ผู้เขียน หัวข้อ: เสือ หรือ จระเข้ - ผลการสัมมนาทางเลือกประกันสุขภาพของแรงงานไทยและผู้ประกันตน  (อ่าน 1304 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด

เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2554 กระทรวงแรงงานได้จัดการสัมมนาความรู้คู่แรงงานไทย/ผู้ประกันตนไทย เรื่อง ทางเลือกประกันสุขภาพของแรงงานไทยและผู้ประกันตนระบบประกันสังคม : เสือ หรือ จระเข้ โดยมีนพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นผู้กล่าวเปิดการประชุม

   ซึ่งปลัดกระทรวงแรงงาน ได้กล่าวถึงการประกันสังคมในประเทศไทยว่า หลายๆประเทศทั่วโลก ได้ใช้ระบบประกันสังคมในการสร้างสวัสดิการให้แก่คนในชาติ เป็นการทำให้คนในสังคมมีความมั่นคงในการดำเนินชีวิต ไม่ใช่รอรับความช่วยเหลือจากรัฐฝ่ายเดียว โดยได้อ้างคำกล่าวของนายอำพล สิงหโกวินทร์ อดีตผู้อำนวยการสำนักงานประกันสังคมว่า “การจะรอรับความช่วยเหลือจากรัฐบาลอย่างเดียวนั้น ถ้าเกิดเหตุการณ์ที่รัฐบาลไม่มีเงินจ่ายแล้ว ประชาชนก็จะต้องอยู่ตามยถากรรม เพราะฉะนั้นคนในสังคมต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เพื่อจะทำให้เป็นระบบที่ยั่งยืน”

   ในประเทศไทยนั้น ระบบประกันสังคม เริ่มต้นในปีพ.ศ. 2515 โดยการตั้งกองทุนเงินทดแทน ภายใต้การบริหารของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน กรมแรงงาน  โดยการให้หลักประกันแก่ลูกจ้างกรณีที่ประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยด้วยโรคอันเนื่องจาการทำงาน โดยเริ่มจากสถานประกอบการที่มีลูกจ้างมากกว่า 20คน ในเขตกทม.ก่อน แล้วค่อยขยายไปจนครบทุกจังหวัดในปีพ.ศ. 2531

  ต่อมาได้มีการประกาศพ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. 2533 นับเป็นการประกันสังคมเต็มรูปแบบ โดยลูกจ้างจะได้รับความคุ้มครอง 8 อย่างคือ ประสบอันตราย เจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย ที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับการทำงาน รวมไปถึงการคลอดบุตร สงเคราะห์บุตร  ชราภาพ และการว่างงาน เหมือนกับในประเทศอื่นๆ

    พลอากาศตรี นายแพทย์บรรหาร กออนันตกูล วิทยากรรับเชิญ ได้กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของการมีระบบประกันสังคมว่า ประเทศที่ให้กำเนิดการประกันสังคมครั้งแรกในโลกคือประเทศเยอรมัน โดยนายกรัฐมนตรีคนแรกของเยอรมันคือ บิสมาร์คที่ปกครองประเทศในสภาพที่มีสงครามจากเพื่อนบ้าน  จึงต้องการที่จะสร้างอาวุธไว้ป้องกันประเทศ โดยมอบให้บริษัท Krupp ที่ผลิตเหล็กกล้ารับสร้างอาวุธยุทโธปกรณ์ แต่บริษัทไม่มีคนงานเพียงพอ บิสมาร์คจึงคิดสร้างเมืองใหม่ และหาคนมาทำงานในโรงงานแห่งนี้ จึงต้องมีการให้หลักประกันแก่คนทำงาน เพื่อให้คนงานมีความมั่นใจว่าจะมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี   มีความมั่นคงในทางเศรษฐกิจการงาน  และสุขภาพ เปรียบเหมือนกับมีปัจจัยสี่ มีเงินเดือน มีที่อยู่อาศัย ได้รับการดูแลเมื่อเจ็บป่วย บุตรหลานได้รับการเลี้ยงดูและการศึกษา มีความปลอดภัยในการทำงาน

