ผู้เขียน หัวข้อ: คลังเล็งปรับสวัสดิการขรก.10 ล้านคน ใช้ประกันจ่ายค่าหมอแทน  (อ่าน 1141 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
รมว.คลัง เตรียมยกเลิกสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ 10 ล้านคน  หันไปใช้ระบบประกันภัยช่วยจ่ายค่ารักษาพยาบาลแทน หวังช่วยรัฐบริหารรายจ่ายได้ดีขึ้น พร้อมชง ครม. ใช้งบกลาง 800 ล้าน ทำประกันอุบัติเหตุผู้มีรายได้น้อย ตาย-เจ็บรับ 1 แสน นอนป่วยชดเชยวัน 300 บาท คาดมีผลเดือน พ.ย.


นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง เปิดเผยว่า รัฐบาลกำลังหารือกับบริษัทประกันภัยภาคเอกชน ให้เข้ามาบริหารจัดการค่ารักษาพยาบาลแก่ข้าราชการและครอบครัวที่มีสิทธิ์อยู่ในระบบ 10 ล้านคน แทนการให้สวัสดิการจากรัฐ เนื่องจากที่ผ่านมารัฐบาลใช้งบประมาณในการักษาพยาบาลให้กับข้าราชการสูงถึงปีละ 6 หมื่นล้านบาท และบางปีก็มีการเบิกจ่ายเงินเกินงบประมาณที่ตั้งไว้ ดังนั้นหากให้เอกชนดำเนินการแทน จะประหยัดเม็ดเงินงบประมาณ เพราะเอกชนบริหารจัดการได้ดีกว่าภาครัฐ

นอกจากนี้ เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ที่มีรายได้น้อยที่ลงทะเบียนกับรัฐบาลไว้ 8 ล้ายราย ให้มีความมั่นคงในชีวิตมากขึ้น กระทรวงการคลังจะเตรียมที่ทำประกันภัยอุบัติเหตุให้กับผู้รายได้น้อยฟรี โดยจะเสนอให้ ครม.พิจารณาภายใน 2-3 สัปดาห์ข้าวหน้า ก่อนที่จะมีผลบังคับใช้ภายในเดือนพ.ย.นี้  โดยในเบื้องต้นรัฐบาลจะใช้งบประมาณกลางสนับสนุน 800 ล้านบาทต่อปี ในการจ่ายค่าเบี้ยประกันให้ประชาชนคนละ 99 บาท ให้ความคุ้มครองกรณีบาดเจ็บและเสียชีวิตสูงสุดไม่เกินคนละ 1 แสนบาท และกรณีที่ต้องรักษาตัวอยู่โรงพยาบาลไม่สามารถทำงานจะชดเชยให้วันละ 300 บาท 

พฤหัสบดีที่ 22 กันยายน 2559
http://www.dailynews.co.th/economic/525513

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
การโอนเงินค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการ 7 หมื่นล้านบาท ให้บริษัทประกันภัยบริหารจัดการ นายกรัฐมนตรียืนยันว่า เป็นเพียงแนวคิดที่ยังไม่ได้ข้อสรุป ซึ่งทั้งหมดเกิดขึ้นจากความจำเป็นที่ต้องควบคุมเพดานงบประมาณส่วนนี้ไม่ให้บานปลาย

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ยอมรับว่า สิทธิในส่วนนี้ของข้าราชการเป็นข้อจำกัดที่ไม่สามารถปรับลดลงได้ เช่นเดียวกับตัวเลขงบประมาณที่สูงขึ้นทุกปี แนวคิดการโอนงบประมาณส่วนนี้ ไปให้บริษัทประกันภัยเอกชนเข้ามาจัดการ คือ ข้อเสนอแนะต่อแนวทางบริหารจัดการ จึงขอให้ประชาชนอย่าเข้าใจว่า ข้าราชการมีอภิสิทธิ์ที่ดีกว่า เพราะความตั้งของรัฐบาล ต้องการดูแลทุกคนอย่างเท่าเทียม

ขณะที่นางสาวสาลี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และผู้แทนภาคประชาชนในกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แสดงความเป็นห่วงต่อแนวทางนี้ว่า อาจส่งผลต่อรายได้และสถานะโรงพยาบาลรัฐ เนื่องจากเคยได้รับค่ารักษาพยาบาลจากงบจัดสวัสดิการข้าราชการในสัดส่วนที่มาก และไม่เชื่อว่าจะคุ้มค่า หากจะแก้ปัญหาคอรัปชชั่นที่ข้าราชการระดับสูงใช้สิทธิ์เบิกยาไปขายได้ จึงเสนอว่า ควรโยกงบส่วนนี้ไปให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. บริหารจัดการให้แทน เหมือนกับที่เคยประสบความสำเร็จในการจัดการสวัสดิการข้าราชการท้องถิ่น ที่ปัจจุบันใช้งบประมาณเพียง 7000 บาท/ต่อคน/ต่อปี โดยที่สิทธิไม่ได้ลดลง ขณะที่ข้าราชการทั่วไปใช้งบประมาณกว่า 12,000 บาท ต่อคน / ต่อปี

ด้านนายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ภายในสัปดาห์หน้า จะเชิญ กลุ่มที่ยังไม่เห็นด้วย กับการ โอนค่ารักษาพยาบาลข้าราชการ เข้าสู่ระบบประกันทั้ง กลุ่มแพทย์ กลุ่มบริษัทขายยา และกลุ่มข้าราชการ หากกลุ่มนี้เห็นด้วย จะเดินหน้าแผนอื่นๆ เพื่อให้มีผลบังคับใช้ในปีงบ 2560

โดยก่อนหน้านี้  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้เห็นชอบ ในหลักการที่จะให้บริษัทประกัน เข้ามาบริหารจัดการค่ารักษา พยาบาลข้าราชการ เนื่องจาก ในระยะที่ผ่านมา ค่ารักษาพยาบาลทยอยเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

สำหรับ ในปีงบประมาณ 2559 ยอดเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลข้าราชการสูงถึง 71,000  ล้านบาท สูงกว่าปีที่ผ่านๆ ที่เคยอยู่ใน ระดับ 68,000 ล้านบาท ขณะที่ สำนักงบประมาณอนุมัติ งบประมาณเฉลี่ยปีละ 61,000 – 62,000 ล้านบาท

