 แห่ง มีจำนวนมากกว่ามากก็ไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะมีการบริจาคเพื่อจัดซื้อเครื่องมือแพทย์  โดยทั่วโลกก็เป็นเช่นนั้น

Ads By AdAsia

“คุณตูนออกมาวิ่งเป็นเรื่องที่ดีมากๆ ต้องขอบคุณตูนเป็นอย่างยิ่ง ที่ร่วมกันช่วยเหลือโรงพยาบาล  ซึ่งไม่ควรมีการเชื่อมโยงไปว่าการที่โรงพยาบาลต้องรับบริจาคเป็นเพราะการแพทย์ไทยล้มเหลว ที่ผ่านมาหลายๆโรงพยาบาลก็ต้องรับบริจาคเช่นนี้ พระหลายๆรูปก็สมทบทุนบริจาคให้โรงพยาบาลหลายๆแห่ง ทั้งซื้อเครื่องมือแพทย์และสร้างอาคาร เนื่องจากการของบประมาณประเทศ ไม่มีโรงพยาบาลไหนได้งบฯจัดซื้อเครื่องมือแพทย์ครบตามที่ต้องการ รัฐบาลจัดสรรงบให้เต็มที่เท่าที่รัฐให้ได้”ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกลกล่าว

ด้านนพ.โสภณ เมฆธน ปลัดสธ. กล่าวว่า ในการจัดสรรงบประมาณให้โรงพยาบาลต่างๆนั้น  ตามปกติจะมีขั้นตอน โดยโรงพยาบาลแต่ละแห่งจะจัดทำคำของบประมาณที่โรงพยาบาลต้องการทั้งเพื่อการจัดซื้อจัดหาเครื่องมือแพทย์ เวชภัณฑ์ หรือก่อสร้างมายังส่วนกลาง โดยวจะมีคณะกรรมการพิจารณาว่าเขตบริการสุขภาพพื้นที่ไหนควรได้รับการจัดสรรงบฯเท่าไหร่ อย่างไร จากนั้นจึงเสนอของบประมาณไปยังรัฐบาล เพื่อรับการจัดสรรตามที่มีการพิจารณา ซึ่งในการจัดสรรงบประมาณก็จะไม่ได้ตามที่เสนอของบประมาณทั้งหมด ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและจำเป็น


โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 19 ธันวาคม 2559

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9755
    • ดูรายละเอียด
สิ่งที่ตูน บอดี้สแลมบอกสังคม
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: 20 ธันวาคม 2016, 04:59:38 »
การวิ่งจากกรุงเทพฯ ไปถึงบางสะพานระยะทาง 400 กิโลเมตรของตูน บอดี้สแลม เพื่อหาเงินช่วยเหลือโรงพยาบาลบางสะพานนั้นเป็นสิ่งที่น่าชื่นชม และได้เงินบริจาคมากถึง 63 ล้านบาท แม้แต่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีก็ออกมาชื่นชมผ่านรายการโทรทัศน์ในคืนวันศุกร์
       
        นพ.เชิดชาย ชยวัฑโฒ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบางสะพาน กล่าวภายหลังจากรับเงินบริจาคว่า จะเร่งดำเนินการจัดซื้อครุภัณฑ์การแพทย์ในเบื้องต้นประมาณ 5.5 ล้านบาท เพื่อใช้กับผู้ป่วยของทางโรงพยาบาลบางสะพาน ประกอบด้วยโคมไฟส่องรักษาเด็กตัวเหลือง เครื่องบันทึกการบีบตัวของมดลูก และอัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ เครื่องนึ่งฆ่าเชื้อโรคด้วยไอน้ำ เครื่องให้การรักษาด้วยคลื่นช็อกเวฟ เครื่องตรวจอวัยวะภายในด้วยคลื่นความถี่สูงด้วยระบบดิจิตอล และจะนำเงินส่วนหนึ่งไปจัดทำแนวป้องกันหลังเกิดน้ำท่วม รวมถึงซื้อเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ช่วยระบายน้ำเพราะที่ตั้งโรงพยาบาลเป็นแอ่งกระทะเพื่อไม่ให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนในช่วงที่เกิดน้ำท่วม
       
        แต่มันเกิดคำถามนะครับว่า ถ้าตูนไม่ออกมาวิ่งเพื่อให้สังคมช่วยกันบริจาคแล้ว แสดงว่าโรงพยาบาลจะขาดแคลนอุปกรณ์การแพทย์เหล่านี้ใช่หรือไม่ ทำไมรัฐจึงมองไม่เห็นว่า สิ่งที่ขาดแคลนนั้นเป็นสิ่งจำเป็น หรือแม้กระทั่งที่บอกว่า การสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมของโรงพยาบาลซึ่งน่าจะเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องแก้ไขให้หมดไปอย่างเด็ดขาด
       