   หลักการในการจัดให้มีการประกันสังคมจึงเกิดขึ้น เนื่องจากมนุษย์ไม่สามารถอยู่เพียงคนเดียวได้ การอยู่ร่วมกันเป็นสังคม ย่อมต้องการความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และสุขภาพ โดยมีแนวคิดว่า คน 1,000 คน จะมีคนเจ็บป่วยเพียง 10-20 คน ฉะนั้นถ้าเก็บเงินทุกคนเพียง 5% ไว้จ่ายค่ารักษาพยาบาลสำหรับคนที่อาจจะป่วยเพียง 10-20 คน เงินที่เก็บไว้ก็เพียงพอในการจ่ายเป็นค่ารักษาได้  เป็นการช่วยให้ประชาชนทุกคนอยู่ได้ และมีความสุข โดยการมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

 ระบบประกันสังคมจึงเป็นระบบที่ทุกคนมีส่วนร่วมในการ จ่ายเงินเข้ากองทุน โดยลูกจ้างและนายจ้าง(ซึ่งถือว่าเป็นผู้ได้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากการทำงานของลูกจ้าง) จะต้องจ่ายเงินสมทบเข้าสู่กองทุนประกันสังคม เพื่อจ่ายเป็นสวัสดิการให้แก่ผู้ทำงาน โดยรัฐบาลจะจ่ายเงินสมทบ ในอัตรา ที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ

   สำหรับประเทศไทยนั้น มีผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมอยู่ 9.5 ล้านคน และมีเงินสมทบจากลูกจ้าง นายจ้าง และรัฐบาลอยู่ในกองทุนประกันสังคมเกือบ 800,000 ล้านบาท โดยผู้ประกันตนได้รับสิทธิประโยชน์ทั้งสิ้น 8 อย่าง และได้รับการดูแลรักษาเมื่อเจ็บป่วย อุบัติเหตุ ทุพพลภาพ คลอดบุตร

ในขณะที่พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ได้เกิดขึ้นภายหลังระบบประกันสังคม มีหลักการในการให้การดูแลรักษาสุขภาพแก่ประชาชน 47 ล้านคน ที่ไม่ได้รับสิทธิในกองทุนประกันสังคมหรือสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการ เมื่อเริ่มต้นโครงการนี้ ประชาชน 20 ล้านคนที่เป็นผู้ยากจน จะไปรับบริการด้านสาธารณสุขโดยไม่ต้องจ่ายเงิน ในส่วนผู้ที่ไม่ยากจน จะต้องจ่ายเงินในการไปรับบริการสาธารณสุขครั้งละ 30 บาท

   แต่ต่อมา ในปีพ.ศ. 2550 นพ.มงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้ประกาศยกเลิกการจ่าเงินครั้งละ 30 บาท ทำให้ประชาชน 47 ล้านคน (ปัจจุบันเพิ่มเป็น 48 ล้านคน) ได้รับสิทธิในการไปรับบริการสาธารณสุขโดยไม่ต้องจ่ายเงินเลย

   ทำให้ประชาชน 48 ล้านคนนี้ มีสิทธิมากกว่าประชาชนในกลุ่มผู้ประกันตน ที่ยังต้องจ่ายเงินสมทบ จึงจะมีสิทธิได้รับบริการด้านสุขภาพ ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นและเป็นอยู่มา 4 ปีแล้ว แต่ก็ไม่มีใครออกมาเอะอะโวยวายแต่อย่างใด จนกระทั่งเมื่อเร็วๆนี้ มีกลุ่มคนที่ตั้งชื่อกลุ่มว่า “กลุ่มพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน” ได้ออกมาเรียกร้องกับผู้ตรวจการแผ่นดินว่า สำนักงานประกันสังคม(สปส.) ละเมิดสิทธิผู้ประกันตน ในการเก็บเงินจากผู้ประกันตน มาเป็นค่ารักษาสุขภาพ ในขณะที่ประชาชน 48 ล้านคนในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ไม่ต้องจ่ายเงินของตนเองเลย ในการได้รับการบริการด้านสุขภาพ และเรียกร้องให้ผู้ประกันตน เลิกจ่ายเงินสมทบด้านสุขภาพ1.5% และให้ไปใช้สิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพแทน

   การเรียกร้องของกลุ่มพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตนในขณะนี้ จึงทำให้เกิดความสับสนในหมู่ผู้ประกันตนว่า จะเลือกไปอยู่กับบัตรทอง เลิกจ่ายเงินสมทบ 1.5% หรือให้เอาเงิน 1.5%ที่ต้องจ่ายสมทบนี้ ไปจ่ายสำหรับสิทธิประโยชน์อื่นๆเพิ่มเติมแทนการรักษาสุขภาพ  แต่ในส่วนการดูแลรักษาสุขภาพนั้น ก็จะไปใช้บริการบัตรทองแทน

     กระทรวงแรงงานร่วมกับสภาองค์การลูกจ้างและสภาแรงงานหลายๆแห่ง จึงได้จัดสัมมนาให้ข้อมูลและความเข้าใจในสาระสำคัญ หรือหลักการของการประกันสังคม และสิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันตนจะได้รับจาการประกันสังคม รวมทั้งเปรียบเทียบถึงข้อดีข้อเสียของการรับบริการด้านสุขภาพจากระบบประกันสังคมและบัตรทอง เพื่อให้ผู้ประกันตน สามารถแสดงความคิดเห็นว่า จะต้องการระบบประกันสุขภาพแบบใด?

 หลังจากฟังวิทยากรให้ข้อมูลเรื่องหลักการประกันสังคมและสิทธิประโยชน์ในการดูแลสุขภาพ เปรียบเทียบระหว่างประกันสังคมและบัตรทองแล้ว  ผู้จัดการสัมมนาได้จัดการประชุมกลุ่ม โดยแบ่งผู้เข้าประชุมเป็น 4 กลุ่ม

  ผลการประชุมกลุ่มตามรายกลุ่ม มีดังนี้

  กลุ่มที่ 1 ข้อดีของระบบประกันสังคมด้านสุขภาพ

-       พอใจในการรักษาโรคทั่วไปของโรงพยาบาลรัฐมากกว่าโรงพยาบาลเอกชน

-       พอใจในสิทธิคุ้มครองการว่างงาน คือ ได้รับเงินทดแทน

-       ข้อเสียของระบบประกันสังคมด้านสุขภาพ

-       โรงพยาบาลไม่ดูแล ให้บริการล่าช้า โดยส่วนใหญ่พบในโรงพยาบาลเอกชน

-       ได้รับยาไม่ตรงกับโรค เช่น ได้ยาพารา อย่างเดียว

-        พอใจในการได้สิทธิเงินสงเคราะห์บุตร

ข้อเสนอแนะ

-       1. ต้องการช่องทางเฉพาะทั้งผู้ป่วยนอกทั่วไป และผู้ป่วยนอกโรคเฉพาะด้าน

-       2. ต้องการการรักษาที่ได้ยาตรงกับโรค

-       3. ขอให้ขยายเวลาในการให้เงินสงเคราะห์บุตร จาก 6 ปี ขยายเป็น 12 ปี

-       4. ขยายสิทธิในการรักษาการเจ็บป่วยทั่วไป ไปใช้ที่โรงพยาบาลอื่นได้ด้วย ไม่จำกัดเฉพาะเรื่องอุบัติเหตุฉุกเฉิน

-       5. การทำฟัน ควรจ่ายตามจริง และไม่จำกัดจำนวนครั้ง

-       6. อยากให้ขยายรับบัตรทองที่มีรายได้ให้เปลี่ยนมาเป็นสิทธิประกันสังคม

-       7. ให้ขยายรับครอบครัวผู้ประกันตนมาใช้สิทธิประกันสังคมแทนบัตรทอง

-       8. ต้องการให้ทำวิจัยเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสีย ระหว่างบัตรทองและบัตรประกันสังคม

กลุ่มที่ 2 ปัญหา/อุปสรรคของระบบประกันสังคมด้านสุขภาพ

•                    ไม่ค่อยแจกแจงรายละเอียดให้ผู้ประกันตนทราบสำหรับสิทธิประโยชน์ที่เพิ่มขึ้น

•                    เจ้าหน้าที่ สายด่วน ไม่บริการให้ด่วน ข้อมูลไม่ชัดเจน โอนสายหลายทอด

ข้อเสนอแนะ

•                    ข้อที่ต้องปรับปรุงแก้ไขให้ทำได้เลย และข้อมูลที่ยังมีไม่เพียงพอควรทำวิจัยเพิ่มเติม ครอบคลุมความคิดเห็นจากผู้ประกันตน ผู้ให้บริการ สำนักงานประกันสังคม และแพทย์ บุคคลากรทางแพทย์