ทั้งนี้ ย้ำว่าการโอนค่ารักษาพยาบาลให้บริษัทประกันดูแลนั้น ต้องอยู่ในเงื่อนไข คือข้าราชการ ต้องได้รับสิทธิ์ในการรักษาพยาบาลเหมือนเดิม หรือได้รับบริการที่ดีขึ้น ส่วนงบประมาณต้องไม่เกินจากของเดิม ขณะนี้ ทางบริษัทประกัน ได้มีการเสนอที่จะทำห้องรับรองพิเศษ สำหรับข้าราชการในโรงพยาบาลรัฐ ในเกือบทุกแห่งด้วย


1 ธ.ค. 2559
https://www.pptvthailand.com/news/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99/40623

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
เภสัชกร วิทยา กุลสมบูรณ์ เสนอให้มีหน่วยอิสระที่ไม่ใช่เอกชนแสวงกำไรดูแลแทน อดีตรมว.สธ. จี้นายกฯ ประยุทธ์ ทบทวนใหม่ มอบงบฯ รักษาตามสิทธิข้าราชการ 67,000 ล้าน ให้ สปสช.บริหาร ชี้ประสบความสำเร็จประจักษ์แล้ว งบบัตรทอง

รศ. ดร. เภสัชกร วิทยา กุลสมบูรณ์ อดีตรองประธานกรรมาธิการปฏิรูประบบสาธารณสุข สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช) อาจารย์ภาควิชาเภสัชศาสตร์สังคม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงกรณีรัฐบาลกำลังหารือกับบริษัทประกันภัยเพื่อให้นำระบบประกันเข้ามาบริหารจัดการค่ารักษาพยาบาลแทนการใช้สวัสดิการภาครัฐแก่ข้าราชการและครอบครัวที่มีสิทธิในระบบ นั้น ปัจจุบันการที่ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลได้รับงบประมาณปลายเปิดกว่า 6 หมื่นล้านบาท หากนำมาใช้จ่ายอย่างสมเหตุสมผล มีระบบกำกับ จะทำให้เกิดผลดีต่อการรักษาพยาบาล และสามารถเพิ่มจำนวนปีคุณภาพชีวิต (Quality Adjusted Life Year) ของผู้ป่วยได้มากขึ้น

รศ. ดร. เภสัชกร วิทยา กล่าวว่า ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการมีงบประมาณเฉลี่ยต่อหัวต่อปีสูงกว่า 1 หมื่นบาทต่อคน จำเป็นต้องมีการปรับลดส่วนเกินที่ไม่เหมาะสม ยิ่งรัฐมีนโยบายลดความเหลื่อมล้ำ หากระบบที่ดูแลข้าราชการไปเพิ่มความเหลื่อมล้ำมาก ระยะยาวจะอยู่ไม่ได้ จากระบบปลายเปิดที่ไม่จำกัดเพดานงบประมาณ จึงจำเป็นที่ต้องมีการปฏิรูประบบให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

“ในขณะที่งบประมาณแบบรายหัว (Capitation) ของบัตรทองและประกันสังคมเป็นแบบปลายปิดโดยให้งบเฉลี่ยในภาพรวมประมาณ 3,000 บาทต่อคนต่อปี พบว่า ระบบบัตรทองสามารถให้สิทธิประโยชน์ที่ครอบคลุมได้อย่างเหมาะสม ขยายเพิ่มสิทธิได้มากขึ้นตามลำดับ” รศ. ดร. เภสัชกร วิทยา กล่าว และว่า การให้เบิกจ่ายงบประมาณแบบเรียกเก็บภายหลังและเกิดการเบิกจ่ายที่ไม่เหมาะสมนั้น ในทางปฏิบัติสามารถกำกับการดำเนินการโดยให้มีหน่วยบริหารค่าใช้จ่ายอย่างสมเหตุผลและมีประสิทธิภาพได้ โดยหน่วยงานต้องมีความเป็นอิสระทำหน้าที่สร้างมาตรการและกลไกกำกับดูแล ทั้งนี้ต้องไม่ใช่หน่วยงานแสวงผลกำไรที่คำนึงถึงประโยชน์ของธุรกิจเป็นหลัก

ส่วนที่จะนำระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการไปให้ธุรกิจประกันของเอกชนดำเนินการนั้น รศ. ดร. เภสัชกร วิทยา มีข้อสังเกตุว่า ข้าราชการยังไม่ได้รับทราบและไม่เคยมีการสอบถามความเห็นทำให้ข้าราชการจำนวนมากมีความกังวลถึงผลกระทบหากมีการดำเนินการ เมื่อยังไม่มีการศึกษาที่แสดงผลว่า ข้าราชการจะได้ประโยขน์เหมือนเดิมในวงเงินเท่ากัน ก็มีความเสี่ยงสูงที่จะไม่สามารถทำได้ตามที่อ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่บอกว่าจะให้สิทธิรักษาพยาบาลข้าราชการไม่แตกต่างไปจากเดิม.

“ ที่น่าเป็นห่วงคือค่าใช้จ่ายจะหมดไปกับการบริหารจัดการเป็นจำนวนมาก เนื่องจากการให้หน่วยงานแสวงกำไรดูแล ทำให้ต้องควบคุมและลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ที่สำคัญคือ ยังไม่มีการเสนอว่าจะทำอย่างไรในทางปฏิบัติ จึงยากที่จะทำให้ เชื่อได้ว่ารูปแบบดังกล่าว สามารถทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ได้จริง”

ขณะที่ นพ.มงคล ณ สงขลา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงเรื่องเดียวกัน อยากให้รัฐบาลพลเอกประยุทธ จันทร์โอชา ที่กำลังจะตัดสินใจบนฐานข้อมูลที่ไม่เพียงพอ เรื่องการส่งมอบเงินค่ารักษาพยาบาลข้าราชการและครอบครัว 67,000 ล้านต่อปี ไปให้บริษัทเอกชนบริหาร บนความเชื่อที่ว่า ข้าราชการและครอบครัวจะไม่เสียสิทธิใดๆ เงินงบประมาณจะไม่สูงขึ้นจนคุมไม่ได้อย่างที่เป็นอยู่