        แล้วโรงพยาบาลทั่วประเทศไทยนั้น ยังมีภาวะขาดแคลนอุปกรณ์การแพทย์แบบนี้หรือไม่
       
        โรงพยาบาลแบบเดียวกับโรงพยาบาลบางสะพานซึ่งเรียกว่า โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) เป็นโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยเป็นโรงพยาบาลประจำอำเภอทั่วไป มีจำนวนเตียง 10 - 120 เตียง ในประเทศไทยมีอยู่ถึง 723 แห่งซึ่งเกือบจะครบทุกอำเภอในประเทศ ยังไม่นับโรงพยาบาลจังหวัด และโรงพยาบาลศูนย์ที่ตั้งอยู่ในตัวจังหวัดต่างๆ
       
        แต่ถามว่าเมื่อโรงพยาบาลบางสะพานได้รับการช่วยเหลือไปแล้ว โรงพยาบาลชุมชนอื่นอีก 700 กว่าแห่งที่เหลือจะได้รับความช่วยเหลือจากใคร และมีปัญหาเดียวกับโรงพยาบาลบางสะพานหรือไม่ หรือเราต้องหาคนแบบตูนอีก 700 กว่าคนเพื่อมาวิ่งระดมทุนแล้วรับคำชมจากนายกรัฐมนตรี
       
        ที่ตลกก็คือ เมื่อเกิดคำถามจากกรณีโรงพยาบาลบางสะพานขึ้น ปลัดกระทรวงสาธารณสุขออกมาบอกว่า “โรงพยาบาลสังกัด สธ.ไม่ได้ขาดแคลนเครื่องมือแพทย์อย่างที่เป็นข่าว และไม่ได้แย่ถึงขนาดไม่มีเครื่องมือทางการแพทย์ เพราะรัฐบาลก็สนับสนุนงบประมาณอยู่ และเครื่องมือแพทย์ที่จำเป็นหรือเป็นมาตรฐานในการช่วยเหลือชีวิตผู้ป่วย ทุกโรงพยาบาลมีพร้อม เพียงแต่ปัจจุบันมีการขยายงานบริการเพิ่มมากขึ้น เรียกได้ว่าปริมาณงานมากขึ้น จำเป็นต้องใช้เครื่องมือแพทย์เพิ่มมากขึ้น”
       
        มันแปลว่าอะไรครับ “ไม่ได้ขาดแคลนอุปกรณ์ แต่ปัจจุบันมีการขยายงานบริการเพิ่มขึ้น”
       
        อย่าว่าแต่โรงพยาบาลชุมชนเลยครับ เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ผมเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่งใน กทม.ที่ไม่ได้อยู่ภายใต้กระทรวงสาธารณสุข แต่เป็นระดับโรงเรียนแพทย์ หมอวินิจฉัยว่าผมควรเข้าเครื่องตรวจ MRI แต่รู้ไหมครับว่าผมต้องรอคิวเกือบ 4 เดือน ถ้าผมจะเอาผลเร็ว ผมก็ต้องไปทำที่โรงพยาบาลเอกชน แล้วคนที่เขาไม่สามารถไปทำที่โรงพยาบาลเอกชนได้เขาก็ต้องรอไปใช่ไหม
       
        นอกจากนั้นผมได้ยินข้อถกเถียงเรื่องการบริหารงบประมาณของโรงพยาบาลผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ภายใต้การบริหารของสำนักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช.แล้วก่อให้เกิดปัญหาทำให้โรงพยาบาลมีเงินไม่พอในการจัดบริการให้ประชาชน ซึ่งผมไม่ได้ตามเรื่องนี้นัก แต่เท่าที่รับรู้คือยังมีความเห็นที่ขัดแย้งกันในเรื่องนี้อย่างมาก ไม่ทราบว่าแก้ปัญหากันไปถึงไหนแล้ว แต่คนที่ได้รับผลกระทบก็คือประชาชนนั่นเอง
       
        น่าตั้งคำถามกับกระทรวงสาธารณสุขและรัฐบาลนี้นะครับว่า มีแผนการในการแก้ปัญหาการขาดแคลนอุปกรณ์การแพทย์ในโรงพยาบาลระดับต่างๆ อย่างไร และมีแผนการสาธารณสุขระดับชาติอย่างไร
       