•                    ปรับปรุงการบริการของสายด่วน

•                    ปรับปรุงคุณภาพ มาตรฐานการให้บริการของสถานบริการ

•                    มีการสุ่มตรวจคุณภาพ มาตรฐานการให้บริการของ รพ.คู่สัญญาเป็นประจำ

•                    ส่งเสริมให้มีการประกวด รพ.ดีเด่น (top ten) และ รพ.ยอดแย่ (bottom ten)

•                    การทำฟัน ควรให้สถานพยาบาลเบิกจาก สปส. ไม่ต้องให้ผู้ประกันตนจ่ายเงิน

•                    ไม่ควรใช้ระบบเหมาจ่ายรายหัวแก่ รพ. ควรจ่ายตามจริง เพื่อคุณภาพการบริการที่ดี

•                    ผู้ประกันตนเข้ารับการรักษาได้ทุก รพ.ที่เป็นคู่สัญญา ไม่ใช่เฉพาะที่เลื่อกดังนั้น กรณีฉุกเฉิน ผู้ประกันตนไม่ต้องจ่ายเงิน ไม่ว่าจะฉุกเฉินกี่ครั้ง (ปกติไม่น่าจะมีการฉุกเฉินบ่อยเกินความจำเป็น)

•                    ให้รัฐจ่ายสมทบเงินเข้าระบบประกันสังคม อย่างน้อยเท่ากับนายจ้างและลูกจ้าง

•                    เปิดโอกาสให้สมาชิกในครอบครัวของผู้ประกันตน เข้าระบบประกันสังคม

•                    ให้ สปส.เป็นองค์กรอิสระ แต่มีการคัดเลือกกรรมการโปร่งใส กรรมการไม่เป็นชุดเดียวกับที่เป็นกรรมการที่เกี่ยวช้องกับระบบอื่นๆ เช่น บัตรทอง ควารมีนักวิชาการทางการแพทย์จากโรงเรียนแพทย์ร่วมเป็นกรรมการการแพทย์ในจำนวนที่เหมาะสมและเพียงพอต่อการปรับปรุงคุณภาพ มาตรฐานการรักษาที่ดีขึ้น

•                    ให้เข้ารับการรักษาพยาบาลได้ทุกโรงพยาบาล

•                     ควรใช้ระบบเหมาจ่ายรายหัวแก่ รพ. ควรจ่ายตามจริง เพื่อคุณภาพการบริการที่ดี

กลุ่มที่ 3 ข้อดีของระบบประกันสังคมด้านสุขภาพ

•                    ส่วนใหญ่พึงพอใจในการรักษาโรคทั่วไปของ สปส.

•                    ผู้ประตนรู้สึกมีความมั่นคงในการอยู่ในระบบประกันสังคม

ปัญหา/อุปสรรคของระบบประกันสังคมด้านสุขภาพ

•                    ปัญหาของโรงพยาบาลเอกชน ที่ให้บริการไม่มีคุณภาพและไม่น่าพึงพอใจ

•                    กรณีอุบัติเหตุฉุกเฉินและโรควิกฤต ที่เข้าใช้บริการสถานพยาบาลแตกจากที่เลือกไว้ ถูกปฏิเสธการรักษา และเรียกเก็บเงินสด

•                    การให้การรักษาพยาบาลไม่ครอบคลุมทุกกรณีเหมือนกับบัตรทอง

ข้อเสนอแนะ

•                    ให้จัดทำประชาพิจารณ์ ไปยังผู้ใช้แรงงานในเรื่องเกี่ยวกับข้อมูลด้านสุขภาพของประกันสังคม เพื่อให้สามารถแสดงความคิดเห็น

•                    เพิ่มสิทธิในการรักษาพยาบาลให้เท่าเทียมหรือมากกว่า สปสช. ที่เหมาะสมกับโรค

•                    มีระบบข้อมูลคอมพิวเตอร์ออนไลน์ที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลผู้ป่วยในประกันสังคมได้

•                    มีระบบการให้บริการโรคจากการประกอบอาชีพอย่างครบวงจร

•                    สนับสนุนให้มีการสมทบกองทุนประกันจากบุคคลภายนอกเพื่อให้กองทุนมีขนาดใหญ่ขึ้นและมีศักยภาพการจัดการมากขึ้น

•                    ให้เปลี่ยนแปลง คกก. กองทุนประกันสังคม โดยไม่ให้มี คกก. กองทุนประกันสุขภาพแห่งชาติเข้ามาเกี่ยวข้อง

•                    ปรับปรุงระบบการตรวจสุขภาพประจำปี ให้มีความครบถ้วน สมบูรณ์ และครอบคลุมตามลักษณะงาน

•                    ให้นำคู่มือประกันตนไปใช้ประโยชน์อย่างจริงจัง

•                    ให้มีการวิจัยระบบบริการประกันสุขภาพ

•                    มีคณะกรรมการปกป้องกองทุนประกันสังคม

 

กลุ่มที่ 4 ประชามติของกลุ่ม ไม่ย้ายไปอยู่กับสปสช. 100% ให้ยกเลิกเพดานการจ่ายเงินสมทบ ให้เก็บร้อยละ 5 ทั้งหมดทุกระดับรายได้   ให้สปสช.งดสิทธิรักษาฟรีผู้มีรายได้

ข้อดีของระบบประกันสังคม มีรพ.และหมอเฉพาะทาง รักษาได้ตลอด 24 ชั่วโมง ได้รับบริการดี โรคเรื้อรังมีการรักษาต่อเนื่อง ป่วยหยุดงานได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ สามารถเลือกโรงพยาบาลได้ด้วยตนเอง สามารถพึ่งตนเองได้ ไม่ต้องเป็นภาระกับสังคม กำหนดทิศทางได้ด้วยตนเอง

ข้อเสีย ของระบบประกันสังคม วินิจฉัยโรคล่าช้า หน้างอ รอนาน บริการแย่ ยาไม่มีคุณภาพ แพทย์ออกใบรับรองโดยไม่เป็นธรรม ประชาสัมพันธ์สิทธิประโยชน์ไม่ทั่วถึง บางเรื่องประกาศแล้ว แต่ทำไม่ได้ บริการทันตกรรมยังให้จ่ายเพิ่มอีก

ข้อเสียของการบริหารกองทุน

 เสียเวลานานเป็นวันในการติดต่อกับสปส. ขาดหน่วยงานย่อยให้บริการจุดเดียวในทุกพื้นที่

ข้อเสนอแนะ

•                    ให้องค์กรแรงงาน จัดให้มีการวิจัย และสำรวจเพื่อการปรับปรุงระบบประกันสังคมทั้งหมดและด้านสุขภาพให้ดีขึ้น ตามข้อมูลที่เป็นจริง โดยให้ ประกันสังคมเป็นผุ้สนับสนุนงบวิจัย

•                    ให้เพิ่มวงเงินค่าสัมมนาประกันสังคมเป็น ๔๐๐๐๐ บาทต่อรุ่น

•                    ให้เพิ่มช่องทางให้ผู้ประกันตนจัดขอการสัมมนาดังกล่าวได้ เพิ่มจากช่องทางผ่านสภาองค์กรลูกจ้าง

•                    ให้เข้ารักษาได้ทุกโรค ทุกภาวะ ตลอดเวลา ที่โรงพยาบาลของรัฐ

•                    ให้จัดแพทย์ พยาบาล และบุคคลกรให้เพียงพอทั้งนอกและในเวลา

•                    ให้ผู้ประกันตนเปลี่ยนโรงพยาบาลได้ทันที ไม่ต้องรอครบ ๑ ปี

•                    ให้จัดตั้งโรงพยาบาลประกันสังคมทุกจังหวัด โดยให้รักษาผู้ประกันตนที่ได้รับสารพิษ และป่วยจากการทำงานด้วย

•                    ให้มีหมอด้านโรคจากการทำงาน สารพิษด้วย

•                    ให้ควบรวมกองทุนเงินทดแทนเข้ากับกองทุนประกันสังคมในกรณีรักษาพยาบาล

•                    ให้จัดเงินกู้สวัสดิการดอกเบี้ยต่ำโดยประกันสังคมเอง ไม่ต้องผ่านธนาคาร เพื่อปัจจัยในเรื่องที่อยู่อาศัย เครืองอุปโภค และ บริโภค พาหนะ

•                    ให้บริษัทห้างร้านจัดให้พนักงานในด้านสิทธิประโยชน์ ปีละ ๑ ครั้งอย่างน้อย

•                    ให้เพิ่มบทลงโทษ และค่าปรับ กับนายจ้างที่เก็บเงินประกันสังคมแล้วไม่ส่งในกำหนด หรือส่งไม่ครบ หรือใช้ฐานอื่นนอกจากรายได้มาหักเงินประกันสังคม

•                    ไม่ให้นำกองทุนประกันสังคมไปเป็นองค์กรอิสระเด็ดขาด

•                    ให้การเลือกตั้งกรรมการประกันสังคม เป็นแบบกลุ่ม และมีการพัฒนาบ้าง

•                    อยากให้ขยายความคุ้มครองเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ในด้านต่างๆ โดยการเพิ่มเพดานสิทธิประโยชน์

•                    ให้มีการรักษาผู้ประกันตนให้ดีที่สุดโดยไม่มีค่าใช้จ่าย เช่นผ่าตัดดั้งเดิม ต้องใช้เวลานาน เช่นผ่าตัดผ่านกล้องที่ใช้เวลาน้อยไม่เจ็บนาน กลับบ้านได้เลย

•                    ให้เรียกชื่อผู้ประกันตน โดยเรียกทั้งชื่อและนามสกุลให้ครบถ้วน (หมายถึงการเรียกชื่อในโรงพยาบาล)

•                    สถานที่ให้ผู้ประกันตนที่เกิดอุบัติเหตุฉุกเฉินที่ถูกส่งตัวไป โดยมูลนิธิช่วยเหลือต่างๆ ตามที่มูลนิธิสังกัด

•                    ให้เสนอรัฐบาลงดรักษาฟรีแก่ผู้ที่มีรายได้เพื่อจะได้มาดูแล

•                    ให้แรงงานเฝ้าระวังการแทรกแซงของ NGOs ในองค์กร ถ้าพบเห็นให้แจ้งสภา, สหภาพ

•                    กรณีทำฟัน

•                    ให้จัดศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์ต่างๆ การใช้สิทธิในด้านประกันสังคมในพื้นที่ซึ่งมีผู้ประกันตนจำนวนมาก โดยจัดตั้งศูนย์ระดับอำเภอ ค่อยๆ ขยายครอบคลุม

•                    ให้สิทธิประโยชน์ครอบคลุมในการป้องกันโรคด้วยวัคซีนมะเร็งปากมดลูก ตับอักเสบ

•                    ให้แก้ไขระเบียบการสนับสนุนงบอุดหนุนองค์กรแรงงานแก่ผู้ประกันตนไม่ให้ใช้ระเบียบเบิกจ่ายแบบราชการ

•                    ขอให้มีการจัดประชุมสัมมนาเช่นนี้ในแรงงานและผู้ประกันตนในภูมิภาคต่างๆ

•                    ในระยะเวลาภายใน 1 เดือนข้างหน้า ขอให้หน่วยงานที่มีผู้ประกันตนในหน่วยงานต่างๆ ได้เข้าร่วมอย่างกว้างขวาง โดยให้สภาองค์การลูกจ้างเป็นผู้จัดและให้กระทรวงแรงงานเป็นผู้จ่ายงบประมาณในการจัดสัมมนา

•                     

สรุปผลสำรวจประชาพิจารณ์จาการตอบแบบสอบถามผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม

ความพึงพอใจด้านบริการสุขภาพในระบบประกันสังคม

•                    ไม่พึงพอใจ                             30 คน (15.96%)

•                    พึงพอใจ                        132 คน (70.21%)

•                    ไม่ระบุ                             25 คน (13.30%)

•                    พอใจและไม่พอใจ                 1 คน (0.53%)

จำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม = 188 คน

ระบบหลักประกันสุขภาพที่ต้องการ

•                    ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  3 คน (1.60%)

•                    ระบบประกันสังคม                                  177 (94.15%)

–                   โดยไม่ต้องมีการเปลี่ยนแปลง                             120 คน (67.80%)

–                   ต้องมีการเปลี่ยนแปลง                                         36 คน (20.34%)

–                   ไม่ระบุเหตุผล                                                        20 คน (11.30%)

–                   ต้องเปลี่ยนแปลงและไม่ต้องเปลี่ยนแปลง         1 คน (0.56%)

•                    ไม่แสดงความเห็น                                              8 คน (4.25%)

•                    ด้านการให้บริการ

•                    ให้มีการจัดประกวดโรงพยาบาลที่รับประกันสังคมเพื่อพัฒนาการให้บริการ

•                    ให้มีการตรวจสอบการบริหารจัดการกองทุนประกันสังคมและโรงพยาบาลที่ให้บริการประกันสังคม

•                    ไม่พอใจบริการในทุกด้านของโรงพยาบาลในประกันสังคม ต้องการให้ปรับปรุง

•                    ให้บริการช้า ต้องรอนาน คนมาใช้บริการเยอะ

•                    ปรับปรุงด้านบริการให้เหมาะสมกับเงินสมทบที่จ่ายไป

•                    ให้สำนักงานประกันสังคมเป็นองค์กรอิสระ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการ

•                    ใช้บัตรเพียงใบเดียวในการเข้ารับการบริการในทุกโรงพยาบาลและไม่ต้องสำรองจ่ายเงินก่อน

•                    ควรมีโรงพยาบาลที่มาจากแรงงานไม่ใช่มาจากภาครัฐและเอกชน

•                    ด้านสิทธิประโยชน์และการเข้าถึงบริการสุขภาพ

•                    ให้โรงพยาบาลในประกันสังคมตรวจรักษาอย่างเอาใจคนไข้ ไม่ใช่ตรวจ แล้วจบๆ ไป

•                    ให้มีสิทธิเข้ารับการรักษาได้ทุกโรค และครอบคลุมทุกผู้เชี่ยวชาญ เช่นการฟอกไตควรให้ฟรีทุกอย่างรวมถึงอุปกรณ์ในการฟอกไต

•                    ปรับปรุงเรื่องทันตกรรมโดยผู้ประกันตนไม่ต้องออกค่าใช้จ่ายก่อนและให้เพิ่มงบให้มากขึ้น

•                    ให้เพิ่มเงินค่าคลอดบุตร

•                    ให้เพิ่มคุณภาพของการรักษาเช่น ยา เครื่องมือแพทย์ ที่มีมาตรฐานและทันสมัย

•                    ให้ขยายการจ่ายเงินสงเคราะห์บุตร (เช่น แรกเกิด-15 ปี)

•                    บุตรของผู้ประกันตนสามารถใช้สิทธิประกันสังคมได้ด้วย

•                    ให้มีสิทธิเข้ารักษาได้ทุกโรงพยาบาลโดย และให้มีความสะดวกมากยิ่งขึ้น

•                    ให้ประกันสังคมมีโรงพยาบาลไว้เฉพาะผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมเอง จะได้ให้บริการผู้ประกันตนได้อย่างทั่วถึง

•                    ให้ปรับปรุงสิทธิประโยชน์การรักษาพยาบาลอื่นๆ เพิ่มขึ้น

•                    ให้แก้ไขกรณีการจ่ายยาไม่ตรงกับโรค

•                    ให้ปรับปรุงเรื่องยารักษาโรค ไม่ใช่ให้แต่ยาคลายกล้ามเนื้อและยาแก้ปวดเกือบทุกโรค

•                     ให้รักษาสิ่งดีๆ ไว้

•                     เพิ่มสิทธิในการตรวจสุขภาพประจำปี โดยไม่ต้องเสียเงิน

•                     ให้ประกันสังคมดูแลผู้ประกันตนตลอดชีวิต ไม่ใช่ดูแลจนเกษียณเท่านั้น

•                    ความคิดเห็นด้านอื่นๆ

•                    ให้นำผู้อยากจน (มีรายได้อยู่แล้ว ไม่ใช่ยากจน) ออกจากระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

•                    ผู้เสียภาษีทุกคนยินดีให้ความช่วยเหลือผู้ยากจนเท่านั้น

•                    ให้แรงงานช่วยกันนำเอา NGOs ออกจากระบบแรงงาน

•                    ขอให้แรงงานตั้งมั่นในการเป็นเสรีชน อย่าทำตัวเป็นขอทาน ให้รับผิดชอบตัวเอง

•                    ยินดีร่วมจ่ายสมทบ แต่อยากจ่ายน้อยลง

•                    ให้เพิ่มสิทธิประโยชน์และพร้อมจะจ่ายเงินสมทบเพิ่ม

รวบรวมโดย พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
ประธานสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์
และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย
(สผพท.)
13 พ.ค. 54