“ผมสรุปว่า เหตุที่งบประมาณรักษาพยาบาลข้าราชการและครอบครัวสูงขึ้นๆ เป็นเพราะความผิดพลาดทางการบริหารของกรมบัญชีกลางเอง หากบริษัทเอกชนบริหารสิทธิการรักษาพยาบาลข้าราชการและครอบครัวจะถูกลดลงในวงเงินที่รัฐจ่ายเท่าเดิม เพราะจะถูกหักเป็นค่าบริหารและกำไรของบริษัทเอกชน ตัวอย่างที่ประจักษ์คือสิทธิผู้ควรได้รับการรักษาตามพ.ร.บ ผู้ประสบภัยจากรถ 2535 ข้าราชการ เกษียณจะรับเคราะห์กรรมหนัก เพราะต้องการบริการมากขึ้นตามวัย โรงพยาบาลระดับต่างๆจะล้มละลายเพราะถูกปฏิเสธการจ่ายค่ารักษาด้วยเล่ห์กลต่างๆ วิกฤติการสาธารณสุขและความไม่สงบจะเกิดขึ้นไม่อาจหลีกเลี่ยงได้” อดีตรมว.สธ. กล่าว และว่า ฉะนั้น รัฐบาลควรกลับมาทบทวนใหม่ ข้าราชการและครอบครัวโดยเฉพาะสมาคมข้าราชการพลเรือนต้องออกมาปกป้องสิทธิที่จะเสียไป โรงพยาบาลรัฐทุกระดับจะคอยให้ล้มละลายก่อนแล้วค่อยออกมาโวยคงไม่มีประโยชน์ต่อผู้รับบริการทั่วไป รวมทั้งประชาชนผู้ใช้บัตรทอง พร้อมเสนอให้นายกฯ มอบงบประมาณการรักษาตามสิทธิข้าราชการ67,000ล้านบาทไปให้ สปสช.เอาไปบริหาร ความสำเร็จประจักษ์แล้วจากการบริหารงบประมาณตามสิทธิรักษาพยาบาลข้าราชการ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น

ข้อมูลจาก  สำนักข่าวอิศรา

เขียนโดย ศูนย์ข่าวผู้บริโภค วันที่ 06 ธันวาคม 2559
http://www.consumerthai.org/news-consumerthai/consumers-news/medicalnews/3781-591206_news.html

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
รบ.ยันไม่ได้ตัดสิทธิค่ารักษาพยาบาลข้าราชการ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 20 ธันวาคม 2016, 04:27:23 »
โฆษก รบ. ยันรัฐไม่ตัดสิทธิค่ารักษาข้าราชการ หากให้บริษัทประกันดูแล ย้ำอยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้ ภายใต้ 2 เงื่อนไข วอนสังคมเปิดใจร่วมคิดเพื่อชาติ กำชับ ก.คลัง ฟังความเห็น ขรก.ด้วย

เมื่อวันที่ 25 ก.ย. 59 พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงแนวคิดที่จะให้บริษัทประกันเข้ามาดูแล ระบบค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการแทนรัฐ ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างให้สมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิตไปศึกษาความเป็นไปได้ระยะเวลา 1 เดือน ว่า สามารถทำได้หรือไม่ โดยยืนยันว่าทุกอย่างจะต้องดำเนินการอย่างรอบคอบ และคำนึงถึงประโยชน์ของชาติเป็นสำคัญ

"รัฐบาลให้คำมั่นกับพี่น้องข้าราชการว่า จะไม่ตัดสิทธิสวัสดิการเดิมที่มีอยู่ เพราะค่ารักษาพยาบาลเป็นสิทธิอันพึงมีพึงได้ของข้าราชการ แต่สิ่งสำคัญคือทำอย่างไรให้ทุกคนได้รับการดูแลอย่างเต็มที่ และใช้เงินงบประมาณของแผ่นดินอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยเรื่องนี้เป็นหนึ่งในหลายเรื่องสำคัญที่รัฐบาลต้องการวางรากฐานเพื่อการปฏิรูปอย่างยั่งยืนในอนาคต"

พล.ต.สรรเสริญ กล่าวต่อว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. อยากให้สังคมเปิดใจกว้าง ร่วมกันคิดพิจารณาถึงข้อดีข้อเสีย มากกว่าจะวิพากษ์วิจารณ์จนประเทศไม่สามารถขับเคลื่อนต่อไปข้างหน้าได้ โดยในหลายประเทศก็มีการใช้ระบบนี้เข้ามาดูแลสวัสดิการข้าราชการ ทำให้เกิดความโปร่งใส ป้องกันการใช้สิทธิซ้ำซ้อน การเวียนใช้สิทธิ หรือการเบิกยาเกินควร และช่วยบังคับให้รัฐต้องดูแลส่งเสริมสุขภาพของประชาชนทางอ้อมด้วย

"ปัจจุบันข้าราชการส่วนหนึ่งต้องสำรองจ่ายเงินค่ารักษา แล้วนำใบเสร็จไปเบิกต้นสังกัด และบางส่วนใช้สิทธิเบิกจ่ายตรงกับโรงพยาบาลที่ลงทะเบียนไว้ โดยเข้ารักษาได้เฉพาะในโรงพยาบาลของรัฐเท่านั้น นอกจากนี้ ในแต่ละปีรัฐต้องใช้งบประมาณดูแลค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการ 60,000 ล้านบาท และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จึงได้กำหนดเงื่อนไขของการศึกษาความเป็นไปได้ว่า ข้าราชการจะต้องได้รับสิทธิสวัสดิการเหมือนเดิม และค่าประกันแต่ละปีต้องไม่มากกว่าที่รัฐบาลจ่ายอยู่ หากไม่ได้ทั้ง 2 เงื่อนไข รัฐบาลก็จะบริหารเองต่อไปท่านนายกฯ กำชับให้กระทรวงการคลัง ไปรับฟังความคิดเห็นของพี่น้องข้าราชการควบคู่กับการศึกษาความเป็นไปได้ของทั้ง 2 สมาคมด้วย ทั้งนี้ รัฐบาลอาจพิจารณาให้สิทธิประโยชน์บางส่วนเพื่อให้บริษัทประกันสามารถดำเนินการได้ และจะส่งเสริมระบบ e-payment ในภาคประกันภัย ตามนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ"


 ไทยรัฐออนไลน์ 25 ก.ย. 2559


story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
เครือข่ายปฏิรูประบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ค้านคลัง โอนงบรักษาพยาบาล ขรก.กว่า 7 หมื่นล้าน ให้บริษัทประกันภัยเอกชนบริหาร หวั่นรอนสิทธิ์การรักษา-ดึงเงินออกจากระบบ


วันที่ 7 ธันวาคม 2559 ที่ห้องประชุม De park C.jain ศศนิเวศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เครือข่ายปฏิรูประบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ (คสร) นำโดย นพ.มงคล ณ สงขลา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข, นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล อดีตเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และอดีตผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข , นางรัศมี วิศทเวทย์ อดีตเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) และ ผศ.ดร.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี อดีตผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แถลงข่าวคัดค้าน กรณีกระทรวงการคลัง เตรียมนำงบประมาณค่ารักษาพยาบาลข้าราชการ  7 หมื่นล้านบาท ให้ธุรกิจประกันภัยเอกชนบริหารจัดการในปีงบประมาณหน้า

นพ.มงคล กล่าวว่า การที่กระทรวงการคลัง แจ้งไว้อย่างชัดเจนว่า จะนำเงินงบประมาณค่ารักษาพยาบาลข้าราชการ  โอนไปให้บริษัทประกันภัยเอกชนบริหารจัดการแทนกรมบัญชีกลาง โดยที่ระบุว่า ข้าราชการและครอบครัวไม่ถูกรอนสิทธิ์ หรือเพิ่มงบประมาณให้กับประเทศนั้น ไม่มั่นใจว่า จะเป็นไปได้หรือไม่ เพราะที่ผ่านมามีตัวอย่างเป็นรูปธรรมคือ กรณี พ.ร.บ. ผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ที่ให้บริษัทประกันภัยเอกชนเข้ามาบริหารค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลผู้ประสบภัยจากรถ ปรากฏว่า มีค่าบริหารจัดการ ในแต่ละปีสูงกว่า 40% และพบว่า ยังเพิ่มขั้นตอนทางด้านเอกสาร สร้างความยุ่งยากในการเบิกจ่าย ทำให้หลายกรณีโรงพยาบาลต้องเรียกเก็บจากกองทุนอื่น เช่น ประกันสังคม บัตรทอง หรือตามที่ทุกคนมีสิทธิอื่นๆ

นพ.มงคล กล่าวถึงงบประมาณค่ารักษาพยาบาลข้าราชการนั้น มีประมาณ 70,000 ล้านบาท หากโดนหักค่าบริหารจัดการ 1% จะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 7,000 หรือหากมีค่าบริหารจัดการ 4% จะอยู่ที่ประมาณ 28,000 ล้านบาท ดังนั้น จัดจะทำให้เงินที่หมุนเวียนอยู่ในระบบ เช่น ในโรงพยาบาลรัฐหลายแห่งหายไป ขณะเดียวกันโรงพยาบาลก็ไม่มั่นใจว่าจะได้เงินจากการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลจากบริษัทเอกชนหรือไม่

“จากข้อมูลที่ผ่านมาพบว่า สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช) บริหารเงินแสนกว่าล้านบาทต่อปี มีรายจ่ายเพื่อการบริหารต่ำกว่า 1% หรือกรณีสำนักงานประกันสังคม ก็มีค่าบริหารจัดการไม่เกิน 5% ทั้งนี้เมื่อบริษัทประกันภัยเอกประชนเข้ามาบริหารจัดการ ก็ต้องเข้าใจว่า บริษัทเอกชนก็ต้องมีผลกำไร ดังนั้นจึงเชื่อว่า สิทธิจะเท่าเดิมคงเป็นไปไม่ได้ ที่กระทรวงการคลังพูด จึงเชื่อไม่ได้ "นพ.มงคล กล่าว และว่า นอกจากส่งผลกระทบกับข้าราชการและครอบครัวแล้ว โรงพยาบาลผู้ให้บริการก็จะเกิดผลกระทบด้วยเช่นกัน เพราะโดยปกติก็มีงบประมาณไม่เพียงพออยู่แล้ว ดังนั้นกังวลว่า ถ้าจะใช้แนวทางนี้จะเจ๊งอยู่ไม่ได้และกระทบไปถึงระบบสุขภาพทั้งหมดของประเทศด้วย

ด้านนพ.ศิริวัฒน์ กล่าวว่า ที่ผ่านมามีหลายภาคส่วนเคยเตือนกรมบัญชีกลางแล้วว่า ระบบรักษาพยาบาลข้าราชการจะเป็นภาระก้อนใหญ่ในอนาคต และก็มีผู้ทำวิจัยศึกษาในเรื่องนี้ แต่ก็ไม่ได้รับการตอบสนอง อาจเพราะรัฐมนตรี นักวิชาการที่ทำเรื่องนี้เปลี่ยนหน้าไปเรื่อย ตรงนี้เป็นจุดอ่อนของระบบข้าราชการ

“การที่กระทรวงการคลังบอกว่า ทำไม่ไหว และจะโยนงบประมาณค่ารักษาพยาบาลข้าราชการ 5,000,000 คนไปให้บริษัทประกันภัยเอกชนบริหารจัดการนั้น มองว่า เกาไม่ถูกที่คัน และเมื่อต้องมีค่าบริหารบริษัทจัดการก็ห่วงว่าจะสร้างผลกระทบ มีการรอนสิทธิ์เกิดขึ้น ดังนั้นจึงเห็นว่ากระทรวงการคลัง ควรจะเกาให้ถูกที่คัน เช่น ลดการสั่งยา การตรวจด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ที่เกินความจำเป็น เป็นต้น ขณะที่แนวทางการแก้ปัญหานั้น ต้องให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนได้ร่วมกันหาทางออกว่า หากเกิดปัญหากับกระทรวงการคลังเช่นนี้แล้วควรจะทำอย่างไร และมีทางเลือกอะไรบ้าง นอกจากโอนให้เอกชนบริหารจัดการ ทั้งที่ผ่านมาเราก็เคยพูดเคยเห็นกันแล้วว่า บริษัทประกันภัยเอกชนเป็นเสือนอนกินมานานแล้ว”

ขณะที่ ผศ.ดร.ภญ.นิยดา กล่าวถึงปัญหางบประมาณค่ารักษาพยาบาลข้าราชการที่ผ่านมาว่า มีลักษณะบานปลาย ปลายเปิดโดยเฉพาะในส่วนของผู้ป่วยนอก และยังขาดระบบติดตามตรวจสอบที่เป็นระบบเหมาะสม ดังนั้นเห็นว่า ควรจะมีการบริหารงบ โดยจัดระบบสิทธิประโยชน์ที่สมเหตุสมผล และจัดระบบติดตาม ซึ่งอาจจะเป็นหน่วยงานภายในของกรมบัญชีกลาง แต่แยกหน่วยงานให้ชัดเจน แยกหน่วยงานเป็นอิสระในการตรวจสอบ หรือจะให้ สปสช. ซึ่งมีทั้งคน ระบบ ประสบการณ์เข้ามาช่วยตรงนี้ก็ได้

ทั้งนี้ สำหรับงบประมาณค่ารักษาพยาบาล ในปี 2545 อยู่ที่ประมาณ 20,000 ล้านบาท ส่วนในปี 2558 อยู่ที่ 68,000 ล้านบาท และในปี 2559 อยู่ที่ประมาณ 71,000 ล้านบาท จะเห็นว่าในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมางบเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว และมีอัตราเพิ่มขึ้นในทุก ๆ ปี

ส่วนนางรัศมี กล่าวว่า หากกรมบัญชีกลาง ซึ่งรับผิดชอบงานนี้ลงทุนในด้านบริหารจัดการ เชื่อว่าจะมีต้นทุนประมาณ 1% หรืออาจจะไม่มีต้นทุนเลย เพราะใช้ข้าราชการของกรม  ซึ่งรับเงินเดือนค่าจ้างอยู่ในระบบปกติอยู่แล้ว มีเฉพาะค่าจัดจ้างหน่วยงานอื่น เพื่อบริหารการจ่าย กรณีผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยในบางส่วนเชื่อว่า เม็ดเงินจะเกิดประโยชน์อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ต่อข้าราชการและครอบครัว และโรงพยาบาลผู้ให้บริการ แต่หากให้บริษัทประกันภัยเอกชนเข้ามา แน่นอนว่า ค่าบริหารจัดการต้องสูงขึ้น และอาจกลายเป็นเนื้อชิ้นใหญ่ ที่ส่งเข้าปากธุรกิจ


วันพุธ ที่ 07 ธันวาคม 2559
http://www.isranews.org/thaireform/thaireform-news/item/52364-hh-52364.html

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
นสพ.ประชาชาติธุรกิจ : คลังหาโมเดลแก้ปัญหาข้าราชการเบิกค่ารักษาพยาบาลเกินงบฯ ปี'59 เฉียด 7 หมื่นล้าน ดึงบริษัทประกัน ดูแลข้าราชการ-ครอบครัว 10 ล้านคน ให้ สมาคมประกันศึกษาแผน คาดรู้ผล ต.ค.นี้ ธุรกิจประกันรับส้มหล่น เบี้ยโต 10% พร้อมจัดแพ็กเกจ "ประกันภัยรับใช้ชาติ" สนองนโยบายรัฐ

ประกันกลุ่ม ขรก. 10 ล้านคน

นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า รัฐบาลกำลังหารือกับบริษัทประกันภัยเพื่อให้นำระบบประกันเข้ามาบริหารจัดการค่ารักษาพยาบาลแทนการใช้สวัสดิการภาครัฐแก่ข้าราชการและครอบครัวที่มีสิทธิในระบบ 10 ล้านคน เนื่องจากที่ผ่านมารัฐบาลใช้งบประมาณในการรักษาพยาบาลให้กับข้าราชการสูงถึงปีละ 6 หมื่นล้านบาท และ บางปีมีการเบิกจ่ายเกินงบประมาณที่ตั้งไว้ เพราะหากให้เอกชนดำเนินการน่าจะประหยัดงบประมาณได้ เนื่องจากบริษัทเอกชนบริหารจัดการได้ดีกว่า

โดยภาครัฐจะใช้งบประมาณไปจ่ายเป็นค่าเบี้ยประกัน โดยที่ข้าราชการก็ไปเบิกค่ารักษาพยาบาลจากบริษัทประกันแทนการเบิกกับรัฐ ซึ่งเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพมากกว่า โดยระหว่างนี้ยังต้องหารือในรายละเอียดว่าจะคุ้มครองในลักษณะใดได้บ้าง  และคาดว่าแต่ละปีจะทำให้เบี้ยประกันโตไม่ต่ำกว่า 10%

ต.ค.เคาะเบี้ยเบื้องต้น

นายอานนท์ วังวสุ นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ช่วงเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา หน่วยงานภาครัฐได้เรียกสมาคมประกันวินาศภัยไทย และสมาคมประกันชีวิตไทย เข้าไปสอบถามเกี่ยวกับ การทำประกันภัยให้กลุ่มข้าราชการ และขณะนี้ทั้ง 2 สมาคมอยู่ระหว่างรอข้อมูลจากกรมบัญชีกลางเพื่อนำมาใช้คำนวณอัตราเบี้ยประกัน ซึ่งคาดว่าเดือน ต.ค.นี้ จะได้ข้อสรุปในเบื้องต้น เพื่อนำกลับไปคุยกับภาครัฐอีกครั้ง

"ภาครัฐให้โจทย์คร่าว ๆ ว่าต้องการความคุ้มครองแบบเป็นประกันสุขภาพ ในด้านค่ารักษาพยาบาล เหมือนสวัสดิการที่รัฐจ่ายให้ข้าราชการอยู่ในปัจจุบัน ขณะนี้ อยู่ระหว่างที่ธุรกิจประกันชีวิตและประกันวินาศภัยต้องมาประเมินและพูดคุยกันกับบริษัทรับประกันภัยต่อและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ปีนี้น่าจะยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน การทำประกันสุขภาพให้ข้าราชการน่าจะใช้เวลาอีกอย่างน้อย 1 ปีในการตกลงกันทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ เพราะมีหลายเรื่องที่ต้องเปลี่ยนแปลง" นายอานนท์ กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ธุรกิจประกันภัยไทยในปี 2558 มีเบี้ยประกันภัยรับรวมทั้งสิ้น 742,408 ล้านบาท แบ่งเป็น เบี้ยจากธุรกิจประกันชีวิต 533,211 ล้านบาท และเบี้ยจากประกันวินาศภัย 209,197 ล้านบาท

ชูแพ็กเกจประกันรับใช้ชาติ

นายอานนท์ กล่าวว่า นอกจากนี้สมาคมก็อยู่ระหว่างทำงานร่วมกับภาครัฐ 3-4 โครงการ โดยอาจเรียกรวมกันว่า "ประกันภัยรับใช้ชาติ" นอกจากโครงการประกันกลุ่มข้าราชการ ก็มีโครงการประกันภัยอุบัติเหตุให้กับผู้มีรายได้น้อยที่ลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐไว้กว่า 8 ล้านคน โดยจะคิดค่าเบี้ยประกันภัย 99 บาทต่อคนต่อปี (ไม่รวมภาษีอากรแสตมป์) โดยรัฐบาลเป็นผู้จ่ายค่าเบี้ยประกันภัยให้คนกลุ่มนี้

สำหรับความคุ้มครอง

1)กรณีเสียชีวิต การสูญเสียมือ เท้า การสูญเสียสายตา หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงเนื่องจากอุบัติเหตุ ไม่รวมกรณีถูกฆาตกรรม อุบัติเหตุการ ขี่มอเตอร์ไซค์ วงเงินคุ้มครอง 100,000 บาทต่อคน

2) กรณีเสียชีวิต การสูญเสีย มือ เท้า การสูญเสียสายตา หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง จากการถูกฆาตกรรมลอบทำร้ายร่างกาย และ/หรืออุบัติเหตุขณะขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ วงเงินคุ้มครอง 50,000 บาทต่อคน

และ 3)ชดเชยรายได้ระหว่างการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล จากอุบัติเหตุ 300 บาท/วัน สูงสุด 20 วัน

สำหรับประกันภัยผู้มีรายได้น้อยนี้ อยู่ระหว่างรอกระทรวงการคลังเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบ ซึ่งหากได้รับอนุมัติให้ดำเนินการ จะทำให้ธุรกิจประกันวินาศภัยไทยมีเบี้ยประกันภัยเพิ่มขึ้นจำนวน 800 ล้านบาท

ส่วนอีกโครงการ คือ "ประกันภัยนักท่องเที่ยวต่างชาติ" เป็นการคุ้มครองทั้งกรณีการก่อการร้าย และอื่น ๆ โดยทางสมาคมประกันวินาศภัยไทยได้เสนอแบบกรมธรรม์ คิดเบี้ยประกันภัยประมาณ 180 ล้านบาท คุ้มครองนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในไทยประมาณ 29-30 ล้านคน อย่างไรก็ดี เรื่องนี้ยังรอความชัดเจนจากภาครัฐ

รวมถึงในส่วนโครงการ "ประกันภัยข้าวนาปี" โดยในปีการผลิต 2559/2560 ได้เริ่มดำเนินการไปแล้ว โดยมีเกษตรกรทำประกันภัยมากกว่า 26 ล้านไร่ คิดเป็นจำนวนเกษตรกรที่เข้ารวมกว่า 1.5 ล้านราย ซึ่งจะทำให้ได้เบี้ยประกันภัยเข้ามาในช่วง ต.ค.-พ.ย.นี้กว่า 2,600 ล้านบาท

นอกจากนี้ ทางสมาคมยังได้ศึกษาข้อมูลการทำประกันภัยพืชไร่อื่น ๆ โดยเฉพาะประกันภัยไม้ยืนต้น ที่ถือว่าน่าสนใจ เช่น ทุเรียน ลำไย ยางพารา เป็นต้น เพราะในต่างประเทศก็มีการทำประกันพืชผลกลุ่มนี้มาก

สั่งกรมบัญชีกลางคุมเบิกค่ารักษา

นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รมช.คลัง เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า แนวคิดเรื่อง การทำประกันสุขภาพให้ข้าราชการ ยังต้องหารือรายละเอียดกันอีกมาก แต่ต้อง ยอมรับว่า ปัจจุบันยอดรายจ่ายงบประมาณในการจ่ายสวัสดิการรักษาพยาบาล ให้ข้าราชการและครอบครัว เกินกว่า งบประมาณที่ตั้งไว้ที่ 60,000 ล้านบาทแทบทุกปี

"มีแนวคิดว่า ถ้าแต่ละปีเราตั้งงบประมาณไว้ที่ยอดไม่เกิน 60,000 ล้านบาทนี้ แล้วก็ให้ความคุ้มครองที่ไม่น้อยกว่าเดิม ไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว หรือโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ซึ่งรายละเอียดมาก ผู้ที่จะรับทำประกันก็ต้องดู ทั้งปริมาณคน และความคุ้มครองว่าจะครอบคลุมขนาดไหน คงต้องให้เวลาศึกษาพอสมควร เราก็ให้กรมบัญชีกลางไปหารือกับบริษัทประกัน" นายวิสุทธิ์ กล่าว

ทั้งนี้ รมช.คลัง กล่าวว่า การศึกษาก็ต้องครอบคลุมทั้งข้าราชการและครอบครัว และต้องรวมถึงข้าราชการที่จะเข้ามาใหม่ในอนาคตด้วย ซึ่งยอมรับว่าลำพังจะทำให้แต่ผู้ที่เข้ามาใหม่ วอลุ่มก็จะน้อย ทำให้เบี้ยประกันอาจจะแพง ขณะเดียวกัน ก็ต้องคำนึงถึงสิทธิประโยชน์ของข้าราชการที่เคยได้อยู่เดิมด้วย

ปี'59 เบิกรักษาเฉียด 7 หมื่นล้าน

นายมนัส แจ่มเวหา อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า กรมบัญชีกลางได้รับนโยบายให้ศึกษาการทำประกันสุขภาพให้แก่ข้าราชการ เพื่อให้สามารถควบคุมรายจ่ายค่ารักษาพยาบาลไม่ให้เพิ่มมากเกินไป ตอนนี้กำลังศึกษาเปรียบเทียบกันอยู่ว่าจะใช้วิธีแบบไหน จะให้รัฐซื้อเบี้ยประกันให้ หรือตั้งกองทุนขึ้นมา ก็ต้องศึกษาไว้ เพราะค่ารักษาพยาบาลก็เกินทุกปี อย่างปีงบประมาณ 2558 ก็ใช้ไป 66,000 ล้านบาท ปีงบประมาณนี้ก็อาจไปใกล้ ๆ 70,000 ล้านบาท เพราะจนถึงขณะนี้ก็เกิน 60,000 ล้านบาท ไปแล้ว ซึ่งส่วนที่เกินก็ต้องใช้เงินคงคลังมาจ่าย แล้วค่อยขอตั้งงบประมาณใช้คืนในปีต่อ ๆ ไป

สำหรับปีงบประมาณ 2560 จะเริ่มตั้งแต่ 1 ต.ค.นี้ อธิบดีกรมบัญชีกลางกล่าวว่า มีการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายค่ารักษาพยาบาลไว้จำนวน 60,000 ล้านบาท จากที่ เสนอขอไปที่ 67,000 ล้านบาท

ที่มา: หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 26 - 28 ก.ย. 2559

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
เมื่อไม่กี่วันมานี้ มีข่าวจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังว่า กระทรวงการคลังกำลังพิจารณาว่า จะให้บริษัทเอกชนรับประกันสุขภาพให้แก่ข้าราชการ ซึ่งข่าวนี้ ทำให้ผู้มีสิทธิในระบบสวัสดิการข้าราชการมีความวิตกห่วงใยว่า จะเป็นสาเหตุให้ข้าราชการถูกตัดสิทธิบางอย่างในการรักษาพยาบาลออกไปด้วยหรือไม่ จนทางโฆษกรัฐบาลได้ออกมายืนยันว่ารัฐบาลยืนยันว่าจะไม่มีการตัดสิทธิข้าราชการ (1)
แต่กลับมีกลุ่มคนกลุ่มหนึ่ง อ้างว่าเป็นเครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการและเป็นกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(2.3) ได้ออกมาคัดค้านแนวคิดของรัฐบาลเช่นเดียวกัน แต่เหตุผลที่พวกเขาคัดค้านนั้นมีเหตุผลแปลกประหลาดว่า

เหตุผลข้อที่ 1.ขัดมาตรา 9 และขัดมาตรา 66 ของกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่กำหนดให้รวมเอาสวัสดิการข้าราชการมารวมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติโดยให้มีการตราพ.ร.ฎ.ภายใน 1 ปีนับแต่พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติใช้บังคับ ซึ่งผู้เขียนบทความนี้ขออธิบายว่า รัฐบาลไม่มีความพยายามที่จะดำเนินการตามมตรา 9 และมาตรา 66 เลย เนื่องจากที่มาของเงินใน 2 ระบบนี้แตกต่างกัน(4) และจะรวมเมื่อใดข้าราชการก็จะออกมาคัดค้านแน่นอน และทุกรัฐบาลก็ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยมาจากการที่พ.ร.บ.หลักหระกันสุขภาพใช้บังคับมา 14 ปีแล้ว


เหตุผลข้อที่ 2 อ้างว่าระบบประกันสุขภาพเอกชนมีข้อจำกัด อาจจะส่งผลต่อสวัสดิการข้าราชการที่เคยได้รับ เหตุผลข้อนี้ ผู้เขียนเห็นด้วย แต่การที่คนกลุ่มนี้ไปบอกให้รัฐบาลใช้บทเรียนจากการจัดสวัสดิการข้าราชการส่วนท้องถิ่นที่สปสช.สามารถแก้ปัญหาการใช้งบประมาณสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องมาให้สปสช.จัดบริการให้โดยใช้งบประมาณเพียง 7,000 บาทตอคนต่อปี โดยได้รับสิทธิประโยชน์เท่ากับระบบสวัสดิการข้าราชการที่ใช้เงินสูงถึง 12,000 บาทต่อคนต่อปี หรือถ้าจะให้บริษัทเอกชนรับประกันก็ไม่ควรให้เกิด 7,000 บาทต่อคนต่อปี
ข้อนี้ผู้เขียนก็ขอถามว่า ทำไมสปสช.รับประกัน 30 บาท สปสช.ใช้งบประมาณเพียง 3,000 บาทต่อคนต่อปี แต่รับประกันข้าราชการท้องถิ่นจึงแพงกว่าของประชาชน ถามว่าสปสช.สร้างความเหลื่อมล้ำระหว่างคน 2 กลุ่มนี้หรือไม่?

เหตุผลข้อที่ 3 การที่รัฐบาลจะไปซื้อประกันเอกชนให้ข้าราชการ จะทำให้งบประมาณส่วนใหญ่ไปตกอยู่กับรพ.เอกชน จะส่งผลต่อฐานะการเงินการคลังของรพ.รัฐแน่นอน
ข้อนี้ผู้เขียนเห็นด้วยอย่างยิ่ง เพราะปัจจุยันนี้ รพ.รัฐบาลรับเงินค่ารักษาผู้ป่วยจากสปสช.ได้เงินไม่คุ้มกับค่าใช้จ่าย แต่รักษาข้าราชการยังพอมีรายได้คุ้มทุนอยู่บ้าง เท่ากับระบบสวัสดิการข้าราชการช่วยพยุงฐานะการเงินของโรงพยาบาลหลายร้อยแห่งไม่ให้เสี่ยงต่อภาวะล้มละลายจากการมีหนี้ค้างชำระจากระบบ 30 บาท(5,6)

เหตุผลข้อที่ 4 อ้างว่าวิธีการที่จะให้บริษัทเอกชนรับทำประกันข้าราชการ ไม่สามารถป้องกันการช็อปปิ้งยาได้เหตุผลข้อนี้ เป็นการคิดเอาเองของกลุ่มเครือข่ายอ้างรักหลักประกันสุขภาพ ว่า ที่ค่าใช้จ่ายในระบบสวัสดิการข้าราชการแพงนั้น เพราะข้าราชการชอบ “ช็อปปิ้งยา”
แต่ค่าใช้จ่ายในสวัสดิการข้าราชการที่สูงนั้นมีหลายสาเหตุ ไม่ได้เกิดจากการช็อปปิ้งยาดังที่กล่าวหาข้าราชการ (อาจมีบ้างก็น่าจะเป็นเพียงส่วนน้อย แต่พวกช็อปปิ้งยาน่าจะเป็นระบบ 30 บาท ที่เอายาเก่าไปแลกไข่มากินได้อีกหลายหมื่นล้านเม็ด) กล่าวคือ
1.มีผู้เจ็บป่วยมาก จาก การเป็นผู้สูลอายุของพ่อแม่ข้าราชการหรือจากตัวข้าราชการบำนาญ หรือเจ็บ(บาดเจ็บ)ป่วยจาการทำราชการ เช่นทหาร ตำรวจ ข้าราชการในพื้นที่อันตราย ถูกผู้ร้ายยิง ถูกระเบิดในการลาดตระเวณ ทำให้มีอัตราการไปรับการรักษาอย่างมากและยาวนานและยังอาจมีค่าใช้จ่ายในการที่ต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพอีกนาน (ไปดูได้ที่รพ.ทหาร ตำรวจได้)
และข้าราชการมีสิทธิเบิกค่าห้องพิเศษได้บางส่วน อาจทำให้ค่าใช้จ่ายสูงกว่าระบบ 30 บาทได้
2. ข้าราชการสามารถได้รับยาที่เหมาะสมตามความเห็นของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ ไม่ถูกบังคับให้รับยาด้อยมาตรฐานตามกฎเหล็กของสปสช. หรือไม่ต้องรับยาที่สปสช.ไป “เหมาโหลซื้อมา ให้ผู้ป่วยทุกคนเหมือนๆกันแบบในระบบ 30 บาท” โดยยาเหมาโหลนี้ไม่ได้มีประสิทธิผลเหมาะสมกับผู้ป่วยทุกคนเหมือนๆกัน ซึ่งยาที่ใช้ได้ตามมาตรฐานและทันสมัยนี้ อาจทำให้มูลค่าการรักษาสูงขึ้น
ถ้ากลุ่มอ้างประชาชนนี้ ได้รับรู้ความจริงว่า การรักษาจากระบบ 30 บาทนี้ถูกบังคับให้รักษาแบบ “ต่ำกว่ามาตรฐาน”มาตลอด ส่งผลให้เกิดความเสียหายแก่สุขภาพของประชาชน(7)

การที่กลุ่มคนพวกนี้ออกมายื่นข้อเสนอแบบนี้ บางข้อเสนอก็ดูเหมือนกับจะห่วงใยข้าราชการแต่แท้ที่จริงแล้วคนเหล่านี้ก็คือ “NGO เครือข่ายของบอร์ดหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” บางคนก็เป็นบอร์ดมาแล้ว 2 สมัย บางคนก็รับเงินขากสปสช.เข้าสู่มูลนิธิของตน
จึงอยากบอกรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังว่า ถ้าจะประกันสุขภาพให้ประชาชนได้รับการดูแลรักษาสุขภาพที่มีคุณภาพมาตรฐานแล้ว จะจ่ายเงินแค่คนละ3,000 บาทต่อคนต่อปีนั้นไม่น่าจะเป็นไปได้ ดูแต่สปสช.ยังเรียกเก็บจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการประกันสุขภาพถึง 7,000 บาทต่อคนต่อปี

ถ้าท่านรัฐมนตรีอยากจะรู้ว่า สวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการนั้นจ่ายมากเพราะข้าราชการทหาร ตำรวจหรือข้าราชการอื่นจากสาเหตุที่เกิดขึ้นในขณะทำหน้าที่ราชการ หรือสูงมากเพราะข้าราชการให้งบประมาณฟุ่มเฟือยไร้ประสิทธิภาพ ท่านก็ต้องให้กรมบัญชีกลางไปศึกษาข้อมูลวิเคราะห์วิจัยก่อน เพื่อหาสาเหตุแห่งปัญหา จะได้แก้ปัญหาได้ถูกต้อง ให้สมกับเป็นรัฐบาลยุค 4.0
ปล.อย่ามอบให้ TDRI หรือสวรส.หรือสปสช.หรือสวปก.ทำวิจัยก็แล้วกัน มันจะมีอคติมากนะท่านรมต.


พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
กลุ่มพิทักษ์สิทธิพลเมือง
30 กันยายน 2559
เอกสารอ้างอิง
1. http://www.thaihospital.org/board/index.php... โฆษกรัฐบาลยันรัฐไม่ตัดสิทธิรักษาข้าราชการ หากให้บริษัทประกันดูแล
2. http://www.matichon.co.th/news/301814 เครือข่ายประชาชนร้องบิ๊กตู่ ยกเลิกซื้อประกันสุขภาพเอกชนให้ข้าราชการ
3. https://www.hfocus.org/content/2016/09/12815 เครือข่ายประชาชนร้องนายกฯ ยกเลิกซื้อประกันเอกชนให้ข้าราชการ ชี้ “ลิดรอนสิทธิ-กระทบรพ.รัฐ”
4. http://www.wongkarnpat.com/viewpat.php?id=1324#.V-4eIMlksec มองอนาคตมาตรฐานการแพทย์ไทยด้วยความห่วงใย
5. http://thaipublica.org/2011/09/10-years-healthcare/ 10 ปีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รพ.รัฐขาดทุนก้วนหน้า
6. http://thaipublica.org/2011/09/10-years-healthcare/ โรงพยาบาลของรัฐในประเทศไทยขาดทุนเพราะใคร? : บทวิเคราะห์หาสาเหตุ
7. http://www.wongkarnpat.com/viewpat.php?id=1125#.V-4qdMlksec 30 บาทรักษาทุกโรคเหมือนของดี แต่ในความเป็นจริงมันเหมือนยาพิษเคลือบน้ำตาล