        สิ่งที่พบเห็นอย่างชัดเจนก็คือ การไปโรงพยาบาลรัฐนั้นต้องใช้เวลานานมาก และเมื่อได้พบหมอแล้วก็ใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที เพราะหมอต้องรองรับคนไข้จำนวนมากนั่นเอง ปัญหานี้เกิดขึ้นไม่ว่าจะในส่วนกลางหรือต่างจังหวัด โรงพยาบาลทุกแห่งมีความแออัดไม่เพียงพอกับการให้บริการโดยเฉพาะโรงพยาบาลหลักๆ ที่เป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัดทั่วไปหรือโรงพยาบาลประจำอำเภอขนาดใหญ่ ซึ่งมีจำนวนเตียง 120 - 500 เตียงล้วนแล้วแต่มีปัญหานี้เหมือนกัน
       
        คิดดูสิครับว่า ทำไมโรงพยาบาลเอกชนจำนวนมากถึงเติบโตได้ แน่นอนว่าส่วนหนึ่งโรงพยาบาลเอกชนเก็บการบริการที่แพง ทำให้ธุรกิจมีกำไร ในขณะที่โรงพยาบาลของรัฐเก็บค่ารักษาถูกและในระยะหลังมุ่งให้การรักษาพยาบาลฟรีมากกว่า ทั้ง 30 บาทรักษาทุกโรคหรือบัตรทอง เป็นต้น ถามว่าทำไมรัฐบาลจึงไม่คิดดึงประชาชนที่มีกำลังจ่ายเหล่านั้นไปใช้บริการโรงพยาบาลของรัฐ โดยพัฒนาระบบการบริการให้ดีขึ้นเล่า เชื่อเลยว่า ประชาชนส่วนใหญ่มั่นใจศักยภาพของโรงพยาบาลรัฐ แต่เขาไม่ไปใช้ยอมเสียเงินให้โรงพยาบาลเอกชน เพราะความล่าช้า แออัดและไม่สะดวกสบายนี่เอง
       
        แต่ถ้าคำตอบว่าโรงพยาบาลรัฐทำแบบโรงพยาบาลเอกชนไม่ได้เพราะมีคนไข้จำนวนมาก มันก็คือ คำถามต่อว่า ทำไมไม่เพิ่มโรงพยาบาลรัฐให้เพียงพอกับความต้องการของประชาชน โรงพยาบาลทั่วไปที่เรียกว่าโรงพยาบาลจังหวัดที่มีเตียงขนาด 120-500 เตียงนั้น มันจำเป็นไหมว่าต้องมีแค่จังหวัดละโรงหรือมีแค่อำเภอใหญ่ แน่นอนว่ารัฐต้องใช้งบประมาณที่มากขึ้น แต่ระบบสาธารณสุขของประเทศก็ควรเพียงพอกับการรองรับปริมาณของคนไข้ไม่ใช่หรือ
       
        ทำไมมหาวิทยาลัยของรัฐจึงสามารถแข่งขันกับมหาวิทยาลัยเอกชนได้ทั้งศักยภาพและการบริการ แล้วทำไมโรงพยาบาลรัฐจึงแข่งขันกับโรงพยาบาลเอกชนไม่ได้
       
        แน่นอนว่าเราต้องมุ่งให้ประชาชนป้องกันตัวเองให้ปลอดจากโรคมากกว่าการรักษา แต่การสร้างระบบสาธารณสุขที่ดีและพอเพียงให้กับประชาชนก็เป็นสิ่งจำเป็น แต่เราจะพบว่า งบประมาณของกระทรวงสาธารณสุขซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับคนทั้งประเทศได้น้อยกว่ากระทรวงกลาโหมทุกปี โดยงบของกระทรวงกลาโหมจะระบุว่านำไปเสริมสร้างศักยภาพกองทัพและระบบป้องกันประเทศ และศักยภาพของคนเล่า
       
        สิ่งที่ตูน บอดี้สแลม จุดกระแสขึ้นมาในสังคมนั้น มันทำให้รัฐบาลหันมาฉุกคิดหรือไม่ว่า เราจะปรับปรุงระบบสาธารณสุขของบ้านเราให้ดีขึ้นอย่างไร หรือต้องรอคอยคนน้ำใจงามอย่างตูนไม่มีวันสิ้นสุด

โดย สุรวิชช์ วีรวรรณ        15 ธันวาคม 